Skip to main content




พรุ่งนี้ก็คงจะเป็นวันที่เราจะรู้ชะตาชีวิตของเด็กหนุ่มทั้ง 7 คน ว่าพวกเขาจะได้อิสรภาพชั่วคราวจากการที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัวหรือว่าศาลจะมีคำสั่งไม่ให้ฝากขังต่อเหมือนกับการจับกุมในช่วงเดือนมิถุนาปีที่แล้วหรือไม่

เมื่อมีการพูดคุยถึงสถานการณ์การจับกุมปีนี้มักจะมีการเทียบโยงไปถึงสถานการณ์เมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมาโดยมีข้อสรุปง่ายๆว่า ปีนี้กระแสไม่ขึ้นเหมือนปีที่แล้ว

ก็มีส่วนจริง ในทางปรากฎการณ์กระแสไม่ขึ้นเท่ากับปีที่แล้วถือว่าถูกต้อง แต่ต้องไม่ลืมว่าในปี 58 มันมีการสร้างกระแสปูทางกันมาตั้งแต่ต้นปี การรณรงค์ชู 3 นิ้ว ต่อหน้าประยุทธ์หน้าสนามศาลากลาง ขอนแก่น ของ นศ. ดาวดิน การจับ นศ. หลายสถาบันในการรณรงค์ 1 ปีรัฐประหาร ที่หน้าหอศิลป กรุงเทพ ไล่เรื่อยกันมา

แรงกดดันมีมากพอจนทำให้ คสช. ต้องยอมปล่อยตัวชั่วคราว 

มาถึงปีนี้คนมาร่วมน้อยจริง ดูเหมือนว่าความสนใจของคนในโซเชี่ยลมีเดียลดลงจริง อาจเพราะว่าประเด็นมันเก่าแล้ว กลัวติดร่างแหถูกดำเนินคดี หรืออาจรอปล่อยของตอนลงประชามติซึ่งปลอดภัยกว่าก็สุดจะคาดเดา

พอคนน้อย ก็มีข้อเสนอด้วยความห่วงใยว่า 7 ผู้ต้องขัง น่าจะยื่นขอประกันตัว ซึ่งผมเข้าใจความหวังดีของผู้เสนอ เพราะตอนโดนจับ มันก็ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาโดน แต่เป็นเพราะทาง คสช . ใช้อำนาจบังคับใช้กฎหมายได้ปัญญาอ่อนบัดซบจริงๆ ถ้าพวกเขายอมถอยโดยยื่นประกันตัวก็เท่ากับว่า เส้นเขตแดนเสรีภาพในการเคลื่อนไหวทางการเมืองจะถูกจำกัดให้ลดลงอีก

การยอมติดคุกของพวกเขาคือการ ต่อสู้ยืนยันสิทธิส่วนหนึ่งของนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยเอาไว้ !

ต้องออกตัวล่วงหน้าว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมพวกเขา 3 วัน ได้คุยไม่เยอะ เพราะต้องแบ่งปันเวลากับเพื่อนมิตรท่านอื่น ก็แค่เข้าไปให้เห็นหน้า เล่าสถานการณ์ข้างนอกให้ฟังตามจริง รับฝากข้อความมาหาทางส่งให้กับคนใกล้ชิดบ้าง แต่ก็ไม่ได้เสนอให้ยอมติดคุกต่อ ไม่ต้องประกันตัวแต่อย่างใด

ให้พวกเขาตัดสินใจกันเอง เคารพการตัดสินใจของเขา

แต่สำหรับเพื่อนมิตรที่ประเมินอยู่ภายนอก ผมอยากแลกเปลี่ยนว่าการเปรียบเทียบปรากฎการณ์สิบกว่าวันจากสองเหตุการณ์ข้างต้น อาจไม่เพียงพอที่จะนำมาสรุปจังหวะก้าวว่าควรจะถอยโดยการขอประกันตัวหรือไม่

ผมเคยเป็นผู้สังเกตุการณ์การเคลื่อนไหวกรณีการอดข้าวของ ฉลาด วรฉัตร ในเหตุการณ์ปี 35 ซึ่งผมมองว่ามันคล้ายกันกับกรณีนี้ก็ยังใช้เวลาร่วมเดือนกว่าจะจุดติด กว่าที่จะถึงจุดที่ทั้งมวลชนและผู้เล่นการเมืองอื่นๆ จะขยับเข้ามาร่วมวง

ตอนแรกก็ชุมนุมปราศรัย พูดกันเอง ฟังกันเอง ช่วงต้นบางวันคนไม่ถึงสิบคน

ไม่มีใครคิดว่ามันจะขยายตัวเป็นกระแสใหญ่โต แม้แต่แกนนำ นศ. ในรุ่นนั้นก็ยังเสนอว่าต้องสู้กันยาวๆ ต้องค่อยๆเสนอแก้ไข รธน. ไป

แต่ที่จัดกิจกรรมก็เพราะไม่อยาให้ฉลาดอดข้าวอยู่คนเดียว เลยจัดเพื่อให้มีคนอยู่เป็นเพื่อนฉลาด

ชักจะยาว เอาเป็นว่าโดยเฉพาะหน้าสำหรับผมแล้ว จะสู้อย่างไรต่อ ขอให้พวกเขาที่ต่อสู้อยู่ข้างในนั้นเป็นคนกำหนด

ไม่ว่าจะสู้อยู่ที่ไหน ข้างในหรือข้างนอก พวกเราก็จะไม่ทิ้งกัน

อยู่เป็นเพื่อนเขา 

ผมบอกกับตัวเองได้เท่านั้น

0000

 

เขียนเมื่อวันที่  5 กรกฎาคม 2559 เวลาประมาณ 03.00 น. ก่อนวันที่เจ้าหน้าที่จะนำ 7 นักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่มาศาลทหารเพื่อฝากขังผัด 2 ในเช้าวันเดียวกัน

เผยแพร่ครั้งแรกใน : Facebook Sarayut Tangprasert

บล็อกของ gadfly

gadfly
  เห็นบนเฟซบุ๊กมีการพูดกันบ่อยๆว่า แกนนำ นปช.พาคนไปตาย พาคนไปติดคุก แกนนำไม่รับผิดชอบกับชีวิตของมวลชน ผมคิดว่ามันเป็นข้อกล่าวหาโจมตีผู้อื่นเพื่อเป็นการยกตนขึ้นสูง หรืออีกนัยหนึ่งคือมันเป็นข้อกล่าวหาทางศีลธรรม
gadfly
ผมคิดว่าผู้ที่ให้บทเรียนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหาร ก็คือ ทหาร รัฐบาลทหาร และ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง
gadfly
เมื่อคืนผมไม่ได้ดื่มเหล้า เลยเกิดอาการตาสว่าง ต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะหลับ และกว่าจะหลับก็ปาเข้าไปเกินตีสาม .หลับแล้วก็ยังฝันต่ออีก.ฝันว่าได้กลับไปอยู่บ้าน บ้านก็ยังคงมีสภาพเหมือนเดิม แต่สภาพแวดล้อมรอบบ้านกลับเปลี่ยนไป มันกลายเป็นทุ่งหญ้า กว้าง กว้าง และกว้าง...
gadfly
เมื่อคิดถึงเรื่องโอกาสทางการศึกษา ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตาม กม.อาญา มาตรา 112ผมคิดถึงนักศึกษาสองคนคนหนึ่งเรียนอยู่ ม.เทคโนโลยีมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีสุดท้าย เขาชื่ออัครเดช ชื่อเล่นว่า เค
gadfly
อ่านข้อถกเถียงในประเด็นเรื่องฟรีสปีช เฮทสปีช ความรุนแรง เสรีภาพในการแสดงออก ฯลฯ ของบรรดาปัญญาชนมากมาย แต่ใจกลับย้อนคิดถึงเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งอาจไม่เกี่ยวไม่ข้องกับเหตุการณ์ข้างต้นเลย ก็เลยลองยกมา