Skip to main content

 

1.Megalomaniac -  โรคหลงคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่และหมกมุ่นกับอำนาจ  เราใช้คำนี้กับบุคคลซึ่งมีความประพฤติราวกับเชืื่อจริงๆ จังๆ ถึงอำนาจโดยเด็ดขาดและความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ดังพฤติกรรมเช่น  ชอบตะคอก ทำตัวเหนือกว่าคนอื่นโดยเฉพาะนักข่าวที่มาสัมภาษณ์ หรือแสดงการดูถูกประชาชนผ่านสื่อมวลชน  ร้ายไปกว่านั้นคือพล่ามอยู่คนเดียวหน้าโทรทัศน์โดยหลงคิดว่าประชาชนกว่าหกสิบล้านคนคงนั่งทำแป๋วฟังตัวเองและคิดว่าตัวเองจะเป็นนายกฯ ไปชั่วนิรันดร

 

 2.Pathological liar -คนชอบโกหกพกลม คนที่เป็นโรคนี้ชอบโกหกเป็นชีวิตจิตใจ ถึงขั้นสร้างวาทกรรมขึ้นมาใหม่โดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเลยเพียงเพื่อให้ได้รับความสนใจหรือการยอมรับจากคนรอบข้าง หรือเข้าสู่เป้าหมายเช่นอำนาจ หลายคนก็เป็นพวกมีทักษะอย่างดีเยี่ยมในการสื่อสาร มีเสน่ห์ แต่เป็นเจ้าเล่ห์เพทุบาย ไม่ใส่ใจผลที่เกิดขึ้น อย่างเช่นสัญญาเรื่องการเลือกตั้งผ่านคำพูดและท่าทางขึงขังราวกับเป็นผู้รักษาสัจจะ

 

3.Bipolar disorder -โรคอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เช่นตะหวาดคนรอบข้าง แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ต่อมาก็พูดดี แสดงอารมณ์ขััน  ยิ้มระรื่น ชอบอ้างว่าตัวเองเป็นคนตลก คนรอบข้างต่างระอากับการแสดงความรู้สึกผิดอยู่ร่ำไปพร้อมกับสัญญาเลื่อนลอยของบุคคลเช่นนี้ว่าจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นเพียงการโกหกพกลม (สอดคล้องกับข้อ 2)

 

4.Split personality -โรคหลายบุคลิก ซึ่งผู้ป่วยเพียง 1 คนสามารถมีบุคลิกหรือตัวตนหลายตัวและแสดงออกมาในต่างกรรมต่างวาระ เช่น เดี๋ยวก็แสดงตนเป็นกุ๊ยกักขฬะ   เดี๋ยวก็เป็นนักแต่งเพลง อารมณ์อ่อนไหว (เนื้อเพลงเต็มไปด้วยความรันทด สงสารตัวเอง)  เดี๋ยวก็เป็นนักปกครองมีเมตตาและวิสัยทัศน์กว้างไกล   เดี๋ยวก็เป็นเผด็จการความคิดวนอยู่แต่ในกะลา

 

5.Obsessive-Compulsive -โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคที่หมกมุ่นทำในสิ่งเดิมๆ มากเกินไปเช่นชอบตำหนิรัฐบาลชุดก่อนหรือคิดถึงแต่อดีตนายกรัฐมนตรีอย่างทักษิณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่าพยายามกลับมาแย่งอำนาจตน อันสอดคล้องกับ 6. Paranoid คือโรคหวาดระแวงว่าจะมีคนมาทำอันตรายหรือแย่งอำนาจตนทั้งที่กลุ่มบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นเพียงต้องการเลือกตั้งหรือต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย และพวกเขาก็ต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

 

 

 

                                (ภาพจาก www.stephealth.com)

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    อุปรากรที่คนไทยน่าจะรู้จักไม่แพ้ Madame Butterfly ก็คือ Carmen ซึ่งเป็นอุปรากรฝรั่งเศสที่แต่งโดยคตีกวีที่เราไม่เคยคุ้นเคยนักและก็ไม่ถือว่าดังเหมือนเบโธเฟนหรือโมซาร์ทคือจอร์จ บิเซต์ เขาเน้นไปที่การแต่งอุปรากรและอุปรากรก็ดังแค่ไม่กี่เรื่อง แต่พฤติกรรมตัวเอกของ Carmen ทำให้อุปรากรเรื่อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                               
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   Bicycle Thief เป็นภาพยนตร์ขาวดำสัญชาติอิตาลี ที่ออกฉายในปี 1948  และมักถูกจัดว่าเป็นตระกูลนวสัจนิยมหรือ Neo Realism ที่สะท้อนชีวิตของคนรากหญ้าเป็นหลัก   หากใครที่ไม่คุ้นเคยกับภาพยนตร์ตระกูลนวสัจนิยม ก็ลองไปดูภาพยนตร์สมัยทศวรรษที่ 10 และ 20 ของท่านมุ้ยเกี่ยวกับชีวิตของคนตัวเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาชญากรรมและการลงทัณฑ์เป็นชื่อแปลมาจากภาษาอังกฤษคือ Crime and Punishment ซึ่งเป็นนวนิยายชิ้นเอกของนักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียคือฟีออดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Fyodor Dostoevsky) ผู้มีชีวิตในช่วงระหว่างปี 1821 จนถึงปี 1881 เขาเป็นที่รู้จักอย่างดีในนวนิยายเรื่อง Brothers Karamazov ที่แสนจะยาวเหยียดและซับซ้อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เฮอร์มันน์ เฮสเส เป็นนักเขียนแนวจินตนิยม (Romanticism) และแนวอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่ประทับใจผมมาก เริ่มจากการถูกอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบังคับให้อ่านหนังสือของเขาที่คนไทยรู้จักกันดีคือ สิทธารถะ จากนั้นเมื่อได้อ่านเรื่องอื่นๆ ที่คนไทยคืออาจารย์สดใสแปลไม่ว่า ปีเตอร์คาเมนซิน &nb
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แปลมาจากบทความของคุณอิลิซาเบท ชวาร์ม เกลสเนอร์  จาก www.w3.rz-berlin.mpg.de Symphony No.1, Op.21 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                           
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์