Skip to main content
 ไม่มองซ้ายขวาหน้าหลัง  เดินเข้าไปหาแล้วโอบกอด  
"ได้กลิ่นมั้ย" ผมถาม
"เหมือนน้ำมัน" เขาตอบ
"ใช่  ในตัวเขามีน้ำมัน" ..
 บทสนทนาระหว่างโอบกอด  เป็นเช่นนี้จริงๆ

"ถ้ามันมีกลิ่นแสดงว่ามันไม่ล้มง่ายใช่มั้ย" โดนประโยคสงสัยเข้าเต็มๆ
"ล้มยากหรือล้มง่าย  มีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่น  มันก็น่าโอบกอด"


สองคนกอดต้นไม้คนละต้น 
"นิ่มมั้ย" ผมถาม
"แข็งจะตาย"
"แต่ต้นนี้นิ่มมากๆ"..
วิชาสัมผัส  ทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน  ออกจะเป็นเรื่องเข้าใจยาก  แต่วิชาโอบกอด  กลับง่ายดายเหลือเกิน 

"กอดต้นไม้"
ผมได้ยินครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน   ถึงขบวนการเคลื่อนไหวโอบกอดต้นไม้ในแถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย  ปกป้องต้นไม้ด้วยการโอบกอดต้นไม้  ให้รอดพ้นจากคมเลื่อยคมมีดของผู้รุกราน
เรียกกันในชื่อขบวนการชิปโก้ และคำขวัญของเขา
"หากขวานฟันลงมา  ขอให้ฟันลงมาที่ร่างกายเรา  ก่อนที่ต้นจะถูกโค่น"
ขบวนการที่ได้รับอิทธิพลจากมหาตมะ คานธี  เคยกล่าวไว้ว่า "มนุษย์จะต้องใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ  หากไม่ต้องการเดินทางไปสู่หายนภัย"
เป็นความรักและความศรัทธา  ที่จะให้ความเขียวชะอุ่มอยู่บนโลก

หลายปีต่อมา  เด็กชายในบ้านคาบข่าวมาบอก  พูดตาโตๆว่า วันนี้นะ คุณครูพาเด็กๆไปกอดต้นไม้  โรงเรียนนั้นชื่อหมีน่ารัก (
kiddy bear)  ขบวนการคิดดี้แบร์โอบกอดต้นไม้  นำเด็กนักเรียนไปกอดต้นไม้กลางเมืองเชียงใหม่   ทั้งกอด  ทั้งนอนดูกิ่งก้านใบ สื่อสารของความรู้สึก    ทั้งวาดรูปติดมาด้วย 
มันตราตรึงใจเจ้าตาโตๆ  ภูมิใจกับการกอดต้นไม้ตลอดมา
และนับแต่นั้น  การกอดต้นไม้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา 

มีโอกาสไปใกล้ต้นไม้เมื่อไหร่  เราชวนกันไปกอดต้นไม้   ครั้งแล้วครั้งเล่า  เริ่มต้นจากไม้ใกล้บ้าน  ไม้ไกลบ้าน  จนถึงไม้กลางป่า  ถามไถ่ความรู้สึกกัน  ถ่ายเทสัมผัสภายในให้กัน

"พ่อได้ยินมันยืนร้องไห้"
ผมพูดแล้วเด็กชายรีบถาม  เพราะอะไรเหรอ
"ถนนขยายกว้างออกไป  ต้องตัดมันทิ้ง" 
"ถ้าเรามีถนนใหญ่ขึ้น  แสดงว่าต้นไม้ร้องไห้"  เจ้าเด็กชายพูดชัดถ้อยชัดคำ

นานวัน   ผมยิ่งรับรู้ว่า  ภาวะโอบกอด  ช่างเต็มไปด้วยพลังชีวิต  ออกไปจากชีวิตของเรา  ไปสู่ชีวิตอื่น  เห็นดวงตาผู้อื่น  เห็นสรีระผู้อื่น  และทัศนียภาพในการมองเห็นก็เปลี่ยนไปด้วย
"หลับตา  ให้รู้ว่า  เรากำลังโอบกอดสิ่งที่ดีที่สุด ให้รู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน 


ผมยังได้ยินเสียงตื่นเต้นดีใจของเด็กชายในบ้านด้วย  โดยเฉพาะยามเจอแมลงแปลกๆ  หนอน  ซากงู  ซากจักจั่น  มดแมงตามเปลือกไม้ 

ต้นไม้กลางป่าต้นหลังสุดที่เด็กชายโอบกอดก็คือต้นสนสามใบ 
ผมบอกเขาว่า  ต้นสนหนึ่งต้น  มีอีกหลายชีวิตอยู่ในตัวมัน  ทุกอย่างเติบโตออกมาจากหนึ่ง  เป็นสอง สาม สี่ ห้า ต่อเนื่องเรื่อยไป

เขาหลับตาพริ้ม  ฟังเสียงภายในต้นสน

 

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
พ่อของลูกคือลูกของพ่อ ล้วงหนังสือ “เจ้าชายน้อย” ออกจากกระเป๋าสะพาย เป็นเล่มเดียวที่ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ลูกชายเดินทางไปด้วย และไม่อาจรู้หรอกว่าจะได้เปิดอ่านในช่วงไหนเวลาไหน ลูกของพ่อคือหลานของปู่กำลังง่วนอยู่กับสมุด ดินสอ สีในกระเป๋าเช่นกัน เขาคงนึกอยากเขียนภาพ
ชนกลุ่มน้อย
เดินทางแบบกระเด็นกระดอนอยู่ในกระป๋องหนาหนักติดล้อ  และความยาวนานของระยะทาง  กว่า 5 ชั่วโมงไปให้ถึงใจกลางภูเขา  แต่ยิ่งคิดว่าเมื่อไหร่จะถึงใจกลางภูเขาตามมาตรวัดของแผนที่แผ่กางออกกว้าง  ยิ่งกลับเป็นเรื่องยากไปถึงใจกลางภูเขาที่อยู่ในใจ  ภูเขาเป็นทะมึนก่อกำแพงรายล้อม  
ชนกลุ่มน้อย
    เป็นเวลา 10 กว่าปี ที่ผมไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับพ่อใต้ชายคาเดียวกันนานๆ แต่คราวนี้ พ่ออยู่กับผมนานถึง 90 วัน พ่อในวัย 74 เพิ่งผ่านการบำบัดรักษาหัวใจอย่างชนิดลุ้นเส้นยาแดงผ่าแปดกันมา และต้องควบคุมตัวเองเรื่องการดื่ม กิน เคลื่อนไหว และเคร่งครัดกับขนาดจำนวนยารักษาอย่างชนิดห้ามขาดเกินเวลา
ชนกลุ่มน้อย
ไหนๆ ก็กอดกันแล้ว กอดต่ออีกครั้งเป็นไรไป ภูเขาลูกนั้นมีเถียงไร่ตั้งอยู่โดดเด่นและโดดเดี่ยว สองพ่อลูกชวนกันไปยังเถียงไร่ ที่นั่นคงสบายตา ดูลับหูลับตาคน ไม่มีใครไป พอเดินไปได้ไม่กี่ก้าว กลับพบกับไม้สามต้น ดูราวเป็นพี่น้องกัน ทรงพุ่มงามเหลือเกิน เหมือนก้อนเมฆย้อมสีเขียวเกิดเปลี่ยนใจอยากมาปักเป็นต้นไม้อยู่บนผืนดิน มองแล้วมองอีก ยังไม่อิ่ม “กอดดีกว่าพ่อ” เสียงนั้นบอก “พ่อกอดด้วย” นานอย่างนาน ผลัดกันกอดไม้สามต้นนั้น
ชนกลุ่มน้อย
 ขอทะลึ่งๆ เว่อร์ๆ อีกสักครั้งเถอะครับ ผมรู้สึกอย่างนี้จริงๆ ทันทีที่นึกอยากเขียน และโชว์รูปที่น่าจะอยู่ในอัลบั้มรูปส่วนตัว ว่างๆก็เอามาแบวางออกดูและรำลึกถึง มากกว่านำออกมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าสายตาสาธารณะ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า เบื่อๆ เซาๆ ซึมๆ ว่างมาก มาทำเรื่องดูดีกันมั้ยลูก   มา ม๊า มาทำซึ้งกันสักครั้งดีกว่ามั้ย"เอ้า เอาเลย กอดกันเลยลูก" พูดแค่นั้นเจ้าชายน้อยโผประจำการทันที ผมไล่ตามเก็บรูป"พ่อกอดมั้ย" เขาถามกลับมา"กอดสิ ต้องกอดแน่ๆ ว่างแล้วยัง" หมายถึงไม้ต้นนั้น หมายตาไว้เหมือนกัน และถูกรักหลงในเวลาอันรวดเร็ว"ถ่ายรูปมั้ย" เขายึดกล้องไปกดรูปวันนั้น…
ชนกลุ่มน้อย
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ที่ผมตระเวนท่องไปตามป่าเขาในภาคเหนือ ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะเผชิญหน้าจริงๆ กับพายุลมแรงที่หอบน้ำแข็งมาด้วย จนติดตรึงอยู่ในพายุน้ำแข็ง ไม่เห็นทางข้างหน้าและไม่เห็นทางข้างหลัง ขยับไปไหนไม่ได้ ราวกับทุกอย่างตกอยู่เหนือการควบคุม นอกจากยอมรับสภาพแล้วจำนนกับความเป็นไป
ชนกลุ่มน้อย
วันที่ 8 มีนาคม 2552 ผมนั่งเคียงข้างพ้อเลป่า ก่อนเดินทางกลับ ผมบอกว่า อีกสองสามอาทิตย์จะเข้ามาเยี่ยมอีกครั้ง เวลาผ่านไปสามอาทิตย์กว่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2552 พ้อเลป่าก็จากไปจริงๆ ผมไปถึงบ้านแม่แฮคี้ตอนบ่ายแก่ๆวันต่อมา บ้านไม้ริมถนนมีคนจับกลุ่มพูดคุยกันอยู่บนบ้าน ไล่เรียงอออกมานอกประตูบ้าน ผู้เฒ่ากวีแห่งแม่แฮใต้จากไปจริงๆ รูปวางถ่ายไว้บนโลงไม้ รูปสูบไปป์ที่คุ้นเคย พร้อมดอกไม้สัญลักษณ์ของความอาลัย
ชนกลุ่มน้อย
 เมื่อฉันเริ่มจำความได้ ฉันเที่ยวเล่นกับพวกเพื่อนๆ ฉันรู้ว่า แม่เป็นคนทอเสื้อให้ฉันใส่ ฉันดีใจมาก ฉันสวมเสื้อตัวนั้นแล้วเดินนำหน้าคนอื่นๆ เวลานั้นฉันรู้สึกว่า ใบหน้าของตัวเองเต็มอิ่มไปด้วยความร่าเริงยินดี
ชนกลุ่มน้อย
ชนกลุ่มน้อย
 ไม่มองซ้ายขวาหน้าหลัง  เดินเข้าไปหาแล้วโอบกอด   "ได้กลิ่นมั้ย" ผมถาม"เหมือนน้ำมัน" เขาตอบ"ใช่  ในตัวเขามีน้ำมัน" .. บทสนทนาระหว่างโอบกอด  เป็นเช่นนี้จริงๆ