ในวันพุธที่ 20 มกราคมที่จะถึงนี้ โดนัลด์ ทรัมป์ก็จะเปลี่ยนตำแหน่งจากประธานาธิบดีเป็นอดีตประธานาธิบดีไปเสียแล้ว สำหรับผมรู้สึกว่ามันผ่านไปเร็วเหลือเกิน ตอนเขาแข่งขันเพื่อชิงกับตำแหน่งประธานาธิบดีกับฮิลลารี่ คลินตันอย่างดุเดือดและพลิกล็อคเมื่อ 4 ปีก่อนก็เหมือนเกิดขึ้นเมื่อวานซืน เป็นเรื่องน่าตลกว่าสาเหตุที่ทรัมป์ได้รับเลือกตั้งก็คือสาเหตุเดียวกับการที่เขาต้องเข้ากระบวนการเพื่อถอดถอนหรือ impeach อีกครั้งก่อนหมดวาระนั่นคือความรักอย่างไม่เสื่อมคลายของบรรดาแฟนคลับจำนวนมากนั่นเอง พวกเขาเริ่มต้นจากการเห็นว่าทรัมป์เป็นคนนอกของวงการการเมืองสหรัฐฯ ที่น่าศรัทธา เป็นมหาเศรษฐีที่สร้างเนื้อสร้างตัวจนประสบความสำเร็จ เป็นคนพูดจาโผงผาง หัวอนุรักษ์นิยม เชิดชูความเป็นอเมริกันมาอย่างคงเส้นคงวา ด้วยก่อนทรัมป์จะมาชิงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น คนอเมริกันจำนวนมากเบื่อหน่ายการเมืองสหรัฐฯ เพราะเป็นวงการที่เต็มไปด้วยอภิสิทธิชน นึกถึงแต่ผลประโยชน์ของชนชั้นสูง โดยมีตัวแทนอย่างประธานาธิบดีบารัก โอบามา คู่สามีภรรยาคืออดีตประธานาธิบดีบิล และนางฮิลลารี่ คลินตัน ถึงแม้โอบามาและนางคลินตันจะถล่มกันเสียเละเทะในช่วงแข่งขันเพื่อเป็นตัวแทนของพรรคเมื่อปี 2008 พวกอนุรักษ์นิยมก็มองว่าทั้งคู่อยู่ในประเภทเดียวกัน เช่นเดียวกับรองประธานาธิบดี โจ ไบเดนซึ่งคว่ำหวอดในการเมืองมาหลายสิบปีแต่จืดฉืด ไร้สีสัน เหมาะกับไปเลี้ยงหลานที่บ้าน ซึ่งถ้า 4 ปีก่อนเขาลงแข่งขันแทนคลินตัน เขาก็คงแพ้ทรัมป์เช่นกัน ในสายตาของคนอเมริกันจำนวนมากโดยเฉพาะพวกอนุรักษ์นิยมที่เบื่อการเมืองแบบเดิมๆ ทรัมป์ที่แม้ยังดูเป็นอิสระจากพรรครีพับลิกันซึ่งเป็นต้นสังกัดน่าจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการเมืองสหรัฐฯ
กระนั้นใน 4 ปีที่ผ่านมาได้สะท้อนว่าทรัมป์บริหารประเทศแบบ unconventional คือแหกกรอบและขาดความเป็นระบบไม่ได้มีผลงานอะไรโดดเด่นนัก นอกจากเรื่องเศรษฐกิจ (ซึ่งก็มีคนว่าที่จริงเป็นผลต่อเนื่องมาจากรัฐบาลของโอบามา) เขายังลือชื่อในการปลดผู้ทำงานรอบข้างเป็นว่าเล่น ไม่ว่ารัฐมนตรีว่ากระทรวงสำคัญอย่างกระทรวงต่างประเทศและกลาโหมเช่นเดียวกับที่ปรึกษาความมั่นคงเพียงเพราะคนเหล่านั้นไม่สามารถตอบสนองอัตตาอันแรงกล้าและนโยบายที่ไม่คงเส้นคงวาของทรัมป์ได้ และพวกเขาก็ออกมาให้สัมภาษณ์โจมตีหรือเขียนหนังสือเปิดเผยข้อมูลที่เป็นโทษแก่ทรัมป์ทั้งสิ้นนอกจากนี้คนรอบข้างของเขาเช่นนักวางกลยุทธ์ในการหาเสียงหรือทนายส่วนตัวของทรัมป์ก็มีแต่เจอปัญหาทางกฎหมาย นอกจากนี้ทรัมป์ยังเจอปัญหาทางกฎหมายเองเช่นการหนีภาษีหรือการฉ้อโกงเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ส่วนนโยบายการทำสงครามการค้ากับจีนถึงแม้จะทำให้เขาปลุกระดมลัทธิชาตินิยมแต่ก็การขึ้นกำแพงภาษีของจีนทำให้เกษตรกรซึ่งเคยเป็นฐานเสียงของเขาจำนวนมากต้องเดือดร้อน ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวผสมกับความผิดพลาดครั้งใหญ่ของทรัมป์ในการรับมือกับโรคระบาดโควิด - 19 ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ตนพ่ายแพ้แก่โจ ไบเดน
อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่น่าทึ่งว่า แม้ว่าทรัมป์จะแพ้ด้วยคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ให้แก่ไบเดนถึง 232 ต่อ 306 และแพ้คะแนนเสียงของประชาชน (Popular Vote) แก่ไบเดน ถึง 7 ล้านเสียง แต่ทรัมป์ถือได้ว่าเป็นผู้แข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ นั่นคือ 74,222,593 เสียง มากกว่าโอบามาในปี 2008 ถึง 5 ล้านเสียง (นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องน่าขนลุกว่าทรัมป์ได้คะแนนเสียงมากว่าประธานาธิบดีในอดีตซึ่งเป็นขวัญใจและวีรบุรุษของคนอเมริกันทั้งสิ้นอย่างเช่นจอห์น เอฟ เคนนาดี หรือแฟรงคลิน ดี รุสเวลต์ หากไม่คำนึงถึงสัดส่วนของจำนวนประชากรที่เปลี่ยนไป ) และถ้าเปรียบเทียบกับคะแนนเสียงของตัวทรัมป์เองในปี 2016 คือ 62,984,828 เสียง ก็แสดงให้เห็นว่าเขาได้คะแนนจากประชาชนเพิ่มเกือบ 12 ล้านเสียง! อันแสดงว่าที่จริงทรัมป์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพียงแต่ไบเดนได้คะแนนมากกว่าจากพวกเดโมแครตที่เกลียดทรัมป์หรือ พวกเฉยๆ ต่อไบเดนแต่ไม่ชอบนโยบายทรัมป์อย่างการรับมือกับโควิด-19 เป็นต้น
มีการวิเคราะห์มากมายว่าเหตุใดทรัมป์จึงได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากกว่าเดิมและเป็นจำนวนมหาศาล คำตอบที่น่าจะตรงกันก็คือ Politics of Identity หรือการเมืองภาคอัตลักษณ์นั้นเอง ในขณะที่มีคนอเมริกันจำนวนมากเสื่อมศรัทธาทรัมป์ แต่ก็มีคนอเมริกันอีกจำนวนมากที่ยังคงหรือหันมาศรัทธาในตัวทรัมป์โดยการมองผ่านมุมของพวกอนุรักษ์นิยมในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป (กล่าวง่าย ๆ คือมีคนออกจากกลุ่มเอฟซีทรัมป์ แต่ก็มีคนยังอยู่หรือเข้าร่วมกลุ่มมากกว่า) นั่นคือคนอเมริกันหัวอนุรักษ์นิยมจำนวนมากมองว่าพวกที่เป็นศัตรูกับทรัมป์โดยเฉพาะพรรคเดโมแครต ล้วนเป็นพวกเสรีนิยมจอมปลอมที่แสดงท่าทีเหมือนยกย่องสิทธิสตรี ชาว LGBT คนสีผิวเพียงเพื่อคะแนนเสียง (ผมเคยเห็นการ์ตูนล้อเลียน แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐว่าพร้อมจะแปลงร่างเป็นอะไรก็ได้เพื่อดูดคะแนนเสียงจากคนอเมริกัน) บางพวกมองว่าเรื่องอื้อฉาวของทรัมป์ทั้งหลายนั้นเกิดจากการกลั่นแกล้งของพวกเดโมแครตและพวกมีอำนาจแฝงเช่นพวกนายทุนและระบบราชการอันทรงอิทธิพลเพราะทรัมป์ต้องการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของคนเหล่านั้น บางพวกก็เชื่อในทฤษฏีสมคบคิดอย่าง QAnon ที่ทรัมป์และพลพรรคปลุกปั่นทางอินเทอร์เน็ตว่าเป็นองค์กรลับอันทรงอิทธิพลที่ชั่วร้ายและคอยเล่นงานทรัมป์อยู่
ส่วนการระบาดของโควิด -19 ที่ทำให้คนอเมริกันเสียชีวิตไปเป็นแสนๆ นั้นแม้ทรัมป์จะต้องรับผิดชอบอย่างเต็มตัว อย่างนายบ็อบ วูดวาร์ดนักหนังสือพิมพ์อาวุโสเปิดเผยบทสัมภาษณ์ของทรัมป์ว่าตนรู้ดีว่าโควิด-19นั้นระบาดง่ายและอันตรายแต่ไม่ต้องการให้เป็นเรื่องสำคัญนักเพราะจะก่อให้เกิดความวุ่นวาย ย่อมทำให้คะแนนความนิยมของท่านประธานาธิบดีตกต่ำแต่ตามความจริงแล้ว สหรัฐฯ มีขนาดกว้างและมลรัฐต่างก็รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่เท่ากัน ดังนั้นมลรัฐที่ได้รับผลกระทบคือคนติดเชื้อน้อยและผู้ว่าการรัฐเป็นรีพับลิกันจนถึงวันเลือกตั้งก็อาจเลือกทรัมป์เป็นจำนวนมาก หรือพวกขวาอาจหันไปตำหนิผู้บริหารในระดับรองลงมาอย่างผู้ว่าการรัฐและนายกเทศมนตรี โดยเฉพาะจากพรรคเดโมแครตแทนทรัมป์ และที่สำคัญมีเพียงร้อยละ 24 ของผู้สนับสนุนทรัมป์เห็นว่าเรื่องโรคระบาดดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในการลงคะแนนเสียง พวกขวาจำนวนมากยังเชื่อไปถึงขั้นว่าโควิด -19 เป็นแค่ทฤษฎีสมคบคิดที่สร้างขึ้นมา หาได้มีตัวตนอยู่จริงไม่ เช่นเดียวกับการประท้วงของพวกเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของคนสีผิวอย่างเช่น Black Lives Matter เมื่อปีที่แล้ว พวกอนุรักษ์นิยมโดยเฉพาะคนขาวก็มองว่าเป็นเครื่องมือของนักการเมืองพรรคเดโมแครตในการทำลายความน่าเชื่อถือของทรัมป์เช่นการที่ผู้ว่าการรัฐหรือนายกเทศมนตรีไม่ยอมใช้กำลังจัดการกับกลุ่มประท้วงโดยเด็ดขาด โดยแท้ที่จริงมันคือมุมมองของคนขาวที่ยังถือว่าตัวเองเหนือกว่าใคร
นอกจากนี้คนจำนวนมากยังเชื่อว่าไบเดนเป็นหุ่นเชิดของจีน และจะมีนโยบายเอาอกเอาใจจีนในอนาคต ประธานาธิบดีที่อายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยังจะไม่สามารถรักษา law and order ของประเทศนี้ได้ อาจเพราะพรรคเดโมแครตแสดงตนว่าอยู่เคียงข้างขบวนการ Black Lives Matter เสมอมา หรือทรัมป์ยังกล่าวหาว่าไบเดนจะนำเอาลัทธิสังคมนิยมมาใช้ ทำให้คนเชื้อสายละตินหรือ Hispanic ซึ่งทรัมป์เคยดูุถูกอย่างมากเมื่อ 4 ปีก่อนหันมาเลือกทรัมป์ เพราะมีความรู้สึกด้านลบกับสังคมนิยมที่ก่อความเสียหายให้กับประเทศเก่าของพวกเขาอย่างคิวบาหรือเวเนซูเอลา (และตามความจริงทรัมป์เน้นที่คนเม็กซิโกมากกว่า) นอกจากนี้ยังได้แก่พวกอนุรักษ์นิยมอย่างพวกเคร่งศาสนาที่เป็นคนผิวขวาและโดยเฉพาะกลุ่ม Evangelical Protestants ที่ให้การสนับสนุนทรัมป์ซึ่งแสดงตัวเองว่าสนิทแนบแน่นกลุ่มของตน พวกขวาจำนวนหนึ่งยังเชื่อมานานแล้วว่าไบเดนและโอบามานั้นที่แท้จริงบูชาซาตาน และจะนำอเมริกาสู่ยุคมืด ตัวอย่างได้แก่ดาราดังคือ จอน วอยต์บิดาของแอเจลินา โจลี
ไม่ว่าอย่างไร พวกเขาก็ชื่นชอบทรัมป์ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยอดเยี่ยม และอัตราคนว่างงานต่ำ พวกเขายังฝันว่าสหรัฐฯ จะกลับมา great again ภายใต้อำนาจนำของผู้ชายผิวขาว หลังจากเล่นงานคู่แข่งตัวฉกาจอย่างจีนเสียย่ำแย่และโรคโควิด -19 ผ่านพ้นไป
ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวข้างบนก็ล้วนเป็นพัฒนาการของทรัมป์และทีมงานในการใช้โซเชียลมีเดียอย่างชาญฉลาดในการใส่ร้ายป้ายสีคู่แข่งตั้งแต่ 4 ปีก่อนนั้นเองผ่านข่าวปลอมหรือข้อมูลอันเป็นเท็จ กระนั้นเราก็ไม่สามารถบอกได้ว่า 70 กว่าล้านคนที่เลือกทรัมป์จะเป็นพวกขวาอนุรักษ์นิยมเสียหมดจำนวนมากอาจเลือกเพราะชอบนโบายของทรัมป์มากกว่าไบเดนหรือเกลียดไบเดนเสียยิ่งกว่าทรัมป์ อย่างไรก็ตามทรัมป์ซึ่งเป็นโรคหลงตัวเองก็ไม่สามารถปล่อยวางตำแหน่งประธานาธิบดีได้ ท่ามกลางตัวเลขอันน่ามหัศจรรย์ของผู้ลงคะแนนเสียงให้ เขาเชื่อว่าการใช้ทวิตเตอร์ (ซึ่งปัจจุบันถูกระงับไปตลอดกาล) ในการกล่าวหาไบเดนโกงการเลือกตั้งจะสามาถปลุกระดมกลุ่มผู้ภักดีต่อตนอย่างเหนียวแน่นซึ่งมีอัตลักษณ์ทางการเมืองคือพวกอนุรักษ์นิยมผิวขาวได้จำนวนมหาศาล และในที่สุดพวกเขาก็เข้ายึดรัฐสภาอันจะทำให้การลงคะแนนเสียงรับรองไบเดนล้มเหลว เช่นเดียวกับการที่ทรัมป์บีบให้ไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีซึ่งเป็นประธานล้มพิธีให้ได้แต่เพนซ์ปฏฺิเสธ ทรัมป์ได้รับการประณามจากทุกฝ่ายรวมไปถึงขบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งอันทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่โดนถอดถอนถึง 2 ครั้ง และคนที่เคยเลือกเขาเมื่อปีที่แล้วคงคลายความนิยมไปเป็นจำนวนมหาศาล แต่ยังน่าจะมีฝ่ายขวาจำนวนมากเห็นอกเห็นใจทรัมป์ว่าตกเป็นเหยื่อของสื่อฝ่ายซ้ายและนักการเมืองพรรคเดโมแครต คนพวกนี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในอนาคตอีกก็เป็นได้
จากการถูกโจมตีเสียเละเทะ และกองกำลังเนชั่นนัลการ์ดได้เข้ามาประจำอย่างหนาแน่นเพื่อรักษาความสงบช่วงไบเดนและกมาลา แฮร์ริสเข้าพิธีสาบานตน ทรัมป์คงมีโอกาสน้อยเต็มทีที่จะทำอะไรแผลงๆ เพื่อยื้อตำแหน่งประธานาธิบดีได้ต่อไป เราน่าจะมาดูว่าสหรัฐฯ ในหยุคหลังทรัมป์นั้นจะมีสภาพความเป็นไปอย่างไร จากแรงปะทะของการขึ้นมาของพวกเสรีนิยมกับร่องรอยที่เหลือของพวกอนุรักษ์นิยมแบบสุดโต่ง ส่วนทรัมป์หากรอดจากการเข้ากระบวนการถอดถอนและสามารถลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้อีก 4 ปีข้างหน้า เขาจะมีบทบาททางการเมืองอย่างไรตั้งแต่หลังวันที่ 20 กระนั้นผู้ที่ยังรักเขาอยู่ไม่เสื่อมคลายก็เป็นตัวแปรสำคัญอยู่นั่นเอง
ภาพจาก KSAT.com
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913 และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
"Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 ของเยอรมัน นั่นคือ Bach Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก