Skip to main content

 

1.Megalomaniac -  โรคหลงคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่และหมกมุ่นกับอำนาจ  เราใช้คำนี้กับบุคคลซึ่งมีความประพฤติราวกับเชืื่อจริงๆ จังๆ ถึงอำนาจโดยเด็ดขาดและความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ดังพฤติกรรมเช่น  ชอบตะคอก ทำตัวเหนือกว่าคนอื่นโดยเฉพาะนักข่าวที่มาสัมภาษณ์ หรือแสดงการดูถูกประชาชนผ่านสื่อมวลชน  ร้ายไปกว่านั้นคือพล่ามอยู่คนเดียวหน้าโทรทัศน์โดยหลงคิดว่าประชาชนกว่าหกสิบล้านคนคงนั่งทำแป๋วฟังตัวเองและคิดว่าตัวเองจะเป็นนายกฯ ไปชั่วนิรันดร

 

 2.Pathological liar -คนชอบโกหกพกลม คนที่เป็นโรคนี้ชอบโกหกเป็นชีวิตจิตใจ ถึงขั้นสร้างวาทกรรมขึ้นมาใหม่โดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเลยเพียงเพื่อให้ได้รับความสนใจหรือการยอมรับจากคนรอบข้าง หรือเข้าสู่เป้าหมายเช่นอำนาจ หลายคนก็เป็นพวกมีทักษะอย่างดีเยี่ยมในการสื่อสาร มีเสน่ห์ แต่เป็นเจ้าเล่ห์เพทุบาย ไม่ใส่ใจผลที่เกิดขึ้น อย่างเช่นสัญญาเรื่องการเลือกตั้งผ่านคำพูดและท่าทางขึงขังราวกับเป็นผู้รักษาสัจจะ

 

3.Bipolar disorder -โรคอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เช่นตะหวาดคนรอบข้าง แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ต่อมาก็พูดดี แสดงอารมณ์ขััน  ยิ้มระรื่น ชอบอ้างว่าตัวเองเป็นคนตลก คนรอบข้างต่างระอากับการแสดงความรู้สึกผิดอยู่ร่ำไปพร้อมกับสัญญาเลื่อนลอยของบุคคลเช่นนี้ว่าจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นเพียงการโกหกพกลม (สอดคล้องกับข้อ 2)

 

4.Split personality -โรคหลายบุคลิก ซึ่งผู้ป่วยเพียง 1 คนสามารถมีบุคลิกหรือตัวตนหลายตัวและแสดงออกมาในต่างกรรมต่างวาระ เช่น เดี๋ยวก็แสดงตนเป็นกุ๊ยกักขฬะ   เดี๋ยวก็เป็นนักแต่งเพลง อารมณ์อ่อนไหว (เนื้อเพลงเต็มไปด้วยความรันทด สงสารตัวเอง)  เดี๋ยวก็เป็นนักปกครองมีเมตตาและวิสัยทัศน์กว้างไกล   เดี๋ยวก็เป็นเผด็จการความคิดวนอยู่แต่ในกะลา

 

5.Obsessive-Compulsive -โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคที่หมกมุ่นทำในสิ่งเดิมๆ มากเกินไปเช่นชอบตำหนิรัฐบาลชุดก่อนหรือคิดถึงแต่อดีตนายกรัฐมนตรีอย่างทักษิณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่าพยายามกลับมาแย่งอำนาจตน อันสอดคล้องกับ 6. Paranoid คือโรคหวาดระแวงว่าจะมีคนมาทำอันตรายหรือแย่งอำนาจตนทั้งที่กลุ่มบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นเพียงต้องการเลือกตั้งหรือต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย และพวกเขาก็ต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

 

 

 

                                (ภาพจาก www.stephealth.com)

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ?  และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly  หรือ คุณนายผีเสื้อ  เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตอนที่ 1    
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง  ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
     เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ  คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น  ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                        
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่