Skip to main content

 

ทีมข่าวการเมือง

ข่าวเรื่องนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกแบน ในประเทศไทย ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเอพี และเสตรทไทม์ ขณะที่ในเมืองไทย [1] ข่าวดังกล่าวไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก และเพิ่งมาปรากฏขึ้นในลักษณะของการตอบโต้จากทางการไทย ผ่าน.นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อิโคโนมิสต์  ระบุว่า....

            "รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา โดยไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมถึงไม่คำนึงว่าประเทศไทยมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ และยังมีความผูกพันระหว่างประชาชน กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่หยั่งรากลึกมายาวนาน และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางพระองค์ตามบทบาทที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมือง ทรงเข้าแทรกแซงทางการเมืองน้อยมาก และถ้ามีการแทรกแซงก็เป็นไปเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์นองเลือดในหมู่คนไทย เช่น ในปี 2535 โดยไม่ได้ทรงเข้าข้างกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กลุ่มการเมืองต่างๆ และนักวิเคราะห์ มักดึงพระองค์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ก่อนการแทรกแซงโดยทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ระบบการเมืองไทยวุ่นวายจนเกือบหยุดชะงัก มีเสียงเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทาน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธ พร้อมกับมีพระราชกระแสว่าปัญหาต่างๆ ต้องแก้ไขด้วยกระบวนการประชาธิปไตย

คนไทยมีความรักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสมัครใจ จากการได้เห็นพระองค์ท่านทรงเสียสละ และทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย

กระนั้นก็ดี มีบุคคลบางกลุ่มพยายามกล่าวอ้างว่า ได้รับการสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือตีความเข้าข้างตัวเอง ซึ่งอันที่จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเมื่อปี 2548 ว่า พระองค์ไม่ได้อยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ แต่ฐานะของพระองค์ที่อยู่เหนือกฎหมายทำให้พระองค์ไม่สามารถตอบโต้ข้อกล่าวอ้างทางการเมืองหรือข้อกล่าวหาใดๆ แต่ประเทศไทยมีกฎหมายปกป้องพระมหากษัตริย์

นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง นั่นคือ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายโดยสมาชิกรัฐสภา ซึ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เลือกพวกเขาเข้ามาเป็นตัวแทน

ในการละเลยข้อเท็จจริงและตรรกะง่ายๆ เช่นนี้ บทความในนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถือเป็นการกล่าวหาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างผิดๆ และสร้างความโกรธเคืองในหมู่ชาวไทย ดังนั้นจึงต้องมีการประท้วงอย่างจริงจังที่สุด".....[2]

 

แล้ว ดิ อีโคโนมิสต์เขียนอะไร

บทความ The king and them, http://www.economist.com/opinion/displaystory.cfm?story_id=12724832

ถูกแปลเป็นไทยในชื่อ สถาบันกษัตริย์กับปวงชน อ้างอิงจากเว็บไซต์ อารยชน http://arayachon.org/sansab/20081207/902 มีเนื้อหาว่า

 

ธุรกิจการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการส่งออกและภาพลักษณ์ของประเทศไทย ได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ จากเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้

 

มวลชนที่นิยมเจ้า เข้ายึดทำเนียบรัฐบาลมาหลายเดือนและได้ยึดสนามบินกรุงเทพฯทั้งสองแห่งด้วยตำรวจไทยปฏิเสธที่จะขับไล่กลุ่มผู้ชุมนุม กองทัพก็ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ

 

การชุมนุมยึดสถานที่ดังกล่าว ยุติลงในสัปดาห์นี้ หลังจากศาลสั่งให้ยุบสามพรรคการเมืองซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ทั้งสามพรรค กำลังจะตั้งพรรคใหม่และจะร่วมกันบริหารประเทศต่อไป ท่ามกลางความขัดแย้ง ที่กำลังคุกรุ่น

 

เปรียบดั่งเปลือกหุ้มแห่งความทันสมัย ที่เกิดจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ได้ลอกคราบบางๆของมันออกไป ทั้งที่ไม่นานมานี้ ไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำของเอเชีย ในด้านความเป็นสังคมที่เปิดกว้างและหลากหลาย แต่ตอนนี้ ไทยกลับลื่นไถลไปสู่ความเป็นอนาธิปไตย

 

ความขัดแย้งเริ่มขึ้นเมื่อสามปีที่แล้ว จากการชุมนุมประท้วงอย่างสงบ เพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่นและการใช้อำนาจในทางที่ผิดของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร บรรดาผู้ประท้วงใส่เสื้อเหลือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันฯ กล่าวหาว่าทักษิณเป็นผู้นิยมสาธารณรัฐ

 

พวกเขาประสบความสำเร็จ เมื่อพวกนายทหารนิยมเจ้า ได้ก่อรัฐประหาร ขับไล่ทักษิณออกจากอำนาจ เมื่อปีพ.ศ. 2549 แต่เมื่อระบอบประชาธิปไตยได้กลับคืนมาเมื่อปีที่แล้ว คนไทยส่วนใหญ่เลือกรัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคที่เป็นพวกเดียวกับทักษิณ

กลุ่มคนเสื้อเหลืองซึ่งตั้งชื่ออย่างไม่ตรงกับความจริงนักว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พันธมิตร) ได้กลับมาประท้วงอีกครั้ง และได้นำเอายุทธวิธีป่าเถื่อนแบบอันธพาลมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ กระตุ้นให้กลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณซึ่งใส่เสื้อสีแดง รวมตัวกันเพื่อตอบโต้

 

พูดไม่ได้

ตลอดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ไม่อาจพาดพิงถึงได้ ไม่เพียงแต่สำหรับสื่อมวลชนไทย แต่รวมถึงผู้สื่อข่าวต่างชาติส่วนใหญ่ด้วยคือ บทบาทของพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และบรรดาผู้รับใช้ใกล้ชิดทั้งหลาย

 

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งถูกบังคับใช้อย่างรุนแรงที่สุดกว่าทุกประเทศในโลก เป็นเกราะกำบังสำคัญ ที่ทำให้แม้แต่การเอ่ยถึงบทบาทของราชวงศ์อย่างสุภาพที่สุด ก็ยังถือเป็นเรื่องต้องห้ามในที่สาธารณะของคนไทย

 

กฎหมายนี้ถูกยกเลิกไปแล้วในประเทศอื่นๆทั่วโลก แต่ในประเทศไทยกลับถูกนำมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970

 

เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล ที่ใครก็ได้ สามารถแจ้งความฟ้องร้องให้ดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตำรวจต้องดำเนินคดีประเภทนี้อย่างจริงจัง แม้กับการแจ้งความในเรื่องเล็กๆน้อยๆ

 

ทั้งหมดนี้ ทำให้กฎหมายนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับนักการเมืองหรือใครก็ตาม ในการทำลายศัตรูของตน และบ่อยครั้งสื่อมวลชน ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้อธิบายรายละเอียดของข้อกล่าวหาที่มีต่อสถาบันฯ ทำให้คนไทยไม่มีทางทราบว่า การกล่าวหาว่าไม่เคารพสถาบันฯ นั้น จริงหรือไม่

 

กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพ เป็นกฎหมายที่รุนแรงเข้มงวดในตัวเอง และไม่ควรถูกนำมาบังคับใช้ในประเทศใดก็ตาม ที่ประกาศว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แย่ยิ่งกว่านั้นคือ กฎหมายนี้ ปิดบังคนไทยไม่ให้รู้เหตุผลหลายเรื่องของปัญหาการเมืองไทยที่เรื้อรัง.....

 

 

 

ดิอีโคโนมิสต์ ระบุต่อไปว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเปิดกว้าง สำหรับการอภิปรายเรื่องนี้ ถ้าต้องเตรียมการสำหรับการขึ้นครองราชย์ของพระราชวงศ์องค์ต่อๆ ไป  "ไม่ดีแน่ๆที่ประเทศใด จะหลอกตนเองด้วยประวัติศาสตร์แบบเทพนิยายปรัมปรา"

 

ดิ อีโคโนมิสต์ นำเสนอต่อไปด้วยว่า หลังจากการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นครั้งที่ 15 ในรัชกาลนี้ เจ้าหน้าที่ทางการไทยพยายามบอกชาวต่างชาติว่า ตามแบบแผนพิธีการของไทย พระมหากษัตริย์ จำเป็นต้องยอมรับการยึดอำนาจของคณะนายทหาร ในขณะที่คนไทยถูกบอกอีกอย่างหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะรัฐประหารเข้าเฝ้าฯอย่างเร่งด่วน และหนังสือพิมพ์ต่างๆได้ตีพิมพ์ภาพดังกล่าว สื่อแสดงว่า สถาบันฯยอมรับการรัฐประหารครั้งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เมื่อทรงมีพระราชดำรัสต่อบรรดาผู้พิพากษา ให้จัดการกับวิกฤตทางการเมือง บรรดาศาลทั้งหลาย ดูเหมือนได้แปลพระราชประสงค์ออกมา ในรูปของการเร่งดำเนินคดีต่างๆ กับอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรและพรรคพวกของเขา ซึ่งล่าสุด ในสัปดาห์นี้ คือการวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลทั้งสามพรรค

ทั้งนี้  ผู้เขียนได้วิพากษ์ด้วยว่า ในจินตนาการของกลุ่มคนไทยนิยมเจ้า ประเทศของพวกเขาคล้ายกับประเทศภูฏาณ ที่ซึ่งกษัตริย์หนุ่มมีสง่าราศรี ได้รับความนิยมรักใคร่จากประชาชนที่มีจำนวนเล็กน้อย และนิยมอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์มากกว่าระบอบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริง สาธารณชนกำลังขุ่นเคืองต่อการให้ท้ายกลุ่มพันธมิตรฯที่เป็นอันธพาล และพันธมิตรฯซึ่งได้รับการอุ้มชูและให้ท้ายโดยสถาบันฯ ได้กลายเป็นตัวบ่อนเซาะทำลายสถาบันฯเสียเอง

"ภาพที่ปรากฏซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อสาธารณชนในหลายวันที่ผ่านมา ก็คือบรรดาอันธพาลในกลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ยิงทำร้ายประชาชนผู้สนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่กำลังชูพระบรมฉายาลักษณ์"

"กระนั้นก็ดี พระองค์ก็ยังทรงเป็นบุคคลเดียวที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยการออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันคร่ำครึ รวมทั้งข้อความทั้งหมดที่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวในรัฐธรรมนูญ สิ่งนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ประชาชนไทย สามารถร่วมกันอภิปรายเพื่อหาทางออก สำหรับอนาคตของตนได้ แม้ว่าพระองค์ได้เคยกล่าวถึงกฎหมายดังกล่าวอย่างครึ่งๆกลางๆในปีพ.ศ. 2548 ว่า พระองค์ไม่ได้ทรงอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ แต่สิ่งใดก็ตามที่น้อยกว่า การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คงไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาใหญ่โตนี้ได้ ใครก็ตามที่เป็นมิตรแท้กับประเทศและประชาชนไทย ควรต้องช่วยกันบอกประเทศไทย"

นอกเหนือจากบทความชิ้นนี้ ดิ อีโคโนมิสต์ยังได้ตีพิมพ์บทความอีกชิ้น คือ Thailand's king and its crisis: A right royal mess http://www.economist.com/world/asia/displaystory.cfm?story_id=12724800

 

โดยแนวทางเดียวกับที่ ดิ อีโคโนมิสต์ได้นำเสนอ สื่อระดับโลกอื่นๆ ก็นำเสนอบทความวิเคราะห์วิพากษ์เช่นกัน  อาทิเช่น

- The International Herald Tribune ,The crowd and the crown http://www.iht.com/articles/2008/12/01/opinion/edbowring.php

- Los Angeles Time,  Bhumibol, Thailand's remarkable king The 81-year-old built up, and now wields, considerable power over his country.

http://www.latimes.com/news/opinion/commentary/la-oe-thompson11-2008dec11,0,7501175.story

-  BBC, How did Thai protesters manage it? http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7762806.stm

- The Times, Analysis: dark rumours around Thai monarchy and PAD victory http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article5274383.ece

- Washington Post, Thailand's Vicious Circle http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2008/12/03/AR2008120302958.html

 

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐไทยคงจะต้องตามส่งจดหมายประณามสื่อเหล่านี้ต่อไปให้ถ้วนหน้า พร้อมชี้แจงข้อความเข้าใจผิดทั้งปวง ทั้งนี้ ในส่วนขอนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์นั้น เว็บไซต์เสตรทไทม์รายงานแล้วว่า ผู้เขียนบทความเจ้าปัญหาดังกล่าว คือผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้ ของนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ซึ่งเดินทางออกจากประเทศไทยไปแล้ว และไม่มีกำหนดการที่จะกลับมายังประเทศเล็กๆ แห่งนี้อีก

ข่าวที่ไม่ได้รับการรายงาน แต่ถูกพูดต่อๆ ไปในหมู่ผู้สื่อข่าวก็คือ แม้แต่ออฟฟิศของนิตยสารเล่มนี้ก็เตรียมจะย้ายออกจากประเทศไทยด้วย

ความเข้าใจผิด' ของสื่อต่างประเทศเหล่านี้ ทั้งที่ได้อาศัยพำนักอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายปี ยังคงต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง แน่นอนว่าพวกเขาต้องมีสิทธิในการ ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง' เช่นเดียวกับที่ประชาชนไทยได้สิทธินั้น

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า เนื้อหาแห่งความ เข้าใจผิด' นี้กลับไม่ถูกรายงานในสื่อกระแสหลักในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนไทยได้รับรู้ด้วยว่า คนนอก' มีความ เข้าใจผิด' อย่างไร สำหรับในหมู่คนไทยเอง คำอธิบายเรื่องการ 'ไม่ปรากฎ' ต่อสาธารณะของเนื้อหาเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในทางที่ว่า เป็นการใช้วิจารณญาณของสื่อต่างๆ ในการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำเสนอ ซึ่งหากแปลเป็นภาษาอังกฤษก็หนีไม่พ้นคำว่า self censorship

ดิ อีโคโนมิสต์ นั้น เป็นกระบอกเสียงของฝ่ายเสรีนิยม-อนุรักษ์นิยม ซึ่งวางจำหน่ายทั่วโลก และได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อผู้อ่านมากอย่างยิ่งฉบับหนึ่ง การตีพิมพ์บทความนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะส่งผลสะเทือนในแง่ความเข้าใจของมิตรประเทศที่มีต่อสังคมไทย และแม้จะตบท้ายบทความด้วยน้ำเสียงห่วงใยสังคมไทยก็ตามที ทว่า ความเปลี่ยนแปลงใดๆ คงไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากคนในประเทศไม่รู้สึกถึงความ ต้องเปลี่ยนแปลง' ด้วยตนเอง

และแม้ข่าวคราวเกี่ยวกับการที่นิตยสารเล่มนี้ไม่ได้ถูกวางจำหน่าย จะไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ในระหว่างที่คนไทยจำนวนมากไม่ได้รับข้อมูลเรื่องนี้ ในพื้นที่อื่นๆ นอกพรมแดนประเทศไทย เริ่มมีการพูดถึงเรื่องนี้มากขึ้น ทั้งผ่านนักกิจกรรม และนักวิชาการ แน่นอนว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวในโลก และคงห้ามการหลั่งไหลถ่ายเทของข้อมูลได้ยาก หากยังต้องอยู่ร่วมผืนดินและแผ่นฟ้าเดียวกับประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ เว้นเสียแต่ว่า จะปิดทุกประตูและหน้าต่างออกจากการติดต่อสัมพันธ์

ภาพของข้อมูลที่ไม่ถูกถ่ายเท และการสะดุดหยุดลงของข้อมูลข่าวสารใดๆ ยังคงถูกจับจ้องมองจากนานาประเทศ พร้อมจะถูกวิพากษ์ และ เข้าใจผิด'

ท่ามกลางผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติกว่า 90 ชีวิตที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศถามวีระ มุสิกะพงษ์ ดูเหมือนเป็นสัญญาณว่าเขาได้รับรู้อะไรมาบางอย่างเกี่ยวกับการ แบน' รายการ ความจริงวันนี้ รวมไปถึงผู้สื่อข่าวอีกคน ที่พุ่งคำถามไปตรงๆ ว่า รายการของคุณจะถูกปิดใช่ไหม หากรัฐบาลประชาธิปัตย์เข้าสู่อำนาจ

ดูเหมือนว่า วันนี้ คำตอบเชิงรูปธรรมจะปรากฏแล้วจากคำให้สัมภาษณ์ของนายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที (ช่อง11) ซึ่งให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จากกระแสข่าวที่มีออกมาว่า ทางสถานีฯมีการปลดรายการ "ความจริงวันนี้" ออกจากผังรายการ หลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้น ขอชี้แจงว่า รายการความจริงวันนี้ ยังอยู่ในผังรายการของทางสถานีฯอยู่ ถึงแม้ว่ากำลังจะใกล้หมดสัญญาแล้วก็ตาม แต่ที่ไม่ได้เห็นรายการนี้แพร่ภาพเหมือนที่เคยเพราะสถานีได้ขอเวลามาทำเอง"

แน่นอน สังคมไทยมีความสามารถพิเศษในการยอมรับต่อคำอธิบายที่อ่อนโยนและคลุมเครือเสมอ แม้แต่ในการเข้ายึดสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นเหตุให้ประชาชนของหลายประเทศได้รับผลกระทบ จำนวนไม่ต่ำกว่า 350,000 คน ซึ่งไม่คำอธิบายอะไรที่ชัดเจน เป็นหลักการที่พอยอมรับได้จนกระทั่งบัดนี้

เป็นที่คาดเดาได้ไม่ยากว่า ประเด็นการปิดรายการความจริงวันนี้ จะกลายเป็นหนึ่งในรายงานของผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่จะนำเสนอข้อมูลที่ ผิดพลาด' เกี่ยวกับสังคมไทยอีกคำรบหนึ่ง

และนี่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า คำอธิบายที่แท้จริงต่อกรณีที่รายการความจริงวันนี้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสื่อของรัฐเองนั้น สังคมไทยจะตอบว่านี่คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนแล้วหรือมิใช่ ที่สามารถขจัดรายการที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐ อย่างที่สื่อไทยและสังคมไทยยึดถือเป็นปัญหาขั้นคลาสสิก เราพร้อมที่จะอธิบายแล้วว่าอำนาจที่ยิ่งใหญ่เหนือรัฐบาลไทยและเข้มแข็งมากจนสั่นคลอนรายการที่เป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนี้ เป็นอำนาจของประชาชน เสียงสวรรค์แห่งระบบประชาธิปไตย ใช่ หรือไม่?

 

อ้างอิง

รอยเตอร์และสเตรทไทม์รายงาน นิตยสาร The Economist ถูกห้ามเผยแพร่ในไทย, http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=14801&Key=HilightNews

ประท้วง "ดิ อิโคโนมิสต์" บิดเบือนสถาบันเบื้องสูง  http://www.prachatai.com/05web/th/home/14846

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…