Skip to main content
 

เมื่อพูดกันถึงเรื่องการปฏิรูปการเมืองก็ไม่แคล้วตามมาด้วย การแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง นับเป็นสิ่งที่สังคมไทยถนัดในการแก้ปัญหาการเมืองโดยการเขียนอะไรบางอย่างขึ้นมาบังคับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร กระทั่งแม้แต่นักกฎหมายมหาชนเองก็ยังแซวผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตัวเองได้ว่า ประเทศไทยนั้นมีความเชี่ยวชาญในการร่างรัฐธรรมนูญที่สุดในโลก

นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 กล่าวในรายการตอบโจทย์  ทางสถานีไทย เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ว่าที่สุดแล้ววิกฤตของการเมืองไทยวันนี้มันก็เริ่มมาจากการแก้รัฐธรรมนูญที่ฝ่ายรัฐบาลนำเสนอนั่นเอง

ย้อนเหตุการณ์ให้ฟังอีกครั้งว่า วิกฤตนี้เกิดจากการที่รัฐบาลนายสมัครพยายามจะแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 แต่ก็ถูกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน จากนั้นจึงขยายประเด็นต่อมาเป็นการขับไล่รัฐบาลนอมินี และที่สุดก็คือการเสนอการเมืองใหม

อย่างไรก็ตาม เมื่อหลายฝ่ายเริ่มเข้ามาตอบรับข้อเสนอการเมืองใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีการปฏิรูปการเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญกันอีกครั้ง ข้อเสนอที่หลากหลายก็เริ่มประเดประดังเข้ามา และการเมืองตามระบอบรัฐสภา โดยการประชุมผู้นำ 4 ฝ่าย เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมาก็ได้ตกลงร่วมกันว่าจะแก้รัฐธรรมนูญ โดยเริ่มจากการแก้มาตรา 291 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และคาดว่า จะใช้เวลาเพียง 7 เดือน การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะแล้วเสร็จ โดยไม่ลืมหลักการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม

แต่สิ่งที่ไม่ว่าฝ่ายใดๆ ก็ตาม ที่กำลังนำสังคมไทยเดินหน้าไปสู่การปฏิรูปการเมืองไทยกันอีกครั้ง และจะนำมาซึ่งการร่างรัฐธรรมฯญกันอีกครั้ง น่าจะต้องมาทบทวนดูอีกทีคือ มันมีอะไรบางอย่างที่ต่อให้เขียนลงไปในรัฐธรรมนูญแล้วก็ยังไม่สามารถจะกำหนดได้ หรือในกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญละเลยที่จะพูดถึงไป ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมการเมืองของสังคมไทยเอง หรือแม้แต่องค์กรที่มีส่วนอยู่มนโครงสร่างอำนาจรัฐไทย ที่ไม่ปรากฏอยู่ตามรัฐธรรมนูญก็ตาม

หัวไม้สตอรี่รอบนี้ จึงอยากทำหน้าที่เพียง ย้อนกลับไปในปี 2549 ในการประชุมวิชาการว่าด้วย การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ มุมมองเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งจัดโดยสถาบันพระปกเกล้าเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2549  ไปฟังสองนักวิชาการต่างชาติ พยายามหาคำตอบและเสนอต่อการเมืองไทยที่หมุนวนอยู่กับการ ร่าง - รื้อ รัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปการเมืองซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลาผ่านไปเพียงไม่ถึง 2 ปี เหตุการณ์การเมืองไทยก็วนกลับมาสู่การอภิปรายแบบเดิมได้อย่างน่าทึ่ง

000

Dr. Kevin Tan

"เราต้องยอมรับว่าฝ่ายทหารและกษัตริย์

เป็นสถาบันที่มีอำนาจยืนยงมาเป็นเวลานานแล้ว

นี่ก็เป็นเรื่องของคนไทยที่จะต้องตกลงกันเองว่า

จะให้ระบบกษัตริย์ และทหารมีอำนาจแค่ไหนอย่างไร

เพราะอำนาจพวกนี้มันมีจริงๆ"

Dr. Kevin Tan จากสิงคโปร์ กล่าวว่า ในการแบ่งแยกอำนาจของไทยนั้น อาจจะต้องพิจารณาเป็นกรณีเฉพาะสำหรับประเทศไทย ว่านอกเหนือจากหลักการแบ่งแยกอำนาจเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่าง นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการแล้วนั้น เพื่อจะแก้ไขปัญหาทางการเมือง บางทีอาจจะต้องนำเอาสถาบันกษัตริย์และทหารซึ่งเกี่ยวข้องกับการเมืองไทยมาตลอด เข้ามาพิจารณาวางบทบาทหน้าที่แล้วกำหนดในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนไปเลย

สำหรับประเทศไทยนั้น จริงๆ แล้ว มีพลังอยู่ 5 ประการ คือ กษัตริย์ และทหารเพิ่มเข้ามา เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะคุยภายใต้บริบทของประเทศไทย เราไม่สามารถที่จะพูดถึงเรื่องหอคอยงาช้าง แต่เราต้องยอมรับว่าฝ่ายทหารและกษัตริย์เป็นสถาบันที่มีอำนาจยืนยงมาเป็นเวลานานแล้ว

แน่นอนสำหรับผมเป็นชาวต่างประเทศ ก็คงไม่มาพูดคุยว่า อันไหนดีที่สุดสำหรับประเทศไทย แต่ผมพูดข้อเท็จจริงทางการเมือง นี่ก็เป็นเรื่องของคนไทยที่จะตกลงกันเองว่าจะให้ระบบกษัตริย์ และทหารมีอำนาจแค่ไหนอย่างไร เพราะอำนาจพวกนี้มันมีจริง ๆ

และการพัฒนาทางด้านการเมืองและรัฐธรรมนูญของไทยก็มีการพูดคุยกันมาก จะว่าไปแล้วก็เป็นผีหรือคำสาปจากปี 2535 อย่างที่ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ระบุว่า ประเทศไทยจะมีรัฐบาลพลเรือนซึ่งทำงานโดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทหาร ซึ่งก็จะผ่านระยะฮันนีมูนช่วงหนึ่ง จากนั้นก็มีข่าวลือเรื่องคอร์รัปชั่น แล้วก็เกิดวิกฤต จากนั้นก็เกิดภาวะทำงานไม่ได้ และท้ายที่สุดก็มีการแทรกแซงจากมือที่ 3 มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ มีการรัฐประหาร มีการเขียน ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่

ผมคิดว่าประเทศไทยนั้น ยึดติดในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญมาก ชอบร่างฯ ใหม่ แล้วก็กลับไปสู่วงจรเดิมๆ โดยที่ไม่สามารถที่จะหลุดพ้นไปจากวงจรที่ว่านั้นได้ เนื่องจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการร่วมกันร่างของอำนาจระดับบน แต่การร่างรัฐธรรมนูญจะสำเร็จได้ก็เมื่อประชาชนยอมรับร่วมกัน

ข้อที่น่าสนใจก็คือ เราต้องพิจารณาว่ามีอะไรผิดที่เกิดจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คนที่ศึกษารัฐธรรมนูญในเอเชียก็พูดกันบ่อยๆ ว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ของประเทศไทยเป็นฉบับที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งในโลก แต่เกิดอะไรขึ้น

ที่บอกว่ารัฐธรรมนูญ 2540เป็นฉบับที่ดีฉบับหนึ่งของโลกนั้น เพราะอย่างน้อยที่สุดมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และนี่เป็นข้อดีมากๆ ถ้าเกิดไม่มีการรัฐประหาร

ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือการนำรัฐธรรมนูญมาใช้ต่างหาก สิ่งที่ผมกังวลอยู่ก็คือว่า ผู้นำของประเทศไทยคิดว่ารัฐธรรมนูญจะแก้ปัญหาได้ แต่ปัญหาการเมืองไทยมันลึกไปกว่านั้นนะ เกินกว่าที่รัฐธรรมนูญจะแก้ได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่ยามหัศจรรย์ ที่ว่าจะเขียนร่างฯ ใหม่แล้วจะแก้ปัญหาได้ เรื่องที่สำคัญไม่ใช่เรื่องดุลยภาพของฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารแต่ว่าปัญหาอยู่ทีหน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบต่างหาก

ผมขอพูดถึงบริบทนอกประเทศไทย ผมอยากจะแนะนำประเภทของความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร รูปแบบแรก ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารแข็งแรงเท่ากันก็จะเกิดการแยกอำนาจที่เข้มแข็งแต่ก็มีอุปสรรคว่า ถ้าต่างฝ่ายต่างแข็งมันก็ทำงานกันไม่ได้

รูปแบบต่อไปคือ ฝ่ายบริหารอ่อนแอ ฝ่ายนิติบัญญัติแข็งแรง เช่น ในระบบประธานาธิบดีของอเมริกาก็เคยประสบปัญหานี้ รัฐบาลก็จะค่อนข้างปวกเปียก

รูปแบบที่ 3 ต่างฝ่ายต่างอ่อนแอ ก็อาจจะมีบุคคลที่ 3 มาเกี่ยวข้อง เช่น กรณีของประเทศไทย ก็มีทหารเข้ามาเกี่ยวข้อง

เพราะฉะนั้นแทนที่จะไปคาดว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะเป็นฝ่ายเดียวที่จะควบคุมฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญฉบับ 1997 มีการบัญญัติให้มีหน่วยงานอิสระที่จะควบคุมฝ่ายบริหารซึ่งเป็นบทบัญญัติที่แม้แต่สิงคโปร์เราก็ไม่มีและกำลังฝันอยู่

ผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยก็คือว่า หน่วยงานอิสระเหล่านี้ไม่สามารถทำงานของตัวเองได้อย่างดี ก็อาจจะเป็นเพราะทักษิณหรืออะไรก็ตาม นี่คือประเด็นที่สำคัญมากๆ ไม่ว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะแข็งแรงพอหรือไม่ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือหน่วยงานอิสระเหล่านี้เอง

เพราะฉะนั้น การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่จำเป็นต้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติแข็งแรงกว่าฝ่ายบริหาร เพราะว่าทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน แต่สิ่งที่ต้องทำคือ จะทำอย่างไรให้หมาเฝ้าบ้าน ซึ่งได้แก่องค์กรอิสระได้ทำงานได้อย่างแข็งแรงมากกว่า

0 0 0

Prof. Andrew Harding

"อาจจะเป็นการผิด

ที่เราพยายามใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญในการแก้ปัญหา

เราให้ความสำคัญกับคนพวกนี้มากไปหรือเปล่า

เราอย่าไปคิดหรือคาดหวังมากกับนักกฎหมาย

แต่สิ่งที่สำคัญก็คือการพัฒนาระบอบการเมือง

อย่าไปคิดว่าเพราะการเมืองมันล้มเหลวแล้วไปหาทางออกอย่างอื่น"

Prof. Andrew Harding จากแคนาดา - กระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญสำคัญมาก เพราะว่าถ้ากระบวนการมันถูกต้องผลก็จะออกมาดี มันไม่ใช่เรื่องของการเอาผลอย่างเดียว แต่กระบวนการต้องดีเป็นที่ยอมรับด้วย ผลที่จะได้ก็จะออกมาดีเป็นที่ยอมรับ ผมเห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ของไทยนั้นทำให้เกิดผลเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งในโลก

โดยทั่วไปการร่างฯ จะดีที่สุด ถ้ามีตัวแทนหรือองค์กรจากฝ่ายต่างๆ จำนวนมาก และก็มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยร่างฯ ในประเด็นทีเกี่ยวข้องอื่นๆ และก็เราก็จะต้องมีการทำประชามติ เพื่อให้เห็นชอบกระบวนการ ซึ่งก็เขียนไว้รัฐธรรมนูญเฉพาะกาลแล้ว

แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตในประเด็นเรื่องการประชามติ เพราะปรากฏว่าหลายประเทศในยุโรปเปิดให้มีการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป แต่ผลที่ได้คือการปฏิเสธรัฐธรรมนูญของยุโรป ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่เราจะสันนิษฐานเอาเองว่า ประชาชนจะให้ความเห็นชอบ เพราะว่าการลงประชามติเกี่ยวข้องกับหลายอย่าง เกี่ยวข้องกับเวลา เกี่ยวข้องกับความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปมา

จุดเข็งของรัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นดีอยู่แล้วสำหรับฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง แต่ปัญหาคือการมีฝ่ายนิติบัญญัติอ่อนแอเกินไป และผมก็ไม่เห็นด้วยว่า หากทั้งสองฝ่ายแข็งแรงแล้วการเมืองจะติดล็อก

ประเด็นต่อไปก็คือ ผมเห็นว่านายกฯ ไม่ควรจะมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการยุบสภา และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของนายกฯ ไม่ควรเกิน 2 สมัย

อีกประเด็นที่สำคัญก็คือ รัฐธรรมนูญของไทยซึ่งบัญญัติให้รัฐสภาเป็นผู้รับประกันความอิสระของหน่วยงานอิสระเป็นเรื่องที่ชาญฉาดมาก และแม้จะทำไม่ได้ในทางปฏิบัติก็ไม่ควรจะเอาเหตุที่ปฏิบัติไม่ได้ก็โยนมันทิ้งไปหมดเลยทั้งกระบิ วิธีการก็คือว่า ต้องพิจารณาว่าบทบาทใดที่เป็นไปได้ และจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นในทางปฏิบัติ

นอกจากนี้เราควรจะมานั่งคิดว่า จะทำให้รัฐประหารมันไม่จำเป็นและเป็นไปไม่ได้ในอนาคตได้อย่างไร เราทำได้ แต่เราไม่กล้าที่จะทำหรือเปล่า เราควรเขียนในรัฐธรรมนูญว่า จะทำอย่างไรให้การรัฐประหารเป็นไปไม่ได้ เราต้องนั่งลงคิดเรื่องทหาร เพราะการที่ให้พื้นที่กับทหาร ก็คือการไม่ให้ความสำคัญกับประชาธิปไตย และอาจจะเป็นการผิดที่เราจะพยายามใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญในการแก้ปัญหา เราให้ความสำคัญกับคนพวกนี้มากไปหรือเปล่า เราอย่าไปคิดหรือคาดหวังมากกับนักกฎหมาย แต่สิ่งที่สำคัญก็คือการพัฒนาระบอบการเมือง อย่าไปคิดว่าเพราะการเมืองมันล้มเหลวแล้วไปหาทางออกอย่างอื่น

สุดท้าย การร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่แค่การจัดทำรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ต้องมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนด้วย เหมือนอย่างที่รัฐธรรมนูญปี 2540 เคยทำ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมเป็นห่วงที่สุดขณะนี้ก็คือ องค์ประกอบของคนร่างรัฐธรรมนูญ

อ้างอิง

ฟัง 2 นักวิชาการแคนาดา-สิงคโปร์ : ถ้ารัฐธรรมนูญ 2540 ดีที่สุดในโลก แล้วปัญหาการเมืองไทยอยู่ที่ไหน http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=5720&Key=HilightNews

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…