Skip to main content
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที

 

แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้ว

ดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติ

พ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทน

ถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ             หัวใจของแม่อย่าได้ละลายไปตามไฟเศร้า


โอ้แม่จ๋า แผ่นดินคนปกาเกอะญอ                      ต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวี

แม่จ๋า แม่จ๋า โอ้แม่ที่รักจ๋า                                ตายในสนามรบดีกว่าตกเป็นทาส

อย่าท้อในโชคชะตา อดทนอีกหน่อย                 ไม่นานลูกจะเก็บแผ่นดิน กอซูเล คืนมา

 

น้องของพี่เอ๋ย อย่าให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล        พ่อสั่งเสียให้พี่ชาย รับช่วงกู้ชาติ

เราถูกกดขี่ ข่มเหง อย่างไม่น่าจดจำ                  จงรักษาอุดมการณ์เพื่อการปลอดแอก

คอยเตือนน้องๆและคอยดูแลแม่ ทำไร่              ตำข้าว หาฟืน ตักน้ำและหุงข้าว

อยู่กินลำบาก ดีกว่าตกเป็นทาส                        อย่าคิดกอบโกยเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

 

(เพลง มาลอ เนอแหม่ที เต่อเก ของฉ่า เก โดะ ที อัลบั้ม โอะ แผล่ เลอ ก่อ ซู เล)

 

บทเพลงค่อยๆเคลื่อนหายไปตามระยะห่างจากหมู่บ้าน จนเสียงเงียบ เย็นนั้นไร้เสียงเพลงเดินทางกลับของเด็กชายผู้ดักไซ พ่อแม่นอนไม่หลับทั้งคืน แต่ไม่กล้าออกไปตามตอนกลางคืน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าฤดูนี้กองกำลังทหารพม่าเริ่มเคลื่อนพลเข้ามา เมื่อเขาเห็นพบกับชาวบ้านเขาจะจับตัวเพื่อเค้นถามเกี่ยวกับข้อมูลของทหาร เค เอ็น ยู หากไม่บอกอาจถูกทำร้ายหรือถูกจับไปเป็นลูกหาบ หรือไม่ก็ไปเป็นโล่มนุษย์เพื่อกันระเบิดหรือกระสุนเป็นได้ง่ายๆ

 

เช้ามืดพ่อตื่นมาดูไม่เห็นไซในตำแหน่งที่คุ้นเคย ไร้กลิ่นคาวปลา ไร้เสียงฮึมอัมเพลง การกระจายข่าวแบบปากต่อปากภายในหมู่บ้านเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กชายเริ่มทำหน้าที่ ผู้คนในชุมชนต่างสันนิษฐานไปต่างๆนานา บ้างก็ว่าเขาคงนอนเฝ้าไซ บ้างก็ว่าเขาคงเจอเพื่อนต่างหมู่บ้านแล้วตามไปค้างด้วย ยังไม่มีใครกล้าสันนิษฐานในเรื่องที่ไม่อยากให้เกิด กระทั่งอาทิตย์เคลื่อนตัวสู่ฟ้าสูงขึ้น ผู้นำชุมชนมีความเห็นร่วมกันว่าจะลองตามรอยเด็กชายไปถึงโค้งน้ำที่ห้าในพื้นที่เปาหมายที่เขาจะไปวางไซ

 

เมื่อขบวนค้นหาเดินทางมาเลยโค้งน้ำที่สี่ห่างจากหมู่บ้าน เห็นร่องเท้าข้างหนึ่งของเด็กชายอยู่ข้างทาง ทุกคนเริ่มไม่สบายใจ เดินไปไม่ถึงสิบก้าวเห็นไซที่ยังไม่ได้วางตกอยู่ แต่สภาพไซเสียหายเหมือนถูกยื้อแย่งทุกคนเริ่มทำใจ เดินไปอีกก่อนถึงโค้งน้ำที่ห้าห่างจากหมู่บ้านเห็นเสื้อของเด็กชายห้อยติดอยู่กับกิ่งไม้ ทุกคนจึงมั่นใจไม่เป็นอย่างอื่น

 

"ทหารพม่านอกจากขึ้นชื่อในการเผาหมู่บ้าน ฆ่าขมขืนผู้หญิงแล้ว ที่ไม่แพ้กันคือการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กผู้ชาย ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชายมักจะไม่รอด เพราะคนที่ถูกละเมิดเองไม่ยอมง่ายๆ ทำให้จุดจบทุกคนจะเหมือนกัน" ผู้เล่าเรื่องของเด็กชายอธิบายให้ฟัง

 

"ต่อมาสามวัน มีหน่วยข่าวกรองของกะเหรี่ยงได้ข่าวที่มีที่มาจากกองกำลังทหารพม่าว่า ได้มีสังหารเด็กชายกะเหรี่ยงคนหนึ่ง เนื่องจากร้องเพลงปฏิวัติของ ฉ่า เก โดะ ที ซึ่งเป็นเพลงต้องห้ามของรัฐบาลพม่า จากนั้นในหมู่บ้านไม่มีใครร้องเพลง ฉ่า เก โดะ ที อีกเลย หลงจากเพลงปฏิวัติไม่มีคนร้อง ดูเหมือนพลังของการปฏิวัติก็ลดลง"ผู้เล่าคนเดิมเล่าให้ฟังว่า

 

มันมีพลังมากกระนั้นหรือ? แม้สงสัย แต่ต้องเก็บมันไว้ ปล่อยให้วันเวลาได้ช่วยให้เกิดความกระจ่าง เวลาสามารถทำงานได้ เปิดพื้นที่ให้เวลาและลงทุนเกี่ยวกับเรื่องเวลาและต้องไม่ปราศจากความเชื่อ เหมือนพี่น้องปกาเกอะญอในประเทศพม่ารอการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในดินแดนของตน แต่ความเชื่อต้องมีการกระทำควบคู่ไปด้วย หกสิบเอ็ดปี เป็นตัวยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ทำคนเดียวกลุ่มเดียวบางทีอาจไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น จำเป็นที่ต้องมีมิตรที่รักความเป็นธรรมให้การช่วยเหลือด้วยเช่นกัน พี่น้องปกาเกอะญอในประเทศพม่ากำลังให้ความสนใจจับตาดูการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศคู่เจรจา และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 17-23 ..2552 นี้ว่าจะมีมาตรการอะไรออกมาเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแผ่นดินที่ต้องมนต์สาบกลิ่นสงครามและความทุกข์เข็ญของประชาชนมาเป็นเวลามากกว่า หกสิบปีแห่งนั้นหรือไม่ หรือเป็นเพียงฉากเดิมของโรงละครอำนาจรัฐอาเซียนเท่านั้น?

 

 

 

 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า?…
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า…
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้…
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
ชิ สุวิชาน
พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้ฟังพาตี่ทองดี จึงร้องเพลงธาปลือให้ฟัง จนกระทั่งถึงท่อน โย เย็นนั้นระหว่างงาน พี่นนท์จึงถามคำแปลของเพลงเหล่านั้น หลังจากเสร็จงานนั้นเพลงเส่อเลจึงมีการต่อเติมจนเป็นเพลงขึ้นมาจนได้ “พี่นึกถึงหญิงสาวที่ต้องโตขึ้นมาอย่างลำบาก นึกถึงพัฒนาการการเติบโตของชีวิต ต้องตามพ่อตามแม่ปลูกข้าว กว่าจะโตเป็นสาวต้องผ่านการตรากตรำทำงานอย่างลำบาก พี่เลยจินตนาการการตายของเธอว่า เป็นการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า”
ชิ สุวิชาน
แม้ว่าฤดูเกี่ยวข้าวมาถึงแล้วแต่ฝนยังคงโปรยปรายลงมาอยู่ คนทำนาได้แต่ภาวนาว่าขออย่าตกตอนตีข้าวก็แล้วกัน เพราะฝนตกตอนตีข้าวนั้นมันยิ่งกว่าค่าเงินลอยตัวเสียอีก ผมเตรียมตัวกลับบ้านอีกครั้งเพื่อกลับไปเกี่ยวข้าว ผืนนาที่เคยวิ่งเล่นตอนเด็กๆกวักมือเรียกผมจากเมืองคืนสู่ทุ่งข้าวเหลืองอีกฤดู ซึ่งก็ได้จังหวะพอดีที่พ่อผมลงมาทำธุระที่เชียงใหม่ ทำให้ผมได้อาศัยรถของพ่อในการกลับครั้งนี้
ชิ สุวิชาน
ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย “ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก…
ชิ สุวิชาน
มีผู้อาวุโสปกาเกอะญอ                  แห่งหมู่บ้านโขล่ เหม่ ถ่า ผู้ซึ่งไม่มีชื่อเสียงเรืองนาม              เขาคือ พาตี่ ปูนุ ดอกจีมูอยู่กับลูก อยู่กับเมีย                     ตามป่าเขาลำเนาไพรท่ามกลางพืชพันธุ์แมกไม้              ทั้งคน ทั้งป่าและสัตว์ป่าทำไร่หมุนเวียน ทำนา …
ชิ สุวิชาน
เพื่อเป็นการรำลึกแห่งการครบรอบการจากไป 1 ปี ทางเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีความประสงค์ในการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพาตี่ปุนุ ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าคนหนึ่ง โดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการผลิตซีดีเพลงชุดหนึ่ง โดยมีพาตี่อ็อด วิฑูรย์ เป็นผู้ดูแลเนื้อร้องทำนองขับร้อง "ช่วยแต่งเพลง เกี่ยวกับปุนุ ให้หน่อย พาตี่แต่งไม่ทันแล้ว" พาตี่อ็อดมาบอกผม ผมจึงลงมือเขียนเพลงปูนุด้วยความรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ผมเขียนถึงคนตาย และต้องพูดถึงเหตุการณ์ในการตายของเขาด้วย จึงทำให้ผมนึกถึงบทเพลงคร่ำครวญในงานศพ…
ชิ สุวิชาน
ปี 2540 สถานการณ์การต่อสู้ของชุมชนที่อยู่กับป่าร้อนระอุขึ้นมาอีกระลอก เมื่อรัฐบาลของนายหัว ชวน หลีกภัย ได้มีนโยบายอพยพคนออกจากป่า นั่นหมายถึงชะตากรรมวิถีของคนอยู่กับป่าจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวง ชุมชนเดิม ที่อยู่ ที่ทำกินเดิมนั้นจะกลายเป็นเพียงที่ที่เคยอยู่เคยกินเท่านั้น ตัวแทนขบวนคนอยู่กับป่าจึงมีการขยับเคลื่อนสู่หน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง โดยมีเครือข่ายกลุ่มสมัชชาคนจนจากภาคต่างๆมาสมทบอย่างครบครัน กลายเป็นชุมชนคนจนหน้าทำเนียบโดยปริยาย “ลูกหลานไปเรียกร้องสิทธิหลายครั้งแล้ว ไม่ได้สักที คราวนี้ฉันต้องไปเอง ถ้าเรียกร้องไม่สำเร็จฉันจะไม่กลับมาเด็ดขาด”…