Skip to main content

 

 

เป็นเวลา 10 กว่าปี ที่ผมไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับพ่อใต้ชายคาเดียวกันนานๆ แต่คราวนี้ พ่ออยู่กับผมนานถึง 90 วัน พ่อในวัย 74 เพิ่งผ่านการบำบัดรักษาหัวใจอย่างชนิดลุ้นเส้นยาแดงผ่าแปดกันมา และต้องควบคุมตัวเองเรื่องการดื่ม กิน เคลื่อนไหว และเคร่งครัดกับขนาดจำนวนยารักษาอย่างชนิดห้ามขาดเกินเวลา


แต่ละด่านชีวิตของพ่อที่ต้องข้ามผ่านวันหนึ่งๆ ล้วนอาศัยภาษาใจควบคู่กันไปด้วย หมายถึงกำลังใจและความหมายชีวิตอยู่


พ่อเดินทางไกลเกือบ 2,000 กิโลเมตร พ่อมากับรถไฟ การมาของพ่อเป็นความลับ พ่อห่วงลูกๆจะห้ามปรามไม่ให้เดินทาง พ่อจึงเก็บฤกษ์เดินทางไว้มิดชิด แต่ก็ไม่อาจหลุดรอดไปจากสายตาลูกๆ กระเป๋าเดินทางสองใบ ลูกๆไม่กล้าถามมากว่าพ่อไปนานมั้ย แต่กระเป๋าพองโตพอคาดเดาได้ว่า ที่นอนข้างหน้าของพ่อนั้น ยากจะคาดเดาเวลาเดินทางกลับ


เดินทางไม่ใกล้ พ่อเก็บปากเงียบ ไม่บอกใครว่าต้องทำอะไรบ้างระหว่างทาง เหล่าลูกๆต่างเป็นห่วงให้รุ่มร้อนไปตามๆกัน


พ่อมาในชุดเสื้อผ้าลดเลขวัยอายุลงครึ่งหนึ่งทีเดียว


ถึงสุดสถานี พ่อบอกทันทีว่า ไม่เหนื่อยเลย นอนบ้างตื่นบ้างมาตลอดทาง แถมด้วยเรื่องเล่าที่สถานีรถไฟหัวลำโพง มิตรแปลกหน้าบนโบกี้รถไฟ เรื่องเหล่านั้นไม่พ้นเรื่องคนเป็นพ่อแม่ไปหาลูกสาวลูกชาย

"ไม่ต้องห่วง บายๆ" พ่อตอบตัดบทเมื่อผมถามถึงสุขภาพร่างกาย


ก่อนพ่อมาถึงสองวัน ผมจัดการกับที่นอนของพ่อ จัดห้องเสียใหม่ ติดรูปภาพ ย้ายชั้นวางหนังสือ รวมไปถึงกะระยะแสงแดดกลางวัน ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องของอาหาร


กิจกรรมเช้าของผมเปลี่ยนไป จากเดิมเริ่มกันง่ายๆด้วยมื้ออาหารตามแต่หยิบฉวยได้ แต่คราวนี้ไม่ใช่แล้ว สารอาหารของพ่อกับโรคประจำตัวพ่อเป็นตัวตั้ง ผมวิ่งไปมาระหว่างร้านตลาดผักปลอดสารพิษกับเตาไฟ วันละหลายๆรอบ


"
สูตรของแม่ทั้งนั้น" ผมบอกพ่อ พ่อรีบตอบสวนทันทีว่า "ไม่ทำแต่เด็กๆ ใหญ่ขึ้นใครจะทำให้กิน"

พ่อกินข้าวกล้องทุกมื้อ เมนูอาหารที่หนักไปทางผัก งดเนื้อ งดอาหารมัน งดเค็มจัด เผ็ดจัด แถมด้วยไปเดินเล่นออกกำลังกาย

พ่อบอกความรู้สึกว่า สบายใจ ทุกวัน


จากนั้นพ่อก็ออกเดินสำรวจต้นไม้ในบ้านทุกต้น ทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ ต้นไม้กินได้อย่างกล้วย มะม่วง มะไฟ ตำลึง กระถิน มะนาว สะเดา ชะอม ฯลฯ รวมถึงไม้ใหญ่ที่หลงเหลือจนได้ชื่อว่าไม้เก่าแก่ อย่างต้นสักใหญ่ 4 ต้น ไผ่กอใหญ่สูงเกินหลังคา

"กล้วยป่า ปลูกทำไร ลูกมันกินไม่ได้ ปลูกรกบ้านเปล่าๆ นั่นต้นเหลียง ใครเขาปลูกเหลียงไว้ในบ้าน ต้นมันใหญ่ รากทำให้บ้านเสีย ม่วงแก่ต้นนั้นไม่ออกลูกแล้ว" ..


บางเรื่อง ที่ให้บทเรียนชีวิตพ่อ เป็นจริงที่สุด สอดคล้องกับความจริงชีวิตมากที่สุด พ่อเข้าป่าทุกครั้ง ไม่ใช่ไปเดินเล่นเดินเที่ยวแน่ๆ แต่หมายถึงอาหารในรูปของหน่วยผล ใบ ดอกผล หัวแง่ง จะติดตัวมาด้วย และไม่ว่าจะเข้าป่าไปกี่ครั้ง ก็จะต้องได้อาหารมาเลี้ยงดูทุกชีวิตในบ้าน จนกระทั่งลูกทุกคนโบยบินออกไปจากชายคาบ้าน


พ่อยังตามไปดู ตามไปทำความเข้าใจ

ซุ้มประตูไม้ที่พ่อทำขึ้นตรงรั้วกำแพงบ้าน เมื่อสามปีก่อน แม้จะถูกสร้างขึ้นมาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่พ่อก็ใช้ความรู้ที่สั่งสมมาทั้งชีวิต สร้างซุ้มประตูไม้จนสำเร็จ แค่ผมเห็นท่าพ่อนั่งๆยืนๆวัดระดับน้ำ ตอกแผ่นไม้ให้เข้ารูปกับซีเมนต์ หรือเหลี่ยมมุมซุ้มประตูที่มองเห็นจากระยะไกล มองแล้วเกิดความรู้สึกรื่นรมย์ยินดีเหลือเกิน

 


พ่อมาคราวนี้ แม้จะอยากทำโน่นทำนี่ แต่ผมก็ปรามไว้ทุกครั้ง
พ่อเพิ่งเข้าใจพื้นที่ชีวิตผมเมื่อไม่นาน ว่าทำไมลูกชายถึงไม่ยอมใส่ชุดเครื่องแบบไปทำงานนอกบ้าน จากเฝ้าเครื่องพิมพ์ดีดมาถึงเฝ้าจอสี่เหลียมที่มีแสง พ่อไม่มีคำถามแล้วว่าผมจะเลือกทำงานชนิดไหน เพื่อพาตัวเองและคนข้างตัวไปให้รอด


ถึงวันนี้ ผมไม่รู้หรอกว่าพ่อจะพอใจหนทางดำเนินชีวิตของลูกชายหรือไม่ พ่อผ่านโลกลำบากมามากกว่าหลายเท่า การได้เห็นลูกชายออกเดินไปพิชิตหน้ากระดาษ ด้วยลำเลียงตัวหนังสือเป็นอาวุธทะลุทะลวงไปทุกทาง จนกว่าการรบจะเสร็จสิ้น ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องง่ายๆเช่นกัน หน้ากระดาษโชกด้วยสีดำตัวหนังสือ เปื้อนแล้วยากลบออกง่ายๆ


พ่ออยากรู้อะไรในตัวลูกชายอีกมั้ย กับวันเวลาที่ไม่ได้อยู่ร่วมชายคาเดียวกันนานๆ แน่นอนว่าพ่อไม่ใช่นิสัยถามตรงตอบตรงตลอดเวลา พ่อเดินอ้อมทุกครั้งที่เป็นฝ่ายมองเข้ามายังลูกชาย แต่ยามรุกคำตอบบางเรื่องก็ล้ำเข้ามาอย่างเงียบเย็น พ่อเข้าถึงตัวลูกชายอย่างนั้น


พ่อไม่ถามว่า เขียนหนังสืออีกเท่าไหร่ถึงจะพอ เพราะถ้าพ่อเกิดถามจริงๆ ผมก็คงตอบว่า นอนเท่าไหร่ถึงจะพอล่ะพ่อ กินเท่าไหร่ถึงจะพอ พ่อไม่ถามว่าเดินทางอีกเท่าไหร่ถึงจะพอ เพราะพ่อเดินทางมาเจ็ดสิบกว่าปีแล้ว พ่อก็ยังต้องเดินทาง


เพียงแต่ผมแอบตอบตัวเองเงียบๆว่า สงสัยตอนที่ผมเดินออกมาจากพ่อนั้น ผมติดเชื้อเดินทางจากพ่อมาเต็มๆ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย

 

 

*** งานชิ้นนี้ เคยตีพิมพ์ครั้งแรกใน เสาร์สวัสดี นสพ.กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ คนคือการเดินทาง ฉบับ เสาร์ วันที่ 6 มิถุนายน 2552

 

 

บล็อกของ ชนกลุ่มน้อย

ชนกลุ่มน้อย
เสียงเธอดังขึ้นในความเงียบ ผมบอกให้เธอรู้อีกครั้ง ใช่ๆ ใช่มันจริงๆ อีแร้งหรือไม่ก็นกยักษ์ มันนั่งยองๆ อยู่บนรั้วบ้าน อย่างกับทิ้งน้ำหนักนับพันๆกิโลกดทับลงบนกำแพงคอนกรีตอันบอบบาง ถ้ามันนั่งนานกว่านี้ เมืองทั้งเมืองจะเทลาดมาทางนี้ มันเชิดหน้าเฉยเมย ประกาศความใหญ่โตหนาหนัก ผมยืนมองมันด้วยความรู้สึกแขนขาอ่อน เนื้อตัวเย็นเฉียบ อย่าคิดมากเลย คำพูดผมเบาเป็นนุ่น เธอไม่เชื่อในสิ่งที่ผมเห็นมากับตา เธอต้องลงไปดู ไม่ แต่พี่เห็นมัน มันคงมาเล่นงานเราอีก คราวนี้พี่อย่ายอมมันนะ ไอ้นกป่วยนั่นนำโชคร้ายมาให้ มันควรไปเกาะที่อื่น ไปในที่ๆไม่ใช่ขอบรั้วบ้านมนุษย์ยิ่งดี…
ชนกลุ่มน้อย
ด็อกเตอร์สมบัติ เครือทอง ครูการเขียนคนแรกของผม ย้ายจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มาสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก นานหลายปีมาแล้ว แต่ผมได้พบครูสอนเขียนเพียงครั้งสองครั้งเท่านั้น วันที่ครูมาร่วมงานสัมมนาทางวิชาการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อสัปดาห์ก่อนนี่เอง ผมไม่พลาดโอกาสที่จะพบหน้าครูให้ได้ เราพบกันในร้านกาแฟบนถนนนิมนานเหมินทร์ ย่านร้านรวงธุรกิจบริการกาแฟผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด จัดแต่งร้านพร้อมนำเสนอเครื่องดื่มชวนดื่มชิมรส รมณียสถานคราคร่ำด้วยผู้คนทั้งกลางวันกลางคืน พบกันคราวนี้ ผมมีเรื่องเก่าย้อนถาม “จดหมายจากสวนยางถึงสวนลุกซองบูร์ยังมีอยู่มั้ยครับ…
ชนกลุ่มน้อย
เปิดตัวหนังสืออีกแล้วหรือพี่..!??!” เครื่องหมายประหลาดใจตามมาด้วยความตกใจ ประมาณว่าไม่เข็ดหลาบจำเสียทีนะพี่ หนังสือเล่มไหนเล่มใหม่หรือพี่ ออกมาเมื่อไหร่ ไม่เห็นหน้าเห็นตาเลย “นั่นสิ มันหลบอยู่ตรงไหน กลายเป็นของหายากไปได้อย่างไร หลบหน้าหลบตาคนอ่าน” ทีเล่นหรือทีจริงก็ตาม สุดท้ายผมก็บอกไปว่า สงสัยแผงเขาไม่ว่างวางของหนัก หรือไม่ก็เขาเก็บออกไปจากแผงเสียแล้วมั้ง แล้วเขาก็ถามต่ออีกว่า แล้วพี่จะมาเปิดตัวหนังสืออีกทำไม สำนักพิมพ์ที่พิมพ์งานของพี่รวยเหรอ ผมรีบออกตัวว่า เปล่า อาจจะจนก็ได้มั้ง พอศอของข้าวแพงไข่ไก่แพง บนหนทางที่ไม่ได้ปลูกข้าวกินเอง และไม่ได้เลี้ยงไก่ไว้กินไข่…
ชนกลุ่มน้อย
ผมไปตามวันเวลาหมอนัดอีกครั้ง หลังจากพลาดนัดครั้งแรก ถ้าผมไม่ไปตรงเวลา ผมจะต้องคอยนานอีกอย่างน้อยสองเดือน คนจัดการรับเรื่องนัดหมายพยายามแจกแจงให้เห็นความจำเป็นของการคอย เพราะคนป่วยอันเนื่องมาจากฟัน มีเป็นจำนวนมาก เหมือนกับต่างคนต่างรู้ช่องทางทำฟันราคาถูก “ไปคลีนิกไม่ต้องนัดนานเป็นเดือนนะลูก” ป้าคนนั่งกุมแก้มขวาบวมเป่ง ผมถามป้าว่ามาทำอะไร “ถอนฟัน” .. ห่างออกไปราวสิบห้าเมตร มือเหล็กยักษ์กำลังขุดคุ้ยโคนรากไม้ เสียงเครื่องยนต์ครางกระหึ่มตลอดเวลา เส้นเชือกขีดคั่นปักแดนล้อมเอาไว้ แต่แค่บอกอาณาบริเวณห้ามคนผ่านเข้าไปเท่านั้น คนเดินผ่านไปมาก็ยังต้องหันไปมองมัน…
ชนกลุ่มน้อย
พอพ่อลูกเดินไปถึงสถานีขนส่งช้างเผือก คนก็มองจ้องราวกับกำลังจะมีฉากถ่ายหนังในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า เขากองสัมภาระไว้ข้างเก้าอี้ ลูกชายนั่งเฝ้า เขาเดินไปซื้อตั๋ว คนมองลูกชายพลางมองพ่อไปมา บางคนแอบกระซิบยิ้มหัวขณะสายตามองไปยังลูกชาย “เชียงดาวสองที่นั่ง” คนเป็นพ่อมองหญิงวัย 40 กว่าๆ ดูสีหน้าแววตาขี้เล่น ใบหน้าลงเครื่องแป้งหนาลบวัยจริง เป็นใบหน้าคอยถามตอบต้อนรับผู้โดยสาร “ลงที่ไหนจ้าว..วว์” เสียงหวานถามกลับเป็นสำเนียงคำเมืองยืดหางเสียง คนเป็นพ่อนิ่งคิด ชั่วอึดใจนั้น คนขายตั๋วก็มีสถานที่นำเสนอให้ลง “สถานีตำรวจมั้ยจ้าว” น้ำเสียงนั้นเจือยิ้มหัวเป็นกันเอง…
ชนกลุ่มน้อย
คุณไปยืนอยู่ใต้ต้นพลัมตอนย่ำค่ำ มันขึ้นปะปนอยู่กับป่าผลไม้อื่นๆ อย่างพลับ ท้อ บ้วย สาลี่ อโวคาโด ขนุน กล้วย นับรวมหลายสิบชนิด เพียงต่อพลัมกำลังให้ลูกสุกเต็มต้น เช้าวันต่อมา คุณกลายร่างเป็นนกป่าเข้าสวนตั้งแต่เช้า ดวงอาทิตย์สว่างมาจากแนวป่าสนลอดผ่านพุ่มใบไม้เป็นลำแสงสีเงินสีทอง งามสงบจนคุณไม่อยากจะเดินย่างไปไหน   แต่นกหิวลืมตัว ปลิดเข้าปากกินสดๆ อย่างไม่รู้จักอิ่ม “ลูกนี้สุกแล้ว ลองดูๆพันธุ์ลูกแดง พันธุ์ลูกเหลืองก็มี เดินไปดูต้นโน้น” เจ้าของสวนชวนชิม “กินเลยๆ ปล่อยให้มันร่วงไปอย่างนั้น นกมานกก็กินกัน”
ชนกลุ่มน้อย
ผมตกปากรับคำนั่งซ้อนหลังอานรถของเขาอย่างไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผมจะวางใจในฝีไม้ลายมือของเขา รู้ทั้งรู้ว่าเป็นเส้นทางที่เขาขับขี่ไปมาอยู่ทุกวัน ผมควรประหยัดคำพูดที่จะถามเรื่องคุ้นเคยเส้นทาง อีกทั้งมอเตอร์ไซค์คู่ชีพเขา ก็ตั้งวางให้เห็นความแข็งแรงพร้อมลุย โคลนคลุกตามตัวรถเหมือนบอกว่าไปทางไหนไม่หวั่น “ไกลมั้ย” ผมจะถามถึงระยะทาง “หลังเขาลูกนั้น” เขาชี้มือไปยังเนินเขาไกลๆอยู่ม่านหมอกฝน เขามาอาสาเป็นธุระรับส่งไปสวนป่า ผมอยากไปเห็นกับตา ว่าป่าธรรมชาติกับคนทำสวนในป่านั้น จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ความเข้าใจคนทั่วไปนั้น ป่าก็อยู่ส่วนป่า คนก็อยู่ส่วนคน…
ชนกลุ่มน้อย
31 สิงหาคม 2540 13.30 น. ไกลลิบ ถนนโค้งพุ่งผิดรูปหายไปในพงหญ้าสูงท่วมศีรษะ คนหนึ่งเหมือนหลักกิโลเมตรเคลือบสีดำ เห็นมาแต่ไกล เพียงแต่เสาหินเคลื่อนที่ได้ ช้าเหมือนมด พอรถวิ่งไปใกล้ จึงเห็นผืนผ้าขาวเขียนตัวหนังสือด้วยหมึกดำ เคียงคู่ไปกับเสาหิน เหมือนไม่รู้สุขรู้เศร้า เสาหินสวมหมวกเก่าๆ รองเท้ายางหุ้มส้น ในใจผมคิดว่า แกคงเดินเรียกร้องบางสิ่งบางอย่าง พอรถแล่นผ่านตัวแก โค้งถนนเป็นเส้นตรงอีกครั้ง ความจริงก็ปรากฏ ขบวนแห่ศพ!!.. รถผมเชื่องช้าเป็นไส้เดือน เหมือนว่าล้อรถหุ้มด้วยหนังงูเหลือม ลมตีเข้ามาทางหน้าต่าง ไม่ใช่ลมดอกไม้สด แต่เป็นลมมีกลิ่นธูป…
ชนกลุ่มน้อย
30 สิงหาคม 254008.35 น. รถจิ๊ปสีดำส่งเสียงอยู่หน้าบ้าน เสียงนั้นเพิ่งกลับมาจากทำงาน เธออดนอนมาค่อนคืน ชั่วอึดใจหนึ่งนั้น เสียงเหล็กปะทะของแข็ง ผมผละจากหน้าเครื่องพิมพ์ดีดโอ เสาบ้าน กันชนแตกเป็นรอยร้าวเธอมองหน้าผม ผมพยายามจะเข้าใจ “อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าชีวิตจริงจะมีกันชนหรือไม่ก็ตาม”หนังสือ “ลมหายใจสงคราม” ของอา ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ยังวางอยู่บนโต๊ะ ผมเปิดอ่านอีกครั้ง “..ผมเสียใจ! ระยำ! ผมไม่เคยมีความรู้สึกนี้บ่อยนัก แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ผมจะแนะนำให้คุณเข้าป่า ในป่ามันก็มีสงครามระหว่างแมลงกับใบไม้ และดอกไม้เป็นพิเศษ บัดซบ! คุณไม่รักสงคราม แต่คุณก็ไม่เกลียดมัน คุณกลัวมันเท่านั้น…
ชนกลุ่มน้อย
ไม่มีเหตุผลที่ผมจะมุ่งไปยังเถียงนาหลังนั้น เพียงแต่อยากเดินเข้าไปในโพรงจมูกของเทือกอินทนนท์สักครั้งหนึ่ง วันที่แดดแรงปลายฤดูร้อน นาข้าวขั้นบันไดสุดหูสุดตาเหลือแต่ตอ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ร่องรอยเก็บเกี่ยว โล่งลิบ ใบข้าวกองเกลื่อน ร่องรอยตีข้าวมีฟางข้าว ตอซังข้าวเป็นตุ่มตาเรียงรายบนพื้นผิวไหล่เขา ผมยืนอยู่บนไหล่เขาแล้วมองออกไปทางราบลุ่ม ภาพที่เห็นอย่างกับการปรากฏตัวของชิ้นส่วนวัตถุประหลาดผุดขึ้นมาจากพื้นดินผมนึกไม่ออกว่า เถียงนาลุงเหน่วอเป็นอย่างไร คนนำทางก็ไม่ได้บอกว่า เถียงนาหลังนั้นซุกซ่อนเรื่องราวใดไว้บ้าง หรือมีส่วนปลีกย่อยอื่นใด ทำให้เกิดความหมายน่าสนใจขึ้นมากกว่าเถียงนาหลังอื่นๆ…
ชนกลุ่มน้อย
“ถ้าน่องมนุษย์ตั้งท้องได้ คนทุกคนจะเป็นพี่น้องกัน” ถึงเวลาหยิบปลาแห้ง กุ้งแห้ง กะปิ สะตอใส่กล่องลังเสียที ช่วงเวลาตากอากาศบ้านเกิดหมดลงอีกครั้ง ผมได้ย้อนกลับไปบนเส้นทางเก่าๆที่เคยไป สถานที่ที่ข้องเกี่ยวกับวัยเด็ก คนที่ผูกพันใจ รวมไปถึงพืชพันธุ์ต้นไม้ที่อยู่ในใจ กลับไปสู่ต้นสายปลายเหตุของตัวเอง และเดินทางต่อไป อย่างที่บอกแต่ต้น ผมพกหนังสือไปหลายเล่ม แต่ไม่ได้อ่านครบทุกเล่ม อย่างเล่ม แผ่นดินอื่น รวมเรื่องสั้นของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ผมเปิดอ่านผ่านๆอีกรอบ แต่ผมก็มีโอกาสไปเดิน บนถนนโคลีเซียม เรื่องสั้นเรื่องหนึ่งของเขา วันเวลาได้กลืนกินฉากเก่าๆไปแทบหมดสิ้น…
ชนกลุ่มน้อย
 ยืนอยู่บนท่าเรือปากพะยูน  มองเห็นเกาะสี่เกาะห้าที่อยู่ของรังนกนางแอ่นชัดเจน  ราวกับภาพวาดในม่านฝน  เบลอๆหมองๆ มองได้นานๆ  ผมกลับบ้านทุกครั้ง  ต้องไปให้ถึง ณ จุดนั้นให้ได้  ที่ซึ่งระเบียงยื่นออกไปในน้ำ   ยังมีร้านกาแฟ  ชาผงชงถุงแบบโบราณ  โต๊ะเก้าอี้ตั้งวางแบบเปิดโล่ง  ตกเย็นถุงกาแฟบนรถเข็นยกขึ้นลงไม่ขาดมือ  ชงหวานชงขม  ใส่นมข้นหวาน  น้ำตาลกับโกปี้  โต๊ะต่อโต๊ะ  เก้าอี้ต่อเก้าอี้ตั้งพื้นไม่มีหลังคา  รับลมพัดมาแรงๆ  มองออกไปยังเห็นพื้นน้ำเขียวกว้าง  …