Skip to main content

โดย ‘นายยืนยง’

ภาพปก ไตร่ ตรอง มอง หลัก

ชื่อหนังสือ :    ไตร่ตรองมองหลัก
ประเภท :                บทความพุทธปรัชญา     
จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์ศยาม
พิมพ์ครั้งที่ ๒ :    กันยายน  พ.ศ. ๒๕๔๓  :  แก้ไขปรับปรุง
ผู้เขียน :    เขมานันทะ
บรรณาธิการ :    นิพัทธ์พร  เพ็งแก้ว

ในกระแสนิยมปัจจุบัน  แม้พุทธศาสนาจะอยู่ในรูปสภาพที่เป็นกิจการค้าความเชื่อมากมายเพียงไร  และคงไม่ต้องกล่าวถึงว่าจะมีตรายี่ห้อใดบ้าง  ไม่ว่าจะลุ่มลึกหรือตื้นเขินตามกรอบทัศนคติของใคร แต่แก่นแท้ของพุทธศาสนาอันเป็นประตูสู่การบรรลุถึงโลกุตรธรรมนั้น ยังเป็นหลักของความสมบูรณ์แห่งทัศนะอยู่เป็นปกติ

หากเคยศึกษาหลักธรรรมะเราจะพบว่า  ความรู้สึกนึกคิดและสภาวะแห่งจิตจะเกิดปรากฏการณ์แห่งความสงสัย ใคร่จะได้คำอธิบาย  หรือเต็มไปด้วยปริศนา ด้วยหลักธรรมหรือพุทธปรัชญานั้น เป็นศาสตร์อันละเอียดลึกซึ้ง และเป็นนามธรรมยิ่ง      

บทความว่าด้วยศาสนาและปรัชญา  เล่ม ไตร่ตรองมองหลัก ที่เขียนโดย ท่านอาจารย์เขมานันทะ เล่มนี้  ได้บรรยายด้วยภาษาอันเรียบง่ายแต่ลุ่มลึก  ประกอบด้วยบทความเกี่ยวกับ      

(๑) สาระสำคัญแห่งวัชรยานตันตระ       
(๒) ข้อพินิจไตร่ตรอง  ต่อความมีอยู่และไม่มีอยู่ของสิ่งต่าง ๆ   
(๓) เหนือคิดคำนึง
(๔) พรหมจรรย์และฐานแห่งการภาวนา
(๕) โศลกคำสอนมหามุทราของติโลปะ

ในบทความแรกอันเกี่ยวกับวัชรยาน  หรือญาณสายฟ้าแลบที่เรารู้จัก  เป็นบทบรรยายแก่นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  ซึ่งท่านอาจารย์เขมานันทะอธิบายถึงแก่นแท้ของวัชรยาน  โดยเปรียบเทียบเนื้อหาสาระกับนิกายเซน ให้ข้อสังเกตในด้านของลักษณะทางภูมิศาสตร์อันเป็นสถานที่กำเนิดความเชื่อ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงรูปลักษณะทางวัฒนธรรมในแหล่งกำเนิดความเชื่อนั้นด้วย ลักษณะการวิเคราะห์ ถอดความจากสัญลักษณ์ในเชิงปรัชญาที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นรูปแบบทางวัฒนธรรมนั้น  เป็นแนวทางที่ท่านอาจารย์เขมานันทะมีความถนัดอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการถอดความจากสัญลักษณ์จากวรรณคดีหรือวรรณกรรม   ดังในคำนำของ นิพัทธ์พร  เพ็งแก้ว ผู้เป็นบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้  ได้กล่าวยกย่องท่านเป็น เอตทัคคะท่านหนึ่งทางด้านสามารถไขความสัญลักษณ์ ที่ปรากฎอยู่ในงาน ศาสนศิลป์ 

ท่านอาจารย์เขมานันทะ  อธิบายรากฐานของวัชรยานโดยพิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งปรากฏอยู่ในศาสนศิลป์ของชาวธิเบต  โดยท่านได้ทบทวนเพื่อเชื่อมโยงถึงยุคทองของศาสนาในชมพูทวีป ว่าด้วยยุคอุปนิษัท หรือศาสนาพราหมณ์ ที่อธิบายปรากฏการณ์ของโลก ชีวิต จักรวาล นั้นว่าเป็นอันเดียวกัน ตัวเรานั้นเป็นสิ่งเดียวกับจักรวาลทั้งหมด ขณะเดียวกัน ท่านได้ยกภาษิตของจางจื้อ ที่ว่า

“  ฟ้าดินกับอั๊วเป็นอันเดียวกัน  สรรพสิ่งทั้งหมดกับอั๊วเป็นหนึ่งเดียว ”   (น.๑๔)     

ครั้นแล้วก็เปรียบเทียบเข้ากับวรรณคดีอย่าง  รามเกียรติ์หรือ  รามายณะ  มหาภารตะ ที่มีโครงสร้างสำคัญว่าด้วยการสู้รบของฝ่ายธรรมะคือพระราม กับฝ่ายอธรรมคือทศกัณฐ์    หรือที่ท่านว่า สัจจะซึ่งสังหารมายาภาพ  เปรียบได้กับวัชรยาน ซึ่งคือเครื่องตัดอวิชชา  ถือเป็นแนวคิดเชิงสัญลักษณ์ ตรงกับนัยของศาสนาพราหมณ์ว่า อาตมันนั้นแท้จริงคือปรมาตมัน  กิเลสตัณหาต่าง ๆ ล้วนเป็นคุณะ(Value )ของเทพ(Divine) อันซ่อนเร้น แทนด้วยสัญลักษณ์ของรากษส (พวกยักษ์มาร) (น.๑๔)   ท่านอธิบายว่า  ชีวิตเป็นการสู้รบกันระหว่างรากษสและเทพ  เพทเป็นคุณสมบัติเบื้องสูง รากษสเป็นคุณสมบัติซ่อนเร้น  เพื่อปูพื้นฐานในการทำความเข้าใจวัชรยาน

โดยภาพรวมแล้ว  บทความเล่มนี้ มีลักษณะเด่นในด้านการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ท่านอาจารย์เขมานันทะใช้ภูมิความรู้ความเข้าใจเพื่ออธิบายเชื่อมโยงองค์ความรู้หลายสาขาผนวกเข้าเป็นแนวทางที่จะเข้าถึงหลักพุทธปรัชญา  นอกจากนี้การยกตัวอย่างเพื่อสื่อสารกับผู้อ่าน มีผลดีให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะในบท เหนือคิดคำนึง (น.๔๙)  ได้ยกตัวอย่างโศลกธรรม  เพื่อการเปรียบเทียบสภาพธรรมทางใจ แสดงให้เห็นถึงความมีอยู่ และไม่มีอยู่  ได้อย่างชัดเจน ดังโศลกของเว่ยหล่าง (น.๕๕)

“  ไม่มีต้นโพธิ    
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสว่าง
เมื่อทุกสิ่งว่างไร้
ฝุ่นจะปรากฏได้ที่ไหน  ”

กิเลสอันถูกเปรียบด้วยฝุ่นละออง  กายซึ่งเปรียบด้วยต้นโพธิอันไร้แก่น และจิตใจอันเปรียบด้วยกระจกเงาที่เจ้าของหมั่นขยันเช็ดให้สะอาด  ดังโศลกธรรมของชินเชาที่ว่า

“  กายของเราคือต้นโพธิ
และใจของเราคือกระจกเงาอันใส
เราเช็ดมันอย่างระวังตั้งใจในทุก  ๆ โมงยาม
ทั้งไม่ยอมให้ฝุ่นธุลีปรากฏขึ้นได้  ”

จากโศลกทั้งสองนั้น  มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด  ในเมื่อชินเชายังยืนอยู่ในความมีกาย  อันเปรียบด้วยต้นโพธิ และความมีอยู่ แห่งใจอันเปรียบด้วยกระจกและความมีอยู่ของกิเลส คือฝุ่นธุลี อันตนต้องเช็ดถูอย่างระวังในทุก ๆ ชั่วโมง  แสดงถึงการปฏิบัติธรรมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและสับสน ตอกย้ำความคิดรวบยอดว่ามีตัวตน และมีศูนย์กลางของการกระทำ ...  ฯลฯ 

ดังนั้น  การได้อ่านหนังสือพุทธปรัชญาเล่ม ไตร่ตรองมองหลัก นี้  เสมือนหนึ่งได้อ่านหนังสือหลายต่อหลายเล่มโดยผ่านการสรุปตีความจากท่านอาจารย์เขมานันทะ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา

แต่ขณะเดียวกัน  การศึกษาโดยเลินเล่อหรือละเลยต่อแก่นแท้ของการศึกษาแล้ว (ไม่ว่าจะโน้มเอียงไปตามสัมมาทิฎฐิหรือมิจฉาทิฎฐิ)  ย่อมอาจเป็นจุดเริ่มต้นอันสับสน  ซับซ้อน ซึ่งอาจไม่มีวันเยียวยาแก้ไขได้แม้นลมหายใจสุดท้ายของชีวิต ดังเช่นการศึกษาวัชรยาน ที่ท่านอาจารย์เขมานันทะได้กล่าวไว้ว่า

วัชรยานนี้เหมือนเหล้า   เหลาแรง ๆ นี่แหละครับ  ถ้าใครคอไม่แข็งก็จะหัวทิ่มแล้วก็เกิดโทษอาเจียนออกมา  (น.๑๗)  

นั่นคงบอกได้ว่าการศึกษาให้เข้าถึงนั้น  ต้องรากฐานของเราต้องพอเพียงด้วย.

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…