Skip to main content

มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า

ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมู

อยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพร

ท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่า

ทำไร่หมุนเวียน ทำนา                   มีกระท่อม มีบ้านและมีชุมชน

 

มีพื้นที่ทำกินเลี้ยงชีพ                   ที่มั่นคงชัดเจนชัดเจนในวิถี

เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เลี้ยวตัว            อยู่กินมาหลายชั่วอายุคน

มีภูมิปัญญาในการใช้และรักษาป่า   รู้จักใช้ ยาสมุนไพรในยามเจ็บป่วย

เขาเป็นผู้มีน้ำใจดี                        เป็นผู้ที่มีพรสวรรค์หลายอย่าง

จักสาน ทั้งกระบุงและก๋วย             ทำกับดัก ได้กินหนูแล้วแบ่งปัน

 

แต่อยู่มาวันหนึ่ง ฝันร้ายได้มาเยือน  คำสั่งจากทางการมาสู่ยอดดอย

ให้คนย้ายออกจากถิ่นป่า               ไปอยู่ที่ใหม่ ที่ถูกเตรียมไว้รอ

นั่น พาตี่ปูนุก็ต้องออกไป               จากถิ่นเกิด บ้านเดิม กลางไพร

ชุมชนเดิมจะกลายเป็นเพียงอดีต      วิถีเดิมจะกลายเป็นเพียงตำนาน


(พูด) (เป็นคำพูดเดิมของพาตี่ปูนุก่อนฆ่าตัวตาย)

 

... บ้านของเรา ป่าของเรา เราอยู่เราเฝ้ามาตั้งแต่พ่อแม่ปู่ย่า ทำไมต้องมารังแกพวกเราถึงขนาดนี้ จะอยู่ไปทำไมรัฐบาลก็ไม่สนใจ กลับบ้านไปก็ตายเหมือนกัน เพราะเหมือนกับตายทางอ้อม สู้ตายตอนนี้เสียดีกว่า…

 

ณ ที่แห่งใหม่ตรงนั้น                     ลูกหลานฉันอยู่ไม่ได้

ทำไร่ ทำนาไม่ได้                        ทุกอย่างจะต้องแลกด้วยเงิน

เราไม่มีรู้เรื่องเกี่ยวกับเมือง             เล่ห์ เหลี่ยมเราตามไม่ทัน

ลูกหลาน เหลน โหนของฉัน            เป็นได้ก็เพียงทาสรับใช้เขา..

ยิ่งคิด ยิ่งกลุ้ม ยิ่งเป็นห่วง               ต่อไป เราจะมีชีวิตอยู่กันอย่างไร

 

เดือนทีแพะ มาเยือนอีกครา            ยังไม่มีเวลาหาที่ฟันไร่

ต้องไปยังเมืองบางกอก                 ไปทวงสิทธิ์กลับคืนป่า

เมื่อครั้น รับรู้มติทางการ(ครม.)        ปุนุ หัวใจแทบสลาย

5 มีนาฯคือเดือน ทีแพะ                  ถูกส่งกลับเมืองกิแม (เชียงใหม่)

สูญเสียแล้วขวัญและวิญญาณ          เขาจึงต้อนรับความตายนอกหน้าต่างขบวนรถไฟ

 

ปูนุ ปูนุ ดอกจีมู                             ปูนุ ปูนุ ดอกจีมู

โย เอ โย ออ โย เอ โย ออ              โย เอ โย ออ โย เอ โย ออ

 

นกน้อยแม่เจ้าคอยอยู่ที่รัง               หากเจ้าบินกลับคืนสู่รัง

อย่าไปทาง ดูลอหร่า(นรก)              จงกลับไปทาง ดูเตอวอ(สวรรค์)

มีทั้งหมกเขียด ลาปปลา                  มีทั้งส้มโอ มีทั้งเขียวหวานไว้รอรับเจ้า

โย เอ โย ออ โย เอ โย ออ             โย เอ โย ออ โย เอ โย ออ

 

(เพลงปูนุ ดอกจีมู อัลบั้ม เกอะญอเก่อเรอ ของ อ็อดวิฑูรย์ แจ่มรัฒนสุวรรณ, เนื้อร้อง/ทำนอง/ขับร้อง: ชิ สุวิชาน)

 

ตอนแรกตั้งใจจะให้พาตี่อ็อดเป็นคนร้องเอง เนื่องจากเป็นอัลบั้มเพลงของเขา แต่พาตี่อ็อดบอกผมว่า เขาไม่มีเวลาฝึกร้องก็เลยให้ผมร้องเอง ซึ่งทำให้ผมคิดมากว่า อาจเป็นเพราะว่าผมเขียนเพลงไม่ดีทำให้เขาไม่อยากร้องเพลงที่ผมเขียนก็เป็นได้ ผมจึงตกลงใจร้องเพลงนี้ด้วยตนเองแม้จะอยู่ในอัลบั้มของพาตี่อ็อด

 

หลังจากทำอัลบั้มเพลงของพาตี่อ็อดชุดนั้นเสร็จ เพลงจึงถูกส่งไปยังสถานีวิทยุที่มีภาคภาษาปกาเกอะญอเพื่อเปิดและประชาสัมพันธ์


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
การนอนและนอนอย่างเดียวในรถตู้ไม่ใช่เรื่องง่าย  บางทีปวดฉี่ บางครั้งปวดหลัง ทุกครั้งที่รถแวะจอดเติมน้ำมันหรือแวะทำอะไร ผมก็มักจะตื่นด้วยทุกครั้ง  จนได้รับการต่อว่าจากคนที่นั่งมาด้วยกันด้วยความเป็นห่วงว่าผมจะรับช่วงการขับรถต่อได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ชิ สุวิชาน
คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ
ชิ สุวิชาน
จาก Houston มุ่งสู่ Dallas ระหว่างทางผมได้มีโอกาสเป็นสารถีอีกครั้ง ระหว่างทางที่ขับรถอยู่ผมก็เหลียวซ้ายและขวาบ้าง ผมเห็นตัวที่อยู่ข้างทาง วัวก็ไม่ใช่ ควายก็ไม่เชิง เมื่อเดินทางมาถึงDallas ที่ หมาย ซึ่งมีพี่น้องคนไทยรอรับ จัดแจงที่อยู่ที่กินเป็นอย่างดี “ที่นี่ มีคนปกาเกอะญอไหมครับ?” เป็นคำถามแรกที่ผมถามที่ Dallas
ชิ สุวิชาน
วันนี้ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ไปเดินซื้อของที่ Outlet ส่วนผู้ชายหลังจากทานอาหารเช้า ต้องเดินทางไปติดตั้งเครื่องเสียงเพื่อเล่นในเย็นวันนี้
ชิ สุวิชาน
หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง 
ชิ สุวิชาน
การเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่สังคยานาดำเนินขึ้น จุดหมายวันนี้อยู่ที่ร้าน Home plate grill เป็นร้าน sport club ของคนไทย ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามสนามเบสบอลทีม Houston Astros ก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม ทางคณะทีมงานได้ไปเชิญชวนแฟนๆเบสบอลมาฟังดนตรีก่อนเกมจะเริ่ม ทำให้ในร้านเริ่มมีคนทยอยเข้ามา บ้างมานั่งดื่มก่อนเข้าไปดูเกมในสนาม บ้างเข้ามาซื้อเพื่อไปดื่มในสนาม
ชิ สุวิชาน
ข้าวเย็นมื้อหนักจบลง ตัวแทนสมาคมไทย-เท็กซัส ได้พาคณะไปที่พักผู้หญิงพักที่บ้านคนไทย ผู้ชายพักที่วัดไทยที่อยู่ใกล้ๆ ชื่อ”วัดป่าศรีถาวร” ซึ่งมีที่พัก มีห้องน้ำที่อยู่ในขั้นสะดวก พระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ที่นี่เป็นกันเองนอกจากบริการที่พักแล้ว ยังให้ข้าวปลาอาหารให้ทานอีกเล่นเอาทีมงานผู้ชายต่างซึ้งไปตามๆกัน
ชิ สุวิชาน
สายๆของวันที่ 20 กันยา เราเดินทางออกจาก Austin ต่อไปเมือง Houston มีกำหนดการเล่นบ่ายสามโมงถึงห้าโมงเย็น เมื่อเดินทางไปถึงสถานที่เล่น ตัวแทนจากสมาคมไทย-เท็กซัส ได้มาต้อนรับและพาไปดูเวทีซึ่งเป็นที่คล้ายตลาดสดหรือตลาดนัดที่เมืองไทย มีอาหาร เสื้อผ้า ของเล่น รูปร่างหน้าตาและสัดส่วนรูปร่างของคนแถวนี้ใกล้เคียงเมืองไทย เพียงแต่ไม่พูดภาษาไทย พูดภาษาสเปนมากกว่าภาษาอังกฤษ
ชิ สุวิชาน
ออกจากพิพิธภัณฑ์ Alamo เราออกเดินทางต่อไปยัง Austin ระหว่างทางแวะทานข้าวที่ร้านอาหารไทย ผมไม่ทิ้งโอกาสที่จะถามหาคนในเผ่าพันธุ์ของผม
ชิ สุวิชาน
การเดินทางยังดำเนินต่อ บทเพลงในรถยังเป็นเพื่อน มีทั้งเพลงที่ดัง มีทั้งเพลงไม่ดัง บางเพลงเคยได้ฟังมาบ้าง บางเพลงไม่เคยรู้จัก “เพลงที่ดังกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป คนที่ดังกว่าไม่ได้เก่งกว่าเสมอไป” ทอด์ดสรุปให้ฟัง “แต่อย่างผมไม่ดัง และไม่เก่งด้วย” ผมสรุปของผมในใจ
ชิ สุวิชาน
มีเวลาพัก หลังจากเล่นที่ Thai Thani Resort  วันหนึ่งได้มีโอกาสไปพายเรือเล่นที่ทะเลสาบระยะทางประมาณชั่วโมงเศษจากสแครนตั้น  รุ่งเช้า ออกเดินทางจากสแครนตั้นมุ่งสู่ตอนใต้ของอเมริกา เป้าหมายอยู่ที่ Texas ระยะทางเกือบสองพันไมล์ ขบวนรถตู้สามคัน บรรทุกทีมงานยี่สิบกว่าชีวิตพร้อมอุปกรณ์เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เดินทางเต็มที่วันแรกจนตีสอง ทุกคนยอมแพ้ทั้งคนขับและคนนั่ง ถ้าเครื่องดนตรีและเครื่องเสียงพูดได้ ก็คงขอพักเช่นกัน จึงค้างกันที่เมือง Bristol รัฐ Tennessee
ชิ สุวิชาน
หลังคอนเสริตจบลงที่นิวยอร์ก เราเดินทางกลับสแครนตันในคืนนั้นเลย กว่าจะได้นอนก็ปาเข้าไปตีสี่ ทำให้หลังจากถึงที่นอนไม่เกินห้านาที เสียงกรนจากรอบข้างเริ่มดังขึ้น เหมือนมีการเปิดคอนเสริตประสานเสียง มีทั้งเสียงเบส เทนเนอร์ อัลโต โซปราโน ครบครัน กว่าผมจะหลับได้เล่นเอาฟังจนอิ่ม