Skip to main content

เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง

"ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ หรือบทเพลงแห่ศพของคนปกาเกอะญอขึ้นมาทันที

เนื่องจากที่มาของเพลงแห่ศพหรือที่คนปกาเกอะญอเรียกว่า "ธาโยต่า" นั้น มันมีที่มาจากการเรื่องเล่าว่า ในอดีตคนปกาเกอะญอมีเมืองอยู่ที่ "เหว่กิแม" หรือเมืองที่ลายด้วยงา ว่ากันว่าเมืองปกาเกอะญอในอดีตนั้นมีช้างเป็นจำนวนมาก มองไปทางไหนจะเห็นงาช้างเกือบทุกมุมเมือง จึงเรียกเมืองนั้นว่า เมืองที่ลายด้วยงา และรูปร่างแดนแดนของคนปกาเกอะญอในสมัยนั้นมีรูปร่างเหมือน ปี่เขาควาย คือมีลักษณะโค้งเว้า โดยมีแม่น้ำกิแมกั้นระหว่างเมืองปากเกอะญอกับเมือง "โก หว่า" หรือเมืองคนลัวะ

 

ที่คนปกาเกอะญอเรียกว่าคนลัวะว่า โกหว่า เพราะว่า เมืองคนลัวะอยู่ฝั่งแม่น้ำโกโกละ คือทางแม่น้ำโขง ส่วนคนปกาเกอะญอทางฝั่ง "โค่โกละ" หรือทางฝั่งสาละวิน แต่เป็นสาละวินทางฝั่งตะวันออก "โก" หมายถึงแม่น้ำโขง "หว่า" หมายอีกฝั่งหนึ่ง "โกหว่า" จึงหมายถึงฝั่งทางแม่น้ำโขง คนปกาเกอะญอจึงว่ากันว่า เมือง "กิแม" นั้น อยู่ในบริเวณที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งแม่น้ำปิงเป็นลำน้ำที่กั้นระหว่างเมืองปกาเกอะญอกับเมืองลัวะในอดีต

 

แต่มาวันหนึ่งมีเผ่าพันธุ์อื่นมารุกราน ปล้น ฆ่า ฟันทั้งคนในเมืองลัวะและเมืองคนปกาเกอะญอ ทำให้คนปกาเกอะญอต้องหนีกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง บ้างหนีขึ้นดอย บ้างหนีไปทางแม่สะเรียง แล้วข้ามฝั่งสาละวินแล้วไปอาศัยอยู่กับคนปกาเกอะญออีกกลุ่มใหญ่ทางลุ่มน้ำสาละวินทางฝั่งตะวันตกหรือรัฐกะเหรี่ยงในสหภาพพม่า ปัจจุบัน

 

ในการหนีภัยจากการถูกรุกรานครั้งนั้น ทำให้มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก ในงานศพจึงมีบทสวดร้องที่สาปแช่งคนหรือเผ่าพันธุ์ที่เข้ามารุกราน ปล้น ฆ่า และแย่งชิงบ้านเมืองของคนปกาเกอะญอไป โดยมีคำพูดที่พาดพิงถึงคนที่ทำให้คนปกาเกอะญอต้องหนีจากบ้านเมือง ต้องล้มหายตายจากกันคือ "คนโย" ธาโยต่า มีที่มาคือเป็นบทสวดที่สาปแช่ง "คนโย" โดยเฉพาะ เพราะคนโยคือสาเหตุที่ทำคนปกากอะญอต้องไร้บ้านไร้เมือง

 

ทุกวันนี้คนปกาเกอะญอยังคงเรียกคนในบริเวณล้านนาว่า "โย" คนโยเองมักจะเรียกคนปกาเกอะญอว่า "ญาง" ในขณะที่คนภาคกลางนั้นจะเรียกว่า "โยเตอหร่า" ซึ่งน่าจะมาจากอยุธยาเดิมนั่นเอง

 

ผมเคยคุยกับ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบอกผมว่า คนโย ที่ว่านี้ อาจเป็นไปได้ทั้ง โย ที่เป็น โยนกหรือคนแถบล้านนา หรือไม่ก็อาจเป็น โย ที่เป็นโยเดีย หรือคนอยุธยาก็เป็นได้ แต่ที่แน่ๆ คือ "คนโย" นั่นเองที่เป็นผู้รุกราน

 

เหตุการณ์ที่มีนโยบายอพยพคนออกป่ามันอาจจะไม่เหมือนเหตุการณ์ที่คนโยมาปล้นชิงเอาบ้านเมืองของคนปกาเกอะญอและคนลัวะในอดีตไป แต่มันก็คล้ายๆ กัน ผลของมันไม่ต่างกัน

 

"มันเอาอีกแล้ว ไอ้พวกโยนี่ ในอดีตมันเป็นอย่างไร ปัจจุบันมันก็ไม่เคยเปลี่ยน เห็นที่อยู่ที่กินของคนอื่นบูรณ์กว่า อยากจะได้มาเป็นของตนเอง พอมันได้มา มันก็ไปทำลายจน ดินเสื่อม น้ำแล้ง ป่าโทรม อากาศเสียหมด ไม่รู้มันจะทำไปถึงไหนกัน??" ผู้เฒ่าอาวุโสคนหนึ่งในชุมชนปกาเกอะญอบ่นอย่างหัวเสีย

 

"ต้องเอา ธาโยต่า มาใส่ในเพลงพาตี่ปูนุ เพราะคนโยอีกแล้วที่เป็นต้นเหตุทำให้เขาตาย" ผมนึกในใจตั้งใจทำอย่างนั้นขณะกำลังเขียนเพลง


 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ