Skip to main content

 

ภายในสังคม..สังคมหนึ่ง ย่อมปะปนคละเคล้าไปด้วย

ผู้คนที่มีรสนิยม-เพศ-ศาสนา-ความเชื่อ ที่หลากหลาย

และภายในความหลากหลายนั้น ก็ย่อมมีความ “แตกต่าง”

เหตุผลในความต่าง อาจจะว่าด้วยการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ต่างกัน...

เกิดมาในยุคสมัยที่ต่างกัน...มีพื้นฐานการศึกษาที่ต่างกัน...

บริบทในสังคมที่ต่างกัน รวมทั้งการมีความสนใจใคร่รู้ในสิ่งที่ต่างกัน

เช่นเดียวกันกับ การที่ป้าจิ๊ สน-อก-สน-ใจในโยคะ  

ในขณะที่ศรีภรรยาของทานากะ อาจจะสนใจในการเต้นแอโรบิคแดนซ์

ส่วนยายแม้นนั้นชอบไทเก็ก และ หลานอาเจ๊กเลือกที่จะเตะฟุตบอล ก็ได้ใช่ไหม

 

แต่ละคน มีความคิด ความต้องการที่ไม่เหมือนกันเช่นไร

ก็นับว่าเป็นการออกกำลังกายเพื่อให้ได้มาซึ่งสุขภาพดีเช่นกัน

 “เรื่องของความคิดต่าง” ก็ถือเป็นเรื่องที่สุดสามัญ และ แสนธรรมดายิ่ง

 

 

 

--โลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่ถูกที่สุด ไม่มีสิ่งไหนผิดที่สุด

เพราะฉะนั้น สังคมเราควรจะเปิดโอกาสในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่ต่างไปบ้าง

แต่นั่นก็ทำให้เรารู้ได้ว่า โลกนี้หาใช่ว่ามีแค่เพียงเราอยู่ดายเดียว --การที่อยู่รวมกัน

แม้ว่าไม่เหมือนกันแต่มันก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง

 

 

ในเมื่อ “การที่ใครสักคนจะมีมุมมองที่คิดต่างจากคนกลุ่มใหญ่ไม่ใช่คนบาป

และการอยู่รวมกันด้วยความแตกต่าง ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าสะพรึงกลัว”

 

(แหล่งที่มา: www.redbox.com)

 

(แหล่งที่มา: www.goodread.com)

 

ยกตัวอย่างเปรียบกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน ภาพยนตร์เรื่อง The Giver

{เดอะกีฟเวอร์ พลังพลิกโลก} ถูกสร้างขึ้นมาจากนิยายSci-Fi ของ ลูอิส โลว์รี่

ที่ว่าด้วยเรื่องของ “โลกพลเมืองคนเรือนกระจก” เมืองอุดมคติสุดโต่งที่ทุกสิ่งอย่าง

ล้วนถูกควบคุม ยัดเยียดอยู่ภายใต้ระเบียบวินัย

ตั้งแต่เรื่องของความรู้-ความรู้สึก-อาชีพ-และ คู่ครอง

เหล่ามนุษย์ปถุชนที่อยู่ในนั้น ต่างก็มีความคิดอยู่ในระนาบเดียวกัน

เป็นสิ่งมีชีวิตที่เจนจัดชัดแจ้งอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุม จาก “กฎที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมา”

โดย หัวหน้าคณะผู้คุมกฎของชุมชน (ซึ่งรับบทโดย เมอร์รี่ สตรีฟ) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

 

ทุกคนได้รับคำสั่งจากสิ่งที่ปักปลงใจเชื่อตามๆกันมา

ดูเป็นสิ่งที่ไร้รสชาติสีสัน ผิดแผกจากธรรมชาติของ ความเป็นมนุษย์ เพราะมีตัวยา

ที่บังคับให้ฉีดทุกเช้า เพียงเพื่อให้มองเห็นโลก แค่สีขาว-ดำ แบบ Pleasantville

 

 

 

“มนุษย์ในนั้น จึงถูกกดความรู้สึกให้อยู่ในซุ่มเสียงของความเรียบสงบ” อยู่ภายใต้กรอบกฎ

กิจวัตร ที่มองทุกสิ่งอย่าง ล้วยเป็นสิ่งที่ “ไม่ต่างกัน” ด้วยความเชื่อของ

หัวหน้าคณะผู้คุมกฎของชุมชน ที่เชื่อว่า การที่คนเราคิดแตกต่างกัน

อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง อันจะนำมาซึ่งสงคราม และ อาชญากรรมได้

 

ภายในเรื่อง โจนาส ตัวเอก คือ “ความต่าง”

“ต่าง”ที่มีคำถามต่อโลกของเขาอยู่ลึกๆว่าที่เป็นอยู่นั้นดีจริงหรือ

“ต่าง” ตรงที่มองเห็นโลกมีสีสันไม่เหมือนใคร พร้อมกับการรู้ว่า โลกขาว-ดำ

ที่เห็นมาตลอดนั้นคือสิ่งลวงตา

“ต่าง” ตรงที่มีความรัก มีอารมณ์ความรู้สึก ราวกับว่าตัวเขาเอง

ไม่ได้เกิดมาเพียงเพื่อเชื่อฟัง กับอะไรที่จองจำ ตัวตนเขาไว้แบบนี้

เพราะการเป็นสิ่งมีชีวิตในแบบของมนุษย์ที่ควรจะเป็นนั้น

มันควรที่จะดำรงอยู่บนความเสรีนิยม ภายในกฏที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

มีอะไรให้น่าค้นหาท้าทายกว่าการใช้ชีวิตดำเนินตามแต่คำสั่งตัดสินว่า

อะไรถูก อะไรผิด ตามสิ่งสวยงามที่ถูกควบคุมเอาไว้ในโลกที่ประดิษฐ์ขึ้น

 

 

โจนาส อยากให้ทุกคนนั้น เห็นต่าง และมองเห็นโลกที่มีสีสัน เช่นเดียวกับเขา

เขาพยามเล่าสิ่งที่เขาเห็นให้เพื่อนฟัง

เขาพยามเล่า ความรู้สึกว่า “รัก” ผ่านการโอบกอด ให้คนที่เขารักรับรู้

เขากล่าวในสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงต่อครอบครัวของเขา

 

 

แต่เมื่อหัวหน้าคณะผู้คุมกฏของชุมชน เห็นว่าโจนาส “ขัดผลประโยชน์”

และจะเป็นภัยต่อความสงบของชุมชน เลยคิดทำทุกวิถีทางเพื่อกำจัดเขา

เพียงเพราะเขาคิดต่าง เขากลับถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี..เป็นคนเลวที่ชั่วช้าสามาญ

เป็นสิ่งที่ขบฐต่อผู้นำลัทธิโลกเรือนกระจก โลกนั้นที่แม้แต่อากาศ

ก็ยังเป็นสิ่งที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น

 

 

ซึ่งในพื้นฐานของความเป็นจริงแล้ว ผมคิดว่า “ความเห็นต่าง” ไม่ใช่เรื่องผิด

“ความไม่มีความคิดเห็น” ต่อสิ่งใดๆเลย  นั่นแหละ ที่ต่างและประหลาดมาก

 

เพราะนั้นแปลว่าคุณนั้นมีแต่ร่างกาย (body) แต่ไม่มีความรู้สึกนึกคิด (ponderable)

ไม่มีความเห็น ไม่มีจิตใจ ไม่มีอารมณ์สุขเศร้าเหงารักใดๆเลย

เพราะได้หยิบยกความไว้เนื้อเชื่อใจ ไปจรดจดจ่อจม บูชาอยู่กับสิ่ง

แค่บางสิ่ง สิ่งที่บอกว่าสีขาวคือดี ดำคือ เลว ไปซะหมดแล้ว

 

เฉกเช่นเดียวกันในทางศิลปะ “สีที่มีความแตกต่างกัน”

ยังสามารถที่จะอยู่ในจานสีเดียวกันได้ เลอะออกมาบ้าง—เบลนเข้าหากันบ้าง

ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจรังชังอะไร

 

เพราะเมื่อไหร่ ที่เราทำงานศิลปะ เราควรจะ จรดจดจ่ออยู่ที่

“การสร้างผลงานที่อยู่บนผืนของเฟรม แคนวาส มากกว่า

การ เฝ้ากำหนดการเลอะเประเปื้อนของสีที่อยู่ในจานสี” ซะอีก

 

--ท้ายที่สุดแล้ว การที่คนเราเห็นต่างในบางครั้ง  ถกเถียงในสิ่งที่สงสัยในบางหน

ก็อาจจะทำให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ดี มากว่าการที่เรานั้นจะ ยึดมั่นถือมั่น

ศรัทธาในสิ่งที่ถูกกล่าวต่อๆกันมา โดยไร้วิจารณาญาณ การคร่ำครวญครุ่นคิด

ว่าสิ่งนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่ -มีมูลเหตุที่มาอย่างไร-ทำไม ก็เป็นได้

 

โลกชุมชนในเรื่องThe Giver 

แล้วย้อนมองดูสังคมของเรา 

ซึ่งในบางขณะ-ก็ไม่มี "ความต่างกัน"เท่าไร

 

--Chaya Killer Silent 

 

คลิกเพื่อดูตัวอย่างภาพยนต์ The Giver

 

บล็อกของ Chaya Killer Silent

Chaya Killer Silent
 เครื่องแบบ- ฮิตเลอร์ ในแบบน้อง จากที่มีข่าวดราม่าในบ้านเมืองเราหลายต่อหลายครั้ง เรื่องการนำชุดที่มีสัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซี
Chaya Killer Silent
ตอนช่วงเวลา ตีสองสามสิบสี่นาที ค่ำคืนหนึ่งเวลาดีที่ไม่มีสุ่มเสียงใดๆมารบกวนสมาธิผม
Chaya Killer Silent
 ภายในสังคม..สังคมหนึ่ง ย่อมปะปนคละเคล้าไปด้วย
Chaya Killer Silent
ใครบางคนอาจมองว่า “รอยสัก” คือความเท่