Skip to main content

 

เครื่องแบบ- ฮิตเลอร์ ในแบบน้อง

 

จากที่มีข่าวดราม่าในบ้านเมืองเราหลายต่อหลายครั้ง เรื่องการนำชุดที่มีสัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซี

มาสวมใส่อย่างล่าสุดนี้ ก็มีประเด็นเรื่องนิสิตนักศึกษาในมหาลัยแห่งหนึ่งได้มีการแต่งตัวชุดคอสเพลย์เป็นชุดทหาร

โดยมีความละม้ายคล้ายคลึงชุดเครื่องแบบที่มีตราสัญลักษณ์เครื่องหมาย สวัสดิกะ อีกนั่นแหละ และแต่งกายเลียนแบบ

ชุดของ อดอล์ฟฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการหัวหน้าพรรคนาซี ถ่ายรูป แล้วแชร์ลงโซเชียลอย่างแพร่หลายนั้น 

ซึ่งถ้าหากมองผิวเผินอย่างคนที่ไม่เรียนประวัติศาสตร์ ก็จะรู้สึกเพิกเฉยต่อการกระทำเหล่านั้น

ราวกับเป็นสิ่งบันเทิงที่เป็นเพียงแค่การแสดงออกถึงความเท่ การแสดงถึงอำนาจ คือความสนุกตลกขบขันในผองเพื่อน

ทำให้เกิดการตั้งคำถามกันไปในหลายประเด็น ว่าสิ่งที่พวกเขาทำไปนั้นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์

บ้างก็ว่า รู้ว่าอะไรคืออะไรนะ แต่ที่ทำไปเพราะเสียดสี เพราะประชดประชัน บ้างก็จะโวยวายในประเด็นข่าวไม่เข้าใจ

ต่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นว่าจะดราม่า ใหญ่โตกันทำไมอะไรนักหนา แต่ถ้าสิ่งเหล่านั้น “มันไม่ได้เป็นแค่เรื่องของชุด”  

ม่ได้เป็นแค่ฟอร์มฮิตเลอร์ที่คิดว่าจะเอามายั่วล้อต่อสาธรณะอย่างไรก็ได้ และมันเป็นการตอกย้ำบางสิ่งที่บ่งบอกถึง

การยอมรับต่อวัฒนธรรมอำนาจนิยมที่นำมาซึ่งการฆ่าล้างชีวิตที่เป็นอื่น

 

 

เมื่อไหร่ก็ตามถ้าหากเราอยู่ในระบบศึกษา เราก็ควรที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ ที่มาที่ไปของเครื่องแบบเหล่านั้นก่อน   

ทำความรู้จักกับสิ่งเหล่านั้นก่อนที่จะนำมาสวมใส่ ว่าสิ่งเหล่านั้นมันได้ผูกเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางการเมือง

ในสมัยนั้นอย่างไร และมีความเกี่ยวข้องต่อความรู้สึกของคนอิสราเอล หรือแม้แต่คนที่ไม่ใช่ อิสราเอล

ในฐานะมนุษย์ชาติ ก็ควรมีความตระหนักถึง ว่าครั้งนึง ก็มีการเกิดเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว กว่า 1.6ล้านคน

อย่างโหดเหี้ยม ทารุณ โดยมาจากอำนาจเผด็จการณ์แนวคิดแบบฟานส์ซิสอย่างฮิตเลอร์ เกิดขึ้นบนโลกใบนี้  

ในทางเดียวกัน ถ้าคนไทยด้วยกันจะกล่าวอ้างกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันสำคัญตรงไหนก็เด็กไม่เคยรู้สิ่งเหล่านี้มาก่อน   

ข้าพเจ้าก็จะไม่ค่อยรู้สึกแปลกใจเลย ว่าทำไม ในเมื่อระบบของการศึกษาถ้าจะเรียกว่าเป็นระบบที่พัฒนา

แล้วมันก็ควรจะมีการเรียนการสอนที่หลากหลายชุด  อยู่ในแบบเรียนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถตระหนักเข้าใจ

และเห็นความสำคัญถึงเรื่องการกวดล้างชีวิตมนุษย์เป็นแบบไหน  อำนาจเผด็จการหน้าตาเป็นอย่างไร

ห้ผู้เรียนรู้จักเข้าใจมากกว่าการศึกษาแต่ประวัติศาสตร์ชาติไทยแต่ดายเดียวอาจจะไม่พอ และสิ่งเหล่านั้น

จากข่าวถ้าหากจะมองว่า มันก็เป็นแค่ Groomingนำชุดเครื่องแบบทหาร มา Marching กัน

มันก็บ่งถึงนัยยะสำคัญมากกว่าการเป็นเทรนด์แฟชั่นกระแสหลัก แม้แต่ชุดเครื่องแบบ ในฐานะความเป็นUniform

ที่แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในกฏเกณฑ์เดียวกัน และข้าพเจ้าขอยืนยันเลยว่ามันไม่ได้มีไว้แค่สวมใส่กันโหลๆ

เพื่อให้ดูเท่ ชิคๆ คูลๆ อย่างเดียวแน่นอน

 

 

ถ้าเสื้อผ้าถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระเบียบวินัย แล้วอะไรจะเกิดขึ้น

 

"ยูนิฟอร์ม" ถูกกำเนิดขึ้นมาในศตวรรษที่19 โดยเริ่มต้นจากเครื่องแบบทหารของกษัตริย์อังกฤษ

โดยที่เครื่องแบบทหารของไทยก็ได้รับนำเอาอิทธิพลจากเครื่องแบบในแถบยุโรปและอเมริกา

 จากกลุ่มนายทหารที่เข้าศึกษาด้านการทหารจากอังกฤษอีกที โดยที่ลักษณะชุดและเครื่องแบบ

 จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับของอเมริกา แต่จะมีความแตกต่างที่งบประมาณ

และถูกผลิตขึ้นจากเครื่องมือที่มีความทันสมัยที่น้อยกว่า จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เครื่องแบบ

ได้ถูกออกแบบแล้วตัดเย็บขึ้นมาจากระบบแบบแผนกองทัพ ที่มีความต้องการให้ผู้สวมใส่

อยู่ในรูปรอย แบบเดียวกัน  หมู่เหล่าเดียวกันกำกับชักจูงให้คนไปในทิศทางเดียวกัน

ภายใต้กรอบกฏของระเบียบวินัย  Uniform = คำว่า Uniformity                                  

แต่ในขณะเดียวกันมันก็ทำหน้าที่ สลายความปัจเจกบุคคลของผู้สวมใส่ออกไป

แล้วก็จำแนกสถานะระหว่างบุคคลออกจากกัน โดยที่เครื่องแบบของทหาร และ ตำรวจ

ก็จะมีไว้สวมใส่เพื่อแสดงถึงลำดับชนชั้น classified ระหว่าง หัวหน้า จ่าฝูง ลูกน้อง ที่เป็นชั้นผู้น้อย

โดยจะเป็นในรูปแบบของสัญลักษณ์ ฟอร์มรูปทรง และสีของเครื่องแบบอย่างชัดเจน มองในแง่หนึ่ง                                          

อาจะเป็นสิ่งที่เมื่อสวมใส่ไปก็จะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ความเคารพยกย่องในสถาบัน

ความภาคภูมิใจในเกียรติยศศักดิ์ศรีต่างๆนาๆ  แต่ในอีกแง่หนึ่ง “เครื่องแบบ” มันก็เป็นสัญลักษณ์

ของการน่าเกรงขามคืออำนาจที่ผู้ที่อยู่เหนือกว่า สามารถนำไปข่มเหง กดทับ

ผู้ที่มีตำแหน่งยศที่น้อยกว่าหรือบุคคลที่อยู่ชนชั้นที่ลดลงมาได้โดยง่าย 

เท่ากับว่า บทบาทของ “เครื่องแบบ”  ก็มีส่วนในการช่วยหล่อเลี้ยงวัฒนธรรมอำนาจนิยมในสังคมไทย

ที่หล่อเลี้ยงรูปแบบวิถีโครงสร้างของระบอบอำนาจนิยม          

ภายใต้สิ่งที่ว่า กฎเกณฑ์ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในแบบใดแบบหนึ่ง                                                                                                                

ซึ่งยากต่อการขัดขืน หรือมีความเห็นที่แตกต่างต่อกฎบังคับ ได้โดยง่ายเช่นกัน

 

 

 

ชนชั้นอำนาจดำรงอยู่ (ในโลกแคบ)

 

 

ความนิยมในเครื่องแบบสอดคล้องกับความนิยมเผด็จการ

แม้แต่เผด็จการเอกของโลกอย่างฮิตเลอร์ก็ปลุกระดมบนฐานของการอาศัยเครื่องแบบ

เป็นตัวเดินเกมการใช้อำนาจกวาดล้าง และเครื่องแบบและเครื่องหมายสัญลักษณ์

ของนาซีสะท้อนถึงอำนาจนิยมอย่างชัดเจนอยู่แล้วด้วยตัวของมัน

 

 

อำนาจที่ว่านี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะ อยู่ในชุดของ ทหาร เท่านั้น แต่อำนาจที่ว่านี้คือนัยยะที่คละคลุ้งกำจาย

สอดใส่ลงไปในสำนึกจากภาครัฐ หรือ อำนาจการควบคุมที่อยู่เหนือกว่าขึ้นไป

เช่นกลุ่มบุคคลที่อยู่ในอาชีพข้าราชการ  พนักงาน นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงสาวโรงงาน

ที่เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์อันเคร่งครัด เมื่อเราสวมใส่ “เครื่องแบบ” เหล่านั้นลงไปก็เท่ากับว่าคุณได้สวมใส่อำนาจ

ที่ได้กำกับพฤติกรรมไว้โดยนัย เรียบร้อยแล้ว เช่น เราจะไม่ค่อยเห็นคนสวมใส่ชุดนักเรียนไปนั่งดริ้ง อยู่ในร้านเหล้า

เพราะมีกฎหมายออกมาบังคับไว้  แม้แต่ในชีวิตประจำวัน เราก็จะมักจะไม่เห็น ครู ที่อยู่ในชุดข้าราชการ และ นักเรียน

ที่อยู่ในชุดนักเรียน เดินจูงมือกันเข้าโรงแรม เพราะถูกกฎหมายและอำนาจของศีลธรรม

รวมทั้งจรรยาบรรณในอาชีพ กำหนดกรอบเกณฑ์ไว้ด้วยความเหมาะสม และ ความไม่เหมาสม

ดังที่ในบทความ อำนาจนิยมของเครื่องแบบที่คุณ ยุกติ  มุกดาวิจิตร ได้เขียนเอาไว้ในเว็ปประชาไท

ที่ผมมองเห็นความน่าสนใจ ในเนื้อหาว่า

 

“เครื่องแบบ ไม่เพียงเป็นเครื่องมือควบคุมทางสังคม แต่เครื่องแบบ ยังกลายเป็นตัวสถาบันของอำนาจในตัวของมันเอง

เมื่อมันสวมลงมาในตัวแล้ว กลายเป็นว่าผู้สวมใส่ต้องเคารพมัน เครื่องแบบกลายเป็นนายเหนือเรา

เครื่องแบบกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจในตัวมันเอง  เมื่อเครื่องแบบกลายเป็นตัวสถาบันที่มาครอบเราเมื่อสวมใส่

เราก็เป็นเพียงร่างทรงของเครื่องแบบ”

 

เพราะฉะนั้นเมื่อเครื่องแบบมันคือสิ่งที่กำลังกดทับผู้สวมใส่

คือสิ่งที่ลดทอนความเป็นตัวตน ของแต่ละคนออกไปแล้วยอม ศิโรราบอย่างสุดจิตสุดใจให้กับ “อำนาจ”

ที่เรียกได้ว่าอยู่เหนือร่างกายตัวเอง มันส่งผลให้เราจำนนต่อระเบียบวินัย

อันนำมาซึ่งการไม่กล้าตั้งคำถามกับความรู้ที่ได้รับ  ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง

อ่อนแอกับเชิงความคิดแบบเชิงวิพากษ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันควรจะเป็นคุณสมบัติ

ที่มีอยู่ในสังคมแวดล้อมที่พัฒนาขึ้นมาแล้ว

มันจะน่ากลัวแค่ไหน หากสังคมนี้ ประเทศนี้ โลกนี้ ถูกบัญญัติให้ทุกคนสวมใส่เสื้อผ้าในแบบเดียวกัน

แพทเทิร์นเดียวกันทุกวัน  ถูกสอนให้คิดเหมือนกัน  มีความเชื่อในแบบเดียวกัน

ตามที่สิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกว่าต้องการจะให้เป็น จะด้วยผลประโยชน์ หรือ จุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งก็ตามแต่

คนที่สวมใส่นั้นก็คงไม่มีความต่างอะไรกับทาส ที่ถูกควบคุมอยู่ในอำนาจใด

อำนาจหนึ่งอย่างปฎิเสธไม่ได้เรียบร้อยแล้ว

หากสิ่งที่น่ากลัวชวนหวาดผวา ไม่ได้อยู่เพียงสิ่งที่เรียกว่ารูปรอยของเครื่องแบบ

หรือสัญลักษณ์ใดสัญลักษณ์หนึ่ง แต่ฝังอยู่ในชุดความเชื่อในแบบเดียวกันที่ถูกผลิตขึ้นมาซ้ำๆ จนชิน

และความแตกต่าง ในรูปรอยเดียว คือความผิดบาป  คือสิ่งชั่วร้ายที่ควรค่าแก่การห้ามปราม

อีกในขณะที่ถูกล่า ทำลายล้างก็เป็นได้ 

 

CHAYA-KILLER SILENT 

 

 

 

 

บล็อกของ Chaya Killer Silent

Chaya Killer Silent
 เครื่องแบบ- ฮิตเลอร์ ในแบบน้อง จากที่มีข่าวดราม่าในบ้านเมืองเราหลายต่อหลายครั้ง เรื่องการนำชุดที่มีสัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซี
Chaya Killer Silent
ตอนช่วงเวลา ตีสองสามสิบสี่นาที ค่ำคืนหนึ่งเวลาดีที่ไม่มีสุ่มเสียงใดๆมารบกวนสมาธิผม
Chaya Killer Silent
 ภายในสังคม..สังคมหนึ่ง ย่อมปะปนคละเคล้าไปด้วย
Chaya Killer Silent
ใครบางคนอาจมองว่า “รอยสัก” คือความเท่