Skip to main content

ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของชุมชนปกาเกอะญอที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว บทเพลง ธา ทุกหมวด กลายเป็นบทเพลงที่ถูกลืมเลือน ถูกทิ้งร้างจนเหมือนกลายเป็นบทเพลงแห่งอดีตที่ไม่มีค่าแก่คนยุคปัจจุบัน โมะโชะหมดความหมาย เมื่อคนปกาเกอะญอเริ่มเรียนรู้การคอนดัก (Conduct) เพลงแบบในโบสถ์แบบฝรั่ง เพลงธา ไร้คุณค่า เมื่อมีเพลงนมัสการที่เอาทำนองจากโบสถ์ฝรั่งมา เครื่องดนตรีปกาเกอะญอถูกมองข้ามเมื่อมีคนดนตรีจากตะวันตก เช่น กีตาร์ กลองชุด แอคคอร์เดียน เมาท์ออร์แกน ฯลฯ เข้ามา


โด โซ โซ มี โด มี โซ ready… sing ซะหวิ” ประโยคนี้มักจะเป็นประโยคเริ่มต้นของคนที่เป็นผู้นำวงร้องประสานเสียงพูดนำก่อนร้องเพลง โดยการส่งสัญญาณ “โด โซ โซ มี โด มี โซ” นั้น เป็นเสมือนการให้สัญญาณ คีย์หรือระดับเสียงของโน้ต ส่วนคำว่า “ready… sing” แปลว่า พร้อม..ร้อง แล้วนักร้องจะเริ่มร้องทันที


แต่สำหรับผู้นำปกาเกอะญอในโบสถ์ปกาเกอะญอนั้น นอกจากจะมี ready… sing แล้ว ยังมี “ซะหวิ” ซึ่งแปลว่าร้องอีกคำหนึ่ง ซึ่งตรงนี้เองที่ผมไม่แน่ใจว่าเขาจำมาจากฝรั่งหรือว่าเขาเข้าใจอย่างไรไม่ทราบเหมือนกัน ถ้าตัดคำว่า ready… sing ออก และใช้แต่ ซะหวิ คำเดียวก็น่าจะพอ หรือเขาอยากใช้ทั้งสองภาษาพร้อมกัน ทำให้ยังงงอยู่จนถึงวันนี้


นานวันยิ่งจะทำให้เพลงธา และดนตรีตามวัฒนธรรมปกาเกอะญอกลายเป็นเพียงส่วนเกินของความทรงจำในความรู้สึกของชุมชนปกาเกอะญอที่เป็นคริสเตียน ปกาเกอะญอคริสเตียนนะครับ ขอย้ำปกาเกอะญอคริสเตียน


คุณก็เป็นคริสเตียน” คนที่อยู่ข้างๆ แหย่ผม

ก็ใช่ผมเป็นคริสเตียน ผมถึงรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น กับบทเพลง ธา และดนตรีตามวัฒนธรรมปกาเกอะญอในชุมชนปกาเกอะญอคริสเตียน” ผมตอบเขา


ในปีที่มีการประชุมสมัชชาคริสตจักรกะเหรี่ยงภาคมูเจะคี อันมีหมู่มวลสมาชิกที่เป็นคริสเตียนชาวปกาเกอะญอในอาณาบริเวณมูเจะคี หรือเขตละแวกขุนน้ำแม่แจ่มทั้งหมดมาร่วมงาน ซึ่งประกอบด้วยคริสตจักรกว่า14 คริสตจักร จาก 20 ชุมชน โดยธรรมเนียมแล้วในคืนแรกของการประชุม คริสตจักรเจ้าภาพต้องมีเพลงต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนจากคริสตจักรอื่น

 

เขาเป็น ครูดอยคนปกาเกอะญอ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นขุนเพลงคนหนึ่งแห่งมู่เจะคี จึงได้รับมอบหมายให้มารับหน้าที่ดังกล่าว พ่อนกรู้สึกตื่นเต้นและเป็นเกียรติเป็นอย่างมาก การเตรียมตัวจึงเริ่มขึ้น ผู้ที่มีฝีมือในการเล่นดนตรีพื้นบ้านปกาเกอะญอ ถูกเชื้อเชิญมาร่วมทำภารกิจนี้กันอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น บูหน่าคนเล่นซอแควะ พาแฮคนเป่าปี่เขาควาย ต่าเอาะคนตีกลองปกาเกอะญอ ทูนุคนเป่าใบไม้ป่า เกาะพอคนตีฆ้อง เลอโพคนตีเกราะ และร้องประสานเสียง และอีกหลายๆ คน โดยมีเขาเป็นผู้เล่นเตหน่ากู ควบคุมวงและร้องนำ


เมื่อค่ำคืนนั้นมาถึง ทุกคนจึงเฝ้ารอเพลงต้อนรับที่ประพันธ์ขึ้นโดยขุนเพลงแห่งมูเจะคีอย่างใจจดจ่อ เพราะถูกประชาสัมพันธ์ว่าเป็นจุดเด่นของพิธีเปิด

 

รายการต่อไป เป็นเพลงต้อนรับจากเจ้าภาพ” เสียงตบมือดังกึกก้องหลังจากการประกาศของผู้ดำเนินรายการ


วงดนตรีได้ขึ้นสู่เวทีด้วยการพกเอาเครื่องคนตรีชนเผ่าฉบับแท้ขึ้นไป นำมาซึ่งความคาดไม่ถึงของคนดูวันนั้นเป็นอย่างมาก เพราะปกติกิจกรรมของคริสต์ศาสนามักจะมีแต่ดนตรีตะวันตกเช่น กีตาร์ กลอง เบส แอคคอร์เดียน ฯลฯ เป็นส่วนใหญ่


คนที่คาดไม่ถึงมากที่สุดเห็นจะเป็นศาสนาจารย์ปกาเกอะญออาวุโสคนหนึ่ง ที่จ้องมองด้วยหน้านิ่วคิ้วขมวด ตรงกันข้ามกับชาวบ้านธรรมดาที่นั่งดู ฟังด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะในท่าทางการเล่นดนตรีของนักดนตรีและลีลาสำนวนภาษารวมทั้งความหมายของบทเพลง


หลังจบเพลง เสียงตบมือดังขึ้นแสดงถึงความพอใจและประทับใจของผู้ที่นั่งชมนั่งฟังในวันนั้น ศาสนาจารย์ปกาเกอะญออาวุโสคนเดิมได้ลุกขึ้นมาท่ามกลางเสียงตบมือที่ยังไม่ซา แล้วเดินสวนกับนักดนตรีขึ้นสู่เวที


เครื่องดนตรีเหล่านี้! เป็นเครื่องดนตรีของคนยุคเก่าแก่! เป็นเครื่องดนตรีของผู้ที่ยังไม่รู้จักและยังไม่เชื่อในพระเจ้า เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นในการบูชาผี มารซาตาน เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เรียกขวัญและวิญญาณของคนเจ็บคนตาย มันจึงไม่เหมาะสมไม่คู่ควรที่นำมันมาเล่นในโบสถ์อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า เราควรจะเล่นดนตรีที่ไร้มลทิน ขอให้เห็นการนำเครื่องดนตรีเหล่านี้มาเล่นในโบสถ์ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย นี่เป็นการทำลายเกียรติของคริสตจักรและพระเจ้าอย่างหนึ่ง รู้ไว้ด้วย!”

เขาพูดจบบรรยากาศเฮฮายุติลงกะทันหัน ความเงียบกริบเข้ามาแทนที่ เขาหันหลังเดินลงเวที ทุกคนในวงดนตรีมองหน้ามองตากันแบบเหวอหวา ต่างคนต่างพูดอะไรทำอะไรไม่ถูก นอกจากหยิบและเก็บเครื่องดนตรีของตนเองเดินออกจากงานไปพร้อมกับรอยช้ำในใจ


ผมขอโทษที่ทำให้ทุกคนโดนต่อว่าในที่สาธารณะอย่างนี้” พ่อนกพูดกับเพื่อนนักดนตรีชนเผ่าเดียวกันด้วยน้ำเสียงที่แสดงการเสียความรู้สึกอย่างแรง หลังจากนั้นไม่เห็นพ่อนกเล่นดนตรีชนเผ่าในโบสถ์อีกเลย แต่กับงานวัฒนธรรมและงานอื่นที่อยู่นอกรั้วโบสถ์เขาไม่เคยทิ้งเครื่องดนตรีของชนเผ่าตนเองเลย


จากนั้นดนตรีและบทเพลงตามวัฒนธรรมในชนเผ่าปกาเกอะญอ กลายเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่มีโอกาสเข้าไปในโบสถ์ของคนปกาเกอะญอมูเจะคีอีกเลย เพลงธาถูกลืม คนขับธา ลืมตนเองลืมตัวเองว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นโมะโชะ ขุนเพลงธาของชุมชน


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…