Skip to main content

Throne of Blood (1957) หรือ"บัลลังก์เลือด" เป็นภาพยนตร์ขาวดำของยอดผู้กำกับภาพยนตร์ญี่ปุ่นคืออาคิระ คุโรซาวา ที่ทางตะวันตกยกย่องมาก เกือบจะไม่แพ้ Seven Samurai หรือ Rashomon เลยก็ว่าได้ ลักษณะเด่นของมันก็คือการดัดแปลงมาจาก Macbethหรือแม็คเบ็ธ ซึ่งเป็นบทละครของกวีชื่อดังของอังกฤษคือวิลเลียม เช็คส์เปียร์ คนที่ทำเช่นนี้หากไม่แน่จริง หนังของเขาย่อมโดนสับเสียเละ จึงนับได้ว่าคุโรซาวาเป็นยอดอัจฉริยะของวงการภาพยนตร์โลกอย่างแท้จริง เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เหมือนกับ Macbeth ที่ว่าเป็นเรื่องของขุนศึกหนุ่มผู้หนึ่งเดินทางไปพบกับปีศาจและปีศาจทำนายว่า เขาจะได้เป็นโชกุน (หรือกษัตริย์ตามแบบเช็คส์เปียร์)แต่ก็ไม่ปักใจเชื่อนัก ต่อมาขุนศึกหนุ่มก็ถูกยั่วยุจากภรรยาของเขาซึ่งทะเยอทะยานและชั่วร้ายทำให้เขาลอบฆ่าโชกุนเพื่อเป็นใหญ่เสียเอง แต่สุดท้ายก็ต้องพบกับชะตากรรมเดียวกัน เข้าทำนองพังเพราะเมีย สิ่งนี้เป็นอุทาหรณ์สำหรับการเมืองไทยในปัจจุบันได้อย่างดี (จะเหมือนกับเมียของใครนั้นก็เชิญตีความเอาเอง) ต่อไปนี้เป็นบทความที่แปลจากคุณสตีเฟน ปรินส์ จาก Criteriaco.com 



               
 

Shakespeare Transposed - Stephen Prince

นักวิจารณ์มักจะเห็นพ้องกันว่า"Throne of Blood"เป็นการดัดแปลงของคุโรซาวาจากบทละครที่ชื่อ Macbeth ซึ่งปรากฏว่าหาใช่เรื่องไม่จริงไม่ มันเริ่มต้นตามแบบของการดัดแปลงทางวรรณคดีมากไปกว่าอย่างที่หนังทั่วไปควรจะเป็น หนังของคุโรซาวานั้นเป็นส่วนผสมที่ยอดเยี่ยมจากแหล่งทางประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์และวัฒนธรรมอันหลากหลาย มีปมเดียวเท่านั้นที่ได้มาจากเช็คส์เปียร์ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของภาพยนตร์เกิดจากการที่คุโรซาวาได้ผสมผสานแหล่งเหล่านั้นอย่างสนิทแนบแน่นและสามารถบรรยายมันออกมาได้อย่างสุดยอด คุโรซาวามักหันไปพึ่งเนื้อเรื่องจากวรรณกรรมต่างประเทศเพื่อใช้สร้างหนังของตน ผลก็คือการก้าวล่วงไปจากแหล่งนั้นมากกว่าจะเหมือนกับคำว่า "ดัดแปลง"การตีความของเชคส์เปียร์ (เช่นเดียวกับในหนังเรื่อง Ran)เป็นประวัติศาสตร์นิพนธ์มากกว่าการวิเคราะห์ทางวรรณกรรม และการบอกว่าหนังนั้นถูกดัดแปลงมาจากบทละครทำให้เราแทบจะมองไม่เห็นธรรมชาติอันแท้จริงของสิ่งที่คุโรซาวาทำได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการหยั่งรู้ที่แกร่งกล้าขึ้นเรื่อย ๆ ต่อประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นของเขา คุโรซาวาพบกับกระจกที่สะท้อนภาพอันกว้างใหญ่ของยุคที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย  การคดโกงและสงครามที่ต่อเนื่องกันซึ่งเช็คส์เปียร์เขียนในแม็คเบ็ธ 

บทละครของเช็คส์เปียร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสังหารชนชั้นปกครองและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในสก็อตแลนด์เมื่อศตวรรษที่สิบเอ็ด ความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของแผ่นดินและองค์พระจักรพรรดิ์ถูกเบียดบังโดยความวุ่นวายของเมืองต่างๆ ซึ่งเกิดจากการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างโชกุนแคว้นต่างๆ การต่อสู่เช่นนี้มักก่อให้เกิดการนองเลือด พระเจ้ามัลคอล์ม ที่สอง พระราชบิดาของดันเคน กษัตริย์ที่แม็คเบ็ธปลงพระชนม์ได้ทรงขึ้นครองบัลลังก์โดยการปลงพระชนม์บรรดาเจ้าชายและกำจัดคู่แข่งรายอื่นๆ เพื่อทำให้ดันแคนขึ้นครองบัลลังก์ แต่ดันแคนนั้นกลับทรงถูกปลงพระชนม์เมื่อพระองค์ไม่ฉลาดนักที่เสด็จเข้าไปในแคว้นของแม็คเบ็ธซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสก็อตแลนด์ คุโรซาวานั้นมีความประทับใจอย่างยิ่งกับมรดกของความรุนแรงที่เขาเห็นในบทละครและประวัติศาสตร์ของมัน เขาสังเกตว่า แนวคิดสำคัญในแม็คแบ็ธยุคที่กล่าวถึงคือยุคผู้แข็งแรงเอาผู้อ่อนแอเป็นเหยื่อ อันมีลักษณะเหมือนกับหนังของเขาทั้งหมด


สิ่งที่คล้ายคลึงกันที่คุโรซาวาเกิดความคิดขึ้นมาและได้ทำการค้นคว้านั้นคือช่วงสงครามกลางเมืองในญี่ปุ่นยุคกลาง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี 1467 ถึง 1477 และยังทำลายเมืองหลวงในสมัยนั้นคือเกียวโต หลังจากนั้น ประเทศได้เข้าสู่ยุคแห่งความวุ่นวายซึ่งยาวนานไปกว่าศตวรรษ ในช่วงเวลานี้ที่ชื่อว่า เซนโกกุ จิได (ยุคของประเทศช่วงสงคราม)ได้รับการบันทึกว่าเป็นสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างตระกูลต่าง ๆ ,ความไร้อำนาจทางการเมืองระดับประเทศ, และพฤติกรรม การหักหลังกัน,การตอแหลและการฆาตกรรมซึ่งคุโรซาวาได้นำมาใส่ไว้ในหนังเรื่องนี้ของเขา บรรดาโชกุนได้ยึดอาณาจักรของกันและกันโดยใช้ความรุนแรงได้สังหารเพื่อนที่เคียงบ่าเคียงไหล่กันมา และพวกเขาก็ถูกฆ่าเองบ้างโดยบรรดาลูกน้องของตน วาชิซุ (โตชิโร มิฟูเน่) ตัวเอกของหนังเรื่องนี้อาจจะมีเรื่องราวซึ่งคล้ายคลึงกับแม็คเบ็ธ แต่เขาเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณทางประวัติศาสตร์ของยุคของเขา หรือที่เรียกว่า เซนโกกุ จิไดนั้นเอง แต่ประวัติศาสตร์ของคุโรซาวานั้นเป็นการเลือกสรรค์อย่างมาก เช่นเดียวกับแหล่งด้านวรรณกรรม คุโรซาวานั้นจะซื่อสัตย์ต่อประวัติศาสตร์ ในทุกองค์ประกอบของการบันทึกเหตุการณ์ ในขณะเดียวกันเขาก็ย่อยสลายมันให้อยู่ในรูปแบบของบทกวี

คุโรซาวามักทำหนังในศตวรรษที่สิบหกจนกลายเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นเพียงไม่กี่คนที่ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคนี้ ใน In Throne of Blood, Ran, The Hidden Fortress และ Seven Samurai การเสนอภาพสงครามนั้นดูน่าสะพึงกลัวราวกับจะบอกว่ามีการฆ่าฟันกันทุกหนแห่งในยุคกลางของญี่ปุ่น ตามความจริงแล้วอัตราของความตายในสนามรบในสงครามซามูไรหาได้มากมายเช่นนั้น คุโรซาวาได้ให้ภาพสงครามแก่เราโดยกรองผ่านความจำของตัวเองในฐานะศิลปินศตวรรษที่ยี่สิบที่เคยชินกับการฆ่าฟันกันอย่างมากมายในยุคของเขา มุมมองต่อภาพอันน่ากลัวในหนังของเขาไม่ใช่ในศตวรรษที่สิบหกแต่เป็นปัจจุบันนี้ต่างหาก

การย่อยสลายแม็คเบ็ธของคุโรซาวานั้นนำไปสู่ชุดแต่งตัวและสถานที่ซึ่งข้ามเลยวัฒนธรรมไปโดยมีประสบการณ์ของมนุษย์โดยทั่วไปอยู่เบื้องหลังมัน แต่มันยังคงทำให้เรานึกถึงความเป็นเช็กส์เปียร์อยู่ บทสนทนาอันแสนไพเราะทั้งหมดหายไป แน่นอนว่าทำให้มันกลายเป็นการดัดแปลงที่ประหลาด ยกเว้นว่าคุโรซาวาได้ย่อยสลายไม่ใช่เพียงประวัติศาสตร์ แต่ความเป็นดราม่าเช่นกัน มีความเป็นดราม่ามากมายในหนังเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นประเภทที่ตัวแสดงในวังของพระราชาจะแสดงได้ การแสดงท่าทางอันหนักหน่วงของคุโรซาวาได้ทำให้ความเป็นเช็คส์เปียร์ต้องจางไปด้วยความเป็นละครโนห์ ละครแบบนี้อุบัติขึ้นในศตวรรษที่สิบสี่และได้รับการอุปถัมภ์โดยโชกุน โนห์นั้นเป็นละครร่วมสมัยกับยุคที่คุโรซาวานำเสนอ และดังนั้นเขารู้สึกว่าความเป็นสุนทรียภาพของมันสมควรจะเป็นรูปแบบอย่างเป็นทางการของหนัง (ใน"Ran" ที่เขาได้ย่อยสลายเช็กส์เปียร์อีกครั้งไปเป็นญี่ปุ่นในศตวรรษที่สิบหก เขาก็ได้นำโนห์มาใช้อีกครั้ง) นอกจากนี้เขายังรักโนห์และพบว่ามันงดงามเกินความบรรยายตามรูปแบบของมันเอง

โนห์เกิดขึ้นในทุก ๆ จุดของ Throne of blood ทำให้หนังกลายเป็นส่วนผสมที่แท้จริงระหว่างความเป็นภาพยนตร์และละคร และแสดงให้เห็นว่าละครที่ทำถูกเป็นหนังสามารถเกิดขึ้นได้ในมือของผู้กำกับที่แสนยิ่งใหญ่ ความเป็นโนห์ยังรวมไปดนตรี(ตัวอย่างเช่นขลุ่ยที่ถูกนำมาใช้อย่างมากในหนัง)สถานถ่ายทำซึ่งทึบหม่น และโดยเฉพาะอยางยิ่งการแสดงอย่างมีรูปแบบของมิฟูเน่ และอิซุซึ ยามาดะ (แสดงเป็น อาซาจิ) โนห์ได้แสดงรูปแบบซึ่งมีส่วนผสมของการเต้นรำ,เพลง,บทกวีและการแสดงออกทางกาย ซึ่งตรงกันข้ามกับรูปแบบสัจนิยมและธรรมชาตินิยมซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการแสดงในตะวันตก มันสวนทางกับความหมายของกวีของเช็คส์เปียร์ในองค์ที่สาม ฉากที่สองของ Hamlet ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้แสดงที่ถือกระจกสะท้อนซึ่งธรรมชาติการแสดงในโนห์มุ่งไปสู่องค์ประกอบที่มีความขัดแย้งในตัวเอง เมื่อนักแสดงเคลื่อนไหวไปในท่าที่เปี่ยมด้วยพลัง เขาจะต้องกระทืบเท้าอย่างนุ่มนวล การแสดงโนห์คือการผสมผสานที่โดดเด่นของความนิ่งและการยั่วยุ ซึ่งสามารถเห็นได้ในการแสดงตลอดหนังเรื่องนี้ และคุโรซาวายังไปใช้กับรูปแบบของหนังในทุกๆ ฉาก และเมื่อเขาตัดจากฉากอันหยุดนิ่งที่ดูน่าเกรงขามและการแสดงซึ่งไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักไปยังฉากการต่อสู้อันดุเดือดที่ถูกลำดับภาพด้วยมุมกล้องที่เคลื่อนไหวไปอย่างมีสีสัน นักแสดงในละครโนห์ใช้หน้ากากและในขณะเดียวกันคุโรซาวาไม่ได้ทำอะไรแบบทื่อๆ เขาให้มิโฟเน่และยามาดะมีการแสดงออกทางสีหน้าซึ่งเหมือนกับหน้ากากแบบโนห์ (กลุยุทธที่เขาใช้ในการแต่งหน้าของยามาดะ) หน้ากากโนห์ยังชี้ไปสู่ความแตกต่างอันมากมายระหว่างจารีตของละครและของเช็กส์เปียร์ ซึ่งช่วยทำให้หนังเรื่องนี้มีคุณสมบัติที่แปลกประหลาด โนห์นั้นหาได้เกี่ยวกับของความลึกทางจิตวิทยาไม่ ตัวละครของมันไม่มีความเป็นปัจเจก ลักษณะเป็นไปอย่างพื้นๆ เช่น ชายแก่ ผู้หญิงและนักรบและอื่น ๆ ส่วนละครก็มุ่งไปยังการสอนศีลธรรม 

ดังนั้นคุโรซาวาได้ถอดเอาความลึกซึ้งทางอารมณ์และความคิดของแม็กเบ็ธออกไป และให้หนังมีตัวละครที่มีลักษณะแบบโนห์ ส่วนอารมณ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของตัวละครในหนังแบบดราม่าของตะวันตกก็มีลักษณะแบบดาด ๆ เป็นอย่างยิ่ง อารมณ์ในหนังเรื่องนี้หาใช่เกิดจากตัวละครไม่ แต่เกิดจากองค์ประกอบหลักในภูมิทัศน์และภูมิอากาศ ท้องฟ้าซึ่งซีดจาง หมอก พื้นราบที่แห้งแล้ง และตัวละครซึ่งเคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่เหล่านั้น นี่คือที่ซึ่งอารมณ์ของหนังได้สถิตอยู่แท้จริง มันถูกทำให้เป็นหนึ่งเดียวกับโลกที่เปี่ยมด้วยสรรพสิ่งดังนั้น หนังก็มีความเย็นชาอย่างเห็นได้ชัด มันทำให้ผู้ชมอยู่ภายนอกโลกที่มันนำเสนอ คุโรซาวาต้องการให้เราได้รับบทเรียน ได้เห็นความบ้าของพฤติกรรมมนุษย์มากกว่าจะสร้างความเด่นหรือให้ความเห็นอกเห็นใจต่อตัวละครเหล่านั้น 

สิ่งนี้ได้มอบ "มุมมอง"ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันให้แก่เรา ซึ่งคุโรซาวาได้เพิ่มเติมโดยการนำเอาศิลปะยุคกลางอื่นๆ นอกจากโนห์นั้นคือศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ความว่างอันโดดเด่นของพื้นที่ในหนังไม่ว่า ท้องฟ้าและหมอกอันหนาทึบซึ่งปกคลุมภูเขาและพื้นราบ คือการแสดงออกของรูปแบบ "Sumi-e" รูปแบบของภาพล่างแบบใช้ปากกาและหมึกนี้ทำให้หนังนั้นมีช่องว่างอย่างมากมายก่อให้เกิด "ความว่าง" ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อองค์ประกอบภาพ (และจิตวิญญาณ)อันงดงาม คุโรซาเชื่อว่ารูปแบบของภาพวาดแบบนี้สะท้อนถึงความเป็นญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง และเขามีความกระหายที่จะผสมผสานภาพยนตร์กับศิลปะแขนงนี้ (ปราสาทของนักออกแบบที่ชื่อ โยชิโร่ มูรากินั้นดำทะมึนและสร้างอยู่บนพื้นที่ซึ่งดำและเคยเป็นปล่องภูเขาไฟของภูเขาไฟฟูจีเพื่อที่จะทำให้ศิลปะแบบ sumi-e มีพลังมากขึ้น รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างความมืดและแสงสว่าง ถึงแม้จะขึ้นอยู่ภาพร่างจากของจริงในประวัติศาสตร์ ปราสาทหาได้อยู่ในยุคใดจริง ๆ ไม่)

"ความว่าง"ในด้านจิตวิญญาณและศิลปะเช่นนี้ถูกนำเสนอขึ้นมาเพื่อขัดแย้งกับโลกของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา ,ความทะเยอทะยานและความรุนแรงซึ่งคุโรซาวาเห็นว่าเป็นภาพลวงตา ศิลปะแบบพุทธศาสนาของโนห์และsumi-e ทำให้เขาสร้างภาพของความแตกต่างระหว่างความทุกข์ทรมานแห่งชีวิต ซึ่งเราในฐานะสิ่งที่น่าสมเพชรู้จักมันดีเพราะเป็นเป้าหมายของการดิ้นรนของเรา ความปรารถนาและเจตจำนงของเราและสัจธรรมซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับมัน

หากคุโรซาวาได้ลดทอนจิตวิทยาจากแม็คเบ็ธ เขาก็ยังล้างแนวคิดอนุรักษ์นิยมของเช็คส์เปียร์ออก โดยการปฏิเสธที่จะให้ข้อสรุปที่สำเร็จรูปแก่เรา (โดยการประจบพระเจ้าเจมส์ที่หนึ่ง) นั้นคือฝ่ายบ้านเมืองได้รับชัยชนะ ในหนังและมุมมองของคุโรซาวา วัฏจักรของความรุนแรงของมนุษย์ไม่เคยสิ้นสุด ดังนั้นเรื่องความเป็นวัฏจักรของหนังนี้ได้แสดงถึงโศกนาฏกรรมที่แท้จริงในหัวใจของประวัติศาสตร์ที่ Throne of Blood เอามานำเสนอ ทำไมคนถึงฆ่ากันเองบ่อยนักและเกือบทุกยุค ? คุโรซาวาไม่มีคำตอบสำหรับคำถามนี้แต่เขาได้ทำให้เราเห็นผ่านเพลงประสานเสียง ความเป็นวัฏจักรและสุนทรียภาพแบบพุทธของมันว่าอาจจะไม่มีคำตอบที่แน่นอนภายในโลกนี้


สุนทรียภาพและปรัชญาของ Throne of Blood นำเราไปไกลกว่าความเป็นเช็คส์เปียร์ และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้มันเป็นภาพยนตร์อันยิ่งใหญ่ ความสำเร็จของมันไม่ได้เกิดจากสื่อหรือศิลปินคนอื่นไม่ คุโรซาวาได้มอบวิสัยทัศน์ของเขาให้กับเรา ผ่านอำนาจอันเย็นชาและโหดร้าย และมันเป็นองค์รวมของวิสัยทัศน์ที่เปี่ยมด้วยด้วยการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและธรรมชาติที่ไร้ความปราณี ซึ่งทำให้เรามีอารมณ์ร่วมและหวาดกลัว สิ่งนี้เราพบได้น้อยมากในโลกภาพยนตร์

 

 

                                       à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ Throne of blood

                                              ภาพจาก themindreels.com

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ?  และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly  หรือ คุณนายผีเสื้อ  เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตอนที่ 1    
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง  ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
     เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ  คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น  ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                        
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่