Skip to main content

ใครบางคนอาจมองว่า “รอยสัก” คือความเท่

ใครบางคนอาจมองว่า “รอยสัก” คือความงามที่แลกมาด้วยความเจ็บปวด

ใครบางคนอาจมองว่า “รอยสัก” คือ สัญญะ ของการขบถต่อจารีตผู้ดี

และ ใครบางคนอาจมองว่า “รอยสัก” คือ ความสกปรก

ต่ำตมที่สังคมไม่ยอมรับ

 

แต่สำหรับผมแล้ว หน่ะหรือ “รอยสัก” มันก็คือ"แฟชั่น"

แล้วก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผมนึกไปถึง สไตล์ของป้า วิเวียน เวสต์วูด ดีไซน์เนอร์

ผู้นำของความก๋ากั่นขบถโลกขึ้นมา ว่าด้วยเรื่องราวของ การกบฏ ฉีกกฎ

การยึดติดกับระบบสังคมชนชั้นในอังกฤษ ผ่าน แฟชั่นแนวพังค์

ที่ได้แผดเสียงร๊อค ดังระงมในยุค70 แล้วก็มันคงเป็นเวลาเดียวกัน

ที่ หญิงสาว ผมลอน ต้องการปลดเปลื้องตัวตนเดิมๆออกจาก โลกวิถี

ที่ผู้หญิงจำต้องขดตัวตน ไม่ต่างกับร่างกายที่อยู่ในการรัด

ของชุดคอร์เซ็ต Crosets ด้วยการไถผมเกรียน เขียนขอบตาดำ

สวมใส่อาภรณ์ ขาดๆ และทำให้ดูเกรี้ยวกราดขึ้นด้วยการปักหมุดลงไป

รวมทั้งการ เจาะ-สักลาย จะว่าไปแล้วสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่การแต่งตัว

ไม่ใช่แค่แฟชั่นแรงๆเพียงเท่านั้น แต่นั่นมันคือการนำสังคมก้าวเดินออกจาก

การครอบงำคร่ำครึของระบอบที่ผู้หญิงต้องถูกจองจำ--การกดขี่ของชนชั้น

รวมทั้งความกดดันในตัวเอง แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานความสร้างสรรค์

ที่พร้อมประจันหน้าท้าทายต่อกรอบเดิมๆ โดยไม่แคร์เสียงก่นด่าใดๆทั้ง

นั้น  เมื่อสิ่งที่ทำคือความกล้า และมันเป็นคีย์แมสเซสที่บอกว่า 

นั่นแหละคือสิ่งที่ฉันนั้นต้องการ แล้วยังจะต้องแคร์อะไรอีก

 

 

จากยุคพังค์อันแสบสันของวิเวียน แล้วเหลียวมองดูสังคมไทยทุกวันนี้

แม้จะรู้ๆกันอยู่แก่ใจว่านี่มันคือโลกอิสระ แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง “รอยสัก”

ที่เมื่อมันมาอยู่บนเรือนร่างของ “ผู้หญิง” ทัศนคติของคนเรา

จะยังคง อิสระด้วยหรือไม่?

 

และดูเหมือนว่าผู้หญิงที่มีรอยสัก จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ผิดแผกและแตกต่าง

จากผู้หญิงในนิยามเก่า ที่ดูเป็นความสวยงามจรรโลงโลกไว้อย่างสิ้นเชิง

เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น สตรีเพศ  แล้วก็มักจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่โลกจับตามอง

มากว่าผู้ชาย เพศหญิงจึงถูกสั่งสอนมาว่าจะทำอะไรก็ต้องระวังเนื้อระวังตัว

ถูกสั่งสอนมาว่าต้องมีจริต กริยา มารยาท ที่ดูสุภาพเรียบร้อย อ่อนช้อย

ประหนึ่งว่าเป็นผ้าไหมที่ถูกพับไว้ในตู้ไม้กฤษณาหอม

แล้วถ้าทำอะไรที่ดูไม่งดไม่งาม ก็อาจจะถูกกล่าวหาได้ว่า

เป็นสตรีไม่รักดีเป็นชะนีผู้ด้อยคุณค่าทันที

 

--ล่วงเลยสู่ปัจจุบันนี้ ที่จริงอยู่ มายาคติเกี่ยวกับผู้หญิงอาจจะครอบงำสังคม

ไว้ว่า เป็นผู้หญิงต้องดูเป็นนางเอก ต้องสวย ต้องหุ่นดีผิวขาว ต้องไว้ผมยาว

ต้องแอ๊บแบ๊ว ต้องมุ้งมิ้งฟรุ้งฟริ้ง เดี๋ยวหาสามีไม่ได้ เดี๋ยวดูไม่มีค่า เดี๋ยว

สังคมไม่ยอมรับ และ ปรากฏว่า ผู้หญิงที่บนเรือนร่างมีรอยสัก ดูเป็นอะไรที่

ด่างพร้อย ถูกสังคม จัดสรรไว้อีกเกรดหนึ่ง ถูกมองไป เป็นผู้หญิง

อีกแบบหนึ่งทันที แต่เอาเข้าจริงแล้ว ถ้าจะมองว่า “รอยสัก”

คือตัวปัญหาก็ไม่ใช่ และ “ผู้หญิงที่มีรอยสัก”

จำเป็นต้องเป็น bad girl ก็ไม่ถูก

ในเมื่อไม่มีตรรกะใดๆสามารถบ่งชี้ได้เลยว่า

คนที่ “ไม่มีรอยสัก” และ “เจาะ” เลยคือเป็นคนที่สันดานดี ถูกไหม ?

 

--ผู้ชายที่มีรอยสัก อาจไม่ได้ก่ออาชญากรรม

ผู้หญิงที่มีรอยสัก ก็อาจไม่ใช่โสเภณี หรือ เป็นสตรี

ที่ชอบไปแย่งสามีใครก็ได้

--แล้วอะไร คือ “การตัดสิน” ว่าคนที่มีรอยสักคือคนเจนโลก

คือกลุ่มคนที่รักใคร่การวิวาททุบตี

อะไรคือ “การตัดสิน” ว่าคนที่มีรอยสัก คือคนที่โง่งม ต่ำตม

คือบุคคล ที่ไม่สมควรได้รับการศึกษาใดๆได้

 

เพราะฉะนั้น รอยสัก จึงไม่ใช่ เครื่องพิพากษา

แต่คนที่ชอบใช้ ทัศนคติส่วนตัว ที่ดูคับแคบยิ่งกว่ารูทวารมด

เข้าไปตัดสินพวกเขารึเปล่า คือคนกำลังทำร้ายคนอื่นอยู่

 

ผมคิดว่าการจะบอกว่าใครเป็น คนดี หรือว่า สาระเลว อาจต้อง

เข้าไปดูที่ “การกระทำ” และการกระทำก็เป็นอะไรที่มีดีเทลซับซ้อน

 

สุดท้ายแล้ว หากเราลองมองโลกแบบกลางๆ ด้วยสายตาที่สนุกสนาน

เราก็อาจจะมองว่า“รอยสัก” มันก็เป็นการแสดงออกถึง

ความชื่นชอบส่วนปัจเจกบุคคล

 

ผู้หญิง ก็ คือสิ่งมีชีวิตที่เท่าเทียมกับ ผู้ชาย 

และ “รอยสัก” มันก็คือ “แฟชั่น” อย่างนึงนั่นแหละ

--CHAYA Killer Silent

บล็อกของ Chaya Killer Silent

Chaya Killer Silent
 เครื่องแบบ- ฮิตเลอร์ ในแบบน้อง จากที่มีข่าวดราม่าในบ้านเมืองเราหลายต่อหลายครั้ง เรื่องการนำชุดที่มีสัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซี
Chaya Killer Silent
ตอนช่วงเวลา ตีสองสามสิบสี่นาที ค่ำคืนหนึ่งเวลาดีที่ไม่มีสุ่มเสียงใดๆมารบกวนสมาธิผม
Chaya Killer Silent
 ภายในสังคม..สังคมหนึ่ง ย่อมปะปนคละเคล้าไปด้วย
Chaya Killer Silent
ใครบางคนอาจมองว่า “รอยสัก” คือความเท่