Skip to main content

"ต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ"

 

TV

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

ไม่นานมานี้ ได้ไปฟังการอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของทีวีสาธารณะ ในช่วงท้ายๆ มีเรื่องหนึ่งที่ถกกัน คือ ทีวีสาธารณะควรจะเป็นเรื่องของ 'พื้นที่สาธารณะ' หรือ 'ประโยชน์สาธารณะ'

เอาเข้าจริง เรื่องบ้านเมืองควรจะมีทีวีที่เป็น 'พื้นที่สาธารณะ' หรือ 'ประโยชน์สาธารณะ' เป็นกรอบใหญ่ที่ต้องวางไว้ตั้งแต่ต้นทางของการออกกฎหมาย เพราะความหมายของคำสองคำนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง สื่อที่เป็นพื้นที่สาธารณะ น่าจะหมายถึง ช่องทางที่ใครๆ สามารถเข้าถึง ส่วนสื่อที่เป็นประโยชน์สาธารณะ น่าจะหมายถึงการเป็นสื่อที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ต่อคนดู

อย่างไรก็ดี กฎหมายทีวีสาธารณะก็ผ่านสภามาแล้ว เหลือเพียงประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งคาดว่าน่าจะได้ประกาศใช้ราวๆ กลางเดือนธันวาคมนี้ แล้วพอเปิดปีใหม่มาสังคมไทยเราก็จะมีทีวีสาธารณะให้ได้เชยชม

ที่ต้องใช้คำว่า ได้ 'เชยชม' เพราะยังไม่แน่ใจว่า คนตัวเล็กตัวน้อยจะเข้าถึงทีวีสาธารณะในฐานะอะไร เป็นคนทำ คนคิด หรือเป็นคนดูฝ่ายเดียว

ที่ผ่านมาเวลาพูดกันถึงต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ

ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นคู่ขนานไปกับปัญหาความเหลื่อมล้ำของคน ที่ไม่ได้แตกต่างกันเพียงเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ยังแตกต่างกันในเรื่องของโอกาสด้วย คนด้อยโอกาสไม่เคยได้เข้าถึงสื่อ เพราะนอกจากเราจะไม่เคยมีพื้นที่สาธารณะในสื่อที่ใช้ทรัพยากรของประชาชนอย่างคลื่นความถี่แล้ว ไม่ต้องพูดถึงสื่อกระแสหลักอื่นๆ ที่จะอยู่รอดได้ก็ต้องมีต้นทุนสูงลิบ

เดิมเราอาจรู้สึกว่า ปัญหาสื่อเมืองไทยที่รอการปฏิรูปคือ เราไม่มีช่องทีวีดีๆ มีคุณภาพให้ดู แต่ปัญหานี้คงไม่ได้แก้ด้วยการหาอะไรที่เป็นคุณภาพใส่เข้าไปเสีย เรื่องแบบนี้เป็นของลางเนื้อชอบลางยา

ผลลัพธ์สุดท้ายไม่อาจให้ความหมายอะไร หากแต่กระบวนการและโครงสร้างต่างหากที่จะบ่งบอกคุณภาพ.. และถึงที่สุดแล้ว เรากำลังจะต้องเสพทีวีที่ใครผลิตเนื้อหามาให้ดู?

เราน่าจะก้าวไปให้พ้นจากการถูกบอกให้เชื่อว่า อะไรดี อะไรไม่ดี รวมถึงเลิกอยู่กับความเคยชินเดิมๆ ที่ติดกับความเป็นมืออาชีพของคนทำสื่อ แต่ทีวีสาธารณะมีหน้าที่ที่ต้องเชื่อว่า พลเมืองเจ้าของเรื่องเป็นผู้ถ่ายทอดได้ และพลเมืองผู้บริโภคก็มีศักยภาพที่จะกลั่นกรองเนื้อหา และมีส่วนวิพากษ์วิจารณ์ช่วยกันปรุงรสไม่ให้ทีวีสาธารณะน่าเบื่อเกินไป

พลเมืองเจ้าของเรื่องต้องได้เป็นผู้ถ่ายทอด เพราะนานมาแล้วที่เราเชื่อในระบบตัวแทน เราเชื่อในองค์กรที่ทำงานเพื่อประชาชน เราหลงเชื่อในระบบคุณธรรมลมปาก ซึ่งก็นานมาแล้วอีกเช่นกันที่คนด้อยโอกาสก็ยังด้อยโอกาสดักดานต่อไป

กับทีวีสาธารณะ แม้กฎหมายจะไม่ได้ออกมาขี้เหร่มากนัก แม้จะเกิดขึ้นจากเจตนาที่ดี แต่ก็อดห่วงไม่ได้ว่า ทุกครั้งที่พูดกันถึงอนาคตทีวีสาธารณะ มักไปลงเอยว่าคณะกรรมการนโยบายฯ อันมาจากคณะกรรมการสรรหาฯ พอจะน่าเชื่อน่าหวัง ที่จะวางแนวนโยบายในการสร้างสื่อสาธารณะอันทรงคุณค่า

กฎหมายไม่ได้ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ามีกลไกที่มีธรรมาภิบาลรองรับ แต่ให้ความเชื่อมั่นว่าจะมีคนมาเป็นตัวแทนที่คอยดูแลให้มันเดินไปในแนวทางที่ดี ดูแล้วประชาชนไม่ต่างจากเด็กที่ไม่ยอมโต ไปไม่พ้นจากอ้อมอกของพ่อแม่ที่ห่วงใย

ไม่ต่างกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่รัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติเร่งปั๊มออกมาก่อนหมดสมัยรัฐบาล เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถทำสำเร็จได้ในสถานการณ์ประชาธิปไตย ยังมีกฎหมายในนามของความปรารถนาดีอีกร้อยกว่าฉบับที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองช่วยกันผลักดัน สร้างฉากหลังให้ดูมีกระบวนการน่าเชื่อถือ เพราะผ่านกระบวนการสภา

แต่หารู้ไม่ว่า กฎหมายมากมายผ่านออกมาได้เพราะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยกมือผ่านแบบแลกหมูแลกหมา มีการพูดกันทีเล่นทีจริงว่า หากคำนวณเวลาบวกลบคูณหารเวลาที่ สนช.ใช้พิจารณากฎหมายแล้ว เฉลี่ยตกราวฉบับละ 2 นาทีเท่านั้น ยังไม่นับว่ามีอีกเท่าไรที่ผ่านสภาแบบไม่ครบองค์ประชุม

ขณะที่เรากังขากับประชาธิปไตยแบบตัวแทน เราก็ต้องพัวพันกับการเมืองที่พยายามจะทำทีให้เหมือนประชาธิปไตย มีระบอบสภา เป็นสภาที่มีความหวังดีแบบพ่อแม่รังแกฉัน

อาจเพราะว่า สภานิติบัญญัติคิดว่ากำลังทำ 'ประโยชน์สาธารณะ' เพื่อสร้างแนวทางให้ลูกแหง่ที่คงยังไม่พร้อมเดินในโลกกว้าง มีชีวิตที่ดีมากขึ้น

ในภาวะแบบนี้ เราจะอยู่กับการเมืองแบบที่มี 'พื้นที่สาธารณะ' หรือมีความหวังดีแบบ 'ประโยชน์สาธารณะ' ก็คงเป็นได้แค่เพียงความคาดหวังในใจ ทำอะไรไม่ได้มากกว่านั้น เพราะมีคนคิดให้หมดแล้ว

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…