Skip to main content

นายยืนยง

ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING

ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์

พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551


 

ในกระแสหมุนโลกให้ช้า ๆ ที่ถือเป็น กระแสกลับของยุคบริโภคข้อมูลข่าวสารชนิดด่วนจี๋ เมื่อเห็นชื่อหนังสือเล่มนี้ ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ” อาจมีอันต้องสะบัดหน้าหนีชนิดคอแทบเคล็ด เพราะพวกที่นิยมหมุนโลกให้ช้าลงเหล่านี้ มักปฏิเสธอะไร ๆ ที่ปรากฎเป็นนิยามของความเร็ว แต่ก็มีข้อยกเว้น

 

สำหรับผู้ที่นิยมหมุนโลกให้ช้า ๆ แต่จำเป็นต้อง รีบดำเนินการอ่านด้วยความเร็วสูง ความรีบเร่งนี้จึงถือเป็นภาระกิจยกเว้นสำหรับสาวกนักหมุนโลกให้ช้ากลุ่มนี้ ซึ่งก็รวมถึงฉันด้วยคนหนึ่ง เพราะต้องยอมรับว่ามีหนังสือหนังหา ไล่ไปตั้งแต่หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน พ็อกเก็ตบุ๊ค กองเป็นตั้งสูงท่วมหัวรอให้มีเวลาพอจะอ่าน นี่ยังไม่รวมการอ่านผ่านเว็บไซต์ที่ต้องอาศัยแว่นตากรองแสง ขณะที่ลดแสงสะท้อนไปในตัวเป็นเครื่องมือชนิดเดียว ที่พอจะช่วยประทังชีวิตการอ่านไปได้บ้าง และแล้วโชคก็เข้าข้างฉัน เมื่อได้พบกับหนังสือแห่งความหวังเล่มนี้

เคล็ดลับอ่านเร็วและเพิ่มพลังความจำแบบไฮสปีด

 

ทันทีที่อ่านจบ (อย่างเร็ว) ฉันก็รีบนำมาบอกเล่าใน สวนหนังสือทันที ชนิดไม่มีเม้มอีกต่างหาก แต่ก่อนอื่นมาดูวิธีการเขียนของลุงไอน์สไตน์ ที่เราคุ้นเคยกันดีว่าเป็นหนังสือแนวฮาวทู

 

เป็นธรรมเนียมไปเสียแล้ว สำหรับนักเขียนหนังสือแนวนี้ ที่ต้องมีการอธิบาย ยกประโยชน์ให้แก่สิ่งที่ตนเขียนถึง เช่น ถ้าเขียนถึงการฝึกคิดเลขให้เร็วกว่ามนุษย์ธรรมดานั้น มีความจำเป็นมหาศาลปานใด หนำซ้ำหากคุณสามารถคิดเลขเร็วกว่าคนอื่นในสังคม ประโยชน์โภคผลนับพันประการจะตกแก่คุณอย่างงดงามปานใด

 

เช่นเดียวกัน ลุงไอน์สไตน์ก็ยกยอการอ่านว่าเป็นคุณประโยชน์มากเพียงใดแก่มนุษยชาติคนหนึ่ง ๆ

แกเขียนว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า 80 – 90 % ของความรู้หรือข้อมูลข่าวสารที่คนเราต้องการ มักจะได้มากจากการอ่าน

 

ท่านธีโอดอร์ รูสเวลท์ ยังรับประกันให้อย่างองอาจ สมกับตำแหน่งหน้าที่การงานว่า ก่อนเวลาอาหารเช้า ท่านจะอ่านหนังสือให้จบ 1 เล่มเสียก่อน และยังถือเป็นวัตรปฏิบัติอันสง่างามขณะที่เข้มงวดอย่างน่ายำเกรงอีกต่างหาก

 

นอกจากอธิบายและเอ่ยอ้างให้การอ่านเป็นเรื่องของชนชั้นเป็นมันสมองของสังคมแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังมีแบบทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการอ่านของเราด้วย มีสูตรให้คำนวณ มีแบบทดสอบการอ่าน ให้เราได้ลับมือ อีกใจหนึ่งก็จดจ่ออยู่กับเคล็ดลับอ่านเร็วที่กำลังจะเปิดเผยตัวเองในบทต่อไป ทั้งนี้ สำหรับคนที่ยึดมั่นในมารยาทการอ่านอย่างเข้มงวด คือจะอ่านตั้งแต่ต้นไปจนกระทั่งจบ ไม่มีการโกง แอบอ่านเอาเฉพาะในส่วนเนื้อหาที่ตนเองสนใจก่อน

 

และเมื่อเราได้ทำการทดสอบตัวเองผ่านบททดสอบการอ่านที่มาพร้อมในหนังสือแล้ว เราจะตระหนักว่าอันตัวเรานั้นเสียเวลาไปกับการอ่านอันเชื่องช้าอย่างมากมาย ชนิดไม่อยากให้อภัยตัวเอง เพราะว่า

จากสถิติที่เคยมีการบันทึกไว้ มี มนุษย์ที่สามารถอ่านได้เร็วขนาดมือยังเปิดหน้าตามแทบไม่ทัน

 

ไม่เท่านั้น คิม พีค อัจฉริยะออทิสติก ชาวอเมริกัน สามารถอ่านได้สองหน้าในวลาเดียวกัน และด้วยตาเพียงข้างเดียว (โอ้โห) ขณะที่อ่านเร็วผิดมนุษย์สามัญปานนั้น พ่ออัจฉริยะคิม พีค ยังสามารถจดจำและเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านได้อย่างขึ้นใจ หรืออย่างท่านอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี แห่งอเมริกา ยังสามารถอ่านได้เร็วถึง 1,000 คำต่อนาที ซึ่งหากดูระดับความเร็วในการอ่านแล้ว ทั่นจอห์น เอฟ เคนเนดีมีความสามารถในการอ่านเร็วเข้าขั้นทะลุเทพเลยทีเดียว

 

ไหน ๆ แล้ว ลองมาดูตารางระดับความเร็วกันดีกว่า

ความเร็วเฉลี่ย (คำ/นาที) ระดับ

301 – 400 ดีเยี่ยม

201 – 300 ดี

101 – 200 พอใช้

ต่ำกว่า 100 ควรปรับปรุง

ขนาดฉันที่เคยประเมินตัวเอง (ก่อนทำแบบทดสอบ) ยังรู้สึกว่าตัวเรานี่ก็อ่านเร็วไม่ใช่เล่น แต่ที่ไหนได้

พอมาทำแบบทดสอบแล้ว คะแนนออกมาตกต่ำจนใจหาย ฉะนั้นฉันจึงมุ่งหน้าไปสู่เคล็ดลับอ่านเร็วทันที

 

เคล็ดลับอ่านเร็วมีอยู่ 5 ขั้นตอนด้วยกัน แต่หากจะยกมาให้อ่านกันสด ๆ ตรงนี้ อาจไม่เป็นการบังควร ฉะนั้นฉันจึงควรแอบเอามาสรุปกันสั้น ๆ พอเป็นกระสาย สำหรับใครที่อ่านเร็วเข้าขั้นอยู่แล้ว ก็ถือเสียว่า งานนี้เป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน จะช่วยอุดหนุนบ้างก็จะเป็นพระคุณยิ่ง โฮะ ๆ

 

ใครเคยสังเกตเห็นใคร หรือตัวเองบ้างไหม ยามอ่านหนังสือจะส่ายหน้าจากซ้ายไปขวา ขวากลับมาซ้ายไปตามสายตาที่จับอยู่บนบรรทัดของหนังสือที่อ่าน เหมือนกำลังส่ายหน้าปฏิเสธอะไรบางอย่างอยู่อย่างงั้นแหละ ขอบอกเลยว่า อาการส่ายหน้าตามสายตาไปตามตัวอักษรอย่างนี้ ถือเป็นความผิดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอีกด้วย

 

เคล็ดลับการอ่านเร็วได้ระบุไว้ว่า การอ่านเร็วนั้นให้มองตรงไปข้างหน้าเท่านั้น

ใครที่เคยอ่านออกเสียงพึมพำหรือคลออยู่ในลำคอ หรือแม้กระทั่งอ่านออกเสียงอยู่ในใจก็ตามที

ถ้าอยากอ่านเร็วควรเลิกพฤติกรรมนี้เสีย เพราะมันทำให้สมองเรามัวเสียเวลาบัญชาการอวัยวะอื่น

นอกจากตา ปกติแล้วการอ่าน มีกระบวนการเริ่มที่ตารับภาพแล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง เป็นความรับรู้ แล้วส่งไปยังสมองในส่วนที่จะทำการบันทึกเป็นความทรงจำ ซึ่งมีทั้งความทรงจำชนิดสั้นและยาว หากเรามาเสียเวลาเปล่งเสียงแม้จะเป็นการเปล่งเสียงในใจก็ตาม ก็จะถือเป็นตัวถ่วงเวลาทั้งสิ้น

 

ที่ถูกต้องแล้ว เราควรอ่านทีละบรรทัด หรือถ้าได้ฝึกฝนจนคล่องแล้ว เราควรใช้สายตาให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าเครื่องสแกนภาพ คือ อ่านทีละหน้า โดยไม่ต้องไล่สายตา แต่ให้โฟกัสสายตาไปที่หน้าหนังสือ ซึ่งมีประกอบด้วยประโยคแต่ละประโยค กลุ่มคำที่เราคุ้นชินและเคยได้ทำความรู้จัก โดยมันเคยถูกเก็บไว้เป็นความรับรู้ในสมองส่วนบันทึกความทรงจำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่โอ้โหย...ขั้นนั้น ใครจะไปทำได้

 

ทางที่ดี เราควรเริ่มฝึกจากการอ่านแบบทีละวรรค โดยไม่ต้องพยักหน้าขึ้นลงเมื่อต้องวาดสายตาผ่านตัวอักษรทีละวรรค พอคล่องแคล่วแล้ว ก็หัดอ่านไปทีละบรรทัด โดยโฟกัสไปทีบรรทัดบนสุด แล้วไล่ลงมาสู่บรรทัดล่าง แต่มีข้อแม้ว่า อย่าเผลอขยับหน้าตามบรรทัดที่อ่าน คราวนี้พอคล่องแล้ว เราจะหัดสวมวิญญาณเครื่องสแกนภาพกันล่ะ อ่านมันไปทีละหน้า ทีละหน้า ขอให้มือเปิดพลิกหน้ากระดาษให้ทันก็แล้วกัน งานนี้ใครฝึกไปถึงขั้นแล้ว ก็เชิญตัวเองไปลงทะเบียนแข่งขันอ่านเร็วได้เลยทีเดียว

 

หากสงสัยว่ามันจะเป็นไปได้หรือ ในหนังสือเขาอธิบายว่า โดยปกติแล้ว เซลล์ประสาทตาคนเรามี 2 แบบ คือ แบบกรวย กับ แบบแท่ง แบบกรวยจะกระจุกตัวอยู่กลางจอรับภาพของดวงตา ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดตรงหน้า

ทำให้มองเห็นได้ 5 % แบบแท่งจะกระจายตัวอยู่รอบ ๆ จอรับภาพ ทำให้สามารถมองเห็นด้านข้างและด้านหลังได้ ราว 95 % ปกติเราใช้แบบกรวยอ่าน ซึ่งก็เท่ากับใช้สายตาเพียง 5 % ต้องสูญเสียโอกาสในการมองเห็นไปถึง 95 % น่าเสียดายออก ฉะนั้น หากเราโฟกัสไปที่กลางบรรทัด ให้ครอบคลุมไปจนสุดแนวซ้าย ขวาของหน้ากระดาษ โดยเฉพาะถ้ารูปแบบการพิมพ์ที่แบ่งเป็นคอลัมน์ ๆ จะใช้ได้ดีเยี่ยมกับการอ่านแบบนี้ เหมือนคนจีนกับคนญี่ปุ่นที่อ่านแบบแนวนิ่ง ต่างแต่เขากันอ่านทีละตัวอักษร

 

นอกจากเคล็ดลับเหล่านี้แล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สมาธิอันแน่วแน่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การอ่านบรรลุวัตถุประสงค์ เพราะนอกจากอ่านเร็วอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังทำให้เข้าใจต่อเนื้อหาของหนังสืออย่างแจ่มชัดด้วย และเขาก็บอกว่า การเรียกสมาธิให้มาอย่างเร็วนั้นมีตัวช่วยชนิดหนึ่ง นั่นคือ ภาพMandala ซึ่งก็คือภาพเรขาคณิตที่ทับซ้อนและดูวกวนนั่นเอง ใครเคยดูภาพ Mandala แล้วต้องเข้าใจว่าทำไมมันจึงสร้างสมาธิได้อย่างฉับพลัน หากใครเป็นพวกสมาธิสั้น สมาธิมีแบบกระปริกระปรอย ควรพกMandala ติดตัวไว้ หากต้องการสมาธิก็ควักภาพมาดูซะ เขาว่าอย่างงั้น

 

ถึงที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตาม การอ่านนั้นจะช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้อ่านและประเภทหนังสือ

เซอร์ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า เราต้องรู้ด้วยว่าหนังสือเล่มที่เรากำลังจะอ่านนั้นเป็นหนังสือประเภทใด

ถ้าเป็นตำราวิชาการ ก็ต้องอ่านคนละแบบกับการอ่านวรรณกรรม

 

หนังสือก็เหมือนอาหาร บางชนิดมีไว้ชิม ละเลียด บางชนิดมีไว้ขบเคี้ยว บางชนิดไว้มีซด อันนี้เชิญพิจารณากันเองตามอัธยาศัย

 

เหนืออื่นใด หัวใจของการอ่านก็คือ การทำความเข้าใจนักเขียน นั่นเอง เพราะนักเขียนก็เขียนเพื่อสื่อความหมายบางประการ ดังนั้น หากเราจะอ่านโดยไม่ถามถึงหัวใจดวงนี้เลย จะเป็นบิดเบือนเจตนารมของการอ่านไปเสียเปล่า ใช่ไหม

 

ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าเราจะเป็นพวกนิยมช้าหรือชื่นชมความเร็ว การอ่านแบบช้าหรือเร็วก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ที่ไม่ใช่ป้ายโฆษณาติดประกาศอย่างจำกัดความว่าเราเป็นพวกช้านิยมหรือเร็วนิยม เสียหน่อย.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…