Skip to main content

เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!

ผมกระซิบบอกกับพี่นนท์และอาจารย์ลีซะให้อยู่เล่นกับผมต่อ เพราะช่วงขณะนั้นผมนึกอะไรไม่ออก เพลงแรกผมจึงขอร้องเพลง “พ้อเหล่ป่า” ร่วมกับพี่นนท์และอาจารย์ลีซะอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสได้เล่นกับนักดนตรีผู้บอกเล่าเรื่องราวชนเผ่ารุ่นบุกเบิกสองคนนี้ ผมรู้สึกดีมากจนลืมเรื่องราวเพลงต้องห้ามที่เกิดขึ้น

ถนนหน้าบ้านมีเยาวชนมานั่งฟังเพลงกันหลายคน จึงเป็นโอกาสดีที่จะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนวัฒนธรรมของชนเผ่าร่วมกัน ร้องธาปลือไม่ได้ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็มีเวทีในการสื่อสารกับเยาวชน หน่อใหม่ของชนเผ่า

“ประกาศให้ทุกคนทราบ เด็กที่มาเข้าค่ายทุกคนให้กลับไปนอน เพราะพรุ่งนี้ต้องลุกขึ้นมาทำกิจกรรมแต่เช้า ให้กลับไปนอนเดี๋ยวนี้” เสียงจากผู้นำในการจัดค่าย ผมจึงรู้ว่าที่เด็กมากันหลายคนก็เพราะมาเข้าค่ายจริยธรรมในชุมชนนี่เอง

หลังจาก อาจารย์ลีซะขอตัวจากเวทีก่อนเพราะพรุ่งนี้มีภารกิจในการจัดค่ายอบรมจริยธรรมให้เยาวชน แต่พี่นนท์ยังคงอยู่บนเวทีกับผม กระทั่งผู้ฟังเริ่มยอมแพ้เรา เวทีจึงถูกพักเพื่อคืนพรุ่งนี้ต่อ

กลับมาที่พักซึ่งถูกเตรียมไว้ให้แล้ว แต่เหมือนความง่วงยังไม่มาใกล้เรา ข้างเตาไฟที่มีฟืนทำหน้าที่ให้แสงและไออุ่นพอสำหรับวงสนทนาเล็กๆ ท่ามกลางความเงียบ ใต้แสงเดือนดาว

“ผมว่างานนี้เป็นโอกาสดีที่มีการจัดค่ายจริยธรรมสำหรับเด็ก และได้จังหวะที่มีงานศพในชุมชน จริงๆน่าจะให้เด็กมาเรียนรู้จากงานศพด้วยเพราะมันเป็นวิถีของชุมชนเด็กจะได้ซึมซาบความเป็นชุมชนด้วย ไม่ควรไปกีดกัน” เพื่อนร่วมวงสนทนาคนหนึ่งแสดงความคิดเห็น

“ใช่ พี่อยากให้เด็กได้มีโอกาสรู้ว่า พาตี่ (พ้อเหล่ป่า) เป็นใคร? ได้ทำอะไรไว้บ้าง? ได้พูดอะไรไว้บ้าง? และคนอื่นๆหมายถึงคนภายนอกคิดกับคนชนเผ่าผ่านงานของพ้อเหล่ป่าอย่างไรบ้าง? อยากให้เด็กได้ภูมิใจในเผ่าพันธุ์และอยากลุกขึ้นมาทำอะไรต่อเพื่อชนเผ่า เสียดายที่รีบให้เด็กๆไปนอนเร็วเกินไป” สมาชิกวงสนทนาอีกคนกล่าวเสริม

คืนสุดท้ายของพ้อเหล่ป่าในร้านขายของชำที่รับแขกของพ้อเหล่ป่า ลูกสาวคนสุดท้องและสามีร้องเพลงถึงพ่อ พ้อเหล่ป่า

“ขอบคุณที่พ่อได้สร้าง ได้เลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ได้พร่ำสอนจนรู้ความ ไม่ขอบคุณอยู่ไม่ได้ ไม่พูดถึงอยู่ไม่สุข ขอพระเป็นเจ้าบนสวรรค์รับพ่อไปอยู่ด้วย” เพลงภาษาปกาเกอะญอจากลูกสาว

จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของพี่นนท์กับผม
“พี่นนท์ครับ ผมอยากร้องเพลง พ้อเหล่ป่า หลายๆรอบในคืนนี้ ให้มันติดหูชาวบ้าน ให้มันดังทั่วดอยในคืนสุดท้ายของพ้อเหล่ป่า” ผมบอกพี่นนท์

“ดีๆๆ เอาซัก สามรอบดีมั๊ย??” พี่นนท์ถาม
“ไม่คับ อย่างน้อยเก้ารอบ!” ผมตอบพี่นนท์
“เออ..นะ เอาให้จำกันไปเลย เฮอๆๆ น่าสนใจๆ” พี่นนท์ตอบพร้อมมือเริ่มกรีดสายกีตาร์ เสียงเพลงพ้อเหล่ป่าดังขึ้นเป็นครั้งแรกในคืนสุดท้าย เพลงผมเพลงพี่นนท์สลับกันไป เอาเพลงอาจารย์ลีซะมาร้องบ้างเนื่องจากท่านติดงานค่ายเยาวชน จึงไม่สามารถมาร่วมงานได้ในคืนสุดท้าย

เพลงพ้อเหล่ป่าดังอีกเป็นครั้งที่สอง เพลงอื่นสลับเข้ามาสามสีเพลง และเพลงพ้อเหล่ป่าดังขึ้นอีกเป็นรอบที่สาม สี่...จนรอบที่เก้า เราจึงบอกลาเวที

รุ่งเช้าขบวนชาวบ้านได้เคลื่อนศพพ้อเหล่ป่าสู่ป่าความเชื่อ ป่าแห่งคนตาย เป็นแดนคืนร่างสู่ธรรมชาติ ในขณะที่โลงศพถูกจ่อบนหลุม บทกวีพ้อเหล่ป่าดังขึ้นท่ามกลางฝูงชน

“เมื่อฉันจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่น เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริง..........................................................................................................................................................................ฉันไม่รู้หรอกว่า ความสะดวกสบายที่เราได้รับจะนำความสุขหรือความทุกข์มาให้คนภูเขา” ชายเสื้อดำร่ายบทกวีของพ้อเหล่ป่า คนร่วมไว้อาลัยต่างนิ่งเงียบฟังถ้อยคำกวีนั้นราวกับว่าไม่เคยได้ยินมาก่อน

บทกวีนั้นจบเพลงเตหน่ากูเริ่มขึ้น
“นกเขาขันที่ระเบียงบ้าน                          หากลมไม่พัด ใบไม้ไม่ไหว
มันเคยปรากฏมันเคยเกิดขึ้น                   ผู้เฒ่าจึงบอกกล่าว

นกน้อยแม่เจ้าคอยอยู่ที่รัง                       หากเจ้าบินกลับคืนสู่รัง
อย่าไปทาง ดูลอหร่า(นรก)                      จงกลับไปทาง ดูเตอวอ (สวรรค์)
มีทั้งหมกเขียด ลาปปลา                         มีทั้งส้มโอ มีทั้งเขียวหวานไว้รอรับเจ้า”

มีความตั้งใจเอาคำหรือเนื้อของเพลงธาปลือมา แต่ผมเปลี่ยนทำนองและผมไม่ร้องท่อนโย แปลก!!ไม่มีใครใส่ใจในเนื้อหา ต่างนิ่งจ้องดูนิ้วที่ดีดเตหน่ากูฟังทำนองเพลงที่ไม่เคยผ่านหูอย่างสงบ โดยไม่มีใครรู้สึกเหมือนเป็นธาปลือ หรือ เพลงศพ จึงรอดพ้นจากการถูกห้าม แต่ถึงจะห้ามก็ห้ามไม่นานแน่ เมื่อเพลงมันทำหน้าที่ของมันไปแล้ว

“เอาจนได้นะ ไอ้หลานชาย” พ่อเฒ่าคนเดิมที่เจอกันก่อนไปทานข้าวในคืนที่ผมมาถึง มาทักผมหลังจบเพลงกลางป่าช้าและยิ้มบางๆ แต่ใบหน้าปรากฏภาพความพึงพอใจออกมาชัดเจน ผมยิ้มแทนคำตอบเพราะผมรู้ว่าเมื่อการสนทนาถูกสานต่อ เรื่องบทเพลงต้องห้ามที่ผมร้องเมื่อครู่จะถูกเปิดเผย เขาคงรู้ว่าผมคิดอะไร เขายิ้มตอบพร้อมกับตบหลังผมเบาๆ

เมื่อพิธีทางศาสนาคริสต์จบ โลงศพพ้อเหล่ป่าถูกหย่อนลง ทันใดนั้นหลุมดินอ้าแขนรับร่างไร้วิญญาณนั้นกลับมาเป็นเนื้อเดียวกับผืนดิน เติมให้ผืนดินเต็มอีกครั้ง เสียงต้นไม้ทั้งป่าต่างตะโกนร้อง “ต่า เต๊ะ โดะ ฮ่อ โข่”
 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
การนอนและนอนอย่างเดียวในรถตู้ไม่ใช่เรื่องง่าย  บางทีปวดฉี่ บางครั้งปวดหลัง ทุกครั้งที่รถแวะจอดเติมน้ำมันหรือแวะทำอะไร ผมก็มักจะตื่นด้วยทุกครั้ง  จนได้รับการต่อว่าจากคนที่นั่งมาด้วยกันด้วยความเป็นห่วงว่าผมจะรับช่วงการขับรถต่อได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ชิ สุวิชาน
คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ
ชิ สุวิชาน
จาก Houston มุ่งสู่ Dallas ระหว่างทางผมได้มีโอกาสเป็นสารถีอีกครั้ง ระหว่างทางที่ขับรถอยู่ผมก็เหลียวซ้ายและขวาบ้าง ผมเห็นตัวที่อยู่ข้างทาง วัวก็ไม่ใช่ ควายก็ไม่เชิง เมื่อเดินทางมาถึงDallas ที่ หมาย ซึ่งมีพี่น้องคนไทยรอรับ จัดแจงที่อยู่ที่กินเป็นอย่างดี “ที่นี่ มีคนปกาเกอะญอไหมครับ?” เป็นคำถามแรกที่ผมถามที่ Dallas
ชิ สุวิชาน
วันนี้ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ไปเดินซื้อของที่ Outlet ส่วนผู้ชายหลังจากทานอาหารเช้า ต้องเดินทางไปติดตั้งเครื่องเสียงเพื่อเล่นในเย็นวันนี้
ชิ สุวิชาน
หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง 
ชิ สุวิชาน
การเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่สังคยานาดำเนินขึ้น จุดหมายวันนี้อยู่ที่ร้าน Home plate grill เป็นร้าน sport club ของคนไทย ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามสนามเบสบอลทีม Houston Astros ก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม ทางคณะทีมงานได้ไปเชิญชวนแฟนๆเบสบอลมาฟังดนตรีก่อนเกมจะเริ่ม ทำให้ในร้านเริ่มมีคนทยอยเข้ามา บ้างมานั่งดื่มก่อนเข้าไปดูเกมในสนาม บ้างเข้ามาซื้อเพื่อไปดื่มในสนาม
ชิ สุวิชาน
ข้าวเย็นมื้อหนักจบลง ตัวแทนสมาคมไทย-เท็กซัส ได้พาคณะไปที่พักผู้หญิงพักที่บ้านคนไทย ผู้ชายพักที่วัดไทยที่อยู่ใกล้ๆ ชื่อ”วัดป่าศรีถาวร” ซึ่งมีที่พัก มีห้องน้ำที่อยู่ในขั้นสะดวก พระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ที่นี่เป็นกันเองนอกจากบริการที่พักแล้ว ยังให้ข้าวปลาอาหารให้ทานอีกเล่นเอาทีมงานผู้ชายต่างซึ้งไปตามๆกัน
ชิ สุวิชาน
สายๆของวันที่ 20 กันยา เราเดินทางออกจาก Austin ต่อไปเมือง Houston มีกำหนดการเล่นบ่ายสามโมงถึงห้าโมงเย็น เมื่อเดินทางไปถึงสถานที่เล่น ตัวแทนจากสมาคมไทย-เท็กซัส ได้มาต้อนรับและพาไปดูเวทีซึ่งเป็นที่คล้ายตลาดสดหรือตลาดนัดที่เมืองไทย มีอาหาร เสื้อผ้า ของเล่น รูปร่างหน้าตาและสัดส่วนรูปร่างของคนแถวนี้ใกล้เคียงเมืองไทย เพียงแต่ไม่พูดภาษาไทย พูดภาษาสเปนมากกว่าภาษาอังกฤษ
ชิ สุวิชาน
ออกจากพิพิธภัณฑ์ Alamo เราออกเดินทางต่อไปยัง Austin ระหว่างทางแวะทานข้าวที่ร้านอาหารไทย ผมไม่ทิ้งโอกาสที่จะถามหาคนในเผ่าพันธุ์ของผม
ชิ สุวิชาน
การเดินทางยังดำเนินต่อ บทเพลงในรถยังเป็นเพื่อน มีทั้งเพลงที่ดัง มีทั้งเพลงไม่ดัง บางเพลงเคยได้ฟังมาบ้าง บางเพลงไม่เคยรู้จัก “เพลงที่ดังกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป คนที่ดังกว่าไม่ได้เก่งกว่าเสมอไป” ทอด์ดสรุปให้ฟัง “แต่อย่างผมไม่ดัง และไม่เก่งด้วย” ผมสรุปของผมในใจ
ชิ สุวิชาน
มีเวลาพัก หลังจากเล่นที่ Thai Thani Resort  วันหนึ่งได้มีโอกาสไปพายเรือเล่นที่ทะเลสาบระยะทางประมาณชั่วโมงเศษจากสแครนตั้น  รุ่งเช้า ออกเดินทางจากสแครนตั้นมุ่งสู่ตอนใต้ของอเมริกา เป้าหมายอยู่ที่ Texas ระยะทางเกือบสองพันไมล์ ขบวนรถตู้สามคัน บรรทุกทีมงานยี่สิบกว่าชีวิตพร้อมอุปกรณ์เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เดินทางเต็มที่วันแรกจนตีสอง ทุกคนยอมแพ้ทั้งคนขับและคนนั่ง ถ้าเครื่องดนตรีและเครื่องเสียงพูดได้ ก็คงขอพักเช่นกัน จึงค้างกันที่เมือง Bristol รัฐ Tennessee
ชิ สุวิชาน
หลังคอนเสริตจบลงที่นิวยอร์ก เราเดินทางกลับสแครนตันในคืนนั้นเลย กว่าจะได้นอนก็ปาเข้าไปตีสี่ ทำให้หลังจากถึงที่นอนไม่เกินห้านาที เสียงกรนจากรอบข้างเริ่มดังขึ้น เหมือนมีการเปิดคอนเสริตประสานเสียง มีทั้งเสียงเบส เทนเนอร์ อัลโต โซปราโน ครบครัน กว่าผมจะหลับได้เล่นเอาฟังจนอิ่ม