Skip to main content

เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง

"ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ หรือบทเพลงแห่ศพของคนปกาเกอะญอขึ้นมาทันที

เนื่องจากที่มาของเพลงแห่ศพหรือที่คนปกาเกอะญอเรียกว่า "ธาโยต่า" นั้น มันมีที่มาจากการเรื่องเล่าว่า ในอดีตคนปกาเกอะญอมีเมืองอยู่ที่ "เหว่กิแม" หรือเมืองที่ลายด้วยงา ว่ากันว่าเมืองปกาเกอะญอในอดีตนั้นมีช้างเป็นจำนวนมาก มองไปทางไหนจะเห็นงาช้างเกือบทุกมุมเมือง จึงเรียกเมืองนั้นว่า เมืองที่ลายด้วยงา และรูปร่างแดนแดนของคนปกาเกอะญอในสมัยนั้นมีรูปร่างเหมือน ปี่เขาควาย คือมีลักษณะโค้งเว้า โดยมีแม่น้ำกิแมกั้นระหว่างเมืองปากเกอะญอกับเมือง "โก หว่า" หรือเมืองคนลัวะ

 

ที่คนปกาเกอะญอเรียกว่าคนลัวะว่า โกหว่า เพราะว่า เมืองคนลัวะอยู่ฝั่งแม่น้ำโกโกละ คือทางแม่น้ำโขง ส่วนคนปกาเกอะญอทางฝั่ง "โค่โกละ" หรือทางฝั่งสาละวิน แต่เป็นสาละวินทางฝั่งตะวันออก "โก" หมายถึงแม่น้ำโขง "หว่า" หมายอีกฝั่งหนึ่ง "โกหว่า" จึงหมายถึงฝั่งทางแม่น้ำโขง คนปกาเกอะญอจึงว่ากันว่า เมือง "กิแม" นั้น อยู่ในบริเวณที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งแม่น้ำปิงเป็นลำน้ำที่กั้นระหว่างเมืองปกาเกอะญอกับเมืองลัวะในอดีต

 

แต่มาวันหนึ่งมีเผ่าพันธุ์อื่นมารุกราน ปล้น ฆ่า ฟันทั้งคนในเมืองลัวะและเมืองคนปกาเกอะญอ ทำให้คนปกาเกอะญอต้องหนีกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง บ้างหนีขึ้นดอย บ้างหนีไปทางแม่สะเรียง แล้วข้ามฝั่งสาละวินแล้วไปอาศัยอยู่กับคนปกาเกอะญออีกกลุ่มใหญ่ทางลุ่มน้ำสาละวินทางฝั่งตะวันตกหรือรัฐกะเหรี่ยงในสหภาพพม่า ปัจจุบัน

 

ในการหนีภัยจากการถูกรุกรานครั้งนั้น ทำให้มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก ในงานศพจึงมีบทสวดร้องที่สาปแช่งคนหรือเผ่าพันธุ์ที่เข้ามารุกราน ปล้น ฆ่า และแย่งชิงบ้านเมืองของคนปกาเกอะญอไป โดยมีคำพูดที่พาดพิงถึงคนที่ทำให้คนปกาเกอะญอต้องหนีจากบ้านเมือง ต้องล้มหายตายจากกันคือ "คนโย" ธาโยต่า มีที่มาคือเป็นบทสวดที่สาปแช่ง "คนโย" โดยเฉพาะ เพราะคนโยคือสาเหตุที่ทำคนปกากอะญอต้องไร้บ้านไร้เมือง

 

ทุกวันนี้คนปกาเกอะญอยังคงเรียกคนในบริเวณล้านนาว่า "โย" คนโยเองมักจะเรียกคนปกาเกอะญอว่า "ญาง" ในขณะที่คนภาคกลางนั้นจะเรียกว่า "โยเตอหร่า" ซึ่งน่าจะมาจากอยุธยาเดิมนั่นเอง

 

ผมเคยคุยกับ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบอกผมว่า คนโย ที่ว่านี้ อาจเป็นไปได้ทั้ง โย ที่เป็น โยนกหรือคนแถบล้านนา หรือไม่ก็อาจเป็น โย ที่เป็นโยเดีย หรือคนอยุธยาก็เป็นได้ แต่ที่แน่ๆ คือ "คนโย" นั่นเองที่เป็นผู้รุกราน

 

เหตุการณ์ที่มีนโยบายอพยพคนออกป่ามันอาจจะไม่เหมือนเหตุการณ์ที่คนโยมาปล้นชิงเอาบ้านเมืองของคนปกาเกอะญอและคนลัวะในอดีตไป แต่มันก็คล้ายๆ กัน ผลของมันไม่ต่างกัน

 

"มันเอาอีกแล้ว ไอ้พวกโยนี่ ในอดีตมันเป็นอย่างไร ปัจจุบันมันก็ไม่เคยเปลี่ยน เห็นที่อยู่ที่กินของคนอื่นบูรณ์กว่า อยากจะได้มาเป็นของตนเอง พอมันได้มา มันก็ไปทำลายจน ดินเสื่อม น้ำแล้ง ป่าโทรม อากาศเสียหมด ไม่รู้มันจะทำไปถึงไหนกัน??" ผู้เฒ่าอาวุโสคนหนึ่งในชุมชนปกาเกอะญอบ่นอย่างหัวเสีย

 

"ต้องเอา ธาโยต่า มาใส่ในเพลงพาตี่ปูนุ เพราะคนโยอีกแล้วที่เป็นต้นเหตุทำให้เขาตาย" ผมนึกในใจตั้งใจทำอย่างนั้นขณะกำลังเขียนเพลง


 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
การนอนและนอนอย่างเดียวในรถตู้ไม่ใช่เรื่องง่าย  บางทีปวดฉี่ บางครั้งปวดหลัง ทุกครั้งที่รถแวะจอดเติมน้ำมันหรือแวะทำอะไร ผมก็มักจะตื่นด้วยทุกครั้ง  จนได้รับการต่อว่าจากคนที่นั่งมาด้วยกันด้วยความเป็นห่วงว่าผมจะรับช่วงการขับรถต่อได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ชิ สุวิชาน
คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ
ชิ สุวิชาน
จาก Houston มุ่งสู่ Dallas ระหว่างทางผมได้มีโอกาสเป็นสารถีอีกครั้ง ระหว่างทางที่ขับรถอยู่ผมก็เหลียวซ้ายและขวาบ้าง ผมเห็นตัวที่อยู่ข้างทาง วัวก็ไม่ใช่ ควายก็ไม่เชิง เมื่อเดินทางมาถึงDallas ที่ หมาย ซึ่งมีพี่น้องคนไทยรอรับ จัดแจงที่อยู่ที่กินเป็นอย่างดี “ที่นี่ มีคนปกาเกอะญอไหมครับ?” เป็นคำถามแรกที่ผมถามที่ Dallas
ชิ สุวิชาน
วันนี้ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ไปเดินซื้อของที่ Outlet ส่วนผู้ชายหลังจากทานอาหารเช้า ต้องเดินทางไปติดตั้งเครื่องเสียงเพื่อเล่นในเย็นวันนี้
ชิ สุวิชาน
หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง 
ชิ สุวิชาน
การเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่สังคยานาดำเนินขึ้น จุดหมายวันนี้อยู่ที่ร้าน Home plate grill เป็นร้าน sport club ของคนไทย ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามสนามเบสบอลทีม Houston Astros ก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม ทางคณะทีมงานได้ไปเชิญชวนแฟนๆเบสบอลมาฟังดนตรีก่อนเกมจะเริ่ม ทำให้ในร้านเริ่มมีคนทยอยเข้ามา บ้างมานั่งดื่มก่อนเข้าไปดูเกมในสนาม บ้างเข้ามาซื้อเพื่อไปดื่มในสนาม
ชิ สุวิชาน
ข้าวเย็นมื้อหนักจบลง ตัวแทนสมาคมไทย-เท็กซัส ได้พาคณะไปที่พักผู้หญิงพักที่บ้านคนไทย ผู้ชายพักที่วัดไทยที่อยู่ใกล้ๆ ชื่อ”วัดป่าศรีถาวร” ซึ่งมีที่พัก มีห้องน้ำที่อยู่ในขั้นสะดวก พระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ที่นี่เป็นกันเองนอกจากบริการที่พักแล้ว ยังให้ข้าวปลาอาหารให้ทานอีกเล่นเอาทีมงานผู้ชายต่างซึ้งไปตามๆกัน
ชิ สุวิชาน
สายๆของวันที่ 20 กันยา เราเดินทางออกจาก Austin ต่อไปเมือง Houston มีกำหนดการเล่นบ่ายสามโมงถึงห้าโมงเย็น เมื่อเดินทางไปถึงสถานที่เล่น ตัวแทนจากสมาคมไทย-เท็กซัส ได้มาต้อนรับและพาไปดูเวทีซึ่งเป็นที่คล้ายตลาดสดหรือตลาดนัดที่เมืองไทย มีอาหาร เสื้อผ้า ของเล่น รูปร่างหน้าตาและสัดส่วนรูปร่างของคนแถวนี้ใกล้เคียงเมืองไทย เพียงแต่ไม่พูดภาษาไทย พูดภาษาสเปนมากกว่าภาษาอังกฤษ
ชิ สุวิชาน
ออกจากพิพิธภัณฑ์ Alamo เราออกเดินทางต่อไปยัง Austin ระหว่างทางแวะทานข้าวที่ร้านอาหารไทย ผมไม่ทิ้งโอกาสที่จะถามหาคนในเผ่าพันธุ์ของผม
ชิ สุวิชาน
การเดินทางยังดำเนินต่อ บทเพลงในรถยังเป็นเพื่อน มีทั้งเพลงที่ดัง มีทั้งเพลงไม่ดัง บางเพลงเคยได้ฟังมาบ้าง บางเพลงไม่เคยรู้จัก “เพลงที่ดังกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป คนที่ดังกว่าไม่ได้เก่งกว่าเสมอไป” ทอด์ดสรุปให้ฟัง “แต่อย่างผมไม่ดัง และไม่เก่งด้วย” ผมสรุปของผมในใจ
ชิ สุวิชาน
มีเวลาพัก หลังจากเล่นที่ Thai Thani Resort  วันหนึ่งได้มีโอกาสไปพายเรือเล่นที่ทะเลสาบระยะทางประมาณชั่วโมงเศษจากสแครนตั้น  รุ่งเช้า ออกเดินทางจากสแครนตั้นมุ่งสู่ตอนใต้ของอเมริกา เป้าหมายอยู่ที่ Texas ระยะทางเกือบสองพันไมล์ ขบวนรถตู้สามคัน บรรทุกทีมงานยี่สิบกว่าชีวิตพร้อมอุปกรณ์เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เดินทางเต็มที่วันแรกจนตีสอง ทุกคนยอมแพ้ทั้งคนขับและคนนั่ง ถ้าเครื่องดนตรีและเครื่องเสียงพูดได้ ก็คงขอพักเช่นกัน จึงค้างกันที่เมือง Bristol รัฐ Tennessee
ชิ สุวิชาน
หลังคอนเสริตจบลงที่นิวยอร์ก เราเดินทางกลับสแครนตันในคืนนั้นเลย กว่าจะได้นอนก็ปาเข้าไปตีสี่ ทำให้หลังจากถึงที่นอนไม่เกินห้านาที เสียงกรนจากรอบข้างเริ่มดังขึ้น เหมือนมีการเปิดคอนเสริตประสานเสียง มีทั้งเสียงเบส เทนเนอร์ อัลโต โซปราโน ครบครัน กว่าผมจะหลับได้เล่นเอาฟังจนอิ่ม