นายยืนยง
ชื่อหนังสือ : ฉันกับแมว
ผู้แต่ง : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
ประเภท : ความเรียงเชิงปรัชญา
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ พิมพ์ครั้งแรก เมษายน 2553
หากเราเข้าใจชีวิตอย่างงมงายเสียแล้ว พรมแดนแห่งความเข้าใจผิดย่อมปรากฏกายขึ้น
นี่เป็นประโยคหนึ่งที่ฉันรู้สึกกับมันอย่างเข้มข้น จนบางครั้งดูเหมือนจะรุนแรง และมักจะนำมาซึ่งความงมงายชนิดเดียวกัน แต่มันไม่สำคัญอะไรนักหรอก ถ้าหากว่า ฉันจะกลับมา
“สวนหนังสือ” โดย นายยืนยง ได้กลับมายืนอยู่ข้าง “ประชาไท” อีกครั้ง หลังจากแอบอยู่ในเงาอันซีดเซียวของตู้หนังสือซึ่งประตูกระจกของมันเหลืออยู่เพียงบานเดียว นับว่าเป็นน้ำใจอันชวนให้เบิกบานเสียนี่กระไร สำหรับคนอ่านหนังสืออย่างฉัน
ขอขอบคุณทีมงานประชาไทที่เอื้อเฟื้อพื้นที่สวนแห่งนี้เสมอมา
คราวนี้ ขอเบิกอารมณ์ขุ่น ๆ ของกระแสข่าว ด้วยหนังสือเล่มน้อย ที่มีนามว่า ฉันกับแมว
ความเรียงรสนุ่มนวลของ กวี เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
กวีกับแมว นับว่าเป็นคู่ที่ถูกโฉลกกันดีอยู่ แต่เรวัตร์เลือกให้นิยามสัมพันธภาพระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งสอง ซึ่งต่างก็เลี้ยงลูกด้วยนมว่า ฉันทะแห่งชีวิต
“ดอกไร่” เป็นแมวที่ปรากฏตัวขึ้นใน “กวี” ราวกับเป็นเทวทูตลึกลับ จะเป็นเทวทูตหรือปีศาจ ก็ไม่ทราบ แต่ดอกไร่ก็ได้สำแดงให้เห็นว่า ถ้อยคำที่ชวนระนึกคิดของกวีกับรูปโฉมโนมพรรณของแมว ๆ ทั้งหลาย
มันคล้ายและเครือ ๆ กันอยู่ จนบางครั้ง เรายังไม่อาจแยกแยะได้ว่า ใครเป็นใคร
ลองดูซิว่า เจ้าดอกไร่ แมวของกวีตัวนี้ จะเหมือนกับแมว ๆ ที่บ้านของคุณหรือเปล่า
ดอกไร่ เป็นลูกแมวไทยพื้นถิ่น เพศผู้ ตัวลายสีส้มสลับขาว มันพลัดหลงมาสู่กระท่อมสวนในยามค่ำคืน
ซึ่งก็คือแมวธรรมดาทั่วไป แต่ความพิเศษอยู่ตรงที่กลวิธีการเล่าของเรวัตร์ต่างหาก
ความเรียงชุด “ฉันกับแมว” มีวิธีการเล่าแบบพิเศษ คือ “ฉัน” เล่าเรื่องราวต่าง ๆ นานาให้ “ดอกไร่” ตัวละครตัวหนึ่งฟัง ขณะเดียวกัน เราผู้อ่านก็ได้ “ฟัง” ไปพร้อมกับสังเกตสังกาปฏิกิริยาของเจ้าดอกไร่ไปพร้อมกันด้วย (ว่าไปแล้ว ดอกไร่นับเป็นผู้ฟังหรือคู่สนทนาที่ดี) ต่างจากวิธีการที่ผู้เขียนเล่าให้ผู้อ่าน “ฟัง” โดยตรง เนื่องจากตัวละคร (ดอกไร่) ที่แทรกเข้ามาคั่นกลางระหว่างผู้อ่านนั้น ทำให้ผู้อ่านเห็นสัมพันธภาพชุดหนึ่งระหว่างผู้เขียนกับดอกไร่ ก่อเป็นความกระทบใจอย่างใหม่ที่แปลกออกไป
ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่แฝงอยู่ในกลวิธีการเล่าแบบนี้ คือ นัยยะที่ชวนให้ตีความ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมผูกโยงอยู่กับเรื่องและทำให้เกิดดุลภาพอันงดงาม นัยยะที่ว่านี้ คือ สัมพันธภาพระหว่าง “ฉัน” กับ “ดอกไร่” นั่นเอง
ยกตัวอย่างในตอน “ดาวรุ่ง” หน้า 23
ดูสิ, ดอกไร่- เมื่อเรามองผ่านเหล่าเรือนยอดของหมู่ไม้ใหญ่น้อยออกไป มองผ่านออกไปจากโอบอ้อมของอรุณรุ่งสีน้ำเงิน ขณะเข็มนาฬิกาฝาผนังบอกเวลาตีสี่ ฯลฯ
ราวกับมีใครสักคนเฝ้ามองดูฉันอยู่ ด้วยดวงตาของดวงใจการุณย์ เฝ้าปลอบประโลมด้วยเสียงเพลงอันเปล่าเปลือย เฉกเช่นมือหยาบกร้านของหญิงชาวนาผู้หนึ่ง ผู้เฝ้าคอยลูบไล้เนื้อตัวของบุตรธิดาผู้ป่วยไข้ ก่อนที่ประกายอันเจิดจรัสที่สุดของแววดวงตาจะหยาดหยดลง สู่ห้วงดวงใจอันมืดมนดวงหนึ่ง จนกระทั่งมันได้แปรเปลี่ยนเป็นใบไม้สีทองใบหนึ่ง และเป็นสีทองของความลับตลอดไป
จู่ ๆ เจ้าดอกไร่ก็ร้องรับเสียงเพรียกอันมีกังวานอ่อนโยนพลิ้วกระเพื่อมเหนือสายธารสีน้ำเงินของอรุณรุ่ง ที่หยาดหยดแล้วแผ่ขยายเป็นประกายสีทองสุกสกาว อยู่เหนือห้วงธารแห่งจิตวิญญาณ เสียงร้องของเจ้าดอกไร่ช่างเก่าแก่โบราณ ราวกับดวงใจของฉันในขณะนี้.
เป็นการยกตัวอย่างบทตอนที่สะท้อนถึงสัมพันธภาพระหว่าง “ฉัน” กับ “ดอกไร่” ที่แสดงถึงการมีตัวตนอีกหนึ่งที่สถิตอยู่ในเรา กล่าวคือ แท้จริงแล้ว เรวัตร์พยายามสื่อนัยยะออกมาว่า ดอกไร่ก็คือตัวตนหนึ่งที่ซ้อนอยู่ในตัวตนของเขานั่นเอง
ตอน รกราก หน้า 28
ฉันไม่รู้หรอกว่าเจ้าดอกไร่กำลังคิดถึงสิ่งใดอยู่ มันนอนหมอบนิ่งอยู่ที่เดิม ราวกับดำรงอยู่ตรงนั้นมาชั่วกัปชั่วกัลป์ ครุ่นคิดและใฝ่ฝันอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ความใฝ่ฝันคือผองผึ้งที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างรวงรัง โบกบินและหอมหวาน
เมื่ออายุมากขึ้น ฉันมักคิดถึงบ้านเกิด ดอกไร่- แกคิดอย่างฉันคิดไหมนะ ว่าความรักและความผูกพันนั้นทำให้เหล่ามนุษย์ยังคงมีราก.
ตอน บางสิ่งบางอย่างในความหลงลืม หน้า 33
ดอกไร่- ฉันรู้สึกว่าเสียงกู่ขานของกาเหว่าในฤดูหนาวนั้นเศร้าสร้อยมากกว่าฤดูอื่น ๆ นะ
ในยามค่ำคืนของวัยเยาว์ ฉันแทบไม่เคยแบ่งปันอ้อมกอดของแม่ให้กับพวกพี่ ๆ จิตใจของฉันช่างคับแคบ ครั้นเมื่อเข้าโรงเรียน ฉันไม่เคยถูกครูสักคนโอบกอด ...และในวัยหนุ่มในความเมามาย หลาย ๆ ครั้งเมื่อตื่นขึ้นในยามเช้าในซ่องสกปรก ฉันพบตนเองกำลังโอบกอดหญิงสาวแปลกหน้า แต่โอบกอดนั้นกลับอบอุ่นและปลอบประโลมชีวิตที่โดดเดี่ยวและสับสนของกันและกัน
และแม่ลูกพลัดถิ่นคู่นั้น
ทำให้ฉันปรารถนาอยากให้โอบกอดใครสักคน และถูกโอบกอดจากใครสักคน ให้หัวใจสองดวงได้แนบชิดกัน ได้กระซิบจำนรรจาต่อกัน
เหมือนที่ฉันกำลังกอดแกอยู่ในขณะนี้ไงล่ะ ดอกไร่-.
“ฉันกับแมว” พาเราสัญจรไปบนหนทางแห่งอารยธรรมมนุษย์ ผ่านเสียงเล่าขานที่ “ฉัน” รำพึงรำพันกับ “ดอกไร่” เพื่อตั้งคำถาม เปรียบเปรย ชวนให้ครุ่นคิด อย่างไรก็ตาม การที่เรวัตร์เลือกใช้กลวิธีการเล่าดังกล่าวนั้น อาจดูไร้น้ำหนัก แต่หากเราพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน และรวมเอาตัวละคร “ดอกไร่” ที่เปรียบดั่งตัวตนอันหนึ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในตัว จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่า การออกจากตัวตนหนึ่ง ไปสู่อีกตัวตนหนึ่งที่ล้วนก็เป็นตัวตนของเราเองทั้งสิ้นนั้น แสดงให้เห็นว่า ภายในเรามีตัวตนอื่น ๆ แฝงอยู่มากกว่าตัวตนเดียวล้วน ๆ คล้ายกับในเรานั้นมีใบหน้าของคนอื่นและสิ่งอื่นซุกซ่อนอยู่ด้วย ต่างแต่ว่าเราจะรับรู้การมีอยู่ของมันหรือไม่เท่านั้น
เทียบเคียงกับกรณีนี้ เคยอ่านเรื่องราวที่กล่าวถึงสัมพันธภาพระหว่างชายหนุ่มกับม้าคู่หู จากนิยายเรื่อง
เปโดร ปาราโม ผลงานของ ฮวน รุลโฟ ที่เมื่อเจ้าของตายไป เจ้าม้าคู่หูก็แสดงอาการเหมือนคนคลุ้มคลั่งราวกับมันก็รับรู้ความตายของผู้เป็นนาย และมันก็ได้แสดงกิริยาท่าทางที่ดูคล้ายคลึงกับผู้เป็นนายด้วย
ในกรณีนี้ “ฉัน” ไม่ได้ตายไปไหน หากแต่ยังมีชีวิตอยู่ สนทนาวิสาสะกับโลกอยู่
ที่ฉันกล่าวอย่างชัดถ้อยชัดคำในการหยิบเอาประเด็นของ ความเป็นตัวตนที่ซ้อนทับกันอยู่ของ “ฉัน” และ “ดอกไร่” นั้น อาจเป็นความเลื่อนลอยและเป็นการตั้งข้อสังเกตในสิ่งที่เล็กน้อยเกินกว่าจุดใหญ่ใจความของหนังสือเล่มนี้ได้ให้ไว้ หากแต่ถ้าเราอ่านจนจบเล่ม จะพบว่า เรวัตร์ ได้ให้ความสำคัญกับ “ตัวตน” อยู่ไม่น้อย อย่างในบท ในดวงตา ที่ฉันกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด –แม่มองไม่เห็นฉัน- ขณะนกเขาคูขันเศร้าสร้อยมาจากพุ่มไม้ใกล้ ๆ ฉันรู้สึกสะเทือนใจล้ำลึก
แมวหนุ่มชื่อ “สีทอง” นั่งจับบทครุ่นคิดอยู่บนขั้นบันไดเรือน ในฤดูมรสุมอันแปรปรวนหลากไหล บ้านเกิดแทบไร้ความหมายไปสิ้นเพราะอดีตอันทอดยาว ปัจจุบันและวันพรุ่ง ล้วนหลากเข้าหลอกหลอนด้วยตัวตนอันมหึมาของฉัน ในขณะที่แมวหนุ่มตัวนั้นกลับไม่รู้สึกยินดียินร้ายแม้แต่น้อย กับการมาถึงของชายวัยกลางคน-คนหนึ่ง
ครั้นเมื่อเขาได้เฝ้ามองดูแมวหนุ่มตัวนั้นนอนเล่นกับหางของตัวเอง เขาก็พลันตระหนักขึ้นได้ว่า ถ้อยคำทั้งปวงเป็นเพียงความว่างเปล่า
ดอกไร่- ดวงตาของฉันยังคงมองเห็น.
อย่างที่บอกไปแล้ว ประเด็นเรื่องตัวตนที่ซ้อนกันอยู่นั้น เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย หากเพียงว่า เราจะอ่านไปถึงอารมณ์ที่เรวัตร์ได้สื่อผ่านตัวอักษรออกมา ซึ่งทำให้เรารับรู้และสัมผัสไปพร้อมกันว่า แม้จะตระหนักว่าธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่เพียงไร แต่หากเราเหล่ามนุษย์ยังรู้สึกว่าตนเองก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันแล้ว ดุลยภาพที่เป็นดั่งความงดงามของชีวิต คงเหลือเพียงเถ้าธุลี
บล็อกของ สวนหนังสือ
สวนหนังสือ
ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้ 1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…