Skip to main content

นายยืนยง
 

พัฒนาการของกวีภายใต้คำอธิบายที่มีอำนาจหรือวาทกรรมยุคเพื่อชีวิต ซึ่งมีท่าทีต่อต้านระบบศักดินา รวมทั้งต่อต้านกวีราชสำนักที่เป็นตัวแทนของความเป็นชาตินิยม ต่อต้านระบอบราชาธิปไตย ต่อต้านไปถึงฉันทลักษณ์ในบางกลุ่ม ต่อต้านทุนนิยมและจักรวรรดิอเมริกา ขณะที่ได้ส่งเสริมให้เกิดอุดมการณ์ประชาธิปไตยในยุคก่อนโน้น มาถึงพ.ศ.นี้ ได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ทวนกระแสเพื่อชีวิต ด้วยวิธีการปลุกความเป็นชาตินิยม ปลูกกระแสให้เรากลับมาสู่รากเหง้าของเราเอง


รากเหง้าของเราเอง ที่กวีสร้างกระแสขึ้นมาในยุคนี้นั้น เป็นรากเหง้าที่กล่าวได้ว่า ไม่ใช่รากเหง้าที่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนยุคก่อนอีกต่อไปแล้ว เพราะรากเหง้าเคยถูกเราหยามเหยียดว่าไร้สาระ ไร้อารยธรรมและไม่ทันสมัย เนื่องมาจากอิทธิพลของจักรวรรดิอเมริกา แนวคิดอย่างโลกตะวันตก และลัทธิทุนนิยมที่กล่อมเกลาเราให้ดูชาญฉลาดขึ้นกว่าเดิม แต่ รากเหง้าของเราเอง ได้เกิดการผสมผสานเป็นโลกทัศน์ใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตัวหรือในเชิงปัจเจกมากขึ้น มีการสร้างสรรค์ลีลา ท่วงทำนองของกวีนิพนธ์ขึ้นใหม่อย่างหลากหลาย มีการกล่าวถึงปรัชญาทั้งตะวันตก ปรัชญาตะวันออก หรือปรัชญาตะวันตกที่โน้มมาสู่ตะวันออก อย่างกว้างขวางจนน่าทึ่ง

ในส่วนของผู้อ่าน การจะเข้าถึงกวีนิพนธ์ในแง่ที่เป็นสุนทรียรสของกวีนิพนธ์หรือเข้าถึงปรัชญาที่กวีนิพนธ์พูดถึงนั้น เป็นเรื่องที่ผู้อ่านน่าจะให้ความสนใจ เพื่อปกป้องตัวเองจากการตกหลุมพรางของกวี จากอาการลุ่มหลงงมงายปรัชญาจนกลายเป็นผู้อ่านแสนเฟอะฟะแห่งยุคสมัยไป


ดังนั้น จะเป็นการดีไหมถ้าหากเราจะมาดูกันว่า กวีนิพนธ์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพื่อนำมันร่วมพิจารณากับ
สาร ซึ่งก็คือ ปรัชญาต่าง ๆ ที่กวีนิพนธ์พูดถึง

การเกิดขึ้นของกวีนิพนธ์ ในที่นี้ขอตั้งสมมุติฐานไว้ 2 ข้อ ดังนี้

1.กวีรู้สึกเป็นมโนภาพ คือ ความรู้สึก นึก คิด จินตนาการของกวี เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นโดยไร้ถ้อยคำหรือภาษา เป็นความอิ่มเอมชั่ววูบหนึ่งที่ซ่านซึ้งใจ ซึ่งกวีต้องการสื่อสารไปถึงผู้อ่าน ด้วยการพรรณนาผ่านภาษากวีออกมา เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ทางอารมณ์ของกวี

ข้อนี้ถือเป็นวิวัฒนาการทางภาษา เป็นการแตกหน่อเติบโตทางภาษา กล่าวคือ เมื่อพบสภาวะอย่างใหม่อันหนึ่งแล้วต้องการถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด จำเป็นต้องมีการสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่ สร้างสำนวนโวหาร มีการเปรียบเทียบเปรียบเปรย และเมื่อมีการพบสภาวะอย่างใหม่ขึ้นอีก สำนวนโวหารอย่างเดิมกลับใช้ไม่ได้ ต้องมีการสร้างขึ้นใหม่อีกเรื่อยไป เช่นนี้ เราจึงต้องขอบคุณกวีที่ได้สร้างสรรค์ถ้อยคำภาษาให้เราได้ใช้กันอย่างถึงใจ


กวีเป็นดั่งคลังของถ้อยคำทีเดียว


2.กวีรู้สึกเป็นภาษา คือ กวีรู้สึก นึก คิดหรือจินตนาการเป็นภาษา ต้องแยกเป็น 2 ข้อย่อยกันอีก คือ

- คิดออกมาตามกลไกของภาษา เหมือนอย่างที่เราคุ้นเคยกับคำว่า กลอนพาไป คือ กวีจะรู้สึก จะคิดอะไรสะระตะไปตามความหมายของภาษาที่ถูกใช้กันอย่างคุ้นเคยในสังคม การเกิดขึ้นของกวีนิพนธ์แบบนี้ ไม่ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์อะไรมากมาย เพราะกวีจะไม่สามารถคิดอะไรใหม่ ๆ ภายใต้กลไกของภาษาที่อยู่ภายใต้บริบททางสังคม เช่น ถ้าเรารู้สึกถึงความทุกข์ที่เป็นคำว่า ทุกข์ มาก่อน ถ้อยคำที่เกี่ยวกับ ทุกข์ ก็จะถูกสมองดึงออกมาใช้งานเพื่ออธิบาย ทุกข์ ของเราหรือเพื่อปรุงแต่งทุกข์ของเรา แน่นอนว่า ถ้าระบบคิดของเราเป็นไปตามกลไกของภาษาตามความเคยชิน เราก็จะได้ถ้อยคำที่มีทั้งเป็นไปทางเดียวกันกับ ทุกข์ เช่น เศร้า โศก น้ำตา เลือด ความตาย หรือไปในทางตรงข้าม เช่น สุข พอใจ ดีใจ

เรียกว่า ให้ภาษาเป็นตัวชี้นำความคิด ความรู้สึก จินตนาการของเรา


- คิดออกมารวดเดียวพร้อมกับภาษาเป็นอัตโนมัติ โดยเฉพาะกวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์ กวีจะคิดออกมาเป็นกลอน เป็นกาพย์ โคลง หรือในกลอนเปล่า ที่ไร้ฉันทลักษณ์เป็นตัวกำหนด ก็สามารถคิดออกมารวดเดียวได้เช่นกัน ซึ่งข้อนี้เห็นว่ากวีต้องมีการฝึกปรือจนชำนาญทั้งเรื่องของการใช้ภาษาและมุมมองที่แจ่มชัด

หากจะอธิบายเป็นขั้นตอน อาจกล่าวได้ว่า เป็นความลงตัวพอดีระหว่างอารมณ์ ภาษา เหมือนการที่เราไปมองเห็น สัมผัสกับจุดสัมผัสนั้นได้พอดี สภาวะดังกล่าวจึงถูกถ่ายทอดมาพร้อมกัน สมมุติว่าถ้า
(1) คือ ความรู้สึกที่ไหลเวียนอยู่ และ (2) คือฉันทลักษณ์ที่ไหลเวียนอยู่ ถ้า(1)กับ(2) เคลื่อนไหลมาสัมผัสกัน ณ จุดหนึ่ง แล้วกวีไปมองเห็นจุดสัมผัสนั้น การถ่ายทอดจึงเป็นรวบเป็นขั้นตอนเดียวอย่างสมบูรณ์ในตัวเอง


จากสมมุติฐานข้างต้น เราน่าจะลองกล่าวถึง
สาร ที่กวีต้องการถ่ายทอดสู่ผู้อ่าน ว่าเป็น สาร ที่ถือกำเนิดขึ้นจากมโนภาพหรือจากโครงสร้างทางภาษา เพื่อจะสรุปว่า กวีนิพนธ์ที่กวีเขียนขึ้นจากมโนภาพกับจากโครงสร้างทางภาษา มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น เราอาจจะมองเห็นชัดขึ้นว่า 
กวีนิพนธ์แนวพุทธธรรมควรจะถูกอ่านแบบไหน ระหว่างการอ่านที่ยึดอิงกับหลักพุทธธรรม กับแบบที่อ่านเอาสุนทรียรสของกวีนิพนธ์


เมื่อลองย้อนกลับไปอ่านกวีนิพนธ์แนวพุทธธรรมในอดีต เราจะเห็นท่าทีแบบเทศนาอย่างตรงไปตรงมา หรือในรูปของสุภาษิต คำพังเพย แต่ในปัจจุบันกวีนิพนธ์ไม่อาจใช้วิธีการเทศนาแบบตรงไปตรงมาเช่นอดีตได้อีกแล้ว

หากยกหลักการเกิดปัญญาตามหลักธรรม พระพุทธเจ้าทรงแบ่งปัญญาออกเป็น 3 ระดับ

1.จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่ได้จากการคิด

2.สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่ได้จากการเรียน

3.ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่ได้จากการหยั่งรู้ ซึ่งปัญญาในระดับนี้เกิดจากการหยั่งรู้ได้ด้วยตนเอง มิอาจบอกกล่าวแก่กันได้ ต้องทดลองค้นพบด้วยตนเองเท่านั้น

นอกจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงแบ่งความรู้ออกเป็น 2 อย่าง คือ

1.ความรู้แบบมีเหตุมีผลทางตรรกศาสตร์ หรือวิธีคิดเป็นเส้นตรง

2.ความรู้แบบหยั่งรู้ คือ เกิดจากการเข้าถึงความเป็นจริงโดยไม่ต้องคิด เพียงแต่ไปขยายกำลังของสติสัมปชัญญะ เมื่อสติมีกำลังเข้มแข็งขึ้น การหยั่งรู้จึงเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

จะเห็นได้ว่าหลักการของพระพุทธเจ้าในการจะเกิดความรู้และปัญญานั้น ในระดับสูงสุดล้วนเป็นการหยั่งรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช่วิธีการรู้ด้วยการบอกกล่าว ซึ่งหากกวีนิพนธ์ที่พูดถึงพุทธธรรมต้องการส่งสารแห่งการหยั่งรู้ไปสู่ผู้อ่าน กวีนิพนธ์จะเป็นอะไรได้?


น่าสังเกตอีกไหมว่า สภาวะของการหยั่งรู้นั้นเป็นบ่อเกิดของปัญญา ซึ่งกวีเองก็ต้องมีสภาวะเฉียบพลันดังกล่าวในการที่จะสร้างสรรค์กวีนิพนธ์เช่นเดียวกัน ต่างแต่ว่า พระพุทธเจ้าบอกว่าสภาวะของการหยั่งรู้นั้นถ่ายทอดกันไม่ได้ แต่สำหรับกวี สภาวะหยั่งรู้ต้องมีการถ่ายทอดออกมา จึงจะมีบทกวีเกิดขึ้น


ฉะนั้นปลายทางของการหยั่งรู้ในทางพุทธ กับในทางกวีนิพนธ์ จึงเป็นไปในทางตรงกันข้าม ซึ่งไม่ได้หมายความว่า การอธิบายถึงสภาวะการหยั่งรู้ในกวีนิพนธ์เป็นเรื่องไม่ถูก

นอกจากนั้น กวีนิพนธ์ที่เกิดขึ้นจากการที่กวีรู้สึกเป็นภาษา คิดออกมาตามกลไกของภาษา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยิ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดสภาวะของการหยั่งรู้ในหลักพุทธธรรมได้เลย เพราะกวีไม่ได้เกิดมีสภาวะหยั่งรู้ขึ้นก่อน ก็เท่ากับว่า กวีนิพนธ์ที่พูดถึงพุทธธรรมก็เป็นได้เพียง
คำกลอน เล่าเรื่องพระไตรปิฎก

นั่นคือเรื่องของ
สาร แต่หากเราจะมาดูกันในแง่ของ การสื่อสาร กวีนิพนธ์ยังสื่อสารผ่านภาษา ต้องผ่านการตีความโดยตัวกวีอีกด้วย ฉะนั้น หากกวีเป็นผู้สื่อสารแห่งพุทธธรรมตามพระไตรปิฏกแล้ว กระบวนการดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการนำพุทธชาดกมาเล่าใหม่ผ่านบริบทของสังคมปัจจุบันเท่านั้นหรือ หรือแม้แต่การนำศัพท์แสงทางพุทธธรรมต่าง ๆ มาตีความ อธิบายเพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมนั้น ก็เท่ากับว่า กวีนิพนธ์ก็อาจจะเป็นเพียงภาษาของการขยายความตามพระไตรปิฎกเท่านั้น

ขณะที่พระไตรปิฎกยังเป็นฉบับเดิม คือเป็นการเทศนาแบบตรงไปตรงมา แต่กวีนิพนธ์กลับไม่อาจเทศนาแบบนั้นได้  ดังนั้นพุทธธรรมที่ถูกพูดผ่านกวีนิพนธ์ จึงเป็นพุทธธรรมที่ถูกตีความโดยตัวกวี ซึ่งเหมือนกับการตีความผ่านนักเขียนแนวธรรมทั้งหลาย ทำให้
สาร ที่ได้ไม่มีความแตกต่างจากหนังสือแนวธรรมะที่วางขายอยู่เต็มตลาด จะมีก็แต่ความประทับใจแรกที่อาจเป็นแค่ภาพลวงตาหรือหลุมพรางเท่านั้นเอง

การถ่ายทอดพุทธธรรมที่ผ่านการตีความและถ่ายทอดในแบบของกวีนิพนธ์โดยกวีนั้น หากมีข้อคลาดเคลื่อน


นอกจากนี้ การปรากฏขึ้นของ
ใบหน้ากวี ตามสื่อต่าง ๆ สู่สาธารณชน อาจทำให้ดูเป็นเหมือนเป็นการแสดงตัวที่ให้ความรู้สึกขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์แก่บทกวี

และที่สำคัญ ผู้อ่านจะไม่สามารถอ่านแบบที่ยึดอิงกับหลักพุทธธรรมได้ เพราะกวีไม่ได้เกิดสภาวะการหยั่งรู้ขึ้นก่อน หรือถึงแม้นว่า กวีจะเกิดสภาวะการหยั่งรู้ขึ้นก่อน ในทางพุทธก็ไม่สามารถถ่ายทอดสู่กันได้อีกด้วย


ดังนั้นกวีนิพนธ์ที่พูดถึงพุทธธรรม จึงเป็นเพียงเปลือกนอกที่สร้างขึ้นจากกลไกของภาษาเท่านั้น และผู้อ่านก็ไม่ควรตกหลุมพรางของกวีที่ได้สร้างความประทับใจแรกด้วยการเอา
ป้าย พุทธธรรมมาติดโชว์ในกวีนิพนธ์

สำหรับผู้อ่าน เราควรอ่านพุทธธรรมด้วยวิธีการเรียนรู้ของพุทธธรรม ที่มีลำดับขั้นตอนสุดท้ายเป็นการหยั่งรู้ด้วยตนเอง แต่เราควรอ่านกวีนิพนธ์ที่พูดถึงพุทธธรรมเพื่อเสพเอาสุนทรียรสทางภาษามากกว่า นอกจากนี้กวีนิพนธ์ที่อธิบายถึงสภาวะการหยั่งรู้ได้หมดจด ก็ยังมีให้อ่านอีกมากมาย โดยไม่ต้องหลงยึดกับหลุมพรางใด ๆ


เพราะหากกวีต้องการให้กวีนิพนธ์ไปใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากสุนทรียรสแล้ว กวีนิพนธ์ต้องสร้างแรงบันดาลใจขึ้นมาให้สำเร็จ ถ้ามัวหลงจำแลงภาพที่งดงามเกินกว่าที่เป็นจริง ไร้กฎเกณฑ์เกินกว่าที่เป็นจริง และลื่นไหลเกินกว่าที่เป็นจริงแล้ว พุทธธรรมในกวีนิพนธ์ก็เป็นเพียงเครื่องมือไร้ประสิทธิภาพที่กวีหลับหูหลับตาหยิบฉวยมาใช้งานเท่านั้นเอง.

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ                     :    เค้าขวัญวรรณกรรมผู้เขียน                         :    เขมานันทะพิมพ์ครั้งที่สอง (ฉบับปรับปรุง) ตุลาคม ๒๕๔๓     :    สำนักพิมพ์ศยาม  
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อนิตยสาร      :    ฅ คน ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๕ (๒๔)  มีนาคม ๒๕๕๑บรรณาธิการ     :    กฤษกร  วงค์กรวุฒิเจ้าของ           :    บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชะตากรรมของสังคมฝากความหวังไว้กับวรรณกรรมเพื่อชีวิตเห็นจะไม่ได้เสียแล้ว  หากเมื่อความเป็นไปหรือกลไกการเคลื่อนไหวของสังคมถูกนักเขียนมองสรุปอย่างง่ายเกินไป  ดังนั้นคงไม่แปลกที่ผลงานเหล่านั้นถูกนักอ่านมองผ่านอย่างง่ายเช่นกัน  เพราะนอกจากจะเชยเร่อร่าแล้ว ยังเศร้าสลด ชวนให้หดหู่...จนเกือบสิ้นหวังไม่ว่าโลกจะเศร้าได้มากแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายรวมว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่แต่กับโลกแห่งความเศร้าใช่หรือไม่? เพราะบ่อยครั้งเราพบว่าความเศร้าก็ไม่ใช่ความทุกข์ที่ไร้แสงสว่าง  ความคาดหวังดังกล่าวจุดประกายขึ้นต่อฉัน เมื่อตั้งใจจะอ่านรวมเรื่องสั้น โลกใบเก่ายังเศร้าเหมือนเดิม ของ…
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ       :    รายงานจากหมู่บ้าน       ประเภท         :    กวีนิพนธ์     ผู้เขียน         :    กานติ ณ ศรัทธา    จัดพิมพ์โดย     :    สำนักพิมพ์ใบไม้ผลิพิมพ์ครั้งแรก      :    มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๐เขียนบทวิจารณ์     :    นายยืนยง
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ      :    ลิกอร์ พวกเขาเปลี่ยนไปประเภท    :    เรื่องสั้น    ผู้เขียน    :    จำลอง  ฝั่งชลจิตรจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งแรก    :    มีนาคม  ๒๕๔๘    
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด ๔๒ ( ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา สาเหตุที่วรรณกรรมแนวเพื่อชีวิตยังคงมีลมหายใจอยู่ในหน้าหนังสือ มีหลายเหตุผลด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ตัวนักเขียนเองที่อาจมีรสนิยม ความรู้สึกฝังใจต่อวรรณกรรมแนวนี้ว่าทรงพลังสามารถขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาสังคมได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงเหตุผลนี้เพียงประการเดียวก่อน คำว่า แนวเพื่อชีวิต ไม่ใช่ของเชยแน่หากเราได้อ่านเพื่อชีวิตน้ำดี ซึ่งเห็นว่าเรื่องนั้นต้องมีน้ำเสียงของความรับผิดชอบสังคมและตัวเองอย่างจริงใจของนักเขียน…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day ประเภท            :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือ      :    คลื่นทะเลใต้ประเภท    :    เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก    :    ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน    :    กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุง เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิตในเล่ม คลื่นทะเลใต้เล่มนี้  ทุกเรื่องล้วนมีความต่าง…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ชื่อหนังสือ : คลื่นทะเลใต้ประเภท : เรื่องสั้น    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์นาครพิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๘  ผู้เขียน : กนกพงศ์  สงสมพันธุ์, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์, ขจรฤทธิ์ รักษา, ภิญโญ ศรีจำลอง, พนม นันทพฤกษ์, อัตถากร บำรุงวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตลอดเวลาถึงปัจจุบัน ในยุคหนึ่งเรื่องสั้นเคยเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสภาวะปัญหาสังคม สะท้อนภาพชนชั้นที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ และยุคนั้นเราเคยรู้สึกว่าเรื่องสั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้…
สวนหนังสือ
‘พิณประภา ขันธวุธ’ ชื่อหนังสือ : ฉลามผู้แต่ง: ณัฐสวาสดิ์ หมั้นทรัพย์สำนักพิมพ์ : ระหว่างบรรทัดข้อดีของการอ่านิยายสักเรื่องคือได้เห็นตอนจบของเรื่องราวเหล่านั้นไม่จำเป็นเลย...ไม่จำเป็น...ที่จะต้องเดินย่ำไปรอยเดียวกับตัวละครเล่านั้นในขณะที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ความเป็น “วัตถุนิยม” ที่เรียกว่า เป็นวัฒนธรรมอุปโภคบริโภค อย่างเต็มรูปแบบ ลัทธิสุขนิยม (hedonism) ก็เข้ามาแทบจะแยกไม่ออก ทำให้ความเป็น ปัจเจกบุคคล ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ทั้งสามสิ่งที่เอ่ยไปนั้นคน สังคมไทยกำลัง โดดเดี่ยว เราเปิดเผยความโดดเดี่ยวนั้นด้วยรูปแบบของ ภาษาและถ้อยคำสำนวนที่สะท้อนโลกทัศน์ของความเป็นปัจเจกนิยมได้แก่ เอาตัวรอด…
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’  ชื่อหนังสือ      :    วิมานมายา  The house of the sleeping beautiesประเภท         :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย    :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ครั้งที่ ๑   :    มิถุนายน ๒๕๓๐ผู้เขียน          :    ยาสึนาริ คาวาบาตะ ผู้แปล           :    วันเพ็ญ บงกชสถิตย์   
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์…