Skip to main content

เห็นกระแสแปนิคเมื่อหลายวันก่อน ทำให้นึกได้ว่าชาวโลกมีการคาดหมายหรือหวาดกลัวมานานแล้วว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 เริ่มได้ตั้งแต่ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 มาหมาดๆ นั่นคือการกลายเป็นศัตรูระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียตซึ่งเคยเป็นพันธมิตรกันแบบหลวมๆ ในการต่อสู้กับฝ่ายอักษะ การสิ้นสุดของสงครามได้ทำให้ฝ่ายตะวันตกหวาดหวั่นถึงการขยายวงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปตะวันออก รวมไปถึงบางประเทศในซีกตะวันตกเช่นกรีซและอิตาลีผ่านพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนโซเวียตก็ไม่ไว้ใจสหรัฐฯ จากการทิ้งปรมาณูที่ญี่ปุ่นถึง 2 ลูก (ถึงแม้แฮร์รี ทรูแมนประธานาธิบดีสหรัฐฯเคยแจ้งให้ผู้นำสูงสุดทราบล่วงหน้าแล้ว แต่สตาลินก็ถือว่าสหรัฐฯ ใช้อาวุธร้ายแรงดังกล่าวในการข่มขู่โซเวียตให้กลัว) โลกจึงก้าวเท้าสู่สงครามเย็น และเข้าสู่จุดสูงสุดของการเป็นปรปักษ์กันเมื่อปี 1948 เกิดวิกฤตการณ์กรุงเบอร์ลิน (Berlin crisis) ที่กองทัพแดงทำการปิดล้อมไม่ให้สหรัฐฯ และตะวันตก ส่งเสบียงไปยังกรุงเบอร์ลินตะวันตกซึ่งตั้งอยู่ภายในเยอรมันตะวันออกอันเป็นเขตอิทธิพลของโซเวียต แต่สหรัฐฯ และอังกฤษก็ยังส่งเครื่องบินไปยังเบอร์ลินตะวันตกหลายแสนเที่ยว แน่นอนว่าถ้าทางโซเวียตยิงเครื่องบินอเมริกันหรือพันธมิตรตกสักลำก็สามารถนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ แต่ด้วยความกลัวของสตาลินจึงสั่งให้กองทัพแดงล่าถอยไปในปี 1949 กระนั้นในปีเดียวกันโซเวียตก็สามารถทดลองอาวุธนิวเคลียร์สำเร็จหลังจากนักวิทยาศาสตร์ตะวันตกหลายคนแปรพักตร์แอบส่งสูตรการสร้างอาวุธร้ายแรงดังกล่าวมาให้เป็นเวลานาน โลกจึงเข้าสู่ยุคการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีการพัฒนาให้ซับซ้อนและสร้างความหายนะให้อีกฝ่ายได้มากขึ้น อันนำไปสู่การประท้วงของประชาชนในค่ายโลกที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เสมอมาเพื่อให้ยุติการทดลองหรือแม้กระทั่งการครอบครองอาวุธร้ายแรงดังกล่าว การก่อตั้งองค์การนาโตที่ผลักดันโดยสหรัฐฯ ให้ยุโรปตะวันตกกลายเป็นกันชนกับโซเวียตในปี 1949 และการที่โซเวียตวิ่งเต้นให้การมีจัดตั้งสนธิสัญญาวอร์ซอว์ในปี 1955 ที่รวมกลุ่มของยุโรปตะวันออก บนแนวคิดการปกป้องซึ่งกันและกัน น่าจะทำให้สงครามโลกครั้งที่ 3 เกิดขึ้นสูงเพราะสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาเกิดจากการจัดรวมกลุ่มพันธมิตรของทั้ง 2 ฝ่ายที่เป็นศัตรูกัน กระนั้นการมีอาวุธนิวเคลียร์ของทั้ง 2 ประเทศ (ต่อมาขยายเป็นหลายประเทศเช่นอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน) อาจทำให้ไม่จำเป็นต้องขยายวงกว้างไปทั่วโลก เพราะแค่2 มหาอำนาจยิงหัวรบนิวเคลียร์เข้าหากันก็กลายเป็นสงครามโลกได้ และสงครามเย็นมีลักษณะพิเศษคือนอกจาการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว สหรัฐฯกับโซเวียตยังแข่งกันแย่งจัดตั้งรัฐบาลที่มีอุดมการณ์สอดคล้องกันและสนับสนุนตัวเองในประเทศโลกที่ 3 ดังที่เรียกว่า proxy war ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในแอฟริกา อเมริกากลาง เอเชีย สงครามเย็นจึงเป็นสงครามโลกแบบพิเศษคือเป็น limited world war ที่รัฐเจ้าพ่ออย่างสหรัฐฯ และโซเวียตไม่เคยปะทะกันทางทหารจริงๆ นอกจากหนุนให้กลุ่มทางการเมืองภายในรัฐบริวารทำสงครามแย่งอำนาจกันเอง

นอกจากนี้สงครามเย็นมีศักยภาพที่จะกลายเป็นสงครามร้อนคือสงครามโลกที่รบกันอย่างเต็มรูแบบ ได้ทุกเมื่อ เช่นเดียวกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์ยิงใส่กัน แต่ด้วยผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายกลัวว่าจะทำให้ชาวโลกล้มตายกันและการพังทลายของโลกเอง ดังที่เรียกว่าเกมที่แพ้ทั้ง 2 ฝ่ายหรือ Zero sum game หรืออีกคำคือ MAD หรือ Mutually Assured Destruction ทั้ง 2 ฝ่ายจึงหลีกเลี่ยงในการขยายวง แต่เน้นนโยบายการโอบล้อม ป้องกันการแพร่อิทธิพลของกันและกันตามทฤษฏีของจอร์จ เอฟ เคนเนน นักการทูตผู้โด่งดัง ตัวอย่างที่สะท้อนว่าผู้นำพยายามหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนสงครามเย็นเป็นสงครามโลกคือสงครามเกาหลี (ปี 1950 ถึง 1953) โซเวียตและจีนสนับสนุนให้เกาหลีเหนือรบกับเกาหลีใต้ซึ่งสนับสนุนโดยสหรัฐฯ กับสหประชาชาติ และสหรัฐฯ ได้ปะทะโดนตรงกับกองทัพอาสาของจีนซึ่งถูกส่งเข้ามาในเกาหลีเหนือหลายแสนนาย ผบ.สส.ของกองทัพสหประชาชาติคือนายพลดักกลัส แม็คอาร์เธอร์เสนอให้รัฐบาลทิ้งอาวุธนิวเคลียร์ที่จีน แต่แฮร์รี ทรูแมนปฏิเสธเพราะกลัวจะขยายวงเป็นสงครามโลกและปลดแม็คอาร์เธอร์ออกจากตำแหน่ง หรืออีกครั้งหนึ่งที่น่าจะทำให้โลกเข้าสู่สงครามอีกรอบคือวิกฤตการณ์คิวบาในปี 1962 ที่โซเวียตส่งเรือขนอาวุธนิวเคลียร์ไปยังเกาะคิวบาซึ่งอยู่ห่างจากรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ ไม่กี่ร้อยไมล์ ทำให้เกิความตึงเครียดถึงสงครามนิวเคลียร์ แต่ด้วยการเจรจาทางการทูตระหว่างรัฐบาลของจอห์น เอฟ เคนนาดี และนิกิตา ครุชชอฟ ทำให้วิกฤตการณ์คลี่คลายไป ในทศวรรษที่ 80 การบุกรุกอัฟกานิสถานของโซเวียตเมื่อหนึ่งปีก่อน รวมไปถึงการขึ้นมีอำนาจของสายเหยี่ยวของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนแห่งสหรัฐฯ ทำให้การผ่อนคลายการเป็นปรปักษ์หรือ detente ที่มีตั้งแต่ยุคของนิกสันและเบรซเนฟสิ้นสุดลง สงครามเย็นร้อนขึ้นอีกครั้งโดยเฉพาะในปี 1983 ตอนเรแกนประกาศยุทธศาสตร์ Strategic Defence Initiative ที่สหรัฐฯ จะสร้างเครือข่ายในการต่อต้านขีปนาวุธจากโซเวียตแม้แต่จากในอวกาศ จนมีชื่อเล่นว่า Star Wars อันประจวบกับเหตุการณ์ในปีเดียวกันที่องค์การนาโตทำการซ้อมรบครั้งใหญ่ ภายใต้รหัส Able Archer 83 ทำให้โซเวียตเตรียมหัวรบนิวเคลียร์ไว้ให้มั่นเพราะระแวงว่าจะโดนตะวันตกบุก ช่วงนั้นเป็นตอนผมเรียนหนังสือพอดี ฮอลีวูดก็สร้างเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 3 อันยิ่งทำให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ชาวโลกอย่างภาพยนตร์เรื่อง The Days After ที่บรรยายถึงเหตุการณ์ที่โซเวียตโจมตีสหรัฐฯ ด้วยนิวเคลียร์ซึ่งมีความสมจริงมาก หรือตอนที่ทั่วโลกกำลังเห่อนอสตราดามุสนายแพทย์ชาวฝรั่งเศสในยุคกลางที่เชื่อว่าสามารถทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ โรงเรียนผมถึงกลับเกณฑ์นักเรียนไปดูหนังเรื่องนอสตราดามุสที่โรงหนังแสงตะวัน จำได้ว่ามีฉากจากคำทำนายว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 จะเกิดที่ตะวันออกกลาง ด้วยผู้นำซึ่งน่าจะเป็นกัดดาฟีแห่งลิเบียได้ร่วมกับผู้โซเวียตยิงหัวรบนิวเคลียร์มายังนิวยอร์คจนหมอดไหม้ ปัจจุบันนอสตราดามุสเป็นแค่โจ๊กตลกๆ ที่ไม่ค่อยมีใครเชื่อเพราะแกเขียนเป็นบทกวีสั้นๆ คลุมเครือ แต่คนยุคใหม่มาตีความให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน

แต่แล้วสงครามเย็นก็สิ้นสุดลงไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น (ทั้งที่มีการแฉทีหลังว่ามีอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจนำไปสู่สงครามได้เช่นเรดาร์ของโซเวียตทำงานผิดพลาด) รัสเซียซึ่งเป็นรัฐทายาทของโซเวียตรวมทั้งหัวรบนิวเคลียร์มีประธานาธิบดีคือบอริส เยลต์ซินซึ่งนิยมตะวันตก ทำให้ชาวโลกโล่งอกโล่งใจคิดว่าสิ้นสุดภัยจากนิวเคลียร์แล้ว กระนั้นก็มีความหวาดระแวงอยู่ไม่น้อยว่าด้วยความวุ่นวายของเศรษฐกิจและสังคมรัสเซียในช่วงเปลี่ยนผ่านอาจทำให้ผู้ก่อการร้ายขโมยหรือซื้อหรือจ้างนักวิทยาศาสตร์รัสเซียให้ผลิตนิวเคลียร์มาก่อการร้ายก็ได้อันส่งผลให้โลกพังพินาศไม่แพ้สงคราม ดังที่นวนิยายและหนังฮอลลีวู้ดทำ แต่ทั่วโลกอาจมองข้ามเหตุผลที่นาโตและรัสเซียเกือบปะทะกันในปี1999 กรณีของความขัดแย้งในโคโซโวที่กองทัพทั้ง 2 ฝ่ายเข้ามายึดครองกรุงพริสตินในพื้นที่ใกล้เคียงกัน (สรุปเหตุการณ์สั้น ๆ คือเซอร์เบียซึ่งเป็นพันธมิตรกับรัสเซียทำการสังหารหมู่ชาวมุสลิมในโคโซโวซึ่งต้องการแยกต้วจากเซอร์เบียและนาโตเข้าไปควบคุมสถานการณ์) ซึ่งเชื่อกันว่าอาจนำไปสู่สงครามโลก กระนั้นก็อาจมีคนพอทำนายได้ว่าความไร้ประสิทธิภาพของบอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีขี้เมาจอมเฮฮาในทศวรรษที่ 90 ก็ได้ก่อให้เกิดผู้นำเงียบขรึม ร้ายลึกแบบวลาดิมีร์ ปูตินขึ้นมาในต้นสหัสวรรษ จากนั้นรัสเซียก็มีนโยบายที่แข็งกร้าวขึ้น ด้วยชนชั้นนำของรัสเซียเห็นว่านาโตขยายอิทธิพลมายังยุโรปตะวันออก อันก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ยูเครนในปี 2013 การกลายเป็นศัตรูกันอีกรอบระหว่างนาโตกับรัสเซียน่าจะมีโอกาสทำให้เกิดสงครามโลกมากกว่าความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านเสียด้วยซ้ำ แต่เอาเข้าจริงก็อาจเป็นแบบจำกัดนั่นคืออยู่เฉพาะแค่ในยุโรป ด้วยทวีปอื่นคงไม่ยอมเข้าไปเกี่ยวข้องแม้แต่จีนซึ่งเป็นพันธมิตรกับรัสเซียใน Shanghai Coopration Organization เพราะจีนเน้นนโยบายแพร่อิทธิพลทางเศรษฐกิจไปทั่วโลกมากกว่า และทวีปอื่นก็คงไม่เข้าร่วมด้วย กรณีที่เมื่อปีที่แล้ว ทรัมป์นำสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากสนธิสัญญาจำกัดหัวรบนิวเคลียร์พิสัยกลางหรือ INF ซึ่งลงนามในสมัยกอร์บาชอฟและเรแกนอันอาจทำให้เกิดการแข่งขันพัฒนานิวเคลียร์ (อย่างเป็นทางการ) อีกรอบยังน่ากลัวกว่ากรณีอิหร่านเสียด้วยซ้ำ แต่ไม่ดังเท่าอิหร่านเพราะตะวันออกกลางมีหลายประเทศที่จ้องจะเล่นงานกัน อันมีสีสันอย่างมากสำหรับการเสนอข่าวและการเร้าอารมณ์ของนักวิเคราะห์ที่นิยมตะวันออกและเกลียดสหรัฐฯ แต่ถ้าจะเกิด ก็ยังเป็นสงครามแบบจำกัดภูมิภาคอยู่ดี ตราบใดที่สหรัฐฯ นาโต รัสเซียและจีนไม่เข้าร่วมเต็มตัว ซึ่งมีโอกาสน้อยเพราะต่างคำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเองซึ่งอาจเสียหายจากสงครามมากกว่าพันธมิตรซึ่งไม่มีพันธะหรืออุดมการณ์ยึดโยงแข็งแรงเท่ากับช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง และสงครามเย็น ทุกอย่างถูกคิดคำนวนตามแบบสัจนิยมคือเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเองและที่สำคัญคือการเมืองภายในประเทศที่รัฐให้ความสำคัญต่อความคิดและความรู้สึกของประชาชนแม้ว่าประเทศนั้นจะเป็นเผด็จการก็ตาม กระนั้นทุกอย่างก็เป็นไปได้เสมอในโลกแห่ง disruption แห่งนี้ # สวัสดี

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก