Skip to main content

เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!

ผมกระซิบบอกกับพี่นนท์และอาจารย์ลีซะให้อยู่เล่นกับผมต่อ เพราะช่วงขณะนั้นผมนึกอะไรไม่ออก เพลงแรกผมจึงขอร้องเพลง “พ้อเหล่ป่า” ร่วมกับพี่นนท์และอาจารย์ลีซะอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสได้เล่นกับนักดนตรีผู้บอกเล่าเรื่องราวชนเผ่ารุ่นบุกเบิกสองคนนี้ ผมรู้สึกดีมากจนลืมเรื่องราวเพลงต้องห้ามที่เกิดขึ้น

ถนนหน้าบ้านมีเยาวชนมานั่งฟังเพลงกันหลายคน จึงเป็นโอกาสดีที่จะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นการขับเคลื่อนวัฒนธรรมของชนเผ่าร่วมกัน ร้องธาปลือไม่ได้ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็มีเวทีในการสื่อสารกับเยาวชน หน่อใหม่ของชนเผ่า

“ประกาศให้ทุกคนทราบ เด็กที่มาเข้าค่ายทุกคนให้กลับไปนอน เพราะพรุ่งนี้ต้องลุกขึ้นมาทำกิจกรรมแต่เช้า ให้กลับไปนอนเดี๋ยวนี้” เสียงจากผู้นำในการจัดค่าย ผมจึงรู้ว่าที่เด็กมากันหลายคนก็เพราะมาเข้าค่ายจริยธรรมในชุมชนนี่เอง

หลังจาก อาจารย์ลีซะขอตัวจากเวทีก่อนเพราะพรุ่งนี้มีภารกิจในการจัดค่ายอบรมจริยธรรมให้เยาวชน แต่พี่นนท์ยังคงอยู่บนเวทีกับผม กระทั่งผู้ฟังเริ่มยอมแพ้เรา เวทีจึงถูกพักเพื่อคืนพรุ่งนี้ต่อ

กลับมาที่พักซึ่งถูกเตรียมไว้ให้แล้ว แต่เหมือนความง่วงยังไม่มาใกล้เรา ข้างเตาไฟที่มีฟืนทำหน้าที่ให้แสงและไออุ่นพอสำหรับวงสนทนาเล็กๆ ท่ามกลางความเงียบ ใต้แสงเดือนดาว

“ผมว่างานนี้เป็นโอกาสดีที่มีการจัดค่ายจริยธรรมสำหรับเด็ก และได้จังหวะที่มีงานศพในชุมชน จริงๆน่าจะให้เด็กมาเรียนรู้จากงานศพด้วยเพราะมันเป็นวิถีของชุมชนเด็กจะได้ซึมซาบความเป็นชุมชนด้วย ไม่ควรไปกีดกัน” เพื่อนร่วมวงสนทนาคนหนึ่งแสดงความคิดเห็น

“ใช่ พี่อยากให้เด็กได้มีโอกาสรู้ว่า พาตี่ (พ้อเหล่ป่า) เป็นใคร? ได้ทำอะไรไว้บ้าง? ได้พูดอะไรไว้บ้าง? และคนอื่นๆหมายถึงคนภายนอกคิดกับคนชนเผ่าผ่านงานของพ้อเหล่ป่าอย่างไรบ้าง? อยากให้เด็กได้ภูมิใจในเผ่าพันธุ์และอยากลุกขึ้นมาทำอะไรต่อเพื่อชนเผ่า เสียดายที่รีบให้เด็กๆไปนอนเร็วเกินไป” สมาชิกวงสนทนาอีกคนกล่าวเสริม

คืนสุดท้ายของพ้อเหล่ป่าในร้านขายของชำที่รับแขกของพ้อเหล่ป่า ลูกสาวคนสุดท้องและสามีร้องเพลงถึงพ่อ พ้อเหล่ป่า

“ขอบคุณที่พ่อได้สร้าง ได้เลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ได้พร่ำสอนจนรู้ความ ไม่ขอบคุณอยู่ไม่ได้ ไม่พูดถึงอยู่ไม่สุข ขอพระเป็นเจ้าบนสวรรค์รับพ่อไปอยู่ด้วย” เพลงภาษาปกาเกอะญอจากลูกสาว

จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของพี่นนท์กับผม
“พี่นนท์ครับ ผมอยากร้องเพลง พ้อเหล่ป่า หลายๆรอบในคืนนี้ ให้มันติดหูชาวบ้าน ให้มันดังทั่วดอยในคืนสุดท้ายของพ้อเหล่ป่า” ผมบอกพี่นนท์

“ดีๆๆ เอาซัก สามรอบดีมั๊ย??” พี่นนท์ถาม
“ไม่คับ อย่างน้อยเก้ารอบ!” ผมตอบพี่นนท์
“เออ..นะ เอาให้จำกันไปเลย เฮอๆๆ น่าสนใจๆ” พี่นนท์ตอบพร้อมมือเริ่มกรีดสายกีตาร์ เสียงเพลงพ้อเหล่ป่าดังขึ้นเป็นครั้งแรกในคืนสุดท้าย เพลงผมเพลงพี่นนท์สลับกันไป เอาเพลงอาจารย์ลีซะมาร้องบ้างเนื่องจากท่านติดงานค่ายเยาวชน จึงไม่สามารถมาร่วมงานได้ในคืนสุดท้าย

เพลงพ้อเหล่ป่าดังอีกเป็นครั้งที่สอง เพลงอื่นสลับเข้ามาสามสีเพลง และเพลงพ้อเหล่ป่าดังขึ้นอีกเป็นรอบที่สาม สี่...จนรอบที่เก้า เราจึงบอกลาเวที

รุ่งเช้าขบวนชาวบ้านได้เคลื่อนศพพ้อเหล่ป่าสู่ป่าความเชื่อ ป่าแห่งคนตาย เป็นแดนคืนร่างสู่ธรรมชาติ ในขณะที่โลงศพถูกจ่อบนหลุม บทกวีพ้อเหล่ป่าดังขึ้นท่ามกลางฝูงชน

“เมื่อฉันจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่น เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริง..........................................................................................................................................................................ฉันไม่รู้หรอกว่า ความสะดวกสบายที่เราได้รับจะนำความสุขหรือความทุกข์มาให้คนภูเขา” ชายเสื้อดำร่ายบทกวีของพ้อเหล่ป่า คนร่วมไว้อาลัยต่างนิ่งเงียบฟังถ้อยคำกวีนั้นราวกับว่าไม่เคยได้ยินมาก่อน

บทกวีนั้นจบเพลงเตหน่ากูเริ่มขึ้น
“นกเขาขันที่ระเบียงบ้าน                          หากลมไม่พัด ใบไม้ไม่ไหว
มันเคยปรากฏมันเคยเกิดขึ้น                   ผู้เฒ่าจึงบอกกล่าว

นกน้อยแม่เจ้าคอยอยู่ที่รัง                       หากเจ้าบินกลับคืนสู่รัง
อย่าไปทาง ดูลอหร่า(นรก)                      จงกลับไปทาง ดูเตอวอ (สวรรค์)
มีทั้งหมกเขียด ลาปปลา                         มีทั้งส้มโอ มีทั้งเขียวหวานไว้รอรับเจ้า”

มีความตั้งใจเอาคำหรือเนื้อของเพลงธาปลือมา แต่ผมเปลี่ยนทำนองและผมไม่ร้องท่อนโย แปลก!!ไม่มีใครใส่ใจในเนื้อหา ต่างนิ่งจ้องดูนิ้วที่ดีดเตหน่ากูฟังทำนองเพลงที่ไม่เคยผ่านหูอย่างสงบ โดยไม่มีใครรู้สึกเหมือนเป็นธาปลือ หรือ เพลงศพ จึงรอดพ้นจากการถูกห้าม แต่ถึงจะห้ามก็ห้ามไม่นานแน่ เมื่อเพลงมันทำหน้าที่ของมันไปแล้ว

“เอาจนได้นะ ไอ้หลานชาย” พ่อเฒ่าคนเดิมที่เจอกันก่อนไปทานข้าวในคืนที่ผมมาถึง มาทักผมหลังจบเพลงกลางป่าช้าและยิ้มบางๆ แต่ใบหน้าปรากฏภาพความพึงพอใจออกมาชัดเจน ผมยิ้มแทนคำตอบเพราะผมรู้ว่าเมื่อการสนทนาถูกสานต่อ เรื่องบทเพลงต้องห้ามที่ผมร้องเมื่อครู่จะถูกเปิดเผย เขาคงรู้ว่าผมคิดอะไร เขายิ้มตอบพร้อมกับตบหลังผมเบาๆ

เมื่อพิธีทางศาสนาคริสต์จบ โลงศพพ้อเหล่ป่าถูกหย่อนลง ทันใดนั้นหลุมดินอ้าแขนรับร่างไร้วิญญาณนั้นกลับมาเป็นเนื้อเดียวกับผืนดิน เติมให้ผืนดินเต็มอีกครั้ง เสียงต้นไม้ทั้งป่าต่างตะโกนร้อง “ต่า เต๊ะ โดะ ฮ่อ โข่”
 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ