Skip to main content

นายยืนยง

 

 

 4_07_01

 

 

ชื่อหนังสือ     : ชีวิตและงานกวีเอกของไทย

ผู้เขียน          : สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร

จัดพิมพ์โดย   : สำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา

พิมพ์ครั้งแรก  : 27 มีนาคม พ..2508


ตั้งแต่เครือข่ายพันธมิตรประชาชนฯ เริ่มชุมนุมเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงจากสถานีเอเอสทีวีก็กังวานไปทั่วบริเวณบ้านที่เช่าเขาอยู่ มันเป็นบ้านที่มีบ้านบริเวณกว้างขวาง และมีบ้านหลายหลังปลูกใกล้ ๆ กัน ใครเปิดทีวีช่องอะไรเป็นได้ยินกันทั่ว คนที่ไม่ได้เปิดก็เลยฟังไม่ได้สรรพ ต้องเดินเข้าบ้านเปิดทีวีของตัวเองดูจะได้มีเสียงส่วนตัว เพราะทุกบ้านเล่นยุทธวิธีเร่งวอลุ่มกันขนาดหนักจนฟังเอะอะไปหมด ที่สำคัญบ้านที่มีเอเอสทีวียังคอยกวักมือเรียกให้ไปดูด้วยกันอยู่นั่น ไอ้เราก็อยากอยู่นะ ไม่ใช่ไม่อยากดู แต่อย่างว่านั่นแหละ เราอยากมีเสียงส่วนตัวบ้าง อีกอย่างหนึ่งก็เพราะชอบอ่านหนังสือพิมพ์มากกว่าก็มัน “มัน” ดีนั่นเอง อยากพักตาตอนไหนก็พับเก็บไว้ก่อน ไม่ต้องขืนตัวเองนั่งจ้องหน้าจอ


ตั้งแต่พันธมิตรฯ เริ่มเคลื่อนไหว ยิ่งจำนวนผู้ชุมนุมหนาตามากเท่าไร คนที่อยู่นอกเหตุการณ์ต่างพากันวิตกจนหน้าหมองไปหมด บ้างก็ว่า กลียุคแท้ ๆ คนไทยจะฆ่ากันเอง บ้างก็ว่าต้องมี “ใคร” ออกมาทำอะไรสักอย่างให้การชุมนุมยุติลงเสียที ไอ้อะไรที่มันร้าย ๆ เหมือนถูกขุดออกมาจากความทรงจำ ภาพเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ 16 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬเหมือนฝันร้ายที่ตามหลอกหลอนไปทุกยุคทุกสมัย ทั้งที่การชุมนุมประท้วงเป็นปกติของระบอบประชาธิปไตย แต่ทำไมทุกครั้งที่มีการชุมนุม อาการหวั่นวิตกว่าจะเกิดเหตุนองเลือดมันจะกำเริบทุกทีด้วยก็ไม่ทราบ เรารักและหวงแหนความสงบสุขกันมากถึงเพียงนี้หรือ? หรือ “กระเหี้ยนกระหือรือ” อยากให้เรื่องมันจบลงซักที (ไม่ว่าจะจบอย่างไร) เหมือนอย่างใน เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา จากหนังสือเก่าเล่มที่นำมากล่าวถึงก็เข้าทำนองเดียวกัน แต่ในเพลงยาวฯ คล้ายจะมีความรู้สึกหวงแหน อาลัยอาวรณ์เคล้าอยู่ด้วย ลองอ่านดูดีไหมว่า บรรพบุรุษกวีสมัยพ..2199 ..2231 เขารู้สึกนึกคิดอย่างไรกับบ้านเมือง จะเป็นเหมือนกวีรุ่นลูกหลานเหลนสมัยนี้ไหม? ขออนุญาตยกมาให้อ่าน ณ ที่นี้ จากหนังสือ ชีวิตและงานกวีเอกของไทย ที่พิมพ์เมื่อพ..2507 เก่าขนาดพร้อมพลีกายอำลาโลกเลยทีเดียว

ช่างเปราะบางเสียนี่กระไรหนังสือหนอ...


เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา


จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา

เป็นกรุงรัตนราชพระศาสนา       มหาดิเรกอันเลิศล้น

เป็นที่ปรากฏรจนา                   สรรเสริญอยุธยาทุกแห่งหน

ทุกบุรีสีมามณฑล                   จบสกลลูกค้าวานิช

ทุกประเทศสิบสองภาษา          ย่อมมาพึ่งกรุงศรีอยุธยาเป็นอัคคนิษฐ์

ประชาราษฎร์ปราศจากภัยพิศม์ ทั้งความพิกลจริตแลความทุกข์

ฝ่ายองค์พระบรมราชา             ครองขันธสีมาเป็นสุข

ด้วยพระกฤษฎีกาทำนุก           จึงอยู่เย็นเป็นสุขสวัสดี

เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ในใต้หล้า เป็นที่อาศัยแก่เทวาทุกราศี

ทุกนิกรนรชนมนตรี                คหบดีพราหมณพฤฒา

ประดุจดั่งศาลาอาศัย              ดั่งหนึ่งร่มพระไทรอันสาขา

ประดุจหนึ่งแม่น้ำพระคงคา       เป็นที่สิเนหาเมื่อกันดาร

ด้วยพระเดชเดชาอานุภาพ       อาจปราบไพรีทุกทิศาน

ทุกประเทศเขตขันธบันดาล      แต่งเครื่องบรรณาการมานอบนบ

กรุงศรีอยุธยานั้นสมบูรณ์         เพิ่มพูนด้วยพระเกียรติยศขจรจบ

อุดมบรมสุขทั้งแผ่นภพ           จนคำรบศักราชได้สองพัน

คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย         จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น

ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม์ จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ


คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพท     อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน

มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาล      เกิดนิมิตพิสดารทุกบ้านเมือง

พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง

ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง             ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร

พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี         พระกาลกุลีจะเข้ามาเป็นไส้

พระธรณีจะตีอกไห้                 อกพระกาลจะไหม้อยู่เกรียมกรม

ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม

มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม      มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ

ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสารพัด      เกิดวิบัตินานาทั่วสากล

เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา        จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล

สัปรุษจะแพ้แก่ทรชน              มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก

ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว              คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์

ลูกศิษย์จะสู้ครูนัก                  จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย

ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ             นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย

กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย            น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม

ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า                เพราะจัณฑาลมันเข้ามาเสพสม

ผู้มีศิลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์        เพราะสมัครสมาคมด้วยมารยา

พระมหากษัตริย์จะเสื่อมสิงหนาท ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา

อาสัจจะเลื่องลือชา                 พระธรรมาจะตกลึกลับ

ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ              จะสาบสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ

ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์           สัปรุษจะอับซึ่งน้ำใจ

ทั้งอยุศฆ์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี ประเวณีจะแปรปรวนตามวิสัย

ทั้งพืชแผ่นดินจะผ่อนไป           ผลหมากรากไม้จะถอยรส

ทั้งแพทย์พรรณว่านยาก็อาเพด   เคยเป็นคุณวิเศษก็เสื่อมหมด

จวงจันทร์พรรณไม้อันหอมรส     จะถอยถดไปตามประเพณี

ทั้งเข้าก็จะยากหมากจะแพง       สารพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่

จะบังเกิดทรพิษมิคสัญญี           ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน

กรุงประเทศราชธานี                 จะเกิดการกุลีทุกแห่งหน

จะอ้างว้างอกใจทั้งไพร่พล         จะสาละวนทั่วโลกหญิงชาย

จะร้อนอกสมณาประชาราษฎร์    จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย

จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย            ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ

ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก         เวียงวังจะรกเป็นป่าเสือ

แต่สิงห์สาระสัตว์เนื้อเบื้อ           นั้นจะหลงเหลือในแผ่นดิน

ทั้งผู้คนสารพัดสัตว์ทั้งหลาย       จะสาบสูญล้มตายเสียหมดสิ้น

ด้วยพระกาลจะมาผลาญแผ่นดิน จะสูญสิ้นการณรงค์สงคราม

กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว           จะลับรัศมีแก้วเจ้าทั้งสาม

ไปจบคำรบปีเดือนคืนยาม         จะสิ้นนามศักราชห้าพัน

กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข             แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์

จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์        นับวันจะเสื่อมสูญ เอย


เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา เป็นวรรณคดีสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (..๒๑๙๙-๒๒๓๑) พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เชี่ยวชาญในวรรณคดีมาก ยุคนี้วรรณคดีจึงฟูเฟื่องมากที่สุด ถือเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตเกิดเป็นคู่ใต้พระบุญบารมีหลายท่าน เช่น พระมหาราชครู พระโหราธิบดี พระศรีมโหสถ ขุนเทพกวี ศรีปราชญ์ จนกล่าวกันทั่วไปว่าในสมัยของพระองค์ ข้าราชสำนักและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินส่วนมากหายใจกันเป็นโคลงกลอนไปหมดทีเดียว นอกจากนั้นยังมีการดัดแปลงแต่งวรรณคดีประเภทใหม่ ๆ ขึ้นอีกหลายประเภทเช่น กาพย์ห่อโคลง และกาพย์ขับไม้


สำหรับเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยานี้ ไม่ปรากฏแน่ชัดว่ากวีผู้ใดประพันธ์ แต่มีการกล่าวถึงในยุคหลังจากนั้น ขอยกบทวิจารณ์ที่น่าสนใจมาให้อ่านควบคู่กันไปด้วย


นั่นคือ “วิจารณ์เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยูธยา” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวิจารณ์ไว้อย่างมีเหตุผลดียิ่งดังนี้คือ


พิจารณาเนื้อความที่กล่าวในเพลงยาวบทนี้ มีคำพยากรณ์มาแต่ก่อน ว่ากรุงศรีอยุธยาจะสมบูรณ์พูลสุขเป็นอย่างเลิศล้นจนศักราชได้ ๒,๐๐๐ ปี พ้นนั้นไปจะ “เกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์ ๑๖ ประการ” “เหตุด้วยพระมหากษัตริย์ไม่ทรงทศพิธราชธรรม” บ้านเมืองก็จะมีเภทภัยต่าง ๆ ที่สุดถึงฆ่าฟันกันตาย จนกรุงศรีอยุธยาสูญไปตลอดอายุพระพุทธศานา ๕,๐๐๐ ปี ว่ามีคำพยากรณ์อยู่แล้วดังกล่าวมานี้ มาในสมัยหนึ่งเมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่นั้น ผู้แต่งเพลงยาวบทนี้สังเกตเห็นวิปริตต่าง ๆ ตาม
ในลักษณะทำนายไว้บ่อห่อนผิด เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม” เกรงว่าจะเข้ายุคเข็ญตามคำพยากรณ์ จึงแต่งเพลงยาวบทนี้ด้วยความอาลัยกรุงศรีอยุธยาลงท้ายว่า

กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์ จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์นับวันแต่จะเสื่อมสูญเอย”


ตามความในเพลงยาวพึงเห็นได้ ว่าผู้แต่งเพลงยาวบทนี้ เป็นแต่อ้างตามคำพยากรณ์ที่มีอยู่แล้ว หาได้เป็นผู้พยากรณ์ไม่ จึงเกิดปัญหาเป็นข้อต้น ว่าใครเป็นผู้พยากรณ์.... แต่ในคำพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาอ้างว่าจะเกิดยุคเข็ญ เมื่อศักราชได้ ๒,๐๐๐ ปี จึงเป็นปัญหาเกิดขึ้นอีกข้อ ๑ ว่า ศักราชอันใด ถ้าหมายว่า พุทธศักราช กรุงศรีอยุธยาสร้างเมื่อ พ.. ๑๘๙๓ ครบ ๒,๐๐๐ ปีในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ กรุงศรีอยุธยาก็จะสมบูรณ์พูลสุขอยู่เพียง ๑๐๗ ปี แล้วก็เข้ายุคเข็ญมาก่อนแต่งเพลงยาวบทนี้ตั้ง ๑๐๐ ปีแล้ว ที่ผู้แต่งเพลงยาวเพิ่งหวั่นหวาดว่าจะถึงยุคเข็ญ ก็ส่อให้เห็นว่ามิใช่พุทธศักราชหรือจะหมายว่ามหาศักราช ซึ่งตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี ถ้าเช่นนั้นเมื่อคำนวณดูในพ..๒๔๗๙ (ปีที่เขียนคำวิจารณ์) นี้มหาศักราชได้ ๑,๘๕๘ ปี ยังอีก ๑๔๒ ปี จึงจะครบ ๒,๐๐๐ เข้าเขตยุคเข็ญที่พยากรณ์ ถ้าหมายความว่าจุลศักราชยังยิ่งช้าออกไปอีกมาก เพราะจุลศักราชตั้งภายหลังพุทธศักราชถึง ๑,๑๘๑ ปี ต่ออีก ๗๐๒ ปี (..๓๑๘๑) จุลศักราชจึงจะครบ ๒,๐๐๐ ศักราช ๒,๐๐๐ ที่บอกไว้ดูไม่เข้ากับเรื่องที่กล่าวในเพลงยาวทีเดียว ชวนให้สงสัยต่อไปถึงข้อที่อ้างว่ามีคำพยากรณ์อยู่แต่ก่อน ที่จริงน่าจะเป็นด้วยคนชอบเอาพุทธพยากรณ์ในมหาสุบินชาดกมาเปรียบในเวลาเมื่อเห็นอะไรวิปริตผิดนิยม เกิดเป็นภาษิตก่อนแล้วจึงเลยเลือนไปเข้าใจกันว่าเป็นคำพยากรณ์ สำหรับพระนครศรีอยุธยาผู้แต่งเพลงยาวนี้ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็ตามหรือมิใช่พระเจ้าแผ่นดินก็ตามน่าจะปรารภความวิปริตอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยนั้น จึงแต่งเพลงยาวบทนี้ด้วยความกลุ้มใจ บางทีจะเอาศักราช ๒,๐๐๐ อันตั้งใจว่าจุลศักราชเขียนลงเพื่อจะมิให้คนทั้งหลายตกใจว่าถึงยุคเข็ญแล้ว เมื่อเวลาแต่งเพลงยาวนั้น เห็นจะมิใคร่มีใครถือว่าสลักสำคัญมาจนเมื่อเสียพระนครศรีอยุธยา จึงเกิดเห็นสมดังพยากรณ์เพลงยาวบทนี้ก็เลยศักดิ์สิทธิ์ขึ้น...


เมื่อได้อ่านเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาแล้ว มีใครนึกสนุกจะถอดรหัสลับ หรือถอดสัญลักษณ์ว่าอะไรเป็นอะไร เทียบเคียงได้กับใครในยุคข่าวสารสมัยนี้ บางทีเรื่องสนุกแก้เซ็งธรรมดา อาจเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาได้ แต่ที่แน่ ๆ คือ คนไทยเราล้วนมีอาการวิตกกังวล ห่วงใยชาติบ้านเมืองกันอย่างแน่นแฟ้นทีเดียว บางทีอาจเป็นเพราะนิสัยที่สืบมาแต่บรรพบุรุษก็เป็นได้ ใครจะไปรู้.


 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
 ชื่อหนังสือ : เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ ผู้เขียน : ประไพ วิเศษธานี จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ทะเลหญ้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2536 ไปเจอหนังสือเก่าสภาพดีเล่มหนึ่งเข้าที่ตลาดนัดหนังสือใกล้บ้าน เป็นความถูกใจที่วิเศษสุด เนื่องจากเป็นหนังสือที่คิดว่าหายากแล้ว ไม่เท่านั้นเนื้อหายังเป็นตำราทางการประพันธ์ เหมาะทั้งคนที่เป็นนักเขียนและนักอ่าน นำมาตัดทอนให้อ่านสนุก ๆ เผื่อว่าจะได้ใช้ในคราวบังเอิญ เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการเล่มนี้ ผู้เขียนใช้นามปากกา ประไพ วิเศษธานี ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นสักเท่าไร แต่หากบอกว่านามปากกานี้เป็นอีกสมัญญาหนึ่งของนายผี อัศนี พลจันทร ล่ะก็…
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง?…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ผู้เขียน : เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ในดวงใจ ชวนอ่านเรื่องสั้นมหัศจรรย์ ปลายกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคมปีนี้ ข่าวสารที่ได้รับค่อนไปทางรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐที่ส่อเค้าว่าจะลุกลามไปทั่วโลก ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน หุ้นร่วงรูดเป็นประวัติการณ์ ชวนให้บรรดานักเก็งกำไรอกสั่นขวัญแขวน ไม่กี่วันจากนั้น รัฐบาลที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่วัน ก็ได้ใช้อำนาจทำร้ายประชาชนอย่างไร้ยางอาย ตลอดวันที่ 7 ตุลาคม 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง นวนิยายเรื่อง : บ้านก้านมะยม สำนักพิมพ์ : นิลุบล ผู้แต่ง : ประภัสสร เสวิกุล อาขยาน เป็นบทท่องจำที่เด็กวัยประถมล้วนมีประสบการณ์ในการท่องจนเสียงแหบแห้งมาบ้างแล้ว ทุกครั้งที่แว่วเสียง ... แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา หรือ มานี มานะ จะปะกระทะ มะระ อะไร จะไป จะดู หรือ บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี ฯลฯ เมื่อนั้น..ความรู้สึกจากอดีตเหมือนได้ลอยอ้อยอิ่งออกมาจากความทรงจำ ช่างเป็นภาพแสนอบอุ่น ทั้งรอยยิ้มและไม้เรียวของคุณครู ทั้งเสียงหัวเราะและเสียงกระซิบกระซาบจากเพื่อน ๆ ตัวน้อยในวัยเยาว์ของเรา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ ผู้เขียน : ชมัยภร แสงกระจ่าง ประเภท : รวมเรื่องสั้น พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ คมบาง เมื่อคืนพายุฝนสาดซัดเข้ามาทั่วทิศทาง กระหน่ำเม็ดราวเป็นคืนแห่งวาตะภัย มันเริ่มตั้งแต่หกทุ่มเศษ และโหมเข้า สาดเข้า ถ้าเป็นหลังคาสังกะสี ฉันคงเจ็บปางตายเพราะฝนเม็ดหนานัก มันพุ่งแรงเหลือเกิน ต่อเนื่องและเยือกฉ่ำ ฉันลุกขึ้นมาเปิดไฟ เผชิญกับความกลัวที่ว่าบ้านจะพังไหม? ตัดเรือน เสา ที่เป็นไม้ (เก่า) ฐานรากที่แช่อยู่ในดินชุ่มฉ่ำ โถ..บ้านชราภาพจะทนทานไปได้กี่น้ำ นั่งอยู่ข้างบนก็รู้หรอกว่า ที่ใต้ถุนนั่น น้ำคงเนืองนอง…
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551…
สวนหนังสือ
นายยืนยง        ชื่อหนังสือ : อาหารรสวิเศษของคนโบราณ      ผู้เขียน : ประยูร อุลุชาฎะ      ฉบับปรับปรุง : กันยายน 2542      จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แสงแดดใครที่เคยแก่อายุเข้าแล้ว พออากาศไม่เหมาะก็กินอะไรไม่ถูกปาก ลิ้นไม่ทำหน้าที่ซึมซับรสอันโอชาเสียแล้ว อาหารจึงกลายเป็นเรื่องยากประจำวันทีเดียว ไม่เหมือนเด็ก ๆ หรือคนวัยกำลังกินกำลังนอน ที่กินอะไรก็เอร็ดอร่อยไปหมด จนน่าอิจฉา คราวนี้จะพึ่งแม่ครัวประจำตัวก็ไม่เป็นผลแล้ว ต้องหาของแปลกลิ้นมาชุบชูชีวิตชีวาให้กลับคืนมา…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : แม่ใหม่ที่รัก ( Sarah, Plain and Tall ) ผู้เขียน : แพทริเซีย แมคลาแคลน ผู้แปล : เพชรรัตน์ ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2544 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน หากใครเคยพยายามบ่มเพาะให้เด็กมีนิสัยรักหนังสือ รักการอ่าน ย่อมเคยประสบคำถามจากเด็ก ๆ ของท่านทำนองว่า หนังสือจำเป็นกับชีวิตมากปานนั้นหรือ? เราจะตายไหมถ้าไม่อ่านหนังสือ? หรือเราจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่อ่านหนังสือจะได้ไหม? กระทั่งบ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ก็อาจหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมาตอบอย่างซื่อสัตย์ได้ไม่ง่ายนัก เป็นที่แน่นอนอยู่ว่า ผู้ใหญ่บางคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ต่างแต่ว่า…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ก่อนเริ่มโรงเรียนวิชาหนังสือ (สูจิบัตรในงาน ‘หนังสือ ก่อนและหลังเป็นหนังสือ’ ) จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ สัปดาห์ก่อนไปมีปัญหาเรื่องซื้อหนังสือกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ด้วยเพราะหนังสือที่จะซื้อมีราคาไม่เป็นจำนวนถ้วน คือ ราคาขายมีเศษสตางค์ เป็นเงิน 19.50 บาท เครื่องคิดราคาไม่ยอมขายให้เรา ทำเอาพนักงานวิ่งถามหัวหน้ากันจ้าละหวั่น ต้องรอหัวหน้าใหญ่เขามาแก้ไขราคาให้เป็น 20.00 บาทถ้วน เครื่องคิดราคาจึงยอมขายให้เรา เออ..อย่างนี้ก็มีด้วย เดี๋ยวนี้เศษสตางค์มันไร้ค่าจนเป็นแค่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เท่านั้นเอง หนังสือเล่มดังกล่าวนั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง     ชื่อหนังสือ : ช่อการะเกด 45 (กรกฎาคม – กันยายน 2551) ประเภท : นิตยสารเรื่องสั้นและวรรณกรรมรายสามเดือน บรรณาธิการ : สุชาติ สวัสดิ์ศรี จัดพิมพ์โดย : พิมพ์บูรพา ใครที่เคยติดตามอ่านช่อการะเกด นิตยสารเรื่องสั้นรายไตรมาส เล่มเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ ย่อมมีใจรักในงานเขียนเรื่องสั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าผลงานเรื่องสั้นที่ปรากฏ “ผ่านเกิด” ภายใต้รสนิยมบรรณาธิการนาม สุชาติ สวัสดิ์ศรี นั้นจะต้องรสนิยมคนชื่นชอบเรื่องสั้นมากน้อยเพียงใด ก็ไม่ค่อยปรากฏกระแสเสียงวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดเลย ทั้งที่ตอนประชาสัมพันธ์เปิดรับต้นฉบับเรื่องสั้น…
สวนหนังสือ
นายยืนยง วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาคัดเลือกหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ส่งประกวด ประจำปี 2551 จำนวน 76 เล่ม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอหนังสือรวมเรื่องสั้น 9 เล่ม ดังนี้   1.ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ 2.เคหวัตถุ ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ 3.ตามหาชั่วชีวิต ของ ‘เสาวรี’ 4.บริษัทไทยไม่จำกัด ของ สนั่น ชูสกุล 5.ปรารถนาแห่งแสงจันทร์ ของ เงาจันทร์ 6.เราหลงลืมอะไรบางอย่าง ของ วัชระ สัจจะสารสิน 7.เรื่องบางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของ…