Skip to main content

สิบกว่าปีผ่านไป ภายในบ้านของครูดอยผู้ช้ำใจจากการนำดนตรีปกาเกอะญอไปเล่นในโบสถ์


เขารู้สึกดีใจมากที่ลูกชายของเขามาขอเรียนดนตรีพื้นบ้านของคนปกาเกอะญอ ทั้งๆที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันต่างมุ่งหน้าเดินตามดนตรีตามกระแสนิยมกันหมดแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เขาเฝ้าคอยและหวังมาโดยตลอดที่จะมีคนมาสืบทอดลายเพลงของชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ๆ ของเขาหรือคนอื่นที่เป็นคนชนเผ่าเดียวกันก็ตาม ทำให้ฝันของเขาเริ่มเป็นจริงว่าทางเพลงแห่งวัฒนธรรมปกาเกอะญอจะไม่สิ้นสุดในยุคของเขา


แต่เขารู้สึกตกใจ เมื่อลูกชายบอกเขาว่า จะนำเตหน่ากู ไปเล่นในคืนคริสตมาสปีนี้ที่โบสถ์ในชุมชน

ลูกแน่ใจนะ ว่าจะเล่นในโบสถ์” ขาถามลูกชายของตนเอง พร้อมๆกับนึกถึงเหตุการณ์ตอนที่ถูกต่อว่ากลางงานประชุมสมัชชาคริสตจักรกะเหรี่ยงภาคมูเจะคี เมื่อสิบปีก่อน


เขายังรู้สึกหวั่นๆ ไม่น้อย เพราะกลัวเหตุการณ์จะซ้ำรอยเดิม แล้วลูกจะทนรับความกดดันไว้ไม่ไหว หากมีคำพูดเชิงตำหนิเกิดขึ้นหลังจากไปเล่นในโบสถ์ สิ่งที่เขากังวลมากกว่านั้นคือ กลัวว่าลูกเขาจะทิ้งเสียงและสำเนียงเพลงแห่งนกเขาป่าไปในที่สุด

แน่ใจ เล่นซิ! ผมเป็นแค่เด็ก เค้าคงไม่ว่าอะไรหรอกมั้ง!” ลูกชายยืนยัน


ด้วยความกระชั้นชิดที่วันเวลาในการแสดงใกล้จะถึงทำให้เวลาในการร่ำเรียนและฝึกฝนการเล่นเตหน่ากู มีแค่สามคืนเท่านั้น แต่สามคืนก็เพียงพอที่ทำให้ลูกชายจะโดนพ่อเขกหัวไปหลายดอก เนื่องจากเล่นและร้องไม่ได้ดั่งใจพ่อ

 

เมื่อคืนคริสตมาสได้มาถึง ในชุมชนมีการเฉลิมฉลองกันอย่างเรียบง่ายตามประสาคริสตจักรบนดอย แต่ก็ไม่ทิ้งความสนุกสนานรื่นเริง เฮฮา บทเพลงแล้วบทเพลงเล่าได้ถูกขับร้อง ละครเวที เรื่องการกำเนิดของกุมารน้อยเยซู ได้ถูกนำมาแสดงซ้ำอีกเช่นเคย เด็กๆ ต่างมีส่วนร่วมในการแสดงและการร้องในคืนคริสตมาสอย่างถ้วนหน้า


ในไม่ช้าก็ถึงลำดับการแสดงของเขา เขาขึ้นไปแบบเคอะเขิน เหนียมอายและตื่นๆ เวที เนื่องจากยังไม่คุ้นเคยและไม่ค่อยมั่นใจกับเครื่องดนตรีที่เขาจะเล่นในคืนนี้เท่าใดนัก แต่เขารู้สึกว่า ถึงวินาทีนี้เขาต้องเล่นให้ได้ อย่างน้อยก็ให้จบเพลงที่ฝึกมา

 
พ่อของเขาไม่กล้าไปดูลูกเล่นเตหน่ากูในโบสถ์ เพียงแต่ให้คำแนะนำสำหรับการเล่นบนเวที ให้ระวังในเรื่องการเขินอาย การประหม่า ให้ทำตัวสบายๆ แต่ผู้เป็นมารดานั้น ได้ไปให้กำลังใจลูกอย่างใกล้ชิด


เขาขึ้นไปบนเวทีพร้อมกับลากเก้าอี้มานั่งด้วยตนเอง ท่าทางและรูปร่างของเครื่องดนตรีของเขาเรียกเสียงหัวเราะจากคนที่มาในงานคืนนั้น แม้มันจะเป็นเครื่องดนตรีของชนเผ่าปกาเกอะญอ แต่มันก็ห่างเหินไปจากสายตาและความรู้สึกของคนในชนเผ่ามานาน อยู่ๆ ก็มีเด็กตัวเล็กหยิบเครื่องดนตรีที่ไม่ค่อยมีคนเล่นแล้วและไม่รู้ว่าเล่นเป็นหรือเปล่า จึงทำให้เป็นเรื่องขำขันสำหรับผู้คนในวันนั้น


เมื่อเขาจัดที่นั่งตนเองจนลงตัวแล้ว เขาเริ่มดีดสายเตหน่ากูอย่างตั้งใจเป็นพิเศษ จนเขาดูตัวแข็ง ไม่ลื่นไหลเป็นธรรมชาติ เขาเริ่มร้องเพลงตามแบบเสียงสั่นๆ


มีเรื่องราวราวหญิงสาวปกาเกอะญอ ชื่อ “หน่อฉ่าตรู” ที่หายไปในเมืองโย ทำให้ทุกอย่างในชุมชนปกาเกอะญอ เปลี่ยนไป ครกตำข้าวไม่ดังอีกต่อไป แม้กระทั่งไก่ก็หยุดขับขานเสียง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ในชุมชนหมดไป แต่ยังพอมีหวังคือต้องพยายามเรียกหน่อฉ่าตรูให้กลับมา โดยใช้เสียงของเตหน่ากู ใช้วัฒนธรรมของชนเผ่าให้หน่อฉ่าตรูตื่นจากภวังค์ และกลับมาคืนชีวิตชีวาสู่ชุมชน


เป็นเนื้อเพลงที่พ่อเขาตั้งใจสอน ตั้งใจจะบอก และสื่อสารอะไรบางอย่างแก่คนในคริสตจักร ปกาเกอะญอ ผ่านเสียงเพลง


เมื่อร้องเพลงจบ เขาเดินลงเวทีอย่างรวดเร็วโดยไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น เขาเดินจากไปผ่านผู้มาร่วมงานในวันนั้น มิวายเขายังได้ยินคำพูดที่แว่วดังมาจากฝูงชน


เชื้อพ่อมัน ไม่ทิ้งแถวเลย เมื่อก่อนพ่อมันเคยเล่นเตหน่ากูในโบสถ์และเคยโดน เสอหระโดะ (ศาสนาจารย์) ต่อว่าให้ครั้งหนึ่งแล้ว ตอนนี้ลูกชายมันเอาอีกละ ดีที่วันนี้เส่อหระโดะไม่อยู่ แต่มันก็เล่นจนจบเพลงได้ แสดงว่าพ่อมันตั้งใจสอน” เขาเดินผ่านทำเป็นไม่สนใจก้าวเท้าเดินกลับไปที่บ้านเพื่อไปเก็บเครื่องดนตรี


พอกลับไปที่บ้าน จึงได้วางเตหน่ากูเก็บไว้ตามที่อยู่มุมเดิมของมันอย่างสงบเสงี่ยม พ่อจ้องมองอากัปกิริยาของลูกชาย


เล่นเป็นไงมั่ง?” พ่อเอ่ยปากถาม

ได้มาห้าบาทคับ” เหมือนตอบไม่ค่อยตรงคำถาม

ใครให้เหรอ?” พ่อถามต่อ

แม่คับ” เขาตอบพ่อพร้อมกับหยิบเหรียญขึ้นมาอวดให้พ่อดู

แม่เอ็งก็เหลือเกินนะ เห่อลูกซะจริงๆ” พ่อพูดพร้อมกับหัวเราะ


แต่พ่อของเขาโล่งอก เขารู้สึกเหมือนเป็นการกลับมาของบทเพลง และดนตรีวัฒนธรรมปกาเกอะญอในสังคมคริสตเตียนปกาเกอะญอ สร้างความหวังให้หัวใจคนเล่นดนตรีพื้นบ้านปกาเกอะญอชื้นขึ้นมาบ้าง พอเห็นโอกาสในการเข้าไปมีส่วนเปล่งเสียงในโบสถ์บ้าง


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…