Skip to main content

- โดย ทีมข่าวการเมือง -

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ศาลพม่าตัดสินให้นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy – NLD) มีความผิดฐานละเมิดคำสั่งกักบริเวณ กรณีนายจอห์น ยัตทอว์ ชาวอเมริกัน ได้ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบเข้าไปในยังบ้านพักที่ซูจีถูกกักบริเวณอยู่

ทำให้นางออง ซาน ซูจี ซึ่งถูกสั่งกักบริเวณหลายครั้งมาตั้งแต่ปี 2532 ถูกศาลสั่งขยายเวลาบริเวณกัก ออกไปอีก 18 เดือน

และไม่ได้มีเพียงนาง ออง ซาน ซูจี ที่ต้องสูญเสียอิสรภาพภายใต้รัฐบาลเผด็จการเท่านั้น แต่ในสหภาพพม่ายังมีนักการเมืองชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่ากว่า 2,100 คน ที่ถูกจำคุกกลายเป็นนักโทษการเมือง และหนึ่งในบรรดานักโทษการเมืองที่ถูกจองจำนั้นคือ “เจ้าขุนทุนอู”

000


แฟ้มภาพเจ้าขุนทุนอู (คนที่สองจากซ้าย) ถ่ายรูปร่วมกับนางออง ซาน ซูจี สมัยที่ทั้งสองยังมีอิสรภาพ (ที่มา: S.H.A.N.)

 

วันเกิด 66 ปี ขุนทุนอู ภายใต้การจองจำ
เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ จ.เชียงใหม่ ชาวไทใหญ่หลายองค์กร รวมทั้งกลุ่มเยาวชน ร่วมกันทำบุญเนื่องในวันเกิดครบรอบ 66 ปี ให้แก่เจ้าขุนทุนอู (Khun Htun Oo) ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย (Shan Nationalities League for Democracy - SNLD) ที่ถูกรัฐบาลพม่าจับตั้งแต่ปี 2548 ที่วัดท่ากระดาษ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

น.ส.หญิงจ๋าม คณะกรรมการเยาวชนรัฐฉาน กล่าวว่า กิจกรรมการจัดทำบุญอุทิศส่วนกุศลนี้เพื่อให้ทั้งเจ้าขุนทุนอูและเหล่าผู้นำการเมืองที่ถูกรัฐบาลทหารพม่าจับกุม รู้ว่าคนภายนอกประเทศยังนึกถึงและติดตามสถานการณ์ ในขณะเดียวกันก็อยากรณรงค์ให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวเจ้าขุนทุนอูโดยเร็ว

นายจายเล็ก โฆษกพรรค SNLD เปิดเผยว่า ตลอดวันที่ 11 ก.ย. ชาวไทใหญ่ในรัฐฉานหลายเมือง นำโดยชมรมการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมวันนี้ได้มีการทำบุญที่วัด โดยมีการแผ่เมตตาและอธิษฐานให้เจ้าขุนทุนอู รวมทั้งผู้นำการเมืองคนอื่นๆ มีสุขภาพแข็งแรงและให้ได้รับการปล่อยตัวโดยเร็ว ซึ่งกิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นพร้อมกันหลายเมือง เช่น เมืองหมู่แจ้ เมืองน้ำคำ (รัฐฉานภาคเหนือ) เมืองปางโหลง (รัฐฉานภาคกลาง) และเมืองเชียงตุง (รัฐฉานภาคตะวันออก)

 

ประวัติเจ้าขุนทุนอู: จากเชื้อสายเจ้าฟ้าสี่ป้อสู่สนามการเมืองในพม่า
เจ้าขุนทุนอู เกิดเมื่อวันที่ 11 ก.ย. ปี 2486 เป็นบุตรของเจ้าจ่าซอน (Sao Kya Zone) และเจ้าส่วยโยน (Sao Shwe Yon) มีเชื้อสายเจ้าฟ้าเมืองสี่ป้อ ผู้เป็นลุงของเจ้าขุนทุนอู คือ เจ้าจ่าแสง (Sao Kya Seng) เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของสี่ป้อ สำหรับเจ้าจ่าแสงนั้น ต่อมาหลังจากนายพลเนวินทำรัฐประหารในปี 2505 และกำจัดเจ้าฟ้าเมืองต่างๆ ในรัฐฉาน เจ้าจ่าแสงก็ถูกจับที่เมืองตองจีและหายสาบสูญ โดยไม่มีใครทราบชะตากรรมเจ้าฟ้าผู้นี้อีกเลย

สำหรับบิดาของเจ้าขุนทุนอูคือเจ้าจ่าซอน ในปี 2503 เป็นเลขานุการของคณะกรรมการรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ ในปี 2503 และถูกจับเมื่อเกิดรัฐประหารโดยนายพลเนวิน โดยก่อนหน้านั้นเจ้าจ่าซอนเป็นผู้ช่วยเลขานุการของเขตปกครองรัฐฉาน

สำหรับหน้าที่การงาน เจ้าขุนทุนอูเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลประจำสำนักงานทูตทหารของอินโดนีเซียระหว่างปี 2510-2517 ปี 2518 และเป็นตัวแทนระดับท้องถิ่นด้านกิจการส่งสาสน์โพ้นทะเลของญี่ปุ่นเพื่อติดต่อทางการทูตกับพม่าระหว่างปี 2527-2548

สำหรับประวัติทางการเมืองของเจ้าขุนทุนอู หลังเหตุการณ์ 8888 ในเดือนสิงหาคมปี 1988 หรือ พ.ศ. 2531 เจ้าขุนทุนอูได้เริ่มเข้าสู่สนามการเมืองในพม่า ได้ร่วมก่อตั้งพรรคสันนิบาติแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย (SNLD) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของชาวไทใหญ่ และมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในรัฐฉานเข้าร่วมเช่น ชาวปะโอ และชาวปะหล่อง เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปพรรค SNLD ในปี 2532 และต่อมาในปี 2533 ได้รับเลือกเป็นประธานพรรค SNLD ระหว่างการชุมนุมสมาชิกพรรคที่มัณฑะเลย์

 

นำพรรค SNLD ชนะทั่วรัฐฉาน เป็นอันดับสองรองออง ซาน ซูจี
ในปี 2533 นั้นเอง รัฐบาลทหารพม่ายอมให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในสหภาพพม่า เจ้าขุนทุนอูนำพรรค SNLD ชนะการเลือกตั้งทั่วรัฐฉานได้ ส.ส. ทั้งหมด 23 ที่นั่ง โดยเจ้าขุนทุนอูได้รับเลือกเป็น ส.ส. เขตสี่ป้อด้วย โดยเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงเป็นอันดับสองทั่วประเทศรองจากพรรคสันติบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่นำโดยนางออง ซาน ซูจีซึ่งได้รับเลือก 392 ที่นั่ง จากทั้งหมด 492 ที่นั่งในสภา ขณะที่พรรคการเมืองที่หนุนหลังโดยทหารคือพรรคเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Party - NUP) แพ้การเลือกตั้งย่อยยับ โดยได้รับเลือก 10 ที่นั่งเท่านั้น แต่รัฐบาลทหารพม่าก็ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง

ในปี 2541 เป็นเวลา 8 ปี หลังจากรัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พรรค SNLD ที่นำโดยขุนทุนอู และพรรคการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับพรรค NLD โดยร่วมกันตั้งสภาคณะกรมการผู้แทนประชาชน (Committee Representing the People’s Parliament - CRPP) ทำให้นับแต่นั้น รัฐบาลทหารพม่าจึงพยายามหาทางจัดการเจ้าขุนทุนอูและพรรคการเมืองดังกล่าว

เจ้าขุนทุนอูกระตุ้นให้รัฐบาลทหารพม่าเจรจากับนางออง ซาน ซูจีเป็นอันดับแรก เขากล่าวว่า “การเจรจาสองทางเป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะมีการเจรจาสามฝ่าย เมื่อมีเงื่อนไขการปรองดองเกิดขึ้นแล้ว พวกเราก็ต้องการให้มีการเจรจาสามฝ่าย ข้าพเจ้าหวังว่าจะเกิดสภาพเช่นนี้ขึ้น”

 

ปฏิเสธร่วมพม่าร่างรัฐธรรมนูญก่อนถูกกวาดจับ-ต้องโทษ 93 ปี
ในปี 2547 พรรค SNLD ที่นำโดยเจ้าขุนทุนอูได้คว่ำบาตรสมัชชาแห่งชาติที่รัฐบาลทหารพม่าตั้งขึ้นเพื่อใช้ร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมาในวันที่ 7 ก.พ. 2548 หลังจากที่เจ้าขุนทุนอู ไปร่วมงานฉลองวันชาติรัฐฉาน (7 ก.พ. 2548) เจ้าขุนทุนอูได้ร่วมรับประทานอาหารและประชุมส่วนตัวกับคณะนักการเมืองอาวุโสชาวไทใหญ่ในเรื่องที่รัฐบาลทหารพม่ามีแผนการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง โดยการพบปะนี้เกิดขึ้นที่เมืองตองจี เมืองหลวงรัฐฉาน หลังจากนั้นระหว่างวันที่ 8-9 เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารพม่าได้จับกุมขุนทุนอูและผู้นำไทใหญ่ในเมืองตองจี และย่างกุ้งรวม 30 คน และตั้งข้อหาสมคบพรรคการเมืองนอกกฎหมายและบ่อนทำลายชื่อเสียงประเทศ ต่อมาเจ้าหน้าที่ทหารพม่าได้ทยอยปล่อยผู้นำคนอื่นไป ซึ่งคงเหลือไว้ผู้นำคนสำคัญรวม 10 คน

โดยระหว่างการดำเนินคดี นักโทษการเมืองเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ครอบครัวเข้าเยี่ยม และไม่ได้รับอนุญาตให้ปรึกษาทนายความ โดยมีการตัดสินคดีในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น

โดยเจ้าขุนทุนอู ถูกตัดสินจำคุก 93 ปี อยู่ที่เรือนจำเมืองปูตาโอ (Putao prison) รัฐคะฉิ่น โดยเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โฆษกพรรค SNLD เปิดเผยว่า เจ้าขุนทุนอู กำลังป่วยเป็นโรคหลายอย่าง ทั้งโรคขาบวม โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และส่ออาการหนักขึ้นทุกขณะ เนื่องจากขาดการออกกำลังกายและการเยียวยารักษาอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับห้องคุมขังภายในเรือนจำไม่ได้รับแสงอาทิตย์และอากาศถ่ายเทที่เพียงพอ และเจ้าขุนทุนอูก็ปฏิเสธรับการตรวจรักษาจากภายนอก ขณะที่หนึ่งในสมาชิกครอบครัวของเจ้าขุนทุนอูเปิดเผยว่า ครอบครัวได้รับอนุญาตให้ไปเข้าเยี่ยมเจ้าขุนทุนอูเพียงเดือนละครั้ง และการไปเยี่ยมเพื่อนำยารักษาโรคไปให้แต่ละครั้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสถานที่คุมขังอยู่ไกลมาก (อ่านข่าวที่นี่) ล่าสุดยังมีรายงานว่าเจ้าขุนทุนอูมีอาการเส้นประสาทตึง และหูข้างหนึ่งเริ่มได้ยินไม่ชัด

เจ้าขุนทุนอู เคยกล่าวยืนยันถึงแนวทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของกลุ่มชาติพันธุ์ในสหภาพพม่าว่า "เป้าหมายหลักของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ คือการมีสิทธิที่เท่าเทียมและสิทธิในการกำหนดอนาคตตัวเองในแนวทางการเมือง รวมทั้งการปกครอง หากว่าพวกเขาได้รับสิทธิดังกล่าว ข้าพเจ้าคิดว่าคงไม่มีใครคิดจะแยกตัวออกจากการเป็นสหภาพ"

แฟ้มภาพ รายชื่อนักการเมืองในรัฐฉานที่ถูกตัดสินโทษอย่างหนัก (ที่มาของภาพ: จดหมายข่าวสำนักข่าว S.H.A.N. ฉบับที่ 3 ธันวาคม 2548) แถวที่ 1 (จากซ้ายไปขวา) 1.เจ้าขุนทุนอู ประธานพรรค SNLD 2.จายยุ้นลวินหรือจายนุต เลขาธิการพรรค SNLD และ 3.จายละอ่อง กรรมการบริหารพรรค SNLD

แถวที่ 2 (จากซ้ายไปขวา) 4.เจ้าต่าอู กรรมการบริหารพรรค SNLD ปัจจุบันได้รับการปล่อยตัว และ 5.พล.ต.เสือแท่น ผู้นำระดับสูงกลุ่มหยุดยิง SSA/N 6.อูมิ้นต่าน โฆษกกลุ่ม NGSS

แถวที่ 3 (จากซ้ายไปขวา) 7.อูทุนโหย่ สมาชิกกลุ่ม NGSS 8.จายเมียวมินทุน สมาชิกกลุ่ม NGSS และ 9.ขุนอูจ่า พี่ชายต่างมารดาของเจ้าขุนทุนอู ซึ่งเป็นผู้ดูแลหอหลวงเจ้าฟ้าสี่ป้อ

ที่ไม่มีในภาพคือ อูหยี่โม กรรมการบริหารพรรค SNLD และอูบ๊ะติ่น สมาชิกพรรค SSNRLD ซึ่งภายหลังอูบ๊ะติ่นได้รับการปล่อยตัว

เรือนจำในภูมิภาคต่างๆ ของพม่า ซึ่งใช้คุมขังเจ้าขุนทุนอู และนักโทษการเมืองจากรัฐฉาน (ที่มา: ดัดแปลงจากเอกสารของ Shan Women Action Network)

 

เผยชื่อผู้นำการเมืองรัฐฉานที่ถูกขังลืม บางคนต้องโทษ 105 ปี!
ส่วนผู้นำการเมืองในรัฐฉานที่ถูกตัดสินคดีพร้อมกับเจ้าขุนทุนอู อีก 9 คน ประกอบด้วย 1.จายยุ้นลวิน (Sai Nyunt Lwin) หรือ จายนุต (Sai Nood) มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค SNLD ปัจจุบันอายุ 55 ปี ถูกจำคุก 85 ปี อยู่ที่เรือนจำกะเลเมี้ยว ภาคสะกาย โดยจายนุตประสบปัญหาสายตามองไม่ชัด ซึ่งได้แจ้งขอรับการวัดตัดแว่นสายตาใหม่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่เรือนจำ

2.จายละอ่อง (Sai Hla Aung) กรรมการบริหารพรรค SNLD ปัจจุบันอายุ 64 ปี ถูกจำคุก 79 ปี อยู่ที่เรือนจำจ๊อกผิ่ว (Kyaukphyu prison) ภาคตะนาวศรี ปัจจุบันป่วยเป็นโรคไทรอยด์ เบาหวาน และหัวใจ

3. พล.ต.เสือแท่น (Maj-Gen Hso Ten) ผู้นำระดับสูงของกองทัพรัฐฉานเหนือ (Shan State Army North – SSA/N) ซึ่งเป็นกองกำลังหยุดยิง และประธานคณะกรรมการสันติภาพรัฐฉาน (Shan State Peace Council – SSPC) ของกลุ่มหยุดยิง ปัจจุบันอายุ 72 ปี ถูกตัดสินจำคุก 106 ปี อยู่ที่เรือนจำคำตี (Khamti prison) ภาคสะกาย สุขภาพขณะนี้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ตาเป็นต้อและใกล้มองไม่เห็น

4. อูมิ้นท์ตาน (U Myint Than) โฆษกกลุ่มคนรุ่นใหม่แห่งรัฐฉาน (New Generation – Shan State – NGSS) ถูกตัดสินจำคุก 79 ปี ที่เรือนจำซันดอเว (Sandoway prison) รัฐอาระกัน ต่อมาในวันที่ 2 พ.ค. 2549 เสียชีวิตในเรือนจำหลังถูกใช้แรงงานจนหัวใจวาย รวมอายุ 59 ปี

5. อูทุนโหย่ (U Tun Nyo) สมาชิกกลุ่ม NGSS ปัจจุบันอายุ 60 ปี ถูกตัดสินจำคุก 79 ปี อยู่ที่เรือนจำบูทิด่อง (Buthidaung Prison) รัฐอาระกัน

6. จายเมียววินทุน (Sai Myo Win Tun) สมาชิกกลุ่ม NGSS ปัจจุบันอายุ 44 ปี ถูกตัดสินจำคุก 79 ปี อยู่ที่เรือนจำมินจ่าน (Myingyan prison) เมืองมิตตีลา (Meiktila) ภาคมัณฑะเลย์

7. อูหยี่หยี่โม (U Nyi Nyi Moe) กรรมการบริหารพรรค SNLD ปัจจุบันอายุ 38 ปี ถูกตัดสินจำคุก 75 ปี อยู่ที่เรือนจำปะโคะกู่ (Pakokku prison) ภาคมะเกว

นอกจากนี้มีผู้ถูกตัดสินจำคุกแต่ต่อมาถูกปล่อยตัวได้แก่ 8. อูบ๊ะติ่น (U Ba Thin) สมาชิกพรรคสันนิบาตชนชาติเพื่อประชาธิปไตยรัฐฉาน (SSNRLD) ถูกตัดสินจำคุก 79 ปี แต่ต่อมาถูกปล่อยตัวเพราะถูกกันเป็นพยานให้รัฐ

และ 9. เจ้าต่าอู (Sao Tha Oo) เป็นกรรมการบริหารพรรค SNLD อายุ 47 ปี ถูกตัดสินจำคุก 79 ปี ปัจจุบันถูกปล่อยตัวเพราะถูกกันเป็นพยานให้รัฐ


แฟ้มภาพ เจ้าอูจ่า พี่ชายต่างมารดาเจ้าขุนทุนอู ถูกตัดสินจำคุก 13 ปี (ที่มาของภาพ: S.H.A.N.)

 

พม่าจับพี่ชายต่างมารดา “เจ้าขุนทุนอู” ด้วย
นอกจากนี้ สำนักข่าวฉาน (S.H.A.N.) ยังรายงานด้วยว่า นอกจากเจ้าขุนทุนอูแล้ว เจ้าอูจ่า (Sao Oo Kya) พี่ชายต่างมารดาเจ้าขุนทุนอู อดีตผู้รักษาหอหลวงเจ้าฟ้าสี่ป้อ ที่ถูกจับกุมเมื่อ 3 ส.ค. 48 และถูกตัดสินจำคุก 13 ปี อยู่ที่เรือนจำมัณฑะเลย์ เมืองมัณฑะเลย์ ข้อหาทำลายชื่อเสียงประเทศ กระทำผิดกฎหมายโรงแรมและการท่องเที่ยว และติดต่อกับชาวตะวันตก (นักท่องเที่ยว) โดยไม่ได้รับอนุญาต ได้ป่วยเป็นโรคเก๊าท์และโรครีดสีดวงทวารหนัก

 

คนใกล้ชิดเผยเจ้าขุนทุนอู-พล.ต.เสือแท่น ให้สมาชิกยืนหยัด
สำนักข่าวฉานรายงานล่าสุดด้วยว่า แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดสมาชิกพรรค SNLD เผยว่า ระหว่างที่ทางการพม่าปล่อยตัวนักโทษเมื่อปีที่ผ่านมา เจ้าขุนทุนอู ได้รับการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ทางการพม่าด้วยว่า หากได้รับการปล่อยตัวแล้วคิดจะเล่นการเมืองต่อหรือไม่ โดยเจ้าขุนทุนอู ได้ตอบว่า ตนได้เล่นการเมืองมานานและจำเป็นต้องสานต่อ ซึ่งเรื่องนี้ตนไม่สามารถโกหกได้

นอกจากนี้ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทางการพม่าได้สอบถาม พล.ต.เสือแท่น อายุ 72 ปี ที่ถูกตัดสินจำคุก 106 ปี อยู่ที่เรือนจำคำตี ภาคสะกาย เกี่ยวกับนโยบายแปรสภาพกลุ่มหยุดยิงเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดนของรัฐบาลด้วย ซึ่ง พล.ต.เสือแท่น ได้ตอบว่า ไม่ทราบเรื่องเพราะไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งหากได้อยู่ภายนอกก็อาจช่วยชี้แจงได้

ทั้งนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ถูกคุมขัง ทั้งเจ้าขุนทุนอู และ พล.ต.เสือแท่น ต่างได้ขอให้สมาชิกยึดมั่นอุดมการณ์ โดยขอให้ดำเนินตามแนวทางที่ตั้งไว้ พร้อมขอไม่ให้อ้างพวกตนเป็นเหตุผลนำไปสู่การอ่อนข้อต่อรัฐบาลทหารพม่า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ไทใหญ่ร่วมจัดวันเกิด 66 ปี “เจ้าขุนทุนอู” ผู้นำการเมืองที่ถูกพม่าจับกุม (ที่มา: สำนักข่าว S.H.A.N.), ใน ประชาไท, 12 ก.ย. 52 http://www.prachatai.com/journal/2009/09/25782

อ้างอิง

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…