Skip to main content

‘นายยืนยง’

ภาพประกอบสวนหนังสือ

ชื่อหนังสือ
ประเภท
จัดพิมพ์โดย
ผู้ประพันธ์
ผู้แปล

:
:
:
:
:

เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )
วรรณกรรมแปล
สำนักพิมพ์โพเอม่า
ฮวน รุลโฟ
ราอูล

 

การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น

วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์ หลักเกณฑ์นี้เป็นข้อสำคัญหนึ่งที่ทำให้วินิจฉัยว่าวรรณกรรมแต่ละเรื่องมีคุณค่าเพียงใด และข้อสังเกตนี้เองที่เทียบเคียงให้เห็นถึงความสามารถของผู้ประพันธ์

ขณะเดียวกัน การที่ผู้ประพันธ์จะนำพาผู้อ่านสัญจรไปในเรื่องราวนั้น ต้องอาศัยเครื่องมือสำคัญหลายประการ และในวรรณกรรมแปลเรื่องนี้ ผู้อ่านจะได้พบกับความเป็นเอกภาพอย่างหนักแน่นที่สุดเรื่องหนึ่ง แต่ละองค์ประกอบของนวนิยายไม่ว่าจะเป็นตัวละคร ฉาก บรรยากาศ เนื้อหา สำนวนภาษา ทั้งหมดทั้งมวลได้ถูกหลอมรวมกันจนเป็นเนื้อเดียว ไม่อาจแยกแยะออกมาอย่างโดด ๆ ได้ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

หากจะจำแนกองค์ประกอบของวรรณกรรมประเภทนวนิยายในพื้นที่จำกัดนั้น เห็นว่าไม่สมควรยิ่งที่จะกล่าวถึงองค์ประกอบหลายข้ออย่างผิวเผิน จึงขอเลือกกล่าวถึงในข้อที่โดดเด่นสำคัญจะรัดกุมกว่า โดยเฉพาะนวนิยายแนวเมจิกเคิล เรียลลิสม์  เล่มกะทัดรัดจากเม็กซิโกของ ฮวน รุลโฟเล่มนี้ ซึ่งมีเนื้อหาให้กล่าวถึงอย่างไม่รู้จบ

ลักษณะพิเศษของวรรณกรรมกลุ่มนี้คือให้ภาพเหนือจริงที่ยืนอยู่บนฐานของความเป็นจริง เป็นความพิศวงที่ก้าวเข้ามาสู่ใจผู้อ่านด้วยน้ำเสียงปกติสม่ำเสมอ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านจะได้เผชิญมาแล้วในวรรณกรรมเล่มอื่น และผู้ประพันธ์ท่านอื่น โดยเฉพาะ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ที่เรารู้จักกันดี

เปโดร ปาราโม เป็นเรื่องราวธรรมดาของชายผู้หนึ่งที่ตัดสินใจยอมทำตามคำสัญญาที่ได้ให้ไว้กับแม่ก่อนที่แม่จะสิ้นลมหายใจตายไป เขาต้องไปตามหาพ่อ ที่ไม่เคยรู้จักหน้าค่าตา ในเมืองที่เขาไม่เคยเหยียบย่างเข้าไป ชายที่เป็นพ่อของเขานั่นเองที่ชื่อ เปโดร ปาราโม

ในเรื่องราวธรรมดานี่เองที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบอันซับซ้อน ลุ่มลึก ทั้งจากตัวละครที่แสนประหลาด ซึ่งแต่ละตัวละครนั้นเหมือนได้ถูกดูดกลืนรวมเข้ากับสภาพภูมิอากาศที่ทารุณปานนรก  ยังเต็มไปด้วยนัยยะประหวัดที่เร้าให้ขบคิด บรรยากาศของเรื่องยิ่งชวนให้พิศวงงงงวยอย่างที่สุด โดยเฉพาะกับฉากของเรื่อง คือเมืองโกมาลา ที่ทิ้งน้ำหนักต่อเนื้อหาไว้ตลอดเรื่อง และเนื้อหาก็กล่าวถึงสภาวะจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำ หลอมรวมกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และผู้คนในเมืองแห่งนี้ ได้แปรสภาพเป็นลักษณะนิสัย ทัศนคติ และท่าทีของตัวละคร ที่รุกเร้า คืบคลานเข้ามาอย่างแสนกระท่อนกระแท่น

ดูจากประโยคแรกของผู้เป็นแม่ในขณะจวนสิ้นลมทำให้ภาพพจน์ของเปโดรผุดขึ้นเป็นครั้งแรก ในหน้า ๙

“ จงอย่าขอสิ่งใดจากเขา นอกจากส่วนที่เป็นของเรา สิ่งที่เขาควรให้แม่แต่ไม่เคยหยิบ    ยื่นให้...จงให้เขาตอบแทนเจ้า ลูกชาย  เพราะตลอดเดือนปีที่ผ่านมาเขาไม่เคยมีเราอยู่    ในห้วงคำนึงเลยสักนิด ”

ภาพพจน์ดังกล่าวนี้เองที่ปลุกให้ผู้อ่านใคร่รู้ต่อไปว่า ใครคือเปโดร ปาราโมคนนั้น เขาเป็นคนประเภทไหน และเขาอยู่ที่นั่น โกมาลา ดินแดนที่ร้อนร้าว กระทั่งกลิ่นอากาศก็ยังทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ในนรก

ตลอดเวลาตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้อ่านจะได้รู้จัก เปโดรคนนั้น ผ่านคำบอกเล่าแบบกระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ และแสนจะกระพร่องกระแพร่ง จากการเล่าแบบสลับไปมา ไม่ต่อเนื่อง จากเหล่าดวงวิญญาณผู้น่าเวทนา จากชะตากรรมของพวกเขา ผู้เรียกร้องและรอคอยให้ใครสักคนผ่านมา แล้วสวดมนตร์ให้พวกเขาพ้นทุกข์ทรมานนี้

ขณะเดียวกันกับที่ความจริงค่อย ๆ หลุดล่อนออกมาทีละแผ่นบาง ๆ ราวกับเป็นแผ่นผนังที่ทาสีไว้จนเก่าแก่ ต้องสัมผัสแรงลมและค่อยหลุดออก... ทำให้รู้สึกถึงความยากที่จะเชื่อมโยงคำบอกเล่าของแต่ละคน, แต่ละวิญญาณ เข้าเป็นภาพเต็มของเปโดรคนนั้น  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านซ้ำหลายรอบ ทำให้เกิดคำถามว่า วรรณกรรมที่ดีนั้นจำเป็นต้องอ่านยากเสมอไปหรือ?

ขณะที่ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ บอกว่า “ไม่มีหนังสือเล่มไหนมีค่าสำหรับการอ่าน หากตัวมันเองไม่มีค่าพอที่จะอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า ”

ความยากของเรื่องราวชวนให้พิศวง ไม่ต่อเนื่องของ เปโดรฯเล่มนี้ ไม่ใช่ความยากประการเดียวเท่านั้น หากแต่ยังมีบรรยากาศแปลกประหลาด ตัวละครพิลึกพิสดารนับไม่ถ้วน เหนืออื่นใด ต้องถือว่า ฮวน รุลโฟผู้ประพันธ์  ย่อมมีนัยยะพิเศษอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะบอกเล่าแก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะมูลเหตุของเรื่องเลวร้ายทั้งมวล อันบังเกิดจากความรักที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จัก

ความรักของชายชื่อ เปโดร ปาราโมเป็นความรักอันแสนหวานของวัยหนุ่มสาว และเขาได้ทำทุกวิถีทางเพื่อจะได้เธอมา ซึ่งผู้ประพันธ์ได้เล่าผ่านเสียงกระซิบกระซาบที่ฝังอยู่ในเมืองโกมาลา เพื่อบอกแก่ ฮวน ปรีเซียโดลูกชายผู้ออกตามหาพ่อของเขา เสียงแรกที่กล่าวถึงความรักนี้ มาถึงสัมผัสรู้สึกของเขา ในยามที่เหนื่อยล้าและยอมจำนน ขณะเดียวกันที่ในเรื่องบอกเล่านั้น อารมณ์ของเปโดร ปาราโม ชายผู้มีฐานะยากจน กลับดูรุนแรง ลุกโชนเร้าอารมณ์ ด้วยการบรรยายฉากที่อาศัยสัญลักษณ์ทางเพศที่ใช้กันในงานวรรณกรรม ดังหน้า ๑๙

น้ำหยดลงมาจากหลังคามุงกระเบื้องกำลังทำให้เกิดรูบนพื้นทรายที่ลานบ้าน

ติ๋ง! ติ๋ง! แล้วก็อีกติ๋ง! ขณะที่หยดน้ำกระทบกับใบลอเริลซึ่งกำลังกระเพื่อมขึ้นลงในรอยแยก    ระหว่างกำแพงอิฐ พายุพัดผ่านไปแล้ว บัดนี้ลมอ่อน ๆ ที่พัดมาเป็นพัก ๆ ทำให้พุ่มต้นทับทิมสั่น     ปลดปล่อยละอองฝนลงมาหนาตา สาดพรมพื้นดินด้วยหยดเล็ก ๆ ซึ่งไร้ชีวิตชีวาก่อนจะดิ่งหาย   ลงไปในพื้นดิน ฯลฯ ...  เมื่อหมู่เมฆเคลื่อนหนีไป ดวงอาทิตย์สาดแสงลงมากระทบโขดหิน แผ่    รังสีสุกสว่างเหลือบคล้ายสายรุ้ง ดูดน้ำไปจากพื้นดินสะท้อนแสงวับวาวบนใบไม้ซึ่งกระเพื่อมไหว    เพราะสายลมแผ่ว..

การบรรยายถึงบรรยากาศเช่นนี้ถูกตรึงไว้ตลอดเรื่อง และสิ่งนี้เองที่ได้ผูกรัดผู้อ่านไว้กับเรื่องราวตรงหน้า จึงไม่สามารถละเลยที่จะกล่าวถึงจุดเด่นนี้ได้เลย

แต่เพียงไม่กี่นาทีที่ผู้อ่านกำลังเคลิบเคลิ้มไปกับอารมณ์ของบรรยากาศนั้น เราก็จะถูกกระชากออกไปสู่อีกเรื่องราวหนึ่ง จากคำบอกเล่าของใครบางคนที่ไม่เคยมีแม้กระทั่งลางสังหรณ์ที่จะสะกิดเตือนผู้อ่านไว้ก่อนแม้แต่น้อย จากฉากข้างต้นนั่นเอง เพียงชั่วอึดใจที่ฮวน ปรีเซียโดเริ่มสัมผัสได้ถึงชีวิตของเปโดร ปาราโมพ่อที่เขาตามหานั้น เขาก็ได้รู้อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ อาบุนเดียว ชายผู้นำทางเขามายังโกมาลานั้น เสียชีวิตไปนานแล้ว

การเล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตอันเกี่ยวกับเปโดร ปาราโมจากเหล่าดวงวิญญาณและเสียงกระซิบกระซาบที่ฝังอยู่ในซอกกำแพงหรือใต้หลุมฝังศพ ประกอบไปด้วยโศกนาฎกรรมในวันก่อน ๆ และบอกถึงลักษณะนิสัยอันเหี้ยมโหด เย็นชาของเปโดรไปพร้อมกัน

การเล่าด้วยวิธีการนี้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ใดกันเล่า หากฮวน รุลโฟจะไม่ได้ต้องการวางทัศนคติเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ข้อเท็จจริง ผ่านจากทุกมุมมองโดยไม่ได้ก้าวเข้าไปพิพากษาการกระทำเหล่านั้นแม้แต่น้อย ด้วยทัศนคติดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ผู้ประพันธ์สามารถหลอมรวมทุกองค์ประกอบเข้าไว้เป็นเนื้อเอกภาพอันหนักแน่นดังได้กล่าวไว้ข้างต้น  หากยกตัวอย่างการบรรยายในหน้า ๒๐ ที่พรรณนาถึงอารมณ์เปโดร

ฉันคิดถึงเธอ ซูซานา คิดถึงเนินเขาสีเขียวชอุ่ม คิดถึงตอนที่เธอเล่นว่าวในฤดูที่มีลมแรง เราแทบ   ไม่ได้ยินสรรพเสียงแห่งชีวิตจากเมืองที่อยู่เบื้องล่าง เราอยู่สูงเหนือเนินเขา กำลังปล่อยเชือกให้    ออกมาสัมผัสแรงลม “ช่วยฉันที ซูซานา ”และมือที่อ่อนนุ่มจะบีบมือฉันไว้แน่น  “คลายเชือก    ออกไปมากกว่านี้สิ ”

การบรรยายดังยกตัวอย่างมานี้ มีนัยยะในทางเพศรวมอยู่ด้วย ขณะเดียวกันยังมีสัญลักษณ์ที่ทำให้รู้สึกร่วมไปได้หลายเรื่องกว่าความรัก  หรือในหน้า ๒๙

วันที่เธอจากไป ฉันรู้ว่าไม่มีโอกาสได้พบเธออีกแล้ว เธอถูกแต้มแต่งด้วยแสงสีแดงจากดวง    อาทิตย์ยามบ่ายแก่ ๆ จากความสลัวที่ฉาบท้องฟ้าไว้ด้วยโลหิต ฯลฯ

นี่เป็นการบรรยายที่กระชับแต่เต็มไปด้วยนัยยะอีกเช่นกัน และจะได้พบบรรยายกาศเช่นนี้ตลอดเรื่อง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งในหน้า ๒๑

สูงขึ้นไปเหนือม่านเมฆหลายร้อยเมตร สูงขึ้นไป สูงขึ้นไปเหนือสรรพสิ่ง เธอคงกำลังซ่อนตัวอยู่    ตรงนั้นสินะ ซูซานา ซ่อนตัวในความไร้ขอบเขตของพระเจ้า เบื้องหลังการคุ้มครองของพระองค์     ที่ที่ฉันไม่สามารถแตะต้องหรือมองเห็นตัวเธอได้ และที่ที่คำพูดฉันไม่มีวันไปถึง  

ลำพังความซับซ้อนของเรื่องเล่าทั้งหลายนั้น หากขาดซึ่งมนตร์เสน่ห์แบบเมจิกเคิล เรียลลิสม์ แล้ว ไหนเลยจะตรึงผู้อ่านไว้ได้ ในเรื่องนี้ยังมีจุดสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้โวหารแบบบุคลาธิษฐาน เติมเข้ามาอีก

ตลอดเรื่องทุกสรรพสิ่งดำเนินอยู่ราวกับมีลมหายใจ มีชีวิตจิตใจไม่ต่างจากมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นต้นมะลิ นกฮัมมิงเบิร์ด นกเลียนเสียง ประตู หน้าต่าง ดวงไฟ ท้องฟ้า ผืนดิน กำแพง ดวงดาว ม้า ลา  แส้ ฯลฯ ยกตัวอย่าง หน้า ๗๙

ครั้นฟ้าสางเม็ดฝนกระหน่ำลงมารดแผ่นดิน เกิดเป็นเสียงดังผลุขณะพุ่งเข้าใส่ดินที่อ่อนยวบยาบ    บนร่องดิน นกเลียนเสียงตัวหนึ่งโฉบลงมาต่ำเหนือทุ่งหญ้าและร้องเสียงโหยหวน เลียนเสียงเด็ก    ร้องด้วยความทุกข์ใจ พอไกลออกไปได้หน่อยหนึ่งมันร้องอะไรบางอย่างออกมาฟังคล้ายเสียง    สะอึกสะอื้นด้วยความเหนื่อยล้า และไกลกว่านั้น ที่ซึ่งเส้นขอบฟ้าเริ่มมองเห็นได้อย่างชัดเจน มัน    สะอึกและหัวเราะร่วน ก่อนจะร้องโอดครวญอีกครั้ง  

เป็นอีกตัวอย่างที่เต็มไปด้วยรายละเอียด ทั้งบรรยากาศในท้องเรื่อง อารมณ์ผู้คน แม้แต่เด็กยังร้องด้วยความทุกข์ใจ หรือ หน้า ๘๐

ประตูบานใหญ่ในมีเดียลูนากรีดร้องเสียงแหลมลั่นขณะแกว่งเข้าออก เปียกปอนเพราะลมที่พัด    พาเอาความชุ่มชื่นมา ฯลฯ

ทั้งหมดที่ได้กล่าวแล้วนั้น เป็นเพียงข้อสังเกตเล็กน้อย เพราะวรรณกรรมเล่มนี้เป็นความมหัศจรรย์อันละเอียดอ่อน ลุ่มลึก และสร้างแรงกระทบใจได้หลากหลาย ทั้งเศร้าโศก ขมขื่น เวทนาสงสาร ฉงนฉงาย สะอิดสะเอียน และอ่อนหวาน จะมีวรรณกรรมเล่มเล็กใดบ้างจะให้ความรู้สึกหลากหลายได้เช่นนี้บ้าง

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…