Skip to main content

เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!

ผมกระซิบบอกกับพี่นนท์และอาจารย์ลีซะให้อยู่เล่นกับผมต่อ เพราะช่วงขณะนั้นผมนึกอะไรไม่ออก เพลงแรกผมจึงขอร้องเพลง “พ้อเหล่ป่า” ร่วมกับพี่นนท์และอาจารย์ลีซะอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสได้เล่นกับนักดนตรีผู้บอกเล่าเรื่องราวชนเผ่ารุ่นบุกเบิกสองคนนี้ ผมรู้สึกดีมากจนลืมเรื่องราวเพลงต้องห้ามที่เกิดขึ้น

ถนนหน้าบ้านมีเยาวชนมานั่งฟังเพลงกันหลายคน จึงเป็นโอกาสดีที่จะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนวัฒนธรรมของชนเผ่าร่วมกัน ร้องธาปลือไม่ได้ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็มีเวทีในการสื่อสารกับเยาวชน หน่อใหม่ของชนเผ่า

“ประกาศให้ทุกคนทราบ เด็กที่มาเข้าค่ายทุกคนให้กลับไปนอน เพราะพรุ่งนี้ต้องลุกขึ้นมาทำกิจกรรมแต่เช้า ให้กลับไปนอนเดี๋ยวนี้” เสียงจากผู้นำในการจัดค่าย ผมจึงรู้ว่าที่เด็กมากันหลายคนก็เพราะมาเข้าค่ายจริยธรรมในชุมชนนี่เอง

หลังจาก อาจารย์ลีซะขอตัวจากเวทีก่อนเพราะพรุ่งนี้มีภารกิจในการจัดค่ายอบรมจริยธรรมให้เยาวชน แต่พี่นนท์ยังคงอยู่บนเวทีกับผม กระทั่งผู้ฟังเริ่มยอมแพ้เรา เวทีจึงถูกพักเพื่อคืนพรุ่งนี้ต่อ

กลับมาที่พักซึ่งถูกเตรียมไว้ให้แล้ว แต่เหมือนความง่วงยังไม่มาใกล้เรา ข้างเตาไฟที่มีฟืนทำหน้าที่ให้แสงและไออุ่นพอสำหรับวงสนทนาเล็กๆ ท่ามกลางความเงียบ ใต้แสงเดือนดาว

“ผมว่างานนี้เป็นโอกาสดีที่มีการจัดค่ายจริยธรรมสำหรับเด็ก และได้จังหวะที่มีงานศพในชุมชน จริงๆน่าจะให้เด็กมาเรียนรู้จากงานศพด้วยเพราะมันเป็นวิถีของชุมชนเด็กจะได้ซึมซาบความเป็นชุมชนด้วย ไม่ควรไปกีดกัน” เพื่อนร่วมวงสนทนาคนหนึ่งแสดงความคิดเห็น

“ใช่ พี่อยากให้เด็กได้มีโอกาสรู้ว่า พาตี่ (พ้อเหล่ป่า) เป็นใคร? ได้ทำอะไรไว้บ้าง? ได้พูดอะไรไว้บ้าง? และคนอื่นๆหมายถึงคนภายนอกคิดกับคนชนเผ่าผ่านงานของพ้อเหล่ป่าอย่างไรบ้าง? อยากให้เด็กได้ภูมิใจในเผ่าพันธุ์และอยากลุกขึ้นมาทำอะไรต่อเพื่อชนเผ่า เสียดายที่รีบให้เด็กๆไปนอนเร็วเกินไป” สมาชิกวงสนทนาอีกคนกล่าวเสริม

คืนสุดท้ายของพ้อเหล่ป่าในร้านขายของชำที่รับแขกของพ้อเหล่ป่า ลูกสาวคนสุดท้องและสามีร้องเพลงถึงพ่อ พ้อเหล่ป่า

“ขอบคุณที่พ่อได้สร้าง ได้เลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ได้พร่ำสอนจนรู้ความ ไม่ขอบคุณอยู่ไม่ได้ ไม่พูดถึงอยู่ไม่สุข ขอพระเป็นเจ้าบนสวรรค์รับพ่อไปอยู่ด้วย” เพลงภาษาปกาเกอะญอจากลูกสาว

จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของพี่นนท์กับผม
“พี่นนท์ครับ ผมอยากร้องเพลง พ้อเหล่ป่า หลายๆรอบในคืนนี้ ให้มันติดหูชาวบ้าน ให้มันดังทั่วดอยในคืนสุดท้ายของพ้อเหล่ป่า” ผมบอกพี่นนท์

“ดีๆๆ เอาซัก สามรอบดีมั๊ย??” พี่นนท์ถาม
“ไม่คับ อย่างน้อยเก้ารอบ!” ผมตอบพี่นนท์
“เออ..นะ เอาให้จำกันไปเลย เฮอๆๆ น่าสนใจๆ” พี่นนท์ตอบพร้อมมือเริ่มกรีดสายกีตาร์ เสียงเพลงพ้อเหล่ป่าดังขึ้นเป็นครั้งแรกในคืนสุดท้าย เพลงผมเพลงพี่นนท์สลับกันไป เอาเพลงอาจารย์ลีซะมาร้องบ้างเนื่องจากท่านติดงานค่ายเยาวชน จึงไม่สามารถมาร่วมงานได้ในคืนสุดท้าย

เพลงพ้อเหล่ป่าดังอีกเป็นครั้งที่สอง เพลงอื่นสลับเข้ามาสามสีเพลง และเพลงพ้อเหล่ป่าดังขึ้นอีกเป็นรอบที่สาม สี่...จนรอบที่เก้า เราจึงบอกลาเวที

รุ่งเช้าขบวนชาวบ้านได้เคลื่อนศพพ้อเหล่ป่าสู่ป่าความเชื่อ ป่าแห่งคนตาย เป็นแดนคืนร่างสู่ธรรมชาติ ในขณะที่โลงศพถูกจ่อบนหลุม บทกวีพ้อเหล่ป่าดังขึ้นท่ามกลางฝูงชน

“เมื่อฉันจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่น เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริง..........................................................................................................................................................................ฉันไม่รู้หรอกว่า ความสะดวกสบายที่เราได้รับจะนำความสุขหรือความทุกข์มาให้คนภูเขา” ชายเสื้อดำร่ายบทกวีของพ้อเหล่ป่า คนร่วมไว้อาลัยต่างนิ่งเงียบฟังถ้อยคำกวีนั้นราวกับว่าไม่เคยได้ยินมาก่อน

บทกวีนั้นจบเพลงเตหน่ากูเริ่มขึ้น
“นกเขาขันที่ระเบียงบ้าน                          หากลมไม่พัด ใบไม้ไม่ไหว
มันเคยปรากฏมันเคยเกิดขึ้น                   ผู้เฒ่าจึงบอกกล่าว

นกน้อยแม่เจ้าคอยอยู่ที่รัง                       หากเจ้าบินกลับคืนสู่รัง
อย่าไปทาง ดูลอหร่า(นรก)                      จงกลับไปทาง ดูเตอวอ (สวรรค์)
มีทั้งหมกเขียด ลาปปลา                         มีทั้งส้มโอ มีทั้งเขียวหวานไว้รอรับเจ้า”

มีความตั้งใจเอาคำหรือเนื้อของเพลงธาปลือมา แต่ผมเปลี่ยนทำนองและผมไม่ร้องท่อนโย แปลก!!ไม่มีใครใส่ใจในเนื้อหา ต่างนิ่งจ้องดูนิ้วที่ดีดเตหน่ากูฟังทำนองเพลงที่ไม่เคยผ่านหูอย่างสงบ โดยไม่มีใครรู้สึกเหมือนเป็นธาปลือ หรือ เพลงศพ จึงรอดพ้นจากการถูกห้าม แต่ถึงจะห้ามก็ห้ามไม่นานแน่ เมื่อเพลงมันทำหน้าที่ของมันไปแล้ว

“เอาจนได้นะ ไอ้หลานชาย” พ่อเฒ่าคนเดิมที่เจอกันก่อนไปทานข้าวในคืนที่ผมมาถึง มาทักผมหลังจบเพลงกลางป่าช้าและยิ้มบางๆ แต่ใบหน้าปรากฏภาพความพึงพอใจออกมาชัดเจน ผมยิ้มแทนคำตอบเพราะผมรู้ว่าเมื่อการสนทนาถูกสานต่อ เรื่องบทเพลงต้องห้ามที่ผมร้องเมื่อครู่จะถูกเปิดเผย เขาคงรู้ว่าผมคิดอะไร เขายิ้มตอบพร้อมกับตบหลังผมเบาๆ

เมื่อพิธีทางศาสนาคริสต์จบ โลงศพพ้อเหล่ป่าถูกหย่อนลง ทันใดนั้นหลุมดินอ้าแขนรับร่างไร้วิญญาณนั้นกลับมาเป็นเนื้อเดียวกับผืนดิน เติมให้ผืนดินเต็มอีกครั้ง เสียงต้นไม้ทั้งป่าต่างตะโกนร้อง “ต่า เต๊ะ โดะ ฮ่อ โข่”
 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย