Skip to main content

‘นายยืนยง’

20080220 ภาพปกโศกนาฎกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์

ชื่อหนังสือ      :    เถ้าถ่านแห่งวารวัน    The Remains of the Day
ประเภท            :    วรรณกรรมแปล
จัดพิมพ์โดย    :    แพรวสำนักพิมพ์
พิมพ์ครั้งที่ ๑    :    กุมภาพันธ์   ๒๕๔๙
ผู้เขียน            :    คาสึโอะ  อิชิงุโระ
ผู้แปล            :    นาลันทา  คุปต์

เราต่างเดินเท้าผ่านเวลาของวันคืน วนรอบอยู่ในสังคม ในโลก และในเรา  
ชีวิตอาจเป็นเรื่องน่าเศร้า อาจเป็นมากกว่าโศกนาฏกรรมในนวนิยาย หรือชีวิตจะไม่ใช่...

เคยถามตัวเองว่า ทำไมการเผชิญหน้ากับปัญหาที่ล้อมรุมเข้ามาจึงเป็นความยากหนึ่งที่หลายครั้งถึงกับต้องยอมจำนน แต่ทำไมเมื่อเราเลือกหยิบหนังสือบางเล่มเพื่อผ่อนเกลียวของความเศร้า หนังสือนั้นกลับตรึงเราไว้กับเรื่องราวเหล่านั้นทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเราสักนิด ขณะเดียวกันเรายังมองเห็นตัวตนของเราในนั้นได้ โดยเฉพาะกับนวนิยาย

นอกเหนือจากการได้สนทนากับตัวละครในเรื่องแล้ว ระหว่างการอ่านอันดื่มด่ำ เราก็ค้นพบว่าปัญหาอันทุกข์เศร้าที่มีอยู่กลับไม่เผยตัวตนให้เจ็บปวด หรือที่ผ่านมาชีวิตเราช่างไร้สุนทรียะ เราจึงได้เสพมันราวกับกระหายเต็มประดา

นวนิยายแต่ละเรื่องต่างมีรสสัมผัสผิดแผกกันไป ความพริ้งเพริศของภาษา บรรยากาศเร้าชวนหลงใหล ตัวละครที่มีบุคลิกโดดเด่นสะดุดตา ซึ่งประกอบกันเป็นนวนิยายนั้น ล้วนผ่านกลวิธีการเขียนของนักเขียน โดยแต่ละคนก็ย่อมคิดค้นหาศิลปะการเล่าที่เหมาะสม แตกต่าง และสร้างสรรค์ใหม่

ทฤษฎีว่าด้วยศิลปะการเขียนมีให้ศึกษาไม่รู้จบ แม้นเรื่องราวเหล่านั้นจะถูกถ่ายทอดครั้งแล้วครั้งเล่า แต่รสสัมผัสที่ได้กลับไม่เคยเหมือนเดิม ดังเช่นที่เราเคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของระบบศักดินาแบบอังกฤษ รู้จักธรรมเนียม มารยาท แบบแผนต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของคนอังกฤษมาบ้างแล้ว แต่กับนวนิยายเล่มนี้เราจะต้องตื่นตะลึงกับการถ่ายทอดอย่างร่วมสมัยแต่คงไว้ซึ่งความคลาสสิคยิ่ง

เถ้าถ่านแห่งวารวัน บทประพันธ์ของคาสึโอะ อิชิงุโระ เป็นนวนิยายที่เขียนออกมาได้อย่างหมดจดงดงามและประณีตที่สุด และเหมาะสมยิ่งที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ BOOKER PRIZE ปี 1989   

คาสึโอะ อิชิงุโระ เกิดที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1954 และย้ายไปพำนักที่ประเทศอังกฤษเมื่อปี 1960  สำเร็จการศึกษาด้านภาษาอังกฤษและปรัชญาจากมหาวิทยาลัยเคนต์ที่แคนเทอร์เบอรี ผลงานของเขาล้วนโดดเด่นและได้รับรางวัลแทบทั้งสิ้น

นอกจากนั้น ต้องยกย่อง นาลันทา คุปต์ผู้ถ่ายทอดจากภาษาอังกฤษสู่ภาษาไทยให้เราได้อ่าน ต้องชื่นชมในการเลือกใช้คำ การวางประโยคอันสละสลวยและมีนัยยะต่อความรู้สึกนึกคิดอีกด้วย

นวนิยายที่ประณีตและโดดเด่นยิ่งเรื่องนี้ เปี่ยมด้วยความสดใหม่ ลึกซึ้งและอ่อนโยน  แต่ข้อสำคัญน่าศึกษาสำหรับนักอ่านหรือนักเขียนก็คือศิลปะแห่งการเล่าเรื่องนั่นเอง         

การจะพิจารณาถึงข้อดังกล่าวนั้นเราไม่อาจแยกในส่วนที่เป็นรูปแบบของการเล่าออกจากแนวคิดทางด้านศีลธรรมของเรื่องได้ชัดเจน แม้จะบอกได้อย่างชัดเจนว่าศีลธรรมของเรื่องมุ่งเน้นในการอธิบายถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในสถานภาพที่ต่างกัน รวมทั้งเหตุผลของการนับถือตนเองด้วย
        
เถ้าถ่านแห่งวารวัน เป็นเรื่องราวที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของตัวละครเอกที่เป็นพ่อบ้านในคฤหาสน์ดาร์ลิงตันฮอลล์ ในยุคที่ความสับสนระหว่างกลุ่มชนที่ยึดถือขนบแบบแผนอันมีมาเนิ่นนานกับความคิดที่จะก้าวให้ทันโลกสมัยใหม่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

นวนิยายเรื่องนี้ได้สนทนากับผู้อ่านด้วยอารมณ์ของโศกนาฏกรรมตลอดทั้งเรื่อง แต่เราจะไม่เห็นหยาดน้ำตาหรือร่องรอยของความเศร้าโศกนั้นเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะรุนแรงร้ายกาจเพียงใดในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง แต่สำหรับพ่อบ้านอย่างสตีเวนส์ ผู้สูญเสียพ่อและคนรัก รวมทั้งตระหนักในความพ่ายแพ้ต่อยุคสมัยของเจ้านายผู้ที่เขามอบความจงรักภักดีไว้แทบเท้า

จากที่ได้เกริ่นไว้ว่ารูปแบบของศิลปะการเล่าเรื่องนั้นน่าสนใจศึกษาเพียงไร อาจสรุปได้อย่างชัดถ้อยชัดคำว่า เถ้าถ่านแห่งวารวันเป็นโศกนาฏกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ที่ประณีตงามยิ่ง โดยเน้นย้ำว่าผู้เขียนได้ใช้วิธีการที่ละเลยต่อรูปแบบดั้งเดิม ทั้งยังมีทีท่าไม่สนใจต่อเอกภาพของเรื่อง แต่องค์ประกอบทุกส่วนล้วนเป็นบูรณภาพอย่างร้ายกาจเหลือเชื่อ เป็นความประสานลงตัวที่ชวนให้ตื่นตะลึงทีเดียว

ว่าด้วยการละเลยรูปแบบ หาใช่มีความหมายไปในทางที่เรียกกันไปอย่างไร้ความรับผิดเลย หากหมายถึงการละเลยรูปแบบซึ่งจงใจร้อยรัดไว้อย่างประณีตเหมือนอย่างจิตรกรรมในแนวทางของอิมเพรสชั่นนิสม์ โดยผู้เขียนอาศัยหลักจิตวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นแนวทางในการตรึงผู้อ่านไว้กับเรื่องโดยตลอด เป็นวิธีที่เรียกว่าเร้าความสนใจไปเรื่อย ๆ แทนที่จะทำให้ผู้อ่านใฝ่หาถึงแต่ตอนจบอันสมบูรณ์อย่างเดียวเท่านั้น และถือเป็นวิธีการที่ยากยิ่ง เนื่องจากการเน้นความเป็นไปของเรื่องราวในระหว่างการดำเนินเรื่อง ต้องอาศัยความสอดคล้องมากกว่าบูรณภาพของเรื่อง แต่ยิ่งอ่านไปเรื่อย ๆ ก็จะพบว่าช่างเต็มไปด้วยบูรณภาพยิ่ง แม้กระทั่งการเปรียบเปรยในช่วงแรก ยกตัวอย่างหน้า 37
    
เมื่อผมยืนอยู่บนชะง่อนผาสูงยามเช้าและมองเห็นผืนดินเบื้องหน้านั้น ผมสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่หาได้ยากยิ่ง แต่ไม่มีทางจะเป็นอื่นไปได้นั้นได้อย่างชัดเจน  นั่นคือความรู้สึกว่ากำลังอยู่เบื้องหน้าความยิ่งใหญ่ เราเรียกแผ่นดินของเรานี้ว่า บริเตนใหญ่ และก็อาจจะมีบางคนที่เชื่อว่านั่นออกจะเป็นการทะนงตัวไปเสียหน่อย แต่ผมก็กล้าพูดว่า เพียงแค่ภูมิทัศน์ของประเทศเราก็พอให้ใช้คำคุณศัพท์ที่เลิศลอยนั้นได้อย่างไม่ละอายแล้ว  ...ฯลฯ ...  

ผมก็จะบอกว่าเป็นเพราะไม่มีความน่าตื่นตาหรือน่าทึ่งอย่างโจ่งแจ้งนั่นแหละที่ทำให้ความงามของประเทศเราพิเศษกว่าใคร สิ่งสำคัญคือความเยือกเย็นของความงามนั้น ความรู้สึกสงบใจของมัน เหมือนกับแผ่นดินรู้ตัวว่างดงาม รู้ตัวว่ายิ่งใหญ่และไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องประกาศก้อง เมื่อเทียบกันแล้ว ทิวทัศน์ประเภทที่มีให้เห็นในที่อย่างแอฟริกาหรืออเมริกานั้น ถึงแม้จะน่าตื่นเต้นเพียงไร แต่ผมก็แน่ใจว่าผู้ที่มองอย่างเป็นกลางจะเห็นว่าด้อยกว่าเพราะการป่าวร้องอย่างไม่สมควรนั่นเป็นแน่...

จากย่อหน้าดังกล่าว จะเห็นว่ากระแสความคิดของสตีเวนส์เมื่อได้เห็นทัศนียภาพของประเทศ แม้เป็นจะเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กน้อยของนวนิยายทั้งเล่ม แต่เราจะได้พบกับเรื่องราวย่อย ๆ ที่เป็นความสมดุลเชื่อมโยง สอดคล้องกันไปทั้งหมดกับเรื่องราวย่อยอื่นของเรื่องและประสานกันได้อย่างแนบเนียนกับบูรณภาพและศีลธรรมของเรื่อง

นอกเหนือจากข้อสำคัญดังกล่าวแล้ว ยังมีการประสานขององค์ประกอบอื่นอีกมากมาย เช่นตัวละครที่มีทั้งจากการแต่งขึ้นใหม่และตัวละครที่มีชีวิตอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เช่น จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ นักเขียนบทละคร, ศาสตราจารย์เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษผู้ได้รับสมญานามว่าบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ หนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือ การวิพากษ์สนธิสัญญาแวร์ซายส์ว่าจะทำให้เศรษฐกิจของยุโรปทั้งหมดต้องพินาศ (หน้า 84 ) ฯลฯ   ภายใต้มุมมองและกระแสคิดของสตีเวนส์ พ่อบ้านประจำคฤหาสน์ฯ ที่ถูกกระตุ้นด้วยสภาพแวดล้อม ผู้คน สังคมภายนอกคฤหาสน์ เรื่องราวในอดีตอันยิบย่อยก็ค่อย ๆ ผลิเผยออกมาเป็นเรื่องราวจากความทรงจำ

ศิลปะการเล่าเรื่องดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นดุมล้อแห่งสุนทรียภาพที่เฝ้าปลอบประโลมมนุษยชาติได้เลยทีเดียว  แม้บางคนอาจเคยรู้สึกว่า ทำไมต้องเสียเวลากับเรื่องโศกนาฏกรรมด้วยเล่า ในเมื่อชีวิตจริงน่าเศร้าเสียยิ่งกว่านิยาย

แต่กับโศกนาฏกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์เล่มนี้
ทำให้เราคงอยู่กับความเศร้าโศกได้อย่างเข้าอกเข้าใจ ทั้งสุขุมเยือกเย็นและสง่างาม.


            

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…