Skip to main content

 

ทีมข่าวการเมือง

ข่าวเรื่องนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถูกแบน ในประเทศไทย ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของเอพี และเสตรทไทม์ ขณะที่ในเมืองไทย [1] ข่าวดังกล่าวไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก และเพิ่งมาปรากฏขึ้นในลักษณะของการตอบโต้จากทางการไทย ผ่าน.นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหนังสืออย่างเป็นทางการถึงบรรณาธิการนิตรสาร ดิ อิโคโนมิสต์  ระบุว่า....

            "รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่งต่อมุมมองและทัศนคติของนิตยสารฉบับดังกล่าว ซึ่งลงบทความเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย และตีความเหตุการณ์ต่างๆ ไปตามการคาดเดา โดยไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมถึงไม่คำนึงว่าประเทศไทยมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ และยังมีความผูกพันระหว่างประชาชน กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่หยั่งรากลึกมายาวนาน และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางพระองค์ตามบทบาทที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมือง ทรงเข้าแทรกแซงทางการเมืองน้อยมาก และถ้ามีการแทรกแซงก็เป็นไปเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์นองเลือดในหมู่คนไทย เช่น ในปี 2535 โดยไม่ได้ทรงเข้าข้างกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กลุ่มการเมืองต่างๆ และนักวิเคราะห์ มักดึงพระองค์เข้าไปเกี่ยวข้อง

ก่อนการแทรกแซงโดยทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ระบบการเมืองไทยวุ่นวายจนเกือบหยุดชะงัก มีเสียงเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทาน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธ พร้อมกับมีพระราชกระแสว่าปัญหาต่างๆ ต้องแก้ไขด้วยกระบวนการประชาธิปไตย

คนไทยมีความรักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสมัครใจ จากการได้เห็นพระองค์ท่านทรงเสียสละ และทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย

กระนั้นก็ดี มีบุคคลบางกลุ่มพยายามกล่าวอ้างว่า ได้รับการสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือตีความเข้าข้างตัวเอง ซึ่งอันที่จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเมื่อปี 2548 ว่า พระองค์ไม่ได้อยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ แต่ฐานะของพระองค์ที่อยู่เหนือกฎหมายทำให้พระองค์ไม่สามารถตอบโต้ข้อกล่าวอ้างทางการเมืองหรือข้อกล่าวหาใดๆ แต่ประเทศไทยมีกฎหมายปกป้องพระมหากษัตริย์

นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง นั่นคือ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายโดยสมาชิกรัฐสภา ซึ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เลือกพวกเขาเข้ามาเป็นตัวแทน

ในการละเลยข้อเท็จจริงและตรรกะง่ายๆ เช่นนี้ บทความในนิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ถือเป็นการกล่าวหาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างผิดๆ และสร้างความโกรธเคืองในหมู่ชาวไทย ดังนั้นจึงต้องมีการประท้วงอย่างจริงจังที่สุด".....[2]

 

แล้ว ดิ อีโคโนมิสต์เขียนอะไร

บทความ The king and them, http://www.economist.com/opinion/displaystory.cfm?story_id=12724832

ถูกแปลเป็นไทยในชื่อ สถาบันกษัตริย์กับปวงชน อ้างอิงจากเว็บไซต์ อารยชน http://arayachon.org/sansab/20081207/902 มีเนื้อหาว่า

 

ธุรกิจการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการส่งออกและภาพลักษณ์ของประเทศไทย ได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ จากเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้

 

มวลชนที่นิยมเจ้า เข้ายึดทำเนียบรัฐบาลมาหลายเดือนและได้ยึดสนามบินกรุงเทพฯทั้งสองแห่งด้วยตำรวจไทยปฏิเสธที่จะขับไล่กลุ่มผู้ชุมนุม กองทัพก็ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ

 

การชุมนุมยึดสถานที่ดังกล่าว ยุติลงในสัปดาห์นี้ หลังจากศาลสั่งให้ยุบสามพรรคการเมืองซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ทั้งสามพรรค กำลังจะตั้งพรรคใหม่และจะร่วมกันบริหารประเทศต่อไป ท่ามกลางความขัดแย้ง ที่กำลังคุกรุ่น

 

เปรียบดั่งเปลือกหุ้มแห่งความทันสมัย ที่เกิดจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ได้ลอกคราบบางๆของมันออกไป ทั้งที่ไม่นานมานี้ ไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำของเอเชีย ในด้านความเป็นสังคมที่เปิดกว้างและหลากหลาย แต่ตอนนี้ ไทยกลับลื่นไถลไปสู่ความเป็นอนาธิปไตย

 

ความขัดแย้งเริ่มขึ้นเมื่อสามปีที่แล้ว จากการชุมนุมประท้วงอย่างสงบ เพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่นและการใช้อำนาจในทางที่ผิดของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร บรรดาผู้ประท้วงใส่เสื้อเหลือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันฯ กล่าวหาว่าทักษิณเป็นผู้นิยมสาธารณรัฐ

 

พวกเขาประสบความสำเร็จ เมื่อพวกนายทหารนิยมเจ้า ได้ก่อรัฐประหาร ขับไล่ทักษิณออกจากอำนาจ เมื่อปีพ.ศ. 2549 แต่เมื่อระบอบประชาธิปไตยได้กลับคืนมาเมื่อปีที่แล้ว คนไทยส่วนใหญ่เลือกรัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคที่เป็นพวกเดียวกับทักษิณ

กลุ่มคนเสื้อเหลืองซึ่งตั้งชื่ออย่างไม่ตรงกับความจริงนักว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พันธมิตร) ได้กลับมาประท้วงอีกครั้ง และได้นำเอายุทธวิธีป่าเถื่อนแบบอันธพาลมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ กระตุ้นให้กลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณซึ่งใส่เสื้อสีแดง รวมตัวกันเพื่อตอบโต้

 

พูดไม่ได้

ตลอดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ไม่อาจพาดพิงถึงได้ ไม่เพียงแต่สำหรับสื่อมวลชนไทย แต่รวมถึงผู้สื่อข่าวต่างชาติส่วนใหญ่ด้วยคือ บทบาทของพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และบรรดาผู้รับใช้ใกล้ชิดทั้งหลาย

 

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งถูกบังคับใช้อย่างรุนแรงที่สุดกว่าทุกประเทศในโลก เป็นเกราะกำบังสำคัญ ที่ทำให้แม้แต่การเอ่ยถึงบทบาทของราชวงศ์อย่างสุภาพที่สุด ก็ยังถือเป็นเรื่องต้องห้ามในที่สาธารณะของคนไทย

 

กฎหมายนี้ถูกยกเลิกไปแล้วในประเทศอื่นๆทั่วโลก แต่ในประเทศไทยกลับถูกนำมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970

 

เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล ที่ใครก็ได้ สามารถแจ้งความฟ้องร้องให้ดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตำรวจต้องดำเนินคดีประเภทนี้อย่างจริงจัง แม้กับการแจ้งความในเรื่องเล็กๆน้อยๆ

 

ทั้งหมดนี้ ทำให้กฎหมายนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับนักการเมืองหรือใครก็ตาม ในการทำลายศัตรูของตน และบ่อยครั้งสื่อมวลชน ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้อธิบายรายละเอียดของข้อกล่าวหาที่มีต่อสถาบันฯ ทำให้คนไทยไม่มีทางทราบว่า การกล่าวหาว่าไม่เคารพสถาบันฯ นั้น จริงหรือไม่

 

กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพ เป็นกฎหมายที่รุนแรงเข้มงวดในตัวเอง และไม่ควรถูกนำมาบังคับใช้ในประเทศใดก็ตาม ที่ประกาศว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แย่ยิ่งกว่านั้นคือ กฎหมายนี้ ปิดบังคนไทยไม่ให้รู้เหตุผลหลายเรื่องของปัญหาการเมืองไทยที่เรื้อรัง.....

 

 

 

ดิอีโคโนมิสต์ ระบุต่อไปว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเปิดกว้าง สำหรับการอภิปรายเรื่องนี้ ถ้าต้องเตรียมการสำหรับการขึ้นครองราชย์ของพระราชวงศ์องค์ต่อๆ ไป  "ไม่ดีแน่ๆที่ประเทศใด จะหลอกตนเองด้วยประวัติศาสตร์แบบเทพนิยายปรัมปรา"

 

ดิ อีโคโนมิสต์ นำเสนอต่อไปด้วยว่า หลังจากการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นครั้งที่ 15 ในรัชกาลนี้ เจ้าหน้าที่ทางการไทยพยายามบอกชาวต่างชาติว่า ตามแบบแผนพิธีการของไทย พระมหากษัตริย์ จำเป็นต้องยอมรับการยึดอำนาจของคณะนายทหาร ในขณะที่คนไทยถูกบอกอีกอย่างหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะรัฐประหารเข้าเฝ้าฯอย่างเร่งด่วน และหนังสือพิมพ์ต่างๆได้ตีพิมพ์ภาพดังกล่าว สื่อแสดงว่า สถาบันฯยอมรับการรัฐประหารครั้งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เมื่อทรงมีพระราชดำรัสต่อบรรดาผู้พิพากษา ให้จัดการกับวิกฤตทางการเมือง บรรดาศาลทั้งหลาย ดูเหมือนได้แปลพระราชประสงค์ออกมา ในรูปของการเร่งดำเนินคดีต่างๆ กับอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรและพรรคพวกของเขา ซึ่งล่าสุด ในสัปดาห์นี้ คือการวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลทั้งสามพรรค

ทั้งนี้  ผู้เขียนได้วิพากษ์ด้วยว่า ในจินตนาการของกลุ่มคนไทยนิยมเจ้า ประเทศของพวกเขาคล้ายกับประเทศภูฏาณ ที่ซึ่งกษัตริย์หนุ่มมีสง่าราศรี ได้รับความนิยมรักใคร่จากประชาชนที่มีจำนวนเล็กน้อย และนิยมอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์มากกว่าระบอบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริง สาธารณชนกำลังขุ่นเคืองต่อการให้ท้ายกลุ่มพันธมิตรฯที่เป็นอันธพาล และพันธมิตรฯซึ่งได้รับการอุ้มชูและให้ท้ายโดยสถาบันฯ ได้กลายเป็นตัวบ่อนเซาะทำลายสถาบันฯเสียเอง

"ภาพที่ปรากฏซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อสาธารณชนในหลายวันที่ผ่านมา ก็คือบรรดาอันธพาลในกลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ยิงทำร้ายประชาชนผู้สนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่กำลังชูพระบรมฉายาลักษณ์"

"กระนั้นก็ดี พระองค์ก็ยังทรงเป็นบุคคลเดียวที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยการออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันคร่ำครึ รวมทั้งข้อความทั้งหมดที่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวในรัฐธรรมนูญ สิ่งนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ประชาชนไทย สามารถร่วมกันอภิปรายเพื่อหาทางออก สำหรับอนาคตของตนได้ แม้ว่าพระองค์ได้เคยกล่าวถึงกฎหมายดังกล่าวอย่างครึ่งๆกลางๆในปีพ.ศ. 2548 ว่า พระองค์ไม่ได้ทรงอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ แต่สิ่งใดก็ตามที่น้อยกว่า การยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คงไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาใหญ่โตนี้ได้ ใครก็ตามที่เป็นมิตรแท้กับประเทศและประชาชนไทย ควรต้องช่วยกันบอกประเทศไทย"

นอกเหนือจากบทความชิ้นนี้ ดิ อีโคโนมิสต์ยังได้ตีพิมพ์บทความอีกชิ้น คือ Thailand's king and its crisis: A right royal mess http://www.economist.com/world/asia/displaystory.cfm?story_id=12724800

 

โดยแนวทางเดียวกับที่ ดิ อีโคโนมิสต์ได้นำเสนอ สื่อระดับโลกอื่นๆ ก็นำเสนอบทความวิเคราะห์วิพากษ์เช่นกัน  อาทิเช่น

- The International Herald Tribune ,The crowd and the crown http://www.iht.com/articles/2008/12/01/opinion/edbowring.php

- Los Angeles Time,  Bhumibol, Thailand's remarkable king The 81-year-old built up, and now wields, considerable power over his country.

http://www.latimes.com/news/opinion/commentary/la-oe-thompson11-2008dec11,0,7501175.story

-  BBC, How did Thai protesters manage it? http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7762806.stm

- The Times, Analysis: dark rumours around Thai monarchy and PAD victory http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article5274383.ece

- Washington Post, Thailand's Vicious Circle http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2008/12/03/AR2008120302958.html

 

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐไทยคงจะต้องตามส่งจดหมายประณามสื่อเหล่านี้ต่อไปให้ถ้วนหน้า พร้อมชี้แจงข้อความเข้าใจผิดทั้งปวง ทั้งนี้ ในส่วนขอนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์นั้น เว็บไซต์เสตรทไทม์รายงานแล้วว่า ผู้เขียนบทความเจ้าปัญหาดังกล่าว คือผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้ ของนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ซึ่งเดินทางออกจากประเทศไทยไปแล้ว และไม่มีกำหนดการที่จะกลับมายังประเทศเล็กๆ แห่งนี้อีก

ข่าวที่ไม่ได้รับการรายงาน แต่ถูกพูดต่อๆ ไปในหมู่ผู้สื่อข่าวก็คือ แม้แต่ออฟฟิศของนิตยสารเล่มนี้ก็เตรียมจะย้ายออกจากประเทศไทยด้วย

ความเข้าใจผิด' ของสื่อต่างประเทศเหล่านี้ ทั้งที่ได้อาศัยพำนักอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายปี ยังคงต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง แน่นอนว่าพวกเขาต้องมีสิทธิในการ ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง' เช่นเดียวกับที่ประชาชนไทยได้สิทธินั้น

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า เนื้อหาแห่งความ เข้าใจผิด' นี้กลับไม่ถูกรายงานในสื่อกระแสหลักในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนไทยได้รับรู้ด้วยว่า คนนอก' มีความ เข้าใจผิด' อย่างไร สำหรับในหมู่คนไทยเอง คำอธิบายเรื่องการ 'ไม่ปรากฎ' ต่อสาธารณะของเนื้อหาเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในทางที่ว่า เป็นการใช้วิจารณญาณของสื่อต่างๆ ในการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำเสนอ ซึ่งหากแปลเป็นภาษาอังกฤษก็หนีไม่พ้นคำว่า self censorship

ดิ อีโคโนมิสต์ นั้น เป็นกระบอกเสียงของฝ่ายเสรีนิยม-อนุรักษ์นิยม ซึ่งวางจำหน่ายทั่วโลก และได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อผู้อ่านมากอย่างยิ่งฉบับหนึ่ง การตีพิมพ์บทความนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะส่งผลสะเทือนในแง่ความเข้าใจของมิตรประเทศที่มีต่อสังคมไทย และแม้จะตบท้ายบทความด้วยน้ำเสียงห่วงใยสังคมไทยก็ตามที ทว่า ความเปลี่ยนแปลงใดๆ คงไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากคนในประเทศไม่รู้สึกถึงความ ต้องเปลี่ยนแปลง' ด้วยตนเอง

และแม้ข่าวคราวเกี่ยวกับการที่นิตยสารเล่มนี้ไม่ได้ถูกวางจำหน่าย จะไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ในระหว่างที่คนไทยจำนวนมากไม่ได้รับข้อมูลเรื่องนี้ ในพื้นที่อื่นๆ นอกพรมแดนประเทศไทย เริ่มมีการพูดถึงเรื่องนี้มากขึ้น ทั้งผ่านนักกิจกรรม และนักวิชาการ แน่นอนว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวในโลก และคงห้ามการหลั่งไหลถ่ายเทของข้อมูลได้ยาก หากยังต้องอยู่ร่วมผืนดินและแผ่นฟ้าเดียวกับประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ เว้นเสียแต่ว่า จะปิดทุกประตูและหน้าต่างออกจากการติดต่อสัมพันธ์

ภาพของข้อมูลที่ไม่ถูกถ่ายเท และการสะดุดหยุดลงของข้อมูลข่าวสารใดๆ ยังคงถูกจับจ้องมองจากนานาประเทศ พร้อมจะถูกวิพากษ์ และ เข้าใจผิด'

ท่ามกลางผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติกว่า 90 ชีวิตที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศถามวีระ มุสิกะพงษ์ ดูเหมือนเป็นสัญญาณว่าเขาได้รับรู้อะไรมาบางอย่างเกี่ยวกับการ แบน' รายการ ความจริงวันนี้ รวมไปถึงผู้สื่อข่าวอีกคน ที่พุ่งคำถามไปตรงๆ ว่า รายการของคุณจะถูกปิดใช่ไหม หากรัฐบาลประชาธิปัตย์เข้าสู่อำนาจ

ดูเหมือนว่า วันนี้ คำตอบเชิงรูปธรรมจะปรากฏแล้วจากคำให้สัมภาษณ์ของนายสุริยงค์ หุณฑสาร รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที (ช่อง11) ซึ่งให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า จากกระแสข่าวที่มีออกมาว่า ทางสถานีฯมีการปลดรายการ "ความจริงวันนี้" ออกจากผังรายการ หลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้น ขอชี้แจงว่า รายการความจริงวันนี้ ยังอยู่ในผังรายการของทางสถานีฯอยู่ ถึงแม้ว่ากำลังจะใกล้หมดสัญญาแล้วก็ตาม แต่ที่ไม่ได้เห็นรายการนี้แพร่ภาพเหมือนที่เคยเพราะสถานีได้ขอเวลามาทำเอง"

แน่นอน สังคมไทยมีความสามารถพิเศษในการยอมรับต่อคำอธิบายที่อ่อนโยนและคลุมเครือเสมอ แม้แต่ในการเข้ายึดสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นเหตุให้ประชาชนของหลายประเทศได้รับผลกระทบ จำนวนไม่ต่ำกว่า 350,000 คน ซึ่งไม่คำอธิบายอะไรที่ชัดเจน เป็นหลักการที่พอยอมรับได้จนกระทั่งบัดนี้

เป็นที่คาดเดาได้ไม่ยากว่า ประเด็นการปิดรายการความจริงวันนี้ จะกลายเป็นหนึ่งในรายงานของผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่จะนำเสนอข้อมูลที่ ผิดพลาด' เกี่ยวกับสังคมไทยอีกคำรบหนึ่ง

และนี่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า คำอธิบายที่แท้จริงต่อกรณีที่รายการความจริงวันนี้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสื่อของรัฐเองนั้น สังคมไทยจะตอบว่านี่คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนแล้วหรือมิใช่ ที่สามารถขจัดรายการที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐ อย่างที่สื่อไทยและสังคมไทยยึดถือเป็นปัญหาขั้นคลาสสิก เราพร้อมที่จะอธิบายแล้วว่าอำนาจที่ยิ่งใหญ่เหนือรัฐบาลไทยและเข้มแข็งมากจนสั่นคลอนรายการที่เป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนี้ เป็นอำนาจของประชาชน เสียงสวรรค์แห่งระบบประชาธิปไตย ใช่ หรือไม่?

 

อ้างอิง

รอยเตอร์และสเตรทไทม์รายงาน นิตยสาร The Economist ถูกห้ามเผยแพร่ในไทย, http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=14801&Key=HilightNews

ประท้วง "ดิ อิโคโนมิสต์" บิดเบือนสถาบันเบื้องสูง  http://www.prachatai.com/05web/th/home/14846

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
วิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นจะหนีไปพ้น คนยากคนจนทั่วโลก ในหลายประเทศวิกฤตการณ์นี้นำไปสู่การจลาจล เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ เช่นในเฮติ อียิปต์และโซมาเลีย วิกฤติอาหารยังลามถึงภูมิภาคอเมริกากลาง จนประธานาธิบดีนิคารากัวเรียกประชุมฉุกเฉิน ยอมรับภาวะขาดแคลนอาหารเข้าขั้นวิกฤติ จนเกรงว่าจะบานปลายเป็นเหตุวุ่นวายในสังคมขณะเดียวกันองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ออกมาให้ข้อมูลชวนหวั่นไหว ธนาคารโลกออกมาเตือนว่า วิกฤตอาหารแพงนี้จะเพิ่มระดับความยากจนทั่วโลกอาจพุ่งสูงขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยราคาอาหารและน้ำมันแพงในช่วง 2 ปีที่แล้ว ทำให้ประชาชนประมาณ 100…
หัวไม้ story
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ช่วงนี้ตรงกับเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเดือนที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองอย่างมากครั้งหนึ่ง ในสัปดาห์นี้ประชาไทจึงเลือกพาด ‘หัวไม้' เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สำคัญตอนนี้หากกล่าวอย่างรวบรัดที่สุด คือ ใน ‘เดือนพฤษภา พ.ศ. 2535' เกิดการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือการต่อต้าน พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนึ่งในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ผู้ใช้วาทะ ‘เสียสัตย์เพื่อชาติ' มานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ถ้าจะลงไปให้ถึงรายละเอียด เหตุการณ์พฤษภาคม 2535…
หัวไม้ story
 ทีมข่าวพิเศษ Prachatai Burmaคณะพี่น้องตลกหนวดแห่งมัณฑะเลย์ (The Moustache Brothers)ทำมือไขว้กันสองข้าง เป็นเครื่องหมาย ‘ไม่รับ’ รัฐธรรมนูญรัฐบาลทหารพม่า (ที่มา: The Irrawaddy)ก่อนนาร์กิสจะซัดเข้าถล่มประเทศกระทั่งอยู่ในภาวะวิกฤต แน่นอนว่า ความสนใจที่โลกจะจับตามองประเทศมองนั้นคือวันที่ 10 นี้ ประเทศพม่าจะมีการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ ที่รัฐมนตรีฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพม่ากล้าพูดว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการลงประชามตินั้นเป็นประชาธิปไตยกว่าของไทย แม้ว่าแหล่งข่าวภายในรัฐฉานจะให้ข้อมูลที่ต่างไปว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญของพม่านั้น…
หัวไม้ story
พิณผกา งามสมปรากฏการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองบนเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในไทยอยู่ขณะนี้ เป็นพื้นที่การต่อสู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันสื่อกระแสหลักก็เปลี่ยนหรือขยายเป้าหมายจากการช่วงชิงพื้นที่ในตลาดสิ่งพิมพ์มาสู่ตลาดแห่งใหม่ในโลกไซเบอร์ นักวิชาการด้านสื่อสารสนเทศ สังคมวิทยา และรวมถึงนักรัฐศาสตร์ในโลกก็เริ่มขยายการศึกษาวิจัยมาสู่พื้นที่ใหม่ที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน โลกวิชาการระดับนานาชาติผลิตงานศึกษาวิจัยถึงบทบาทของอินเตอร์เน็ตกับการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีข้อเสนอว่า อินเตอร์เน็ตสามารถเข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดในโลกจริง เป็นต้นว่า…
หัวไม้ story
กลายเป็นภาพที่คุ้นตา เรื่องที่คุ้นหูไปแล้ว สำหรับการออกมาเดินขบวนยื่นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มต่างๆ ในวันกรรมกรสากล (หรือวันแรงงานแห่งชาติ หรือวันเมย์เดย์) จนบางคนอาจชาชินกับสิ่งที่เกิดขึ้น "ก็เห็นเดินกันทุกปี" "เรียกร้องกันทุกปี" อย่างไรก็ตาม ปฎิเสธไม่ได้ว่าการที่มีข้อเรียกร้องอยู่ทุกปีนั้น สะท้อนถึงการคงอยู่ของ ‘ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข' ไม่ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องของแรงงานกลุ่มไหน เมื่อลองกลับไปดูข้อเสนอของปีที่แล้ว เทียบกับปีก่อน และปีก่อนๆ ก็จะเห็นว่า ไม่สู้จะต่างกันสักเท่าใด ดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงานการจะทำงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่นนั้น นอกจากตัวงานและผู้ร่วมงานแล้ว…
หัวไม้ story
  ช่วงเวลาแห่งสงกรานต์ผ่านพ้นไปแล้ว การกระหน่ำสาดน้ำในนามของวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามยุติลง (ชั่วคราว) หลายคนที่เคยดวลปืน (ฉีดน้ำ) หรือแม้แต่จ้วงขันลงตุ่มแล้วสาดราดรดผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา ล้วนวางอาวุธและกลับเข้าสู่สภาวะปกติของชีวิตแน่นอนว่า สงคราม (สาด) น้ำที่เกิดขึ้นในบ้านเราแต่ละปี เป็นห้วงยามแห่งความสนุกสนานและการรวมญาติในแบบฉบับไทยๆ แต่ในขณะที่คนมากมายกำลังใช้น้ำเฉลิมฉลองงานสงกรานต์จนถึงวันสิ้นสุด แต่สงคราม (แย่งชิง) น้ำที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยังดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง สงครามน้ำส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ของโลก และมักจะมีสาเหตุจากข้อจำกัดทางภูมิประเทศ…
หัวไม้ story
จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง ยุคที่น้ำมันแพง ราคาเบนซินกระฉูดไปแตะที่ลิตรละ 35 บาท ส่วนดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 31 บาทกว่า การเดินทางในช่วงวันหยุดสงกรานต์ปีนี้ รถโดยสารสาธารณะที่มีเส้นทางขนส่งประจำทางข้ามจังหวัดดูจะเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีงบประมาณในการเดินทางไม่มากนัก ด้วยเหตุผลเรื่องราคาที่พอจ่ายได้ ความสะดวกสบายและความปลอดภัยจากผู้ให้บริการที่มีอยู่จำนวนมาก อีกทั้งมีเส้นทางเดินรถจากสถานีต่างๆ ในกรุงเทพฯ กระจายไปทั่วประเทศ  การเดินทาง 1. "สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)" หรือ "หมอชิต" สำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปภาคเหนือ…
หัวไม้ story
 พิณผกา งามสม/พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อกระแสแก้รัฐธรรมนูญเริ่มต้นด้วยการถูกโจมตีว่าจะเป็นการเบิกทางให้กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ามามีที่อยู่ที่ยืนในเวทีการเมืองไทยอีกครั้ง มิหนำซ้ำยังเป็นการปูทางไปสู่การฟอกตัวของอดีตนายกผู้ซึ่งตามทัศนะของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มองว่าเป็นเหตุแห่งความวิบัติทั้งสิ้นทั้งมวลของประเทศชาติ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็กลายมาสู่เรื่องการเอาทักษิณ หรือไม่เอาทักษิณ แบบกลยุทธ์ขายเบียร์พ่วงเหล้า คือถ้าไม่เอาทักษิณก็ต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ ถ้าใครจะแก้รัฐธรรมนูญถือเป็นพวกทักษิณ ว่ากันตามจริงแล้ว…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)มุทิตา เชื้อชั่ง, คิม ไชยสุขประเสริฐ, ชลธิชา ดีแจ่ม นานๆ ทีจะเห็นคนระดับนายกรัฐมนตรีออกมาพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม และระดับคุณสมัคร สุนทรเวช ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวัง…
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  หากย้อนดูปรากฏการณ์การเคลื่อนขบวนของประชาชนออกมาแสดงพลังขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลไทยรักไทย ที่ผ่านมานับแต่การเริ่มต้นเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งแรก…
หัวไม้ story
หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์) 
หัวไม้ story
  หัวไม้ story - คือ ภาคต่อของรายการทีวีอินเทอร์เน็ต ‘สมาคมหัวไม้' ที่เป็นคล้ายๆ บทบรรณาธิการของกอง บก.ประชาไท เกิดจากการพูดคุย ถกเถียง วิวาทะ เกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจของความเป็นไปในสังคมรอบตัว และอยากจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านประชาไทได้รับรู้ไปพร้อมกัน ทุกๆ สัปดาห์ จากนั้นจะมีการรายงานความคืบหน้าในประเด็น ‘หัวไม้' อีกครั้งหนึ่ง ผ่านพื้นที่ของ ‘หัวไม้ story' ในส่วนของบล็อกกาซีน-ประชาไท (ปลายสัปดาห์)  เพียงไม่นานหลังจากที่ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช พูดออกอากาศในรายการ ‘สนทนาประสาสมัคร' ณ วันที่ 2 มีนาคม 2551 ว่า อยากให้มี ‘บ่อนการพนันถูกกฎหมาย' เกิดขึ้นในประเทศ…