Skip to main content

 

 

Charnvit Ks' Note to the Parliament (lah)
ฉบับเต็ม ของที่ อ่าน ย่อๆๆๆ 

“ตอบรัฐสภา เรืองไม่รับข้อเสนอปฎิรูป ม. 112”
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (17 มีนาคม 2556)

ท่านผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพบุรุษ ท่านสุภาพสุภาพสตรี ท่านสุภาพชน
เมื่อปีที่แล้ว เราก็มารวมกัน ณ หอประชุมแห่งนี้ หอประชุมที่มีชื่ออันทรงเกียรติว่า "ศรีบูรพา" ผู้สอนให้เรา "รักประชาชน"

ปีนี้ ณ วันนี้ เราก็ต้องมารวมกันอีก เราคงต้องมารวมกันเรื่อยๆ บ่อยๆ ยาวๆ และนานๆ เพราะการผลักดันให้บ้านเมือง เป็นประชาธิปไตย ให้มีการแก้ไข กม ให้เป็นธรรม คงทั้งยาว และ ทั้งนาน

เรามารวมตัวกัน ณ ที่แห่งนี้ เมื่อ 15 มกรา 2555 ปีที่แล้ว เพื่อเปิดตัว "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" (ครก.112) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสามัญชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประชาชน เป็นนักกิจกรรม เป็นนักวิชาการ เป็นนักคิดนักเขียน ที่ต่างเพศ ต่างวัย ที่เคลื่อนไหวให้แก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อประชาชน 

ข้อเสนอดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางการใช้มาตรา 112 เป็น “เครื่องมือทางการเมือง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีผู้ได้รับความเดือดร้อน จากกฎหมายดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนคดีที่อยู่กระบวนยุติธรรม ดังนี้
ปี 2548 มี 33 กระทง
ปี 2549 มี 30 กระทง
ปี 2550 มี 126 กระทง
ปี 2551 มี 77 กระทง
ปี 2552 มี 164 กระทง
ปี 2553 มี 478 กระทง 
ในการเคลื่อนไหวดังกล่าวเราจึงใช้คำขวัญว่า
“แก้มาตรา 112 ฟื้นฟูประชาธิปไตย หยุดใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือ”

หลังจากใช้เวลากว่า 3 เดือน ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 เราได้รวบรวมรายชื่อประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 39,185 รายชื่อ เพื่อเสนอร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เสนอเข้าสู่การพิจารณารัฐสภา ทั้งนี้ เราได้แนบเหตุผลประกอบดังต่อไปนี้

1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เช่น จำคุก ปรับ เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดังนั้น โดยหลักแล้วกฎหมายอาญาแทบจะทุกเรื่องเข้าข่าย หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ในรัฐธรรมนูญได้ทั้งหมด 

2. กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น กล่าวคือ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หมายถึง ทุกคนสามารถแสดงออกซึ่งความคิดเห็นได้ ในลักษณะเดียวกับกฎหมายหมิ่นประมาท ที่บุคคลแสดงความคิดเห็นได้ทั้งหมด ยกเว้นบางเรื่องซึ่งเป็นการหมิ่นประมาท ก็จะมีโทษตามแต่กรณี

3. เนื้อหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน ซึ่งในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ในมาตรา 29 กล่าวคือ ถ้าจะมีมาตรการหรือกฎหมายใดๆ มาจำกัดสิทธิและเสรีภาพต้องทำไปพอสมควรแก่เหตุ ไม่มากจนเกินไป 

ต่อมา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 เว็บไซต์รัฐสภา ได้เผยแพร่เอกสาร สรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ระบุว่า

“ได้สั่งจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของนายชาญวิทย์ พร้อมด้วยประชาชน 30,383 คน”
โดยที่ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในฐานะรักษาการประธานสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ได้ทำความเห็นระบุว่า เรื่องดังกล่าว

“ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163 ว่าด้วยเรื่องการเสนอชื่อของประชาชน ที่กำหนดให้สามารถแก้ไขกฎหมายได้เพียง 2 หมวดเท่านั้น คือ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แต่การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เกี่ยวข้องกับหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องพระมหากษัตริย์ 

สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ข้อเสนอการแก้ไขมาตรา 112 ของพวกเรา และของคณะนิติราษฎร์นั้น เป็นข้อเสนอเพื่อแก้ไขให้สถาบันกษัตริย์ของเรา ดำรงอยู่ในสถานะที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย อันเป็นกระแสหลักของโลกสมัยใหม่ในปัจจุบัน 

อย่างที่เราทราบกันว่า ในโลกใบนี้ ที่มีองค์การสหประชาชาติ เป็น "โลกบาล" มีสมาชิกอยู่ 193 ประเทศ ถามว่า ประเทศส่วนใหญ่ เป็นระบบสถาบันกษัตริย์/ ระบอบราชาธิปไตย หรือ ระบอบประธานาธิบดี คำตอบ ก็คือ เพียง 13 % หรือ 27 ประเทศ เท่านั้น ในขณะที่ระบอบประธานาธิบดี มีถึง 87 % หรือ 166 ประเทศ 

ดังนั้น การปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย/สถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันนั้น เป็นเพียง "กลุ่มน้อย" ในโลกสมัยใหม่ หาใช่ "กลุ่มใหญ่" ไม่ ซึ่งถ้ายิ่งพิจารณาให้ละเอียด ทั้งในแง่พื้นที่และจำนวนประชากร ก็จะเห็นได้ชัดเจนอีกว่า ใน 27 ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย มีประชากรรวมกันเพียง 468 ล้านคน ขณะที่อินเดีย เพียงประเทศเดียวที่ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐมีประชากรถึง 1,210 ล้านคน นี่ยังไม่ต้องกล่าวถึงจีน ที่มีประชากรมากไปกว่านั้นอีก

และเมื่อพิจารณาในแง่ของพื้นที่ จะพบว่า ใน 27 ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย มีพื้นที่เพียง 6,565,619 .ตร. กม. (2,535,000 ตารางไมล์) ขณะที่บราซิล เพียงประเทศเดียวที่ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ มีพื้นที่ถึง 8,513,290 ตร.กม (3,287,000 ตารางไมล์) 

นี่ยังไม่ต้องกล่าวถึงว่าใน 27 ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย/สถาบันกษัตริย์ มีหลายประเทศที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทราชย์ หรือที่มีพระราชอำนาจนำนั้น ต่างก็มีความตึงเครียดทางการเมืองสูง โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลาง ที่ระบอบเก่า ต้องเผชิญกับการเคลื่อนไหวมวลชนอย่างขนานใหญ่ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา

ดังนั้น สิ่งที่ข้าพเจ้านำเสนอในวันนี้อีกครั้ง ก็คือการย้ำให้เห็นว่า การที่จะธำรงรักษาสถาบันกษัตริย์ให้มั่นคงถาวรนั้น จะต้องพัฒนา ปรับตัวให้เข้ากับ สถาบันประชาธิปไตย และสถาบันของประชาชาติ ประชาชน เฉกเช่นนานา อารยะประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร และในยุโรปตะวันตก 

สังคมไทยของเรา แม้จะมีลักษณะเด่นเฉพาะของตนเอง แต่สังคมของสยามประเทศไทยเรา ก็ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และกระแสธารทางประวัติศาสตร์ของโลก หามีข้อยกเว้นไม่ นั่นคือ ต้องมุ่งไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย มากขึ้นๆ หนทางทั้งที่ผ่านมาในอดีต และทั้งที่จะต้องผ่านไปในอนาคตนั้น แม้จะยาว จะวกวน คดเคี้ยว เลี้ยวลด 

แต่นั่นก็เป็นหนทางเดียว ที่จะต้องดำเนินไป จนกว่าจะถึงจุดหมายของความเป็นธรรม และความเป็นไทย บรรลุถึงความเป็นประชาชาติ และเป็นประชาธิปไตย ครับ สวัสดี

 

บล็อกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
บทความของนักวิชาการฝรั่งสงครามกลางเมือง ในสยามประเทศไทยควรอ่าน ครับ (ข้างล่าง)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
(ผมได้อ่าน ข้อคิด (ยาวๆ ข้างล่าง) ของปราบ อย่างละเอียดประทับใจ และดีใจ ที่มีเยาวชน คนหนุ่มสาว รุ่นใหม่คิดอะไร ที่เป็นบวก สร้างสรรค์ มากกว่าเป็นลบ และทำลาย)ผมขอเสนอความเห็นเพิ่มเติม cK@MyThoughtRicePledging ดังนี้:
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 2/2 Election or No Electionตลก.รธน และ กกต. ร่วมกับ ม็อบ ปกกส. และ ปชปให้เลื่อนเลือกตั้งแต่ พลเมืองดี (มธก.) เสนอว่า"ไปเลือกตั้ง ทั้งก่อนและหลัง 2 กุมภา"Go to the Poll before and on 2 Feb 2014ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
หนึ่ง)“ศรีสิขเรศวร” หรือ ปราสาทเขาพระวิหารปวศ บาดแผล เป็นหลุมดำปราสาท และ ดินเขา ศักดิ์สิทธิ ต้องมนตร์สาปผู้ไม่ใช่ ลูก หลาน เหลน โหลน ของสุริยวรมัน ชัยวรมันไปแตะ ไปต้อง ไปข้อง ไปเกี่ยวโดยขาดความเคารพ ในอดีต ในบรรพชนก็จะมี อันเป็นไป ครับสอง)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
14 ตุลาคม 2516 ผ่านไปครบ 40 ปี "ไวเหมือนโกหก" และไม่ว่าเราจะเรียกเหตุการณ์นั้นว่าอะไรก็ตาม ก็เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ของการที่ "ผู้กุมอำนาจรัฐ" กระทำกับประชาชนของตน และก็เกิดขึ้นกลางกรุงเทพมหานคร ที่มาจนถึง ณ วันนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก รวม 4 ครั้งด้วยกัน (นี่ยังไม่นับรวมถึง เหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด หรือในดินแดนชายขอบ)