Skip to main content

1

ตี 5 ครึ่งของวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 ท้องฟ้ากำลังจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว ชาวจิตอาสา (เกือบ) 20 ชีวิต นัดรวมพลกันหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บทเริ่มต้นของการเดินทางรวมใจสร้างห้องสมุดดิน (25-27 ส.ค.49) กับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง คนกวาดถนน รถเก็บขยะและแม่ค้าขายผัก นักเรียน พนักงานห้างและพนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์และนักการเมือง คือ ลมหายใจของกรุงเทพฯ (มหานครของเรา) กับการเริ่มต้นของชีวิตอีกครั้ง ผมไปถึงที่นัดหมาย 06.00 น. (ฮา)

2

สีสันของโลกเข้มข้นขึ้นตามเวลา ระยองปลายฤดูฝนท้องฟ้าสีเทาออกหม่น ขาวข้นเหมือนวีปครีมในถ้วยกาแฟร้านสตาร์บั๊ค ผมนั่งหลับๆ ตื่นๆ อยู่ทางตอนหน้าข้างคนขับทำให้โลกระหว่างทางเป็นสีดำสลับสีขาวสีขาวสลับสีดำอยู่ตลอดเวลา ห้องสมุดดินของกลุ่มรักษ์เขาชะเมา ขนาด 1X3 เมตร เป็นจุดมุ่งหมายของภารกิจจิตอาสาในครั้งนี้ รถตู้สองคันเลี้ยวชะลอความเร็ว ลงไปตามถนนดินแฉะๆ มองเห็นทุ่งนาตัดกับเส้นขอบฟ้าและสวนผลไม้ของชาวบ้าน ผมมองผ่านกระจกหน้ารถเห็นป้ายไม้ซีดจางเขียนเอาไว้ว่า “กลุ่มรักษ์เขาชะเมา”

หลังป้ายเป็นอาคารดินใช้เป็นโรงเรียนโรงเล่นของกลุ่มรักษ์เขาชะเมาและห้องนอนอันอบอุ่นของชาวจิตอาสา ซูโม่และหมึกดำหมาสองตัวของแก้ววิ่งออกมาอย่างคุ้นเคยเหมือนกับมันจะรู้ว่าหน้าที่ของมัน คือ การต้อนรับแขก ก่อนที่แก้วจะคุยให้ผมฟังลับหลังมันว่า “มันต้อนรับไปหมดทุกคนนั่นแหละ แม้แต่ขโมยมันก็ไม่มีข้อยกเว้น”

การลงมือ-ลงเท้าย่ำดินปั้นบ้านเป็นงานหนักที่สนุกสนานและทำให้ผมลดความคลางแคลงใจจากที่เคยสงสัยว่าทำไมควายทุกเพศวัยถึงชอบนอนอ้อยอิ่งกลางปลักโคลนเลน ตอนนี้ จิตของชาวอาสาดูเหมือนจะว่างเพราะต่างไม่พะวงกับความเลอะเทอะ แต่ละคนกระโดดลงไปอยู่ในบ่อโคลนสีน้ำตาลเข้มโดยมี แก้ว ชายรูปร่างบอบบาง คอยบอกวิธีการ

ขั้นตอนนี้เป็นการย่ำเพื่อปั้นก้อนอิฐดินสำหรับมาก่ออาคาร โคลนเหนอะๆ ข้างคันนาถูกขุดจนเป็นหลุมก่อนจะเทน้ำลงไปผสมเพื่อให้การย่ำง่ายขึ้น ชาวจิตอาสาเกาะกันเป็นวงกลม ประสานมือไว้บนไหล่เพื่อนข้างๆ ทำให้การขยับเท้าเป็นไปอย่างมั่นคง ย่ำจนดินโคลนเหลวไหลผ่านง่ามนิ้วเท้า หลังจากนั้น แกลบหรือทรายจะถูกขนมาผสมจนโคลนเหลวจับตัวกันเหมือนวุ้นรสกาแฟ-ไม่ใส่ครีม เหนียวหนึบหากยืดหยุ่น ทดสอบจากการเอาฝ่าเท้ากดลงไปในเนื้อดิน หากดินจมลงไปแล้วไม่คืนรูปแสดงว่าใช้ได้

แก้ว เป็นบุคคลหนึ่งที่หลายคนทึ่งในความสามารถและความคิด บ้านดินเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของยุคสมัย เทคโนโลยีมุ่งให้เราเป็นผู้เอาชนะมากกว่าการพึ่งพาธรรมชาติ การมองผืนดินเป็นมากกว่าผืนดินทำให้เรารู้จักตัวเองและอ่อนโยนให้กับธรรมชาติ เหมือนกับคำว่าเกิดจากผืนดินกลับสู่ผืนดิน แก้วออกตัวว่ากลุ่มรักษ์เขาชะเมาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างบ้านดินนะครับ สิ่งที่ทางกลุ่มของเราเน้น คือ การสร้างคุณค่าภายใน การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับดินน้ำลมไฟอย่างกลมกลืน สังคมมนุษย์กำลังถอยร่นออกจากจุดกำเนิดของชีวิต โลก-ธรรมชาติ จึงเป็นได้เพียงที่อยู่ชั่วคราวของเรากับการหาประโยชน์สร้างความร่ำรวยของคนบางกลุ่มเท่านั้น

แก้วลุกขึ้นพร้อมกับไม้เท้าแทนขาข้างขวา โขยกเขยกนำเราไปย่ำดินปั้นบ้านข้างคันนา

3

มือขาวๆ ของชาวอาสาถูกพอกเอาไว้ด้วยโคลนหนาเตอะและไหลเข้าไปอุดอยู่ในเล็บมือเล็บเท้าอย่างไม่ปรานีปราศรัย อิฐดินแข็งถูกลำเรียงก่อเป็นผนังอาคารห้องสมุด ฉาบผสานด้วยโคลนเหนียวผสมแกลบแทนปูนซีเมนต์ แต่ละก้อนถูกกะเทาะโป๊กๆ เป๊กๆ ให้เรียบทุกด้านด้วยคมมีดพร้าก่อนจะจัดเรียงสลับฟันปลา การก่ออิฐดินมีเทคนิคเฉพาะ ผู้ก่อต้องทุ่มอิฐลงไปแรงๆ บนโคลนเหนียวผสมแกลบให้ได้ยินเสียงดังแผละและเม็ดโคลนกระเด็นกระดอนให้ได้หลบกันพอหอมปากหอมคอ บางคนหลบไม่ทันเลอะหน้าเลอะตา แต่ไม่เป็นไร คิดซะว่าเป็นการบำรุงผิวด้วยการพอกโคลนเหนียวผสมแกลบ ผลจากการย่ำดิน ก่ออิฐกับรอยยิ้มเลอะเทอะท้าทายสบู่เหลวขจัดคราบไคลทำให้ผนังอาคารเริ่มเป็นรูปเป็นร่างกลายเป็นห้องสมุดแก่เด็กๆ รักษ์เขาชะเมา

4

ยามค่ำมาถึง ...

อาคารดินโรงเรียนโรงเล่นถูกแบ่งออกเป็นสองฟากโดยขึงเชือกฟางผ่าโถงจากด้านหน้าไปจรดด้านหลังตามแนวยาว มุ้งด้านซ้ายผูกปลายเชือกเข้ากับผนังด้านซ้ายส่วนอีกด้านผูกกับเชือกฟางกลางห้อง มุ้งด้านขวาผูกปลายเชือกกับผนังด้านขวาส่วนอีกด้านผูกกับเชือกฟางกลางห้อง หันหัวเข้าผนัง หันเท้าเข้าหากัน เพียงเท่านี้ อาคารโรงเรียนโรงเล่นก็แปรสภาพเป็นห้องนอนอันอบอุ่น

 

20080501 สภาพเท้า หลังย่ำดิน
สภาพเท้า หลังย่ำดิน เป็นแบบนี้แหละครับ

20080501 ก่ออิฐต้องให้ได้ยินเสียงดังแผละ
ก่ออิฐต้องให้ได้ยินเสียงดังแผละ

20080501 ย่ำ
ย่ำ ย่ำ ย่ำ

20080501 สัมผัสแผ่วเบาของนักสร้างบ้านดิน
สัมผัสแผ่วเบาของนักสร้างบ้านดิน

20080501 จับมือลงบ่อดิน
จับมือลงบ่อดิน

20080501 หลังจากย่ำดิน (1)

20080501 หลังจากย่ำดิน (2)
หลังจากย่ำดิน ชาวอาสาได้ทดลองหว่านข้าว

20080501 ดูกันก่อน
เฮ! ดูกันก่อน ครายเป็นคราย เอิ๊ก เอิ๊ก

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ละอองน้ำกระจายฟุ้ง แดดอ้าวเป็นไอระยับ จับประกายในสายน้ำเล็กๆ หัวฉีดน้ำพ่นฟูฝอยขึ้นฟ้า หมุนวน 180 องศาเด็กชายจับมือน้องสาว มองละอองน้ำ-ตาเป็นประกาย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...วันหนึ่งของเวลากลางวันในสวนสัตว์เขาดิน ..เอ่อ.. ผมยืนถ่ายมื้อเที่ยงแสนอร่อยมื้อนี้มากกว่าหนึ่งชั่วโมง ..ได้ภาพมาประมาณนี้ครับ ..(แกคงหิวมาก)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ไฟป่า ยังคงเป็นปัญหาที่กลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้าต้องจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าแล้ง เช่นนี้...แดดอ้าวผ่าเปรี้ยงลงกลางหัว เหล่าอาสาสมัคร v4n ยืนฟังขั้นตอนการทำงานดับไฟป่าโดยกลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้า ไกลโพ้น เมฆฤดูร้อนลอยอยู่เหนือเทือกเขาที่ได้ชื่อว่า ภูเขาไฟเนินลูกแล้วลูกเล่าถูกแปรสภาพเป็นไร่ เหนือเนินหลายลูก ทะเลหญ้าสลับดงกล้วยป่าแซมเป็นจุดๆ รถบรรทุกน้ำถูกนำมาเตรียมเอาไว้ให้พร้อม
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในวงการนักอนุรักษ์ ไม่มีใครที่ไม่รู้จักคุณลุงโชคดี ...!!! ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณะ v4n กำลังเป็นที่รู้จัก ...!!!แววตาอ่อนโยนหลังแว่นกรอบนั้นมองมาที่พวกเราอย่างสงสัย เส้นผมและหนวดเคราเส้นเล็กขาวโพลนเหมือนกับปุยฝ้ายแตกปุยทำให้คุณลุงโชคดีดูอ่อนโยนมากขึ้น ใต้ศาลาเอนกประสงค์กลางลานบ้านของสวนลุงโชค เด็กๆ รุ่นหลังอย่างพวกเรากำลังตามความคิดของคุณลุง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
...บ้านข่าร้อนมากกกก...ถึงมากที่สุด!! สายลมฤดูร้อนทำกิ่งไทรกลางลานสั่นไหว แดดจ้าเหนือหัวแต่หนุ่มสาวบ้านข่าไม่หวั่นเกรง พวกเขามารวมตัวกันที่ลานหน้าตลาดใจกลางหมู่บ้าน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
หอนาฬิกา หัวหิน, กลุ่มคนเสื้อสีฟ้าในนามกลุ่มพีซ ฟอร์ เบอร์ม่า นำทีมโดยองค์กรแอมเนสตี้ ไทยแลนด์ มากกว่า 10 คน ชูป้ายรณรงค์ให้ประชาคมอาเซียนหันมาดูสถานการณ์การเมืองในพม่าอย่างจริงจัง รวมทั้ง ปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา,แดดฤดูร้อน ร้อนมาก ทันทีที่กลุ่มคนเสื้อฟ้า ปั่นจักรยานมาถึง นักข่าวกลุ่มใหญ่และตำรวจเข้ากลุ้มรุม, ป้ายรณรงค์ถูกโชว์ให้เห็นกันชัดว่า พวกเขามาทำอะไรHey Asean : free all burma
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  ตะวันยามเช้า สะท้อนประกายสีส้มแดงบนผืนทะเลกว้าง ,เสาสำหรับประกอบพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเลมอแกนกลายเป็นอดีตที่ต้องทำความเข้าใจและอนุรักษ์ไว้ ก่อนที่จะหายไปกับกาลเวลา
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  หมู่บ้านมอแกน อ่าวบอนใหญ่ แห่งหมู่เกาะสุรินทร์ มองเห็นบ้านเรือนเป็นทิวแถวจากผืนทะเลสีคราม ,ภาพบนถ่ายจากหน้าหมู่บ้าน บนเรือหัวโทง ,ภาพล่างถ่ายจากท้ายหมู่บ้าน บนเส้นทางเดินธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ เป็นหนึ่งในโปรแกรมมอแกนพาเที่ยว โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนใจติดต่อ 083-703-0925 ,andamanproject1@yahoo.com
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มึดา มักจะมีรอยยิ้มอยู่เสมอ ดวงตากลมโต ใสแหน๋ว อ่อนโยนและเข้มแข็งอย่างไร้เจตนา ผิวขาวอมส้มเรื่อคล้ายผลสตอเบอร์รี่ก่อนที่มันจะสุกกลายเป็นสีแดง นานมาแล้วที่เด็กหญิง คือ เครื่องหมายของคนไร้สัญชาติ,และคงเป็นไปทั้งชีวิตของเธออะไรที่เรียกว่า ไร้สัญชาติ ,คำตอบที่ห้วนและง่ายที่สุด คือ ความหมายของการไม่มีสิทธิในฐานะคนของรัฐ, ที่ควรจะได้รับการคุ้มครอง, อย่างไม่มีเจตนาแอบแฝง บางทีคนมีบัตรประชาชนก็ไม่ได้รับการคุ้มครองเหมือนกัน (HAAAAAA)...