Skip to main content
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี

 

"โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา

"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน


ระหว่างที่นั่งทานข้าวที่ห้องโถง ผมแอบได้ยินบทสนทนาของคนที่อยู่ในบ้านโดยบังเอิญหรือโดยความตั้งใจก็มิทราบ

 

"ก็บอกกันแล้ว! ว่าไม่ให้ใครร้องบทธา หรือธาปลือใดๆทั้งนั้น" เสียงของผู้ชายในบ้าน

"ฉันก็ว่าอย่างนั้นแหละ เค้าเกือบจะร้องแล้ว ถ้าเกิดพี่สาวไม่เป็นลมเสียก่อนมันก็จะร้องจริงๆ" เสียงผู้หญิงสนทนาตอบ

"เมื่อกี้ มันจะร้องอีกครั้งพี่สาวก็เป็นลมอีก ฉันจึงต่อว่าเขาไปสองสามดอก แล้วมันก็หยุด" เสียงผู้หญิงอีกคน

 

ผมพยายามนั่งทานข้าวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ความรู้สึกในใจผมสับสนอย่างแรง ความตั้งใจ ความคาดหวังระหว่างที่เดินทางมาถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง มีการจุดธูปไหว้ศพได้? แต่ร้องธาปลือไม่ได้? มันอะไรกันแน่? แต่สิ่งที่ผมรู้อย่างหนึ่งคือ สำหรับงานศพครั้งนี้ ธา ปลือยังเป็นเพลงต้องห้ามอย่างเคร่งครัด ช่างเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่งานของขุนพลเพลงธาแท้ๆ แต่ไม่มีการร้องเพลงธา โดยเฉพาะ ธา ปลือ ซึ่งเป็นธาสำหรับคนตาย

 

รู้สึกรสชาติของอาหารเย็นมื้อนี้มันเปลี่ยนไปจากตอนเริ่มทานแรกกับตอนที่ได้ยินบทสนทนาภายในบ้าน อย่างไรก็ตาม หากทำแล้วเกิดความขัดแย้งก็ควรชะลอไว้ก่อน ค่อยๆสร้างความเข้าใจกันใหม่ สร้างพื้นที่กันใหม่

 

บ้านหลังที่ติดร้านขายของชำเป็นบ้านลูกสาวคนสุดท้องของพือพอเหล่ป่าที่กำลังได้เกือบครึ่งทางแล้ว มีการเขียนข้อความ "ดนตรีถึงพ่อ....พ้อเหล่ป่า" ตรงหน้าระเบียงทางเข้าบ้าน ความมืดคลุมยอดดอยจนทั่ว แต่ความเงียบไม่สามารถเอาชนะสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านได้ ประมาณสองทุ่มครึ่ง ปรากฏร่างอาจารย์ลีซะและภรรยารวมทั้งพี่นนท์ อยู่ใต้ข้อความที่ระเบียงทางเข้าบ้านของลูกสาวคนสุดท้องของพือพอเหล่ป่า ดนตรีถึงพ่อ..พ้อเหล่ป่า จึงเริ่มขึ้น

 

เริ่มต้นด้วยเพลง "พ้อเหล่ป่า ผู้เฒ่าแห่งแม่แฮ เขียนชีวิตเขียนแผ่นดินด้วยเลือดเนื้อ พ้อเหล่ป่า ผู้เฒ่าแห่งแม่แฮ เขียนชีวิตเขียนแผ่นดินด้วยวิญญาณ" ต่อด้วยเพลงเราคือคนปกาเกอะญอ

 

"เพลงเราคือคนปกาเกอะญอ ผมได้แนวคิดมาจากหนังสือ "ปกาเกอะญอ ข้าคือคน" ของพ้อเหล่ป่า พ้อเหล่ป่าเป็นปกาเกอะญอในประเทศไทยรุ่นบุกเบิกที่เดินทางบอกเล่าเรื่องราวปกาเกอะญอ การเดินทางเข้าเมืองในยุคแรกๆนั้น บางครั้งเดินหลงทางในเมือง บางครั้งเดินชนกระจกในตึกใหญ่ แต่ก็ยังคงบอกเล่าตำนานด้วยชีวิต" อาจารย์ลีซะกล่าวหลังจากจบเพลง

 

"ผมเป็นคนจากดินแดนอื่น ครั้งแรกที่ผมมาเจอพ้อเหล่ป่า ผมได้ขอเป็นญาติ เพราะผมเห็นตัวหนังสือเดินได้จากแม่แฮคีและออกเดนทางไปทั่วประเทศ เด็กรุ่นใหม่ได้รับรู้ว่าพาตี่ทำอะไรบ้าง คนข้างนอกได้รู้จัก นักเขียน นักคิด นักอ่าน นักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท จนถึงดอกเตอร์ ได้รู้จักปัญญาคนคนปกาเกอะญอ" พี่นนท์กล่าวหลังจากร้องเพลง "สัตว์ป่า" จบ

 

บรรยากาศ หน้าระเบียงซึ่งเป็นถนนภายในหมู่บ้านถูกปิดชั่วคราว โดยแปลงเป็นที่นั่งสำหรับชมดนตรีถึงพ่อ..พ้อเหล่ป่า เด็กรุ่นใหม่นั่งนิ่งฟังเพลง ผู้เฒ่า ผู้แก่ พ่อบ้านแม่บ้านน้องจ้องไปบนเวทีเหมือนดูสิ่งมหัศจรรย์บางอย่าง ในขณะที่อาจารย์ลีซะและพี่นนท์ยังคงบรรเลงบทเพลงต่อ


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
สิบกว่าปีผ่านไป ภายในบ้านของครูดอยผู้ช้ำใจจากการนำดนตรีปกาเกอะญอไปเล่นในโบสถ์ เขารู้สึกดีใจมากที่ลูกชายของเขามาขอเรียนดนตรีพื้นบ้านของคนปกาเกอะญอ ทั้งๆที่เด็กรุ่นราวคราวเดียวกันต่างมุ่งหน้าเดินตามดนตรีตามกระแสนิยมกันหมดแล้ว นี่เป็นสิ่งที่เขาเฝ้าคอยและหวังมาโดยตลอดที่จะมีคนมาสืบทอดลายเพลงของชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขแท้ๆ ของเขาหรือคนอื่นที่เป็นคนชนเผ่าเดียวกันก็ตาม ทำให้ฝันของเขาเริ่มเป็นจริงว่าทางเพลงแห่งวัฒนธรรมปกาเกอะญอจะไม่สิ้นสุดในยุคของเขา แต่เขารู้สึกตกใจ เมื่อลูกชายบอกเขาว่า จะนำเตหน่ากู ไปเล่นในคืนคริสตมาสปีนี้ที่โบสถ์ในชุมชน “ลูกแน่ใจนะ ว่าจะเล่นในโบสถ์”…
ชิ สุวิชาน
ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของชุมชนปกาเกอะญอที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์แล้ว บทเพลง ธา ทุกหมวด กลายเป็นบทเพลงที่ถูกลืมเลือน ถูกทิ้งร้างจนเหมือนกลายเป็นบทเพลงแห่งอดีตที่ไม่มีค่าแก่คนยุคปัจจุบัน โมะโชะหมดความหมาย เมื่อคนปกาเกอะญอเริ่มเรียนรู้การคอนดัก (Conduct) เพลงแบบในโบสถ์แบบฝรั่ง เพลงธา ไร้คุณค่า เมื่อมีเพลงนมัสการที่เอาทำนองจากโบสถ์ฝรั่งมา เครื่องดนตรีปกาเกอะญอถูกมองข้ามเมื่อมีคนดนตรีจากตะวันตก เช่น กีตาร์ กลองชุด แอคคอร์เดียน เมาท์ออร์แกน ฯลฯ เข้ามา “โด โซ โซ มี โด มี โซ ready… sing ซะหวิ” ประโยคนี้มักจะเป็นประโยคเริ่มต้นของคนที่เป็นผู้นำวงร้องประสานเสียงพูดนำก่อนร้องเพลง…
ชิ สุวิชาน
หลัง ธาหมวด แป่โป่ แปซวย แล้ว ก็จะต่อด้วย ธาหมวดโข่เส่ คะมอ ตามด้วย หมวดโดยมีเด็กชายนำการเดินวนอยู่เหมือนวันแรก  และหมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขานต่อจาก หมวดโข่ เส่ คะมอ ต่อด้วย หมวด เชอเกปลือ  หมวดฉ่อลอ หมวดแกวะเก  หมวดธาชอเต่อแล จากนั้น หมวดธาเดาะธ่อ จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการกลับมาอย่างแน่นขนัดของหนุ่มสาวเช่นเดิม เมื่อธาเดาะธ่อหรือเริ่มต้นมาแล้ว ก็จะมีหมวดธา เดาะแฮ, หมวด ธาเดาะเหน่,หมวด ธาลอบะ ,หมวด ธา ลอกล่อ ซึ่งล้วนแต่เป็น ธา หน่อ เดอ จ๊อหรือธา หนุ่มสาว ซึ่งตั้งแต่ ธา หมวด เดาะธ่อ เป็นต้นไป ถือว่าเป็น เพลงธา ที่สามารถขับขานเป็นปกติได้ทุกโอกาส ทุกสถานที่…
ชิ สุวิชาน
เมื่อได้ยินหมวด ธา ธาชอเต่อแล หนุ่มสาวต่างขยับเข้ามาในวงเพลงธามากขึ้น เพื่อเริ่มงานของหนุ่มสาว ธาชอเต่อแลจึงเปรียบเสมือน หมวดที่เชื้อเชิญหนุ่มสาวเข้าสู่การขับขานเพื่อต่อเพลงธากัน โดยมีโมะโชะฝ่ายหญิงแลโมะโชะฝ่ายชายเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละฝ่าย เวทีการดวลภูมิรู้เรื่องธาที่ขุนเพลงธาโปรดปรานได้เกิดขึ้นอีกครั้งในคืนงานศพ หมวดแห่งการดวลเพลงธา เริ่มที่หมวดธาเดาะธ่อ ซึ่งแปลว่า ธาเริ่มต้น ส่วนใหญ่เป็นธาที่ว่าด้วยความรัก ความสามัคคี ความร่วมไม้ร่วมมือ เพื่อให้คนที่มาร่วมงานตระหนักและสำนึกเสมอว่า เป็นคนในชุมชนเดียวกัน ชนเผ่าเดียวกัน สังคมเดียวกัน และโลกใบเดียวกัน ดังตัวอย่างธาที่ว่า   เก่อ…
ชิ สุวิชาน
หมวด ธาปลือลอ ได้เริ่มถูกขับขาน ซึ่งเป็นหมวดที่ว่าด้วย การจากไปสู่ปรโลก ซึ่งปกติแล้วก่อนที่คนจะตายมักมีลางสังหรณ์ปรากฎแก่คนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างเสมอ นั่นหมายความว่าถึงเวลาของผู้ตายแล้ว เวลาแห่งความตายนั้นย่อมมาถึงทุกคน เพราะฉะนั้นก่อนตายควรทำความดีหรือทำคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินถิ่นเกิดที่เราอาศัยอยู่ตอนมีชีวิตให้มากที่สุด เมื่อลางสังหรณ์มาถึงเราจะได้จากอย่างหมดทุกข์หมดห่วง ตัวอย่าง ธา หมวดนี้เริ่มต้นดังนี้ มี หม่อ เคลอ ฮะ เหน่ อะ เด                 มีหม่อ คอ ฮะ เหน่ อะ เด เต่อ เหม่ เคลอ ฮะ เหน่ อะเด      …
ชิ สุวิชาน
“โมะโชะมาแล้ว” ชายหนุ่มคนหนึ่งกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น เมื่อเห็นร่างชายวัยปลายกลางคนเดินเข้ามา สายตาทุกดวงจึงมองไปที่ โมะโชะ เขาคือผู้นำในการขับขานเพลงธา เขาต้องเรียนรู้และพิสูจน์ตัวเองมาหลายปีกว่าเขาจะได้รับตำแหน่งนี้ หน้าที่รับผิดชอบสำหรับตำแหน่งนี้คือการเป็นผู้นำในการขับขานธาในพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเช่น งานแต่ง หรืองานตาย บางชุมชนทั้งหมู่บ้านไม่มีโมะโชะเลย เวลามีงานต้องไปยืมหรือเชื้อเชิญโมะโชะจากชุมชนอื่นที่อยู่ใกล้ ว่ากันว่าชุมชนที่สมบูรณ์นอกจากต้องมีผู้นำชุมชนตามประเพณีที่เรียกว่า ฮี่โข่ ต้องมีจำนวนหลังคาในชุมชนมากกว่า 30 หลังคาเรือนแล้ว…
ชิ สุวิชาน
ช่วงเย็นหลังจากที่ทำงานในไร่ และกำลังจะนั่งกินข้าวร่วมครอบครัว “ลุงเร็ว ปู่ วาโข่ หายใจขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้หายใจลงแล้ว” หลานชายมาวงข่าวเกี่ยวกับพือวาโข่ซึ่งเป็นพ่อของเขา เขาละจากวงทานข้าวของครอบครัว แล้ววิ่งไปหาพ่อทันที พือวาโข่ เป็นฉายาที่เด็กๆ ในหมู่บ้านและหลานๆเ รียกชื่อผู้เฒ่าผู้ชายที่อาวุโส จนผมหงอกทั้งหัว พือหมายถึงพ่อเฒ่า วาโข่หมายถึง ผมขาว หากเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า พีวาโข่ พีแปลว่าแม่เฒ่า นั่นเอง คนรุ่นนี้จะเป็นที่รักใคร่ของลูกหลานทั้งในครอบครัวและในชุมชน เพราะถือเป็นทรัพยากรบุคคลของชุมชนทีมีค่า หากมีปัญหาเกิดขึ้นในชุมชนที่คนรุ่นใหม่ไม่สามารถหาทางออกได้…
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศในบ้านเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีเสียงเตหน่าบรรเลงในบ้านไม่เว้นแต่ละคืน  บางคืนเป็นเสียงเตหน่า ลายเดิมที่ผู้เป็นพ่อเป็นคนถ่ายทอด  แต่บางคืนมีเสียงเตหน่าลายแปลกออกมาจนผู้เป็นพ่ออดไม่ได้จนต้องเงี่ยหูฟัง  นานแล้วที่เจ้าของเสียงเตหน่ากูห่างหายไปจากการร่ำเรียนวิชาจากพ่อ  แต่วันนี้เขากลับมาหาครูผู้สอนเตหน่ากูของเขาอีกครั้ง แน่นอนมันต้องมีอะไรบางอย่างสงสัยจึงต้องมา"พ่อผมจะไปล้มไม้มาทำเตหน่ากู ควรจะหาไม้อย่างไรดี" ประโยคแรกที่เขามาถามพ่อ"จริงๆ แล้วไม้อะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้เป็นไม้ที่โค้งงอ แต่คนสมัยก่อนเขานิยมใช้ไม้เก่อมา หรือภาษาไทยเรียกว่าไม้ซ้อ…
ชิ สุวิชาน
มีบทธา ซึ่งเป็นบทกวีหรือสุภาษิตสองลูกสอนหลานของคนปกาเกอะญอมากมาย ที่กล่าวถึงเตหน่ากูเครื่องดนตรีดั้งเดิมของคนปกาเกอะญอ แต่ในตรงนี้จะยกมาเพียงส่วนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่างเบื้องต้นของ ธา ที่กล่าวถึงเตหน่ากู 1. เตหน่า อะ ปลี เลอ จอ ชึ             เด เต่อ มึ เด ซึ เด ซึ2.เตหน่า เลอ จอ แว พอ ฮือ            เต่อ บะ จอ จึ แซ เต่อ มึ3.เตหน่า ปวา แกวะ ออ เลอ เฌอ      เด บะ เก อะ หล่อ เลอ เปลอ4.เตหน่า ปวา เจาะ เลอ เก่อ มา     …
ชิ สุวิชาน
ลูกชายหายหน้าไปจากการเรียนรู้การเล่นเตหน่ากูกับพ่อเป็นหลายสิบ จนผู้เป็นแม่ที่คอยหุงอาหารให้หมูในตอนหัวค่ำเกิดคำถามต่อผู้เป็นพ่อ “ไอ้ตัวเล็กมันเล่นเป็นแล้วเหรอ? มันถึงไม่มาฝึกเพิ่ม” แม่ถามพ่อซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามกะบะไฟดินในบ้าน “มันบอก มันจะฝึกเอง มันคงไปฝึกที่บ้านผู้สาวมั้ง?” พ่อตอบแม่พร้อมกับสันนิษฐานพฤติกรรมของลูกชาย “มันก็ธรรมดาแหละ วัวตัวผู้พอมันเริ่มเป็นหนุ่ม มันก็เริ่มแตกฝูงไปหาตัวเมียในฝูงอื่น ก็เหมือนพ่อตอนเป็นหนุ่มนั่นแหละ อยู่บ้านอยู่ช่องซะที่ไหน กลางค่ำกลางคืนดึกแล้วไล่กลับบ้านก็ไม่ยอมกลับ ค่ำไหนค่ำนั้น มาหาทุกคืน” แม่เปรียบเทียบให้พ่อฟัง
ชิ สุวิชาน
“วิธีการเล่นล่ะ? แตกต่างกันมั้ย?” ลูกชายถามพ่อ “ถ้าเล่นอย่างไดอย่างหนึ่งได้นะ ก็เล่นอีกอย่างได้เองแหละ ขอให้เข้าใจวิธีการตั้งสายเถอะ อย่าตั้งสายเพี้ยนละกัน” พ่อบอกและย้ำกับลูกชาย “งั้นพ่อสอนเพลงอีกซักเพลงที่เล่นแบบเมเจอร์สเกลนะ” ลูกขอวิชาจากพ่อ “เอาซิ! เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นกับเตหน่ากูบ่อยๆ อีกเพลง ร้องตามนะ” พ่อเริ่มร้องนำ ลูกจึงเริ่มร้องตาม
ชิ สุวิชาน
สองสามคืนผ่านไป ลูกชายไม่ได้มายุ่งกับพ่อ แต่คืนนี้ภายในบ้านไม้ไผ่ หลังคาตองตึงทรงปวาเก่อญอหลังเดิม ลูกชายถือเตหน่ากูมาอยู่ข้างพ่ออีกครั้ง “ลองฟังดูนะ ใช้ได้หรือยัง?” ลูกชายพูดจบเริ่มดีดเตหน่าและเปล่งเสียงร้องเพลงแบบไมเนอร์สเกลให้พ่อฟัง แต่ด้วยความตั้งใจมากไปหน่อยทำให้การเล่นบางครั้งมีสะดุดเป็นช่วงๆ แต่ลูกชายไม่ยอมแพ้และไม่ยอมหยุด เล่นและร้องให้พ่อซึ่งเป็นครูสอนเตหน่ากูให้เขาจนจบเพลง “ฮึ ฮึ ก็ดี เริ่มต้นได้ขนาดนี้ก็ไช้ได้” พ่อตอบเขาแบบยิ้มๆ “แล้วพ่อจะสอนอีกแบบหนึ่งได้หรือยัง?” เขามองหน้าพ่อ “อ๋อ ที่มาเล่นให้ฟังนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าเล่นไมเนอร์ได้แล้ว จะขอเรียนแบบเมเจอร์ต่อว่างั้นเถอะ”…