Skip to main content

1

ตี 5 ครึ่งของวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2549 ท้องฟ้ากำลังจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว ชาวจิตอาสา (เกือบ) 20 ชีวิต นัดรวมพลกันหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ บทเริ่มต้นของการเดินทางรวมใจสร้างห้องสมุดดิน (25-27 ส.ค.49) กับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง คนกวาดถนน รถเก็บขยะและแม่ค้าขายผัก นักเรียน พนักงานห้างและพนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์และนักการเมือง คือ ลมหายใจของกรุงเทพฯ (มหานครของเรา) กับการเริ่มต้นของชีวิตอีกครั้ง ผมไปถึงที่นัดหมาย 06.00 น. (ฮา)

2

สีสันของโลกเข้มข้นขึ้นตามเวลา ระยองปลายฤดูฝนท้องฟ้าสีเทาออกหม่น ขาวข้นเหมือนวีปครีมในถ้วยกาแฟร้านสตาร์บั๊ค ผมนั่งหลับๆ ตื่นๆ อยู่ทางตอนหน้าข้างคนขับทำให้โลกระหว่างทางเป็นสีดำสลับสีขาวสีขาวสลับสีดำอยู่ตลอดเวลา ห้องสมุดดินของกลุ่มรักษ์เขาชะเมา ขนาด 1X3 เมตร เป็นจุดมุ่งหมายของภารกิจจิตอาสาในครั้งนี้ รถตู้สองคันเลี้ยวชะลอความเร็ว ลงไปตามถนนดินแฉะๆ มองเห็นทุ่งนาตัดกับเส้นขอบฟ้าและสวนผลไม้ของชาวบ้าน ผมมองผ่านกระจกหน้ารถเห็นป้ายไม้ซีดจางเขียนเอาไว้ว่า “กลุ่มรักษ์เขาชะเมา”

หลังป้ายเป็นอาคารดินใช้เป็นโรงเรียนโรงเล่นของกลุ่มรักษ์เขาชะเมาและห้องนอนอันอบอุ่นของชาวจิตอาสา ซูโม่และหมึกดำหมาสองตัวของแก้ววิ่งออกมาอย่างคุ้นเคยเหมือนกับมันจะรู้ว่าหน้าที่ของมัน คือ การต้อนรับแขก ก่อนที่แก้วจะคุยให้ผมฟังลับหลังมันว่า “มันต้อนรับไปหมดทุกคนนั่นแหละ แม้แต่ขโมยมันก็ไม่มีข้อยกเว้น”

การลงมือ-ลงเท้าย่ำดินปั้นบ้านเป็นงานหนักที่สนุกสนานและทำให้ผมลดความคลางแคลงใจจากที่เคยสงสัยว่าทำไมควายทุกเพศวัยถึงชอบนอนอ้อยอิ่งกลางปลักโคลนเลน ตอนนี้ จิตของชาวอาสาดูเหมือนจะว่างเพราะต่างไม่พะวงกับความเลอะเทอะ แต่ละคนกระโดดลงไปอยู่ในบ่อโคลนสีน้ำตาลเข้มโดยมี แก้ว ชายรูปร่างบอบบาง คอยบอกวิธีการ

ขั้นตอนนี้เป็นการย่ำเพื่อปั้นก้อนอิฐดินสำหรับมาก่ออาคาร โคลนเหนอะๆ ข้างคันนาถูกขุดจนเป็นหลุมก่อนจะเทน้ำลงไปผสมเพื่อให้การย่ำง่ายขึ้น ชาวจิตอาสาเกาะกันเป็นวงกลม ประสานมือไว้บนไหล่เพื่อนข้างๆ ทำให้การขยับเท้าเป็นไปอย่างมั่นคง ย่ำจนดินโคลนเหลวไหลผ่านง่ามนิ้วเท้า หลังจากนั้น แกลบหรือทรายจะถูกขนมาผสมจนโคลนเหลวจับตัวกันเหมือนวุ้นรสกาแฟ-ไม่ใส่ครีม เหนียวหนึบหากยืดหยุ่น ทดสอบจากการเอาฝ่าเท้ากดลงไปในเนื้อดิน หากดินจมลงไปแล้วไม่คืนรูปแสดงว่าใช้ได้

แก้ว เป็นบุคคลหนึ่งที่หลายคนทึ่งในความสามารถและความคิด บ้านดินเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของยุคสมัย เทคโนโลยีมุ่งให้เราเป็นผู้เอาชนะมากกว่าการพึ่งพาธรรมชาติ การมองผืนดินเป็นมากกว่าผืนดินทำให้เรารู้จักตัวเองและอ่อนโยนให้กับธรรมชาติ เหมือนกับคำว่าเกิดจากผืนดินกลับสู่ผืนดิน แก้วออกตัวว่ากลุ่มรักษ์เขาชะเมาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างบ้านดินนะครับ สิ่งที่ทางกลุ่มของเราเน้น คือ การสร้างคุณค่าภายใน การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับดินน้ำลมไฟอย่างกลมกลืน สังคมมนุษย์กำลังถอยร่นออกจากจุดกำเนิดของชีวิต โลก-ธรรมชาติ จึงเป็นได้เพียงที่อยู่ชั่วคราวของเรากับการหาประโยชน์สร้างความร่ำรวยของคนบางกลุ่มเท่านั้น

แก้วลุกขึ้นพร้อมกับไม้เท้าแทนขาข้างขวา โขยกเขยกนำเราไปย่ำดินปั้นบ้านข้างคันนา

3

มือขาวๆ ของชาวอาสาถูกพอกเอาไว้ด้วยโคลนหนาเตอะและไหลเข้าไปอุดอยู่ในเล็บมือเล็บเท้าอย่างไม่ปรานีปราศรัย อิฐดินแข็งถูกลำเรียงก่อเป็นผนังอาคารห้องสมุด ฉาบผสานด้วยโคลนเหนียวผสมแกลบแทนปูนซีเมนต์ แต่ละก้อนถูกกะเทาะโป๊กๆ เป๊กๆ ให้เรียบทุกด้านด้วยคมมีดพร้าก่อนจะจัดเรียงสลับฟันปลา การก่ออิฐดินมีเทคนิคเฉพาะ ผู้ก่อต้องทุ่มอิฐลงไปแรงๆ บนโคลนเหนียวผสมแกลบให้ได้ยินเสียงดังแผละและเม็ดโคลนกระเด็นกระดอนให้ได้หลบกันพอหอมปากหอมคอ บางคนหลบไม่ทันเลอะหน้าเลอะตา แต่ไม่เป็นไร คิดซะว่าเป็นการบำรุงผิวด้วยการพอกโคลนเหนียวผสมแกลบ ผลจากการย่ำดิน ก่ออิฐกับรอยยิ้มเลอะเทอะท้าทายสบู่เหลวขจัดคราบไคลทำให้ผนังอาคารเริ่มเป็นรูปเป็นร่างกลายเป็นห้องสมุดแก่เด็กๆ รักษ์เขาชะเมา

4

ยามค่ำมาถึง ...

อาคารดินโรงเรียนโรงเล่นถูกแบ่งออกเป็นสองฟากโดยขึงเชือกฟางผ่าโถงจากด้านหน้าไปจรดด้านหลังตามแนวยาว มุ้งด้านซ้ายผูกปลายเชือกเข้ากับผนังด้านซ้ายส่วนอีกด้านผูกกับเชือกฟางกลางห้อง มุ้งด้านขวาผูกปลายเชือกกับผนังด้านขวาส่วนอีกด้านผูกกับเชือกฟางกลางห้อง หันหัวเข้าผนัง หันเท้าเข้าหากัน เพียงเท่านี้ อาคารโรงเรียนโรงเล่นก็แปรสภาพเป็นห้องนอนอันอบอุ่น

 

20080501 สภาพเท้า หลังย่ำดิน
สภาพเท้า หลังย่ำดิน เป็นแบบนี้แหละครับ

20080501 ก่ออิฐต้องให้ได้ยินเสียงดังแผละ
ก่ออิฐต้องให้ได้ยินเสียงดังแผละ

20080501 ย่ำ
ย่ำ ย่ำ ย่ำ

20080501 สัมผัสแผ่วเบาของนักสร้างบ้านดิน
สัมผัสแผ่วเบาของนักสร้างบ้านดิน

20080501 จับมือลงบ่อดิน
จับมือลงบ่อดิน

20080501 หลังจากย่ำดิน (1)

20080501 หลังจากย่ำดิน (2)
หลังจากย่ำดิน ชาวอาสาได้ทดลองหว่านข้าว

20080501 ดูกันก่อน
เฮ! ดูกันก่อน ครายเป็นคราย เอิ๊ก เอิ๊ก

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เรากลับถึงฮานอยอีกครั้งและเป็นช่วงสุดท้ายของทริปส์แบ็กแพ็กครั้งนี้โดยมีเวลา 2 คืน ก่อนจะเดินทางกลับ หมายความว่า เรามีเวลา 1 วันเต็ม สำหรับการตะลุยฮานอยการเช่ามอเตอร์ไซค์หรือมอเตอร์ไบค์ในฮานอยจัดว่าเป็นความท้าทายของนักขับและได้รับการกล่าวขวัญเอาไว้ในโลนลี่ แพลนเนต ว่า หากคุณไม่มั่นใจ ‘อย่า' ให้พึ่งพาเท้าทั้งสองข้างเพราะการจราจรที่นี่คับคั่งเกินกว่าเพราะตำรวจจราจรที่นี่เอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวยามเช้า เมื่อคนเริ่มพลุกพล่าน ร้านรวงบนจักรยานของแม่ค้าเปิดทำการแต่เช้าตรู่ เรากินอาหารเช้าที่แบมบู โฮเต็ล ก่อนจะตัดสินใจ เช่ามอเตอร์ไบค์ที่โรงแรมนั่นแหละ ด้วยราคา 6 เหรียญ…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
 เรือแคนนู ความเฟื่องฟูของกิจการการท่องเที่ยวยามเย็น พระอาทิตย์ตกที่ริมขอบผา
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราแกร่วอยู่ในร้านอาหารหน้าสถานีรถไฟเลาไค รอรถเที่ยว 2 ทุ่ม ถึงฮานอยเช้าแล้วต่อรถไปยังอ่าวฮาลอง หมู่เกาะกั๊ตบา ฝนตกกระหน่ำ นักท่องเที่ยวหลายชาติที่จะเดินทางไปฮานอยทยอยกันมาเรื่อยๆ จนแน่นขนัด ร้านใครร้านมันแล้วแต่คอนเนคชั่นของเอเจนซี่ เรานั่งจิบเบียร์ไปเกือบโหล เบียร์ที่เวียดนามมีหลายยี่ห้อ แตกต่างกันไปตามเมือง เบียร์ฮานอย เบียร์เว้ เบียร์(สด)โฮยอาน (อร่อยและราคาสุดคุ้ม ขอบอก) ฝนซาเม็ดและตกกระหน่ำ สลับกันหลายชั่วโมง ชวนให้คิดถึงหนังสงครามเวียดนาม ในแบบฉบับของฮอลลีวูด ทหารอเมริกันที่ถูกส่งมารบที่ตะวันออกไกล นอกจาก ต้องเผชิญกับนักรบกองโจรเวียดกง ไข้มาลาเรีย…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เด็กเจ้าของร้านขายสินค้าที่ทำจากเครื่องเงินแห่งหนึ่งในซาปา ดูจากบุคลิกแล้ว 'คิดว่า' เธอน่าจะเป็นคนจากเมืองอื่นที่ย้ายมาทำมาหากินในซาปา ซึ่งร้านลักษณะนี้มีมากมายเหมือนแหล่งท่องเที่ยวในบ้านเราที่มีคนจากแหล่งอื่นเข้ามาลงทุน ในแง่นี้เป็นทั้งกลุ่มทุนรายย่อยและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ได้ยินข่าวมาเร็วๆ นี้ก่อนที่เวียดนามจะประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างในปัจจุบันว่า รัฐบาลเวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติทั้งรายย่อย-ใหญ่ เข้ามาลงทุนได้เต็ม 100% ครับ .. ใครทุนหนา รีบๆ เข้าเด้อ!!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราใช้สูตรซื้อทัวร์ไปตลาดบั๊กฮาในช้าวันสุดท้ายที่เราอยู่ในซาปา เป็นรถตู้ร่วมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ แล้วรอรถที่สถานีรถไฟเลาไค เพื่อเดินทางกลับฮานอย รถแล่นเรียบเรื่อยไปตามถนน ลัดเลาะภูเขาสูงชัน บางแห่งจะมีการซ่อมสร้างเสริมถนน ผ่านหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน บางแห่งเป็นหมู่บ้านชาวม้งดอกไม้ที่ไกด์คนดีบอกเราว่าให้สังเกตุเอาจากสีสันของลายเสื้อ ฝนโปรยเม็ด ตอนที่เราออกมาจากซาปาทำให้เห็นหมอกหนาขึ้นมาตามชายป่าริมเขาข้างทาง เย็นแต่สวยงามดี ตลาดบั๊กฮาจะต้องผ่านเมืองเลาไค เป็นเขตพรมแดนอีกแห่งของประเทศเวียดนาม ที่ติดต่อกับประเทศจีน…
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
  เมาท์เทนวิว เป็นโรงแรมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งในซาปาที่มีคนไทยนิยมไปพักมากที่สุดอย่างน้อย รีเซฟชั่นโรงแรมอย่างมิงก็เม้าท์ให้ฟังเอาไว้อย่างนั้นเราพบเมาท์เทนวิวในเว็บไซต์แนะนำที่พักจากนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เขียนบันทึกเรื่องราวของเขาในเวียดนามเอาไว้อย่างน่าสนใจ "เมาท์เทนวิว สวยและสะอาด ข้างหลังเป็นทิวเขาที่สลับซับซ้อนและตรงกับจุดที่พระอาทิตย์ตกพอดี ด้านซ้ายจะเห็นกลุ่มบ้านเรือนกลางใจเมืองซาปา ขวาจะเป็นถนนสีเทายาวเหยียดและกลุ่มนาขั้นบันได ทุกเช้า (หากคุณตื่นเช้า) จะมองเห็นละอองหมอกระเรี่ย"เท่านั้นแหละครับ เมื่อผมกะยาดาไปถึงซาปา เราดิ่งไปเมาท์เทนวิวโดยไม่รอรีเควสซ้ำสอง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
รถไฟจะออกจากฮานอยไปซาปา สองทุ่มตรง ลงสถานีเลาไคและต่อรถตู้ อีกครึ่งวัน เรายังย่ำต็อกอยู่ในฮานอย รอเวลา จึงหอบผ้าหอบผ่อนไปจองแบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้สำหรับวันที่จะกลับมา ตามแผน เราจะอยู่ที่ซาปา 2 คืน 3 วัน แล้วกลับมาฮานอย จองทัวร์ไปอ่าวฮาลอง อีก 2 คืน 3 วัน ถึงจะกลับมาพักที่ฮานอย 2 คืน ก่อนจะกลับบ้าน จองห้องที่แบมบู เกสเฮ้าส์ เอาไว้กันเหนียว ฮานอย 18.00 น. ก็เหมือนกับกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาเร่งด่วน รถติดและคนกลับบ้าน เราอยากมั่นใจว่าจะไม่ตกรถไฟ จึงติดต่อให้ทางแบมบูจัดหารถแท็กซี่ไปส่ง ที่การันตีว่า ไม่มีชาร์ต จากคำบอกเล่าของเราที่เจอกับรถแท็กซี่ ออน ทัวร์ วนรอบเมืองในเช้าวันเดียวกัน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ผ่านไปครึ่งทริปส์ จากกรุงเทพฯถึงเวียดนามภาคกลาง เว้ ดานังและโฮยอาน กับการเดินทางในฐานะแบ็กแพ็คเกอร์ เรากำลังวางแผนขึ้นเหนือ ฮานอย ซาปา และหมู่เกาะกั๊ตบาในอ่าวฮาลอง ก่อนจะจบทริปส์แล้วบินกลับเมืองไทย จากสนามบินนอยไบ ในฮานอย ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราปั่นจักรยานไปเจอสตีฟที่ เดอ สลีฟปี้ เกกโก    ยามเช้าในโฮยอาน เหมือนกับยามเช้าในเว้ของเวียดนามวุ่นวายด้วยเสียงบีบแตรและการค้าจากโรงแรมถึงตลาดปลาและร้านขายรองเท้า ร้านขายรูปวาดและร้านขายหมวก รวมถึง เสื้อยืดที่มีดวงดาวสีเหลืองตรงหน้าอก มีให้ได้ซื้อหาเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวสตีฟเป็นชาวอังกฤษ จากยอร์กเชียร์ เขาออกจากบ้านเกิดมาตั้งแต่วัย 24 ปีและอยู่ในเวียดนามเข้าปีที่ 40 เปิดเกกโก บาร์พร้อมกับเป็นไกด์นำนักท่องเที่ยวทัวร์โฮยอานนอกจาก บ้านหลังเก่าในโอลด์ ทาวน์ และบรรยากาศล่องเรือชมแม่น้ำเขาแนะนำว่า ชนบทโฮยอานไม่อะไรให้ดูมาก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
สถานีรถไฟดานังติดแอร์คอนดิชันเย็นฉ่ำแดดร้อน ดานังเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจพร้อมท่าเรือขนาดใหญ่ ยาดาเดินแหวกผู้คนออกมาทางตามชานชาลา ช่วงนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่หยุดพักผ่อน ประตูใหญ่จากชานชาลาปิด เราแทรกตัวออกมาตามบานพับของประตูเหล็กชนิดยืดได้หดได้บริเวณก่าดานังเต็มไปด้วยรถแท็กซี่และมอเตอร์ไบค์(รับจ้าง) แท็กซี่มิเตอร์ที่เวียดนามมี 2 แบบ คือ แท็กซี่ของรัฐและแท็กซี่อิสระ สังเกตุได้จากสภาพรถและบุคลิกภาพของคนขับรถ ทันทีที่เห็นนักท่องเที่ยวอย่างเราออกมา (อย่างไม่รู้ว่าจะเริ่มไปไหนอย่างไรดี) แท็กซี่กลุ่มใหญ่ก็กรูกันเข้ามาสอบถามและเสนอราคาอย่างไม่ปรานีปราศรัย
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เราจับรถไฟเช้าจากสถานีรถไฟเว้ (ก่าเว้) ไปยังเมืองดานังเพื่อโดยสารรถไปยังเมืองโฮยอานอีกต่อ อันที่จริงไม่จำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้เพราะสามารถเดินทางจากเว้ตรงไปโฮยอานได้โดยรถทัวร์ เพียงแต่ว่า ข้อมูลจากโลนลี่ พลาเน็ต บอกเอาไว้ว่าเส้นทางรถไฟสายเว้-ดานัง เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเราจึงตัดสินใจลองของ!ยามเช้า คนเริ่มพลุกพล่าน ผมกับยาดาเรียกแต็กซี่(ตามสำนวนคนเวียด)ไปก่าเว้ก่าเว้ เป็นอาคารรูปทรงโคโลเนี่ยล ทาด้วยสีส้ม-เหลือง ผู้คนคึกคัก อุ้มลูกจูงหลานเดินทางไปทำธุระพบปะญาติมิตร นักท่องเที่ยวบางคนจับกลุ่มยืนสูบบุหรี่อยู่มุมหนึ่ง
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทันทีที่ออกจากด่านลาวบาว รถทัวร์ปุเรงมาบนถนนหมายเลข1 นักท่องเที่ยวจะต้องนั่งรถเพื่อเข้าไปยังมหานครเว้อีกราวๆ 160 กิโลเมตร (หลังจากที่ตื่นๆ หลับๆ มาแล้วราว 250 กม. บนทางหลวงหมายเลข9) รวมระยะทางจากมุกดาหาร-เว้ ประมาณ 410 กิโลเมตรนักท่องเที่ยวบางคนพักที่ด่าน ซึ่งมีเกสต์เฮาส์เล็กๆ สบายๆ และเป็นที่ขึ้นชื่อว่า ตลาดเช้าลาวบาวช่างน่ารักน่าชังนักเรื่องของเรื่อง คือ เราควรจะถึงเว้ไม่เกิน 18.00 น. ตามเวลาในตั๋วระหว่างเส้นทางจะต้องผ่านเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองเคเซนและเมืองดองฮา ทั้ง 2 เมือง คือ จุดยุทธศาสตร์ที่ถูกโจมตีอย่างหนักในสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะเมืองดองฮาหรือเรียกชื่อย่อว่า DMZ นั้น…