นายยืนยง
ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา
ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช
ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528
เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้ และการตรัสรู้อาจเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตติดอันดับหนึ่ง มาแรงแซงโค้งบรรดาทรัพย์สินเงินทองหรือแม้กระทั่งชื่อเสียง ถ้าเป็นอย่างนั้น ยุคพระศรีอาริย์คงใกล้ถึงอยู่รอมร่อ
หากใครปรารถนาจะตรัสรู้ถึงขั้นเข้ากระแสเลือด ฉันขอแนะนำหนังสือเล่มหนึ่งที่บรรยายถึงแนวทางสู่
การตรัสรู้ เป็นหนังสือเก่าแก่ที่ขาดตลาดไปนานมากแล้ว สมควรที่สำนักพิมพ์จะรื้อฟื้นพิมพ์ซ้ำใหม่อย่างยิ่ง ไม่ใช่ด้วยเหตุผลของกระแสการตลาด แต่เป็นเหตุผลของคุณค่าที่แท้จริงของตัวมันเอง หนังสือเล่มดังกล่าวคือ ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา นั่นเอง ผู้อ่านบางท่านจะคุ้นชื่ออยู่บ้าง
ขอนำประวัติผู้เขียนมาเปิดพิธีเสียก่อน
เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ได้ก่อตั้งชุมชนชาวพุทธผู้ภาวนาขึ้นหลายแห่งในอเมริกาเหนือ ชุมชนที่ใหญ่ที่สุดคือ กรรม ซอง ใน บุลเดอร์ โคโลราโด และการเม โนหลิง ในบาร์เนต เวอร์มอนต์ ท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันนโรปะ อันเป็นสถานศึกษา ซึ่งนักศึกษาอาจค้นคว้าภูมิปัญญาแบบพุทธควบคู่ไปกับภูมิปัญญาของตะวันตก ท่านยังเป็นกัลยาณมิตรและเป็นครูวิปัสสนาของนักศึกษาจำนวนมาก
เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ในฐานะที่ท่านถูกนับเนื่องเป็นปางอวตารชาติที่สิบเอ็ดของตรุงปะ ตุลกุ จึงได้รับการอบรมบ่มเพาะอย่างเข้มงวดเพื่อให้สืบทอดเป็นเจ้าอาวาสเซอร์มังในธิเบตตะวันออก กระทั่งได้รับการอภิเษกให้สืบทอดเป็นธรรมทายาทของมิลาเรปะและปัทมสัมภาวะ
ตรุงปะต้องอพยพลี้ภัยออกจากแผ่นดินถิ่นเกิดเมื่อครั้งที่จีนคอมมิวนิสต์ได้เข้ายึดครองธิเบตเมื่อปี 1959 หลังจากได้ไปพำนักในอินเดีย 3 ปี ก็เดินทางไปอังกฤษเพื่อศึกษาศาสนาเปรียบเทียบที่อ๊อกซ์ฟอร์ด สี่ปีหลังจากนั้นจึงก่อตั้งศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาแบบธิเบตและภาวนาขึ้นในโลกตะวันตก ถือเป็นแห่งแรก นั่นคือ สัมเย หลิง ในสกอตแลนด์
ท่านเขียนหนังสือไว้หลายเล่ม เป็นอัตชีวประวัติเล่มหนึ่งชื่อว่า Born in Tibet นอกจากนั้นมีงานทางด้านพุทธธรรมหลายเล่ม เช่น มุทรา , Cutting Through Spiritual Materialism ก็คือ ลิงหลอกเจ้าเล่มนี้ ,
Meditation in Action , The Myth of Freedom , Joumey Without Goals , และ Mandala : The Sacred Path of the Warrier.
ลิงหลอกเจ้า สภาพน่าสงสารแทบขาดใจของฉันเล่มนี้ ได้มาจากเพื่อนที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ตอนที่เขาเก็บข้าวของเพื่อเดินทางไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ หนังสือเล่มนี้ถือเป็นสมบัติ เขาว่าและมันน่าสนใจมาก ๆ ก็แน่ละสิ ในเมื่อเขาคลั่งไคล้มหายานปานนั้น แต่ฉัน ในฐานะผู้รับมรดกอันเก่าแก่และทรงภูมิกลับไม่ได้ปฏิบัติการใด ๆ ให้เกิดมรรคผลอันใดเลย อย่าว่าแต่เปิดประตูสู่แนวทางแห่งมรรคหรือการตรัสรู้เลย เอาแค่อ่านให้จบ ให้รู้เรื่องหมดจด ให้ซึมซ่านในอณูชีวิต ยังไม่อาจเอื้อม อย่างนี้เขาเรียกว่า “เสียของ” ใช่หรือเปล่า (ขอโทษนะ ’จารย์ หนังสือน่ะวิเศษสุด ฉันมันโง่เอง)
ลิงหลอกเจ้า เล่มนี้ เป็นหนังสือที่อ่านไม่จบ อะ ๆ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า มาอีกและ พวกอมปรัชญามาพูด โฮะ ๆ หาใช่ไม่ แต่หมายความตามนั้นจริงทุกประการ คือ อ่านจบไปบทหนึ่งแล้ว พอกลับมาอ่านซ้ำเพื่อหาประโยคเด็ด ๆ กลับรู้สึกฉงนฉงาย เอ๊ะ นี่เราอ่านจบบทนี้แล้วเหรอ? ทำไมเหมือนยังไม่ได้อ่านเลย
เป็นที่ งง มาก พอลองกลับไปอ่านอื่นที่อ่านจบไปแล้ว หรือแม้กระทั่งคำนำ ก็ปรากฏรูปการณ์เดิม ???
เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันไม่ควรจะบรรยายใด ๆ เลยแม้สักประโยคเดียวใช่ไหม แต่ก็หักห้ามใจไม่ได้ ในเมื่อปรารถนาให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ลิ้มลองอ่าน ลิงหลอกเจ้า ดูสักที อย่างน้อยก็เพื่อเปรียบเทียบหนังสือธรรมะในตลาดทุกวันนี้กับเมื่อหลายปีก่อน แตกต่างกันอย่างไรบ้าง แล้ววัตถุนิยมทางศาสนาคืออะไร ทำไมจึงต้องลอกคราบกันด้วย ท่านผู้อ่านจะได้อ่านกันเปรมเลยทีเดียวเชียว รับประกันได้
ขึ้นชื่อว่านักบวชสายธิเบตแล้ว เราย่อมเข้าใจตรงกันว่าเป็นพุทธมหายาน
ท่านว่า มหายาน คือ ยานอันกว้างใหญ่ เป็นมโนคติที่เห็นว่า ชีวิตนั้นร่ำรวยมาแต่กำเนิด ยิ่งกว่าจะเห็นชีวิตเป็นการดิ้นรนสู่ความรุ่มรวย หากขาดความมั่นใจดังกล่าวนี้แล้ว การทำสมาธิภาวนาจะให้ผลในทางปฏิบัติไม่ได้เลย
มันช่างตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับทัศนคติของฉัน นี่หรือเปล่าหนอที่ทำให้ฉันอ่านลิงหลอกเจ้าแบบเสียของไปเปล่า อีกข้อหนึ่งที่ทำเอากล้า ๆ กลัว ๆ ไปด้วยคือคำบอกกล่าวที่มีลักษณะกล่าวเตือนของท่านเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช
มีคำกล่าวกันอยู่ว่า “ไม่เริ่มต้นเสียจะดีกว่า หากเริ่มต้นแล้วรีบทำให้เสร็จดีกว่า” ดังนั้นคุณไม่ควรก้าวเข้าสู่มรรควิถีทางศาสนธรรม นอกเสียจากว่าคุณจะต้องก้าว ครั้นเมื่อคุณก้าวหน้าสู่มรรคานั้นแล้ว เมื่อคุณได้กระทำเช่นนั้นจริง ๆ แล้ว คุณถอยกลับไม่ได้ หนทางหนีนั้นไม่มีดอก”
ฉะนั้น ฉันจึงตัดสินใจได้ทันทีว่า อย่าอาจหาญก้าวสู่มรรควิถีแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเผลอเดินนวยนาดไปปลีกวิเวกปฏิบัติธรรมตามกระแสสังคม แต่นี่ย่อมไม่ใช่บทสรุป
ครั้นแล้วมาดูเนื้อหากันหน่อยเป็นไร
โดยเนื้อหาที่ฉันเกริ่นไว้ว่าเป็นตำราแห่งการตรัสรู้นั้น ประกอบไปด้วยบทบรรยายที่ชัดถ้อยชัดคำ ขณะเดียวกันก็อุดมด้วยความยอกย้อนอยู่ในความชัดเจนนั้น คล้ายกับคำสอนอย่างเซนในบางประการ ท้ายบทบรรยายจะมีคำถามของนักศึกษา และคำตอบของตรุงปะ เป็นการอธิบายเพิ่มและคลี่คลายความขัดข้องใจไปในตัว ใครเคยอ่านหนังสือของกฤษณะมูรติย่อมคุ้นเคยรูปแบบเช่นนี้อยู่บ้าง
บทบรรยายเหล่านั้นประกอบด้วย บทวัตถุนิยมทางศาสนา การยอมจำนน คุรุ อภิเษก การหลอกตัวเอง อารมณ์ขัน เรื่อยมาจนถึงบทที่ฉันตื้นตันเป็นพิเศษ แม้จะไม่ค่อยเข้าใจแต่ก็ตื้นตันได้ไม่ใช่หรือ นั่นคือ
บทพัฒนาการแห่งอัตตา
อัตตา ก็คือ ผู้เฝ้าดูตัวเรา
ฉันเพิ่งตระหนักได้ว่า แท้จริงแล้ว คนที่เรารักมากที่สุดหาใช่ใครที่ไหนไม่ แต่เป็นเจ้าอัตตาที่เฝ้าดูตัวเราอยู่ทุกเวลานานทีนั่นเอง
อย่างในหน้า 157 ที่บรรยายเกี่ยวกับ อัตตา ว่า
โดยทั่วไปลัทธิศาสนาทั้งหลายจะต้องเอ่ยถึงสาระข้อนี้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กันออกไป อาลัยวิญญาณบ้างบาปดั้งเดิมบ้าง ความวิบัติของมนุษย์บ้าง พื้นฐานอัตตาบ้าง ส่วนมากมักเอ่ยถึงไว้อย่างเสียหาย
แต่ข้าพเจ้าหาได้คิดว่า มันจะน่าตระหนกหรือน่าหวาดหวั่นถึงเพียงนั้นไม่ เราไม่ต้องละลายในสิ่งที่เราเป็น ในฐานะที่มีชีวิตจิตใจ เราล้วนมีพื้นเพที่วิเศษยิ่งอยู่แล้ว พื้นเพนี้ไม่จำเป็นต้องสะอาด สว่างหรือสงบทีเดียวนัก กระนั้นก็ดี เราล้วนมีผืนดินอันอุดมพอจะหว่านเพาะได้ จะปลูกอะไรก็ได้ในนั้น ฉะนั้นในประเด็นนี้ เราจึงไม่ได้ประณามหรือพยายามกำจัดอัตตาของเรา เราเพียงแต่รับรู้มัน โดยแลเห็นมันอย่างที่มันเป็น ฯลฯ
จากย่อหน้าเกี่ยวกับอัตตานี้ ท่านได้บรรยายให้ประจักษ์ชัดว่า อัตตามีพัฒนาการอย่างไร ซึ่งเป็นการประชุมกันของเหตุปัจจัยต่าง ๆ คติพุทธเรียกว่า ขันธ์ห้า และได้อุปมาอุปไมยพัฒนาการนี้ประหนึ่ง ลิงแสนลุกลนตัวหนึ่ง ที่ถูกขังอยู่ในเรือนร้าง มีหน้าต่างห้าบาน ซึ่งในแทนอายตนะทั้งห้า ไม่แน่ว่าชื่อหนังสืออาจจะมาจาก เจ้าลิงตัวนี้ก็ได้ อันนี้เดาเอาเองนะ แต่ที่แน่นอนที่สุด เจ้าลิงลุกลนตัวนั้นก็คือตัวเรานั่นเอง ลองอ่านดูเล็กน้อยนะ
เจ้าลิงที่แสนลุกลนตัวนี้ มักคอยโผล่หัวออกนอกหน้าต่างแต่ละบาน กระโดดขึ้น กระโดดลง อย่างไม่ยอมพัก ลิงตัวนี้ถูกกักไว้ในเรือนร้าง เป็นเรือนที่มีรูปทรง ยิ่งกว่าจะเป็นป่าดงดิบที่ลิงจะกระโดดโหนห้อยได้ หรือแทนที่จะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มันจะได้ยินเสียดสี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้กลับมีรูปทรงขึ้นมา ป่าดงดิบกลายเป็นเรือนที่มีรูปทรงของเจ้าลิงตัวนี้กลับกลายเป็นที่คุมขังของมัน แทนที่มันจะโหนห้อยอยู่ตามต้นไม้ มันกลับถูกโลกที่มีรูปทรงสร้างกำแพงล้อมเอาไว้ ดั่งว่าน้ำตกที่เคยไหลหล่น แลดูงดงามตระการตา กลับแข็งตัวไปเสีย เรือนที่แข็งตัวนี้ประกอบด้วย สีสันและพลังงานที่แข็งตัว หยุดนิ่งอย่างสิ้นเชิง นี่ดูเหมือนจะเป็นจุดที่กาลเวลาเริ่มปรากฏเป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน อาการไหลรี่ของสรรพสิ่ง กลายเป็นกาลเวลาที่มีรูปทรงจับต้องได้ เป็นการคิดค้นให้กาลเวลาเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
ถึงแม้ฉันจะยังเป็นงงอยู่ และลิงหลอกเจ้าก็ยังเฝ้าหลอกหลอนความมืดทึบในสติปัญญาของฉันอยู่ร่ำไป แต่หลายสูตรหรือบทบรรยายที่พอจะจับความได้นั้น สามารถเชื่อมโยงกับหลักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะกฎฟิสิกส์สมัยใหม่อยู่มากทีเดียว มีหนังสือที่กล่าวถึงเรื่องของ “เวลา” อยู่หลายเล่ม อย่าง จักรวาลในเปลือกนัท ผลงานของสตีเฟ่น ฮอว์คิง ที่ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล แปลไว้ ท่านผู้อ่านที่ไม่ติดโรคงงอย่างฉัน น่าหามาอ่านควบคู่ไปกับลิงหลอกเจ้าเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง.
บล็อกของ สวนหนังสือ
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้ 1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…