Skip to main content

นายยืนยง
 

พัฒนาการของกวีภายใต้คำอธิบายที่มีอำนาจหรือวาทกรรมยุคเพื่อชีวิต ซึ่งมีท่าทีต่อต้านระบบศักดินา รวมทั้งต่อต้านกวีราชสำนักที่เป็นตัวแทนของความเป็นชาตินิยม ต่อต้านระบอบราชาธิปไตย ต่อต้านไปถึงฉันทลักษณ์ในบางกลุ่ม ต่อต้านทุนนิยมและจักรวรรดิอเมริกา ขณะที่ได้ส่งเสริมให้เกิดอุดมการณ์ประชาธิปไตยในยุคก่อนโน้น มาถึงพ.ศ.นี้ ได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ทวนกระแสเพื่อชีวิต ด้วยวิธีการปลุกความเป็นชาตินิยม ปลูกกระแสให้เรากลับมาสู่รากเหง้าของเราเอง


รากเหง้าของเราเอง ที่กวีสร้างกระแสขึ้นมาในยุคนี้นั้น เป็นรากเหง้าที่กล่าวได้ว่า ไม่ใช่รากเหง้าที่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนยุคก่อนอีกต่อไปแล้ว เพราะรากเหง้าเคยถูกเราหยามเหยียดว่าไร้สาระ ไร้อารยธรรมและไม่ทันสมัย เนื่องมาจากอิทธิพลของจักรวรรดิอเมริกา แนวคิดอย่างโลกตะวันตก และลัทธิทุนนิยมที่กล่อมเกลาเราให้ดูชาญฉลาดขึ้นกว่าเดิม แต่ รากเหง้าของเราเอง ได้เกิดการผสมผสานเป็นโลกทัศน์ใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตัวหรือในเชิงปัจเจกมากขึ้น มีการสร้างสรรค์ลีลา ท่วงทำนองของกวีนิพนธ์ขึ้นใหม่อย่างหลากหลาย มีการกล่าวถึงปรัชญาทั้งตะวันตก ปรัชญาตะวันออก หรือปรัชญาตะวันตกที่โน้มมาสู่ตะวันออก อย่างกว้างขวางจนน่าทึ่ง

ในส่วนของผู้อ่าน การจะเข้าถึงกวีนิพนธ์ในแง่ที่เป็นสุนทรียรสของกวีนิพนธ์หรือเข้าถึงปรัชญาที่กวีนิพนธ์พูดถึงนั้น เป็นเรื่องที่ผู้อ่านน่าจะให้ความสนใจ เพื่อปกป้องตัวเองจากการตกหลุมพรางของกวี จากอาการลุ่มหลงงมงายปรัชญาจนกลายเป็นผู้อ่านแสนเฟอะฟะแห่งยุคสมัยไป


ดังนั้น จะเป็นการดีไหมถ้าหากเราจะมาดูกันว่า กวีนิพนธ์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพื่อนำมันร่วมพิจารณากับ
สาร ซึ่งก็คือ ปรัชญาต่าง ๆ ที่กวีนิพนธ์พูดถึง

การเกิดขึ้นของกวีนิพนธ์ ในที่นี้ขอตั้งสมมุติฐานไว้ 2 ข้อ ดังนี้

1.กวีรู้สึกเป็นมโนภาพ คือ ความรู้สึก นึก คิด จินตนาการของกวี เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นโดยไร้ถ้อยคำหรือภาษา เป็นความอิ่มเอมชั่ววูบหนึ่งที่ซ่านซึ้งใจ ซึ่งกวีต้องการสื่อสารไปถึงผู้อ่าน ด้วยการพรรณนาผ่านภาษากวีออกมา เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ทางอารมณ์ของกวี

ข้อนี้ถือเป็นวิวัฒนาการทางภาษา เป็นการแตกหน่อเติบโตทางภาษา กล่าวคือ เมื่อพบสภาวะอย่างใหม่อันหนึ่งแล้วต้องการถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด จำเป็นต้องมีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่ สร้างสำนวนโวหาร มีการเปรียบเทียบเปรียบเปรย และเมื่อมีการพบสภาวะอย่างใหม่ขึ้นอีก สำนวนโวหารอย่างเดิมกลับใช้ไม่ได้ ต้องมีการสร้างขึ้นใหม่อีกเรื่อยไป เช่นนี้ เราจึงต้องขอบคุณกวีที่ได้สร้างสรรค์ถ้อยคำภาษาให้เราได้ใช้กันอย่างถึงใจ


กวีเป็นดั่งคลังของถ้อยคำทีเดียว


2.กวีรู้สึกเป็นภาษา คือ กวีรู้สึก นึก คิดหรือจินตนาการเป็นภาษา ต้องแยกเป็น 2 ข้อย่อยกันอีก คือ

- คิดออกมาตามกลไกของภาษา เหมือนอย่างที่เราคุ้นเคยกับคำว่า กลอนพาไป คือ กวีจะรู้สึก จะคิดอะไรสะระตะไปตามความหมายของภาษาที่ถูกใช้กันอย่างคุ้นเคยในสังคม การเกิดขึ้นของกวีนิพนธ์แบบนี้ ไม่ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์อะไรมากมาย เพราะกวีจะไม่สามารถคิดอะไรใหม่ ๆ ภายใต้กลไกของภาษาที่อยู่ภายใต้บริบททางสังคม เช่น ถ้าเรารู้สึกถึงความทุกข์ที่เป็นคำว่า ทุกข์ มาก่อน ถ้อยคำที่เกี่ยวกับ ทุกข์ ก็จะถูกสมองดึงออกมาใช้งานเพื่ออธิบาย ทุกข์ ของเราหรือเพื่อปรุงแต่งทุกข์ของเรา แน่นอนว่า ถ้าระบบคิดของเราเป็นไปตามกลไกของภาษาตามความเคยชิน เราก็จะได้ถ้อยคำที่มีทั้งเป็นไปทางเดียวกันกับ ทุกข์ เช่น เศร้า โศก น้ำตา เลือด ความตาย หรือไปในทางตรงข้าม เช่น สุข พอใจ ดีใจ

เรียกว่า ให้ภาษาเป็นตัวชี้นำความคิด ความรู้สึก จินตนาการของเรา


- คิดออกมารวดเดียวพร้อมกับภาษาเป็นอัตโนมัติ โดยเฉพาะกวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์ กวีจะคิดออกมาเป็นกลอน เป็นกาพย์ โคลง หรือในกลอนเปล่า ที่ไร้ฉันทลักษณ์เป็นตัวกำหนด ก็สามารถคิดออกมารวดเดียวได้เช่นกัน ซึ่งข้อนี้เห็นว่ากวีต้องมีการฝึกปรือจนชำนาญทั้งเรื่องของการใช้ภาษาและมุมมองที่แจ่มชัด

หากจะอธิบายเป็นขั้นตอน อาจกล่าวได้ว่า เป็นความลงตัวพอดีระหว่างอารมณ์ ภาษา เหมือนการที่เราไปมองเห็น สัมผัสกับจุดสัมผัสนั้นได้พอดี สภาวะดังกล่าวจึงถูกถ่ายทอดมาพร้อมกัน สมมุติว่าถ้า
(1) คือ ความรู้สึกที่ไหลเวียนอยู่ และ (2) คือฉันทลักษณ์ที่ไหลเวียนอยู่ ถ้า(1)กับ(2) เคลื่อนไหลมาสัมผัสกัน ณ จุดหนึ่ง แล้วกวีไปมองเห็นจุดสัมผัสนั้น การถ่ายทอดจึงเป็นรวบเป็นขั้นตอนเดียวอย่างสมบูรณ์ในตัวเอง


จากสมมุติฐานข้างต้น เราน่าจะลองกล่าวถึง
สาร ที่กวีต้องการถ่ายทอดสู่ผู้อ่าน ว่าเป็น สาร ที่ถือกำเนิดขึ้นจากมโนภาพหรือจากโครงสร้างทางภาษา เพื่อจะสรุปว่า กวีนิพนธ์ที่กวีเขียนขึ้นจากมโนภาพกับจากโครงสร้างทางภาษา มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น เราอาจจะมองเห็นชัดขึ้นว่า 
กวีนิพนธ์แนวพุทธธรรมควรจะถูกอ่านแบบไหน ระหว่างการอ่านที่ยึดอิงกับหลักพุทธธรรม กับแบบที่อ่านเอาสุนทรียรสของกวีนิพนธ์


เมื่อลองย้อนกลับไปอ่านกวีนิพนธ์แนวพุทธธรรมในอดีต เราจะเห็นท่าทีแบบเทศนาอย่างตรงไปตรงมา หรือในรูปของสุภาษิต คำพังเพย แต่ในปัจจุบันกวีนิพนธ์ไม่อาจใช้วิธีการเทศนาแบบตรงไปตรงมาเช่นอดีตได้อีกแล้ว

หากยกหลักการเกิดปัญญาตามหลักธรรม พระพุทธเจ้าทรงแบ่งปัญญาออกเป็น 3 ระดับ

1.จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่ได้จากการคิด

2.สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่ได้จากการเรียน

3.ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่ได้จากการหยั่งรู้ ซึ่งปัญญาในระดับนี้เกิดจากการหยั่งรู้ได้ด้วยตนเอง มิอาจบอกกล่าวแก่กันได้ ต้องทดลองค้นพบด้วยตนเองเท่านั้น

นอกจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแบ่งความรู้ออกเป็น 2 อย่าง คือ

1.ความรู้แบบมีเหตุมีผลทางตรรกศาสตร์ หรือวิธีคิดเป็นเส้นตรง

2.ความรู้แบบหยั่งรู้ คือ เกิดจากการเข้าถึงความเป็นจริงโดยไม่ต้องคิด เพียงแต่ไปขยายกำลังของสติสัมปชัญญะ เมื่อสติมีกำลังเข้มแข็งขึ้น การหยั่งรู้จึงเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

จะเห็นได้ว่าหลักการของพระพุทธเจ้าในการจะเกิดความรู้และปัญญานั้น ในระดับสูงสุดล้วนเป็นการหยั่งรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช่วิธีการรู้ด้วยการบอกกล่าว ซึ่งหากกวีนิพนธ์ที่พูดถึงพุทธธรรมต้องการส่งสารแห่งการหยั่งรู้ไปสู่ผู้อ่าน กวีนิพนธ์จะเป็นอะไรได้?


น่าสังเกตอีกไหมว่า สภาวะของการหยั่งรู้นั้นเป็นบ่อเกิดของปัญญา ซึ่งกวีเองก็ต้องมีสภาวะเฉียบพลันดังกล่าวในการที่จะสร้างสรรค์กวีนิพนธ์เช่นเดียวกัน ต่างแต่ว่า พระพุทธเจ้าบอกว่าสภาวะของการหยั่งรู้นั้นถ่ายทอดกันไม่ได้ แต่สำหรับกวี สภาวะหยั่งรู้ต้องมีการถ่ายทอดออกมา จึงจะมีบทกวีเกิดขึ้น


ฉะนั้นปลายทางของการหยั่งรู้ในทางพุทธ กับในทางกวีนิพนธ์ จึงเป็นไปในทางตรงกันข้าม ซึ่งไม่ได้หมายความว่า การอธิบายถึงสภาวะการหยั่งรู้ในกวีนิพนธ์เป็นเรื่องไม่ถูก

นอกจากนั้น กวีนิพนธ์ที่เกิดขึ้นจากการที่กวีรู้สึกเป็นภาษา คิดออกมาตามกลไกของภาษา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยิ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดสภาวะของการหยั่งรู้ในหลักพุทธธรรมได้เลย เพราะกวีไม่ได้เกิดมีสภาวะหยั่งรู้ขึ้นก่อน ก็เท่ากับว่า กวีนิพนธ์ที่พูดถึงพุทธธรรมก็เป็นได้เพียง
คำกลอน เล่าเรื่องพระไตรปิฎก

นั่นคือเรื่องของ
สาร แต่หากเราจะมาดูกันในแง่ของ การสื่อสาร กวีนิพนธ์ยังสื่อสารผ่านภาษา ต้องผ่านการตีความโดยตัวกวีอีกด้วย ฉะนั้น หากกวีเป็นผู้สื่อสารแห่งพุทธธรรมตามพระไตรปิฏกแล้ว กระบวนการดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการนำพุทธชาดกมาเล่าใหม่ผ่านบริบทของสังคมปัจจุบันเท่านั้นหรือ หรือแม้แต่การนำศัพท์แสงทางพุทธธรรมต่าง ๆ มาตีความ อธิบายเพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมนั้น ก็เท่ากับว่า กวีนิพนธ์ก็อาจจะเป็นเพียงภาษาของการขยายความตามพระไตรปิฎกเท่านั้น

ขณะที่พระไตรปิฎกยังเป็นฉบับเดิม คือเป็นการเทศนาแบบตรงไปตรงมา แต่กวีนิพนธ์กลับไม่อาจเทศนาแบบนั้นได้  ดังนั้นพุทธธรรมที่ถูกพูดผ่านกวีนิพนธ์ จึงเป็นพุทธธรรมที่ถูกตีความโดยตัวกวี ซึ่งเหมือนกับการตีความผ่านนักเขียนแนวธรรมทั้งหลาย ทำให้
สาร ที่ได้ไม่มีความแตกต่างจากหนังสือแนวธรรมะที่วางขายอยู่เต็มตลาด จะมีก็แต่ความประทับใจแรกที่อาจเป็นแค่ภาพลวงตาหรือหลุมพรางเท่านั้นเอง

การถ่ายทอดพุทธธรรมที่ผ่านการตีความและถ่ายทอดในแบบของกวีนิพนธ์โดยกวีนั้น หากมีข้อคลาดเคลื่อน


นอกจากนี้ การปรากฏขึ้นของ
ใบหน้ากวี ตามสื่อต่าง ๆ สู่สาธารณชน อาจทำให้ดูเป็นเหมือนเป็นการแสดงตัวที่ให้ความรู้สึกขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์แก่บทกวี

และที่สำคัญ ผู้อ่านจะไม่สามารถอ่านแบบที่ยึดอิงกับหลักพุทธธรรมได้ เพราะกวีไม่ได้เกิดสภาวะการหยั่งรู้ขึ้นก่อน หรือถึงแม้นว่า กวีจะเกิดสภาวะการหยั่งรู้ขึ้นก่อน ในทางพุทธก็ไม่สามารถถ่ายทอดสู่กันได้อีกด้วย


ดังนั้นกวีนิพนธ์ที่พูดถึงพุทธธรรม จึงเป็นเพียงเปลือกนอกที่สร้างขึ้นจากกลไกของภาษาเท่านั้น และผู้อ่านก็ไม่ควรตกหลุมพรางของกวีที่ได้สร้างความประทับใจแรกด้วยการเอา
ป้าย พุทธธรรมมาติดโชว์ในกวีนิพนธ์

สำหรับผู้อ่าน เราควรอ่านพุทธธรรมด้วยวิธีการเรียนรู้ของพุทธธรรม ที่มีลำดับขั้นตอนสุดท้ายเป็นการหยั่งรู้ด้วยตนเอง แต่เราควรอ่านกวีนิพนธ์ที่พูดถึงพุทธธรรมเพื่อเสพเอาสุนทรียรสทางภาษามากกว่า นอกจากนี้กวีนิพนธ์ที่อธิบายถึงสภาวะการหยั่งรู้ได้หมดจด ก็ยังมีให้อ่านอีกมากมาย โดยไม่ต้องหลงยึดกับหลุมพรางใด ๆ


เพราะหากกวีต้องการให้กวีนิพนธ์ไปใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากสุนทรียรสแล้ว กวีนิพนธ์ต้องสร้างแรงบันดาลใจขึ้นมาให้สำเร็จ ถ้ามัวหลงจำแลงภาพที่งดงามเกินกว่าที่เป็นจริง ไร้กฎเกณฑ์เกินกว่าที่เป็นจริง และลื่นไหลเกินกว่าที่เป็นจริงแล้ว พุทธธรรมในกวีนิพนธ์ก็เป็นเพียงเครื่องมือไร้ประสิทธิภาพที่กวีหลับหูหลับตาหยิบฉวยมาใช้งานเท่านั้นเอง.

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…