Skip to main content

เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง

"ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ หรือบทเพลงแห่ศพของคนปกาเกอะญอขึ้นมาทันที

เนื่องจากที่มาของเพลงแห่ศพหรือที่คนปกาเกอะญอเรียกว่า "ธาโยต่า" นั้น มันมีที่มาจากการเรื่องเล่าว่า ในอดีตคนปกาเกอะญอมีเมืองอยู่ที่ "เหว่กิแม" หรือเมืองที่ลายด้วยงา ว่ากันว่าเมืองปกาเกอะญอในอดีตนั้นมีช้างเป็นจำนวนมาก มองไปทางไหนจะเห็นงาช้างเกือบทุกมุมเมือง จึงเรียกเมืองนั้นว่า เมืองที่ลายด้วยงา และรูปร่างแดนแดนของคนปกาเกอะญอในสมัยนั้นมีรูปร่างเหมือน ปี่เขาควาย คือมีลักษณะโค้งเว้า โดยมีแม่น้ำกิแมกั้นระหว่างเมืองปากเกอะญอกับเมือง "โก หว่า" หรือเมืองคนลัวะ

 

ที่คนปกาเกอะญอเรียกว่าคนลัวะว่า โกหว่า เพราะว่า เมืองคนลัวะอยู่ฝั่งแม่น้ำโกโกละ คือทางแม่น้ำโขง ส่วนคนปกาเกอะญอทางฝั่ง "โค่โกละ" หรือทางฝั่งสาละวิน แต่เป็นสาละวินทางฝั่งตะวันออก "โก" หมายถึงแม่น้ำโขง "หว่า" หมายอีกฝั่งหนึ่ง "โกหว่า" จึงหมายถึงฝั่งทางแม่น้ำโขง คนปกาเกอะญอจึงว่ากันว่า เมือง "กิแม" นั้น อยู่ในบริเวณที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งแม่น้ำปิงเป็นลำน้ำที่กั้นระหว่างเมืองปกาเกอะญอกับเมืองลัวะในอดีต

 

แต่มาวันหนึ่งมีเผ่าพันธุ์อื่นมารุกราน ปล้น ฆ่า ฟันทั้งคนในเมืองลัวะและเมืองคนปกาเกอะญอ ทำให้คนปกาเกอะญอต้องหนีกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง บ้างหนีขึ้นดอย บ้างหนีไปทางแม่สะเรียง แล้วข้ามฝั่งสาละวินแล้วไปอาศัยอยู่กับคนปกาเกอะญออีกกลุ่มใหญ่ทางลุ่มน้ำสาละวินทางฝั่งตะวันตกหรือรัฐกะเหรี่ยงในสหภาพพม่า ปัจจุบัน

 

ในการหนีภัยจากการถูกรุกรานครั้งนั้น ทำให้มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก ในงานศพจึงมีบทสวดร้องที่สาปแช่งคนหรือเผ่าพันธุ์ที่เข้ามารุกราน ปล้น ฆ่า และแย่งชิงบ้านเมืองของคนปกาเกอะญอไป โดยมีคำพูดที่พาดพิงถึงคนที่ทำให้คนปกาเกอะญอต้องหนีจากบ้านเมือง ต้องล้มหายตายจากกันคือ "คนโย" ธาโยต่า มีที่มาคือเป็นบทสวดที่สาปแช่ง "คนโย" โดยเฉพาะ เพราะคนโยคือสาเหตุที่ทำคนปกากอะญอต้องไร้บ้านไร้เมือง

 

ทุกวันนี้คนปกาเกอะญอยังคงเรียกคนในบริเวณล้านนาว่า "โย" คนโยเองมักจะเรียกคนปกาเกอะญอว่า "ญาง" ในขณะที่คนภาคกลางนั้นจะเรียกว่า "โยเตอหร่า" ซึ่งน่าจะมาจากอยุธยาเดิมนั่นเอง

 

ผมเคยคุยกับ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบอกผมว่า คนโย ที่ว่านี้ อาจเป็นไปได้ทั้ง โย ที่เป็น โยนกหรือคนแถบล้านนา หรือไม่ก็อาจเป็น โย ที่เป็นโยเดีย หรือคนอยุธยาก็เป็นได้ แต่ที่แน่ๆ คือ "คนโย" นั่นเองที่เป็นผู้รุกราน

 

เหตุการณ์ที่มีนโยบายอพยพคนออกป่ามันอาจจะไม่เหมือนเหตุการณ์ที่คนโยมาปล้นชิงเอาบ้านเมืองของคนปกาเกอะญอและคนลัวะในอดีตไป แต่มันก็คล้ายๆ กัน ผลของมันไม่ต่างกัน

 

"มันเอาอีกแล้ว ไอ้พวกโยนี่ ในอดีตมันเป็นอย่างไร ปัจจุบันมันก็ไม่เคยเปลี่ยน เห็นที่อยู่ที่กินของคนอื่นบูรณ์กว่า อยากจะได้มาเป็นของตนเอง พอมันได้มา มันก็ไปทำลายจน ดินเสื่อม น้ำแล้ง ป่าโทรม อากาศเสียหมด ไม่รู้มันจะทำไปถึงไหนกัน??" ผู้เฒ่าอาวุโสคนหนึ่งในชุมชนปกาเกอะญอบ่นอย่างหัวเสีย

 

"ต้องเอา ธาโยต่า มาใส่ในเพลงพาตี่ปูนุ เพราะคนโยอีกแล้วที่เป็นต้นเหตุทำให้เขาตาย" ผมนึกในใจตั้งใจทำอย่างนั้นขณะกำลังเขียนเพลง


 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย