Skip to main content

นายยืนยง

 

15_07_1



ชื่อหนังสือ
: ม่านดอกไม้

ผู้เขียน : . จันทพิมพะ

ประเภท : รวมเรื่องสั้น

จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ..2541


ไม่นานมานี้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวังเก่าที่เมืองโคราช เจ้าของบ้านเป็นครูสาวเกษียณราชการแล้ว คนวัยนี้แล้วยังจะเรียก “สาว” ได้อีกหรือ.. ได้แน่นอนเพราะเธอยังเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ทั้งน้ำเสียงกังวานและแววตาที่มีความฝันเปี่ยมอยู่ในนั้น


วังเก่าหลังนั้นอยู่ใกล้หลักเมือง วางตัวสงบเย็นอยู่ใจกลางแถวของอาคารร้านค้า ลมลอดช่องตึกทำให้อากาศโล่ง เย็นชื่น พวกไม้ดอกประดับแย้มใบเขียวสดรับละอองฝน ทำให้เรือนไม้ยกใต้ถุนสูงที่ปลูกเรียงอยู่ในรั้วบ้านรู้สึกเหมือนเป็นบ้านในป่าได้เลยทีเดียว บรรดาต้นไม้ไทยหายาก ชื่อเรียกยากอย่างพิลังกังสา ลำดวน ประดู่เหลือง พวงคราม ต้นสาทรไม้ประจำเมืองโคราช สารพัดสารพันพืชแท้จริงเลย ไหนจะต้นชะมวงนั่นอีก ยามเช้าที่นี่จึงเป็นความหอมชื่นชวนเบิกบานใจ


เจ้าของบ้านวัยหกสิบสองพาชมบ้านในส่วนที่เป็นวังเก่า มีเรือนใหญ่ถูกรื้อมาสร้างเป็นเรือนเล็กหลายหลัง บ้านทรงขนมปังขิงทาสีเขียวอ่อนน่ารักหลังนั้นเธอให้คนเช่า เป็นหญิงสาววิศวกรอยู่ลำพัง อืม..เด็กสาวสมัยนี้ช่างมีความเป็นส่วนตัวมากมายเหลือเกิน เธอจะเป็นคนอย่างไรนะ คิด ๆ แล้วก็อยากกลับไปเป็นคนวัยนั้นอีกครั้ง


จมอยู่กับความฝันซึมซึ้งอยู่พักเดียว อดีตครูก็พาไปชมเรือนเก็บของเก่า ซึ่งน่าชื่นชมตามประสาคนรักของเก่าอยู่นั่นเอง แต่ที่ดึงดูดใจจนต้องนำมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านคือหนังสือเก่า ทั้งพวกแม็กกาซีน ทั้งพ็อกเก็ตบุ๊ค แน่นเต็มไปทุกตู้ นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือโดยแท้ หรือใครจะปฏิเสธ


มาโคราชพบเจอผู้หญิงมีเสน่ห์ ก็อยากจะเล่าถึงนักเขียนหญิงคนหนึ่งที่ตัวอักษรของเธอยังมีเสน่ห์ไม่แพ้ใคร เธอเคยเป็นครูสอนโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดคือโรงเรียนสุรนารีวิทยาอยู่ประมาณ 6 ปีก็ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ เมื่อเอ่ยชื่อ แน่ใจว่าหลายท่านคงไม่คุ้นเคย ชื่อของเธอคือ .จันทพิมพะ


ผลงานของ .จันทพิมพะ มีทั้งเรื่องสั้นและนิยาย บางท่านอาจเคยได้ยินเรื่องยาวที่ชื่อว่า

เราลิขิต-บนหลุมศพวาสิฏฐี แต่กับเล่มรวมเรื่องสั้น ม่านดอกไม้ นี้ เป็นการรวบรวมผลงานเก่า ๆ ที่กระจัดกระจายตามนิตยสารต่าง ๆ ของ .จันทพิมพะ ที่เรียกได้ว่าเป็นการ “ต่ออายุหนังสือดี ๆ” และเหตุผลที่เลือกเล่มนี้ก็เพราะได้เหลือบไปเห็น ม่านดอกไม้ ในตู้หนังสือของครูเจ้าของวังเก่า แวบแรกคิดว่าเรามีหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน ช่างบังเอิญดีแท้ แต่ที่ไหนได้ เราทั้งคู่ต่างจัดวางหนังสือเล่มนี้แบบโชว์ปกไว้ด้านหน้าราวกับเป็นกรอบรูป ใจตรงกันอย่างไม่น่าเชื่อ กลายเป็นบังเอิญยกกำลังสองล่ะทีนี้ นี่คือเหตุผล


คราวนี้มาดูประวัติย่อของเธอกันบ้าง

.จันทพิมพะ ชื่อจริงของเธอ คือ น..รวงทอง จันทพิมพะ หรือชื่อเดิมว่า เริ่ม เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ..2452 และถึงแก่กรรมไปเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ..2497 ขณะมีอายุได้ 45 ปี เป็นบุตรีของอำมาตย์โท พระประจำคดี (บัวรส จันทพิมพะ) กับนางประจำคดี (ตุ้ม)


เธอเริ่มการประพันธ์มาแต่ตอนที่เป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยได้เขียนเรื่องยาวชื่อว่า

อวสานสวนกุหลาบ ปรากฎว่าเป็นที่โปรดปรานของนักอ่านที่เป็นเพื่อนครูและบรรดาศิษย์มาแต่ครั้งนั้น

เมื่อลาออกจากครูและกลับไปอยู่บ้าน จึงได้ขอสมัครทำงานหนังสือพิมพ์โดยเริ่มที่วิกบางขุนพรหม และไปสมัครต่อ ศรีบูรพา โดยอยู่ในความดูแลของ แม่อนงค์ หรือ คุณมาลัย ชูพินิจ ฯลฯ


วิทยากร เชียงกูล เขียนบทความไว้ในเล่มไว้ว่า .จันทพิมพะ (2452-2597) เป็นนักเขียนหญิงที่มีผลงานเด่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกือบจะถูกลืมไป อาจจะเป็นเพราะเธอเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2497 โดยไม่มีทายาทหรือเพื่อนฝูงที่สนใจจะนำงานของเธอมาตีพิมพ์ซ้ำ ...


ถ้าจะกล่าวโดยรวม ๆ แล้ว ผมเห็นว่า .จันทพิมพะเขียนเรื่องสั้นแบบสมัยใหม่ โดยใช้ท่วงทำนองการเขียนแบบตะวันตกมากกว่าการเล่านิทานที่เล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ แบบไทย เรื่องของเธอมักจะกระชับ มีฉากมีตัวละคร บรรยากาศ บทสนทนาที่ชัดเจน ขณะเดียวกับก็สะท้อนสภาพสังคมชีวิตและสังคมท้องถิ่น ความคิด บทสนทนาของผู้คนในยุคนั้น (..2492-2495) ได้อย่างดีคือ เป็นนักเขียนที่มีความคิดอ่าน ช่างสังเกต ไม่ใช่แค่นักเล่านิทาน .ธรรมยศ ก็เป็นผู้หนึ่งที่เขียนเรื่องสั้นทำนองคล้าย ๆ กันนี้ ...

ตัวละครผู้หญิงของ .จันทพิมพะ ออกจะมีลักษณะเสรีนิยมหรืออยากลองของใหม่ อยากเผชิญโลกใหม่ ชีวิตแบบใหม่ มากกว่าตัวละครของดอกไม้สด ซึ่งเป็นคนรุ่นใกล้ ๆ กัน แต่เอาจริงก็เป็นผู้หญิงที่อยากคิดอย่างเสรี มากกว่าที่จะอยากใช้ชีวิตเสรีจริง ๆ หลายเรื่องจึงกลายเป็นเรื่องที่ฝ่ายชายเข้าใจฝ่ายหญิงผิด (ม่านดอกไม้, ทางสุดท้าย) โดยเธอมักจะอยู่ข้างฝ่ายหญิงหรือให้ความยุติธรรมกับผู้หญิงอยู่เสมอ ซึ่งต่างจากนักเขียนผู้หญิงหัวเก่าบางคนที่ถูกครอบงำจากกระแสคิดหลักที่ยกย่องผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ...


วิทยากร เชียงกูล เขียนถึง .จันทพิมพะไว้เช่นนั้น ขณะที่เมื่อใครก็ตามได้อ่านเรื่องสั้นของเธอต้องชื่นชมในเรื่องภาษา


ภาษาที่ใช้ในเรื่องสั้นย่อมต้องสั้น กระชับ แต่ได้ความมาก ภาษาของ .จันทพิมพะ ก็เป็นเช่นนั้น นอกจากความกระชับรัดกุมของภาษาแล้ว เค้าโครงเรื่องยังแน่นอีกด้วย ขอแทรกนิดหนึ่งตรงเรื่องของการใช้ภาษาที่กระชับแต่กินความมาก นักเขียนที่สามารถย่อมเป็นนายของภาษา มีความพิถีพิถันลึกซึ้งในการเลือกสรรคำแทนความรู้สึก นึก คิด ยกตัวอย่างชัดเจนเช่น คำว่า มะงุมมะงาหรา ที่ อิศรา อมันตกุล คิดขึ้นมาและใช้แพร่หลายจนทุกวันนี้ เป็นสำนวนที่แสดงกิริยาอาการงก ๆ เงิ่น ๆ เปิ่น งุ่มง่าม ดูเกะกะลูกตา รวบรวมอาการทั้งหลายเป็นคำว่า มะงุมมะงาหรา มี 5 พยางค์แต่สามารถแสดงออกถึงภาพพจน์ชัดเจน

เป็นที่น่าสังเกตว่านักเขียนสมัยนี้ ไม่นิยมคิดหาคำหรือสำนวนใหม่ ๆ กันเท่าไร หรือจะคิดค้นแล้วแต่ไม่ “ผ่าน” บรรณาธิการก็ไม่ทราบ


ขณะที่การเลือกใช้คำและสำนวนของ .จันทพิมพะ มีลักษณะพิเศษที่ชวนอ่านและมีเสน่ห์ อย่าพิรี้พิไรอยู่เลย ยกมาให้อ่านกันตรงนี้ดีกว่า


จากเรื่อง เพื่อเธอเท่านั้น หน้า 101 เป็นเรื่องของสัญชาติญาณระหว่างสองเพศ ซึ่งฝ่ายหญิงเป็นผู้ขับรถโดยมีชายหนุ่มแปลกหน้าขอโดยสารติดรถไปลงระหว่างทาง


เขาพูดด้วยเสียงประเล้าประโลมเรื่อยไป เป็นเสียงเอื่อย ๆ ที่มีอำนาจอย่างหนึ่งในตัว มันเป็นถ้อยคำสั้น ๆ และไม่แสดงรสนิยมอย่างใด แต่มันแสดงให้หล่อนรู้ว่าร่างกำยำอยู่ใกล้ ไม่เคยมีชายใดเข้าใกล้ชิดเช่นนี้ ทั้งที่หล่อนเคยอยู่ในวงแขนคู่เต้นรำหลายครั้ง เขาสูบความเข้มแข็งของหล่อนไป ประหนึ่งแสงอาทิตย์สูบน้ำในคูให้ระเหยเป็นไออีกได้

เป็นการเขียนแสดงอารมณ์ของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังถูกคุกคามด้วยความรู้สึกที่เข้มแข็งกว่าของผู้ชายแปลกหน้า แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยอุปมาโวหารที่ให้ความรู้สึกละเอียดอ่อน (ที่ขีดเส้นใต้)


หรือจากเรื่อง จิตจำลอง หน้า 139 ฉากการสนทนาระหว่างนายจิตแพทย์กับคนไข้ที่เป็นอาจารย์จิตวิทยา

ชีวิตจิตใจคนเราก็เหมือนต้นไม้ เมื่อแรกก็งอกจากดินโดยบริสุทธิ์ ต่อมาจึงมีเถาวัลย์และกาฝากขึ้นเลื้อยพันจนยากที่จะมองเห็นดอกไม้อันงดงามได้ บางทีถึงยืนต้นตายไปเพราะไม่มีโอกาสสูดกลิ่นไอโลกภายนอก ถ้าเราฟันกาฝากออกเสียแล้ว ต้นไม้นั้น ๆ ก็ย่อมเขียวสดงดงามเหมือนต้นอื่น ๆ นั่นเอง

เป็นกระชับคำที่บวกเอาอุปมาโวหารคมคายและแสดงทัศนคติต่อชีวิตได้ชัดเจนดี


จากเรื่อง ฉากเช้าตรู่ หน้า 236 237

เสียงแตรปลุกเป็นสัญญาณให้พวกเราต้องตื่นแต่เช้าตรู่ตามเคย เสียงอื่นไม่เคยทำให้ทหารแก่ระเบียบวินัย และการฝึกกระดิกกระเดี้ยได้เลย --- ตั้งแต่เช้าเช่นนั้น

เป็นฉากเปิดเรื่องที่กระชับด้วยถ้อยคำ และมีนัยยะแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของตัวละครทหารที่ผูกพันกับหมาตัวหนึ่ง


เมื่อเรากระโจนจากแคร่ สีหมอกก็กระโจนจากแคร่ เราสวมเครื่องแบบออกไป แท้ว! แท้ว!” และ

ฮั้น! ฮั้น !” ด้วยกระเพาะว่างเปล่าไปพลาง! สีหมอกก็วิ่งประชันกลับไปกลับมาเหมือนพวกเรา และไอ้หมาแสนรู้ยังอุตส่าห์หอบกระเพาะว่างเปล่าไปด้วย!

การซ้ำคำ ซ้ำประโยค ดังกล่าวนั้น นอกจากให้ความรู้สึกเหมือนเดิมทุกกระเบียดนิ้วแล้ว ยังทำให้เห็นภาพที่หมาพยายามทำตามที่คนทำด้วยทุกประการ แม้กระทั่งความหิวโดยกระเพาะอาหารว่างเปล่า


หรือจากเรื่อง ปาริชาติชีวิต หน้า 261

กระผมสะดุ้ง การปฏิสันถารของเราแหวกทางออกไปไกลเกินความคาดคิด ที่ตื่นไปด้วยความใคร่ของกระผมมาก

ดูการเลือกใช้คำของเธอสิ แหวกทางออกไปไกลเกินความคาดคิด


นั่นเป็นเรื่องของสำนวนภาษาอันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่นักเขียนจะแสดงออกถึงความคิด หากแม้นจะตัดเอาเนื้อหาที่ค่อนข้างจะพ้นสมัยไปบ้าง ในแง่ของความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศชาย – หญิง เราก็จะได้อิ่มเอมกับอรรถรสของเรื่องสั้นชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวาแทบทุกองค์ประกอบ ทั้งฉาก บรรยากาศ และตัวละครที่สมจริงเหลือเกิน ไม่ใช่เป็นการยกยอเกินจริงเลย หากจะหามาอ่านดูเพื่อให้รู้ซึ้งด้วยตัวเอง ขอรับรองว่าจะไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์สักนิดเดียว


.จันทพิมพะ เป็นผู้หญิงแบบไหนกันนะ ลองจินตนาการดูจากผลงานของเธอ รู้สึกว่าเธอเป็นผู้หญิงมีเสน่ห์ ลึกลับ ชวนให้ค้นหา และวางตัวได้เหมาะสมกับทุกโอกาส อันนี้เป็นการคาดเดาเท่านั้น

ถึงตรงนี้ ทำให้หวนนึกถึงนิยายเรื่องหนึ่งที่เป็นเขียนได้ลึกซึ้งมากทีเดียว เรื่องดำเนินไปคล้ายกับการสืบค้นหาความจริงในอดีต ความกระหายใคร่รู้ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างน่าติดตามอย่างยิ่ง โดยอาศัยการตีความหานัยยะที่ซ่อนเร้นอยู่ในบทกวี จดหมาย ของคู่รักกวีในยุคก่อน นิยายเรื่องนั้นคือ

เรื่องรักข้ามศตวรรษ เล่มหนาทีเดียวแต่รับรองว่าอ่านสนุก


เอ่ยถึง .ธรรมยศ ไปนิดหนึ่ง เกิดความรู้สึกคล้ายกับจะนึกถึงเจมส์ จอยซ์ แทรกขึ้นมาพร้อมด้วย

แปลกอยู่เหมือนกัน เออ..มนุษย์นี่ช่างมีความเกี่ยวโยงกันไม่แง่ใดก็แง่หนึ่ง เหมือนกระแสคิดของเราเป็นประจุไฟฟ้าที่โลดแล่นอยู่ในบรรยากาศ พอขั้วต่างสัมผัสกันเข้า ก็ส่งสัญญาณเกิดกระแสไฟวูบวาบขึ้นมาได้ ช่างเป็นความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ที่น่าทึ่งทีเดียว ทำไม .ธรรมยศ นักเขียนไทยจึงคล้ายจะมีอะไรบางอย่างที่สื่อถึง นักเขียนโพสต์โมเดินอย่างเจมส์ จอยซ์ไปด้วยนะ อธิบายยากจัง... ดูอย่างครูเจ้าของวังเก่านี่เป็นไร เธอลงความเห็นลอย ๆ กับผลงานของ ร.จันทพิมพะว่า “สำนวนโบราณไปหน่อย” (แน่สิก็เรื่องเขาเขียนนานมาแล้ว) และดูเธอไม่ยี่หระความเห็นของคนอื่นเอาเสียเลย ทั้งที่อยากวิวาทะกับเธอสักสี่ห้าประโยคด้วยซ้ำ แต่เธอกลับฮัมเพลง Those were the days ที่ Marry Hopkin ร้องไว้ขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย


Those were the days my friend,

We thought they’d never end,

We’d sing and dance forever and a day,

We’d live the life we choose,

We’d fight and never lose,

For we were young and sure to have our way,


นั่นล่ะ ชีวิตชีวาของผู้หญิง.

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…