Skip to main content

"ต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ"

 

TV

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

ไม่นานมานี้ ได้ไปฟังการอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของทีวีสาธารณะ ในช่วงท้ายๆ มีเรื่องหนึ่งที่ถกกัน คือ ทีวีสาธารณะควรจะเป็นเรื่องของ 'พื้นที่สาธารณะ' หรือ 'ประโยชน์สาธารณะ'

เอาเข้าจริง เรื่องบ้านเมืองควรจะมีทีวีที่เป็น 'พื้นที่สาธารณะ' หรือ 'ประโยชน์สาธารณะ' เป็นกรอบใหญ่ที่ต้องวางไว้ตั้งแต่ต้นทางของการออกกฎหมาย เพราะความหมายของคำสองคำนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง สื่อที่เป็นพื้นที่สาธารณะ น่าจะหมายถึง ช่องทางที่ใครๆ สามารถเข้าถึง ส่วนสื่อที่เป็นประโยชน์สาธารณะ น่าจะหมายถึงการเป็นสื่อที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ต่อคนดู

อย่างไรก็ดี กฎหมายทีวีสาธารณะก็ผ่านสภามาแล้ว เหลือเพียงประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งคาดว่าน่าจะได้ประกาศใช้ราวๆ กลางเดือนธันวาคมนี้ แล้วพอเปิดปีใหม่มาสังคมไทยเราก็จะมีทีวีสาธารณะให้ได้เชยชม

ที่ต้องใช้คำว่า ได้ 'เชยชม' เพราะยังไม่แน่ใจว่า คนตัวเล็กตัวน้อยจะเข้าถึงทีวีสาธารณะในฐานะอะไร เป็นคนทำ คนคิด หรือเป็นคนดูฝ่ายเดียว

ที่ผ่านมาเวลาพูดกันถึงต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ

ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นคู่ขนานไปกับปัญหาความเหลื่อมล้ำของคน ที่ไม่ได้แตกต่างกันเพียงเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ยังแตกต่างกันในเรื่องของโอกาสด้วย คนด้อยโอกาสไม่เคยได้เข้าถึงสื่อ เพราะนอกจากเราจะไม่เคยมีพื้นที่สาธารณะในสื่อที่ใช้ทรัพยากรของประชาชนอย่างคลื่นความถี่แล้ว ไม่ต้องพูดถึงสื่อกระแสหลักอื่นๆ ที่จะอยู่รอดได้ก็ต้องมีต้นทุนสูงลิบ

เดิมเราอาจรู้สึกว่า ปัญหาสื่อเมืองไทยที่รอการปฏิรูปคือ เราไม่มีช่องทีวีดีๆ มีคุณภาพให้ดู แต่ปัญหานี้คงไม่ได้แก้ด้วยการหาอะไรที่เป็นคุณภาพใส่เข้าไปเสีย เรื่องแบบนี้เป็นของลางเนื้อชอบลางยา

ผลลัพธ์สุดท้ายไม่อาจให้ความหมายอะไร หากแต่กระบวนการและโครงสร้างต่างหากที่จะบ่งบอกคุณภาพ.. และถึงที่สุดแล้ว เรากำลังจะต้องเสพทีวีที่ใครผลิตเนื้อหามาให้ดู?

เราน่าจะก้าวไปให้พ้นจากการถูกบอกให้เชื่อว่า อะไรดี อะไรไม่ดี รวมถึงเลิกอยู่กับความเคยชินเดิมๆ ที่ติดกับความเป็นมืออาชีพของคนทำสื่อ แต่ทีวีสาธารณะมีหน้าที่ที่ต้องเชื่อว่า พลเมืองเจ้าของเรื่องเป็นผู้ถ่ายทอดได้ และพลเมืองผู้บริโภคก็มีศักยภาพที่จะกลั่นกรองเนื้อหา และมีส่วนวิพากษ์วิจารณ์ช่วยกันปรุงรสไม่ให้ทีวีสาธารณะน่าเบื่อเกินไป

พลเมืองเจ้าของเรื่องต้องได้เป็นผู้ถ่ายทอด เพราะนานมาแล้วที่เราเชื่อในระบบตัวแทน เราเชื่อในองค์กรที่ทำงานเพื่อประชาชน เราหลงเชื่อในระบบคุณธรรมลมปาก ซึ่งก็นานมาแล้วอีกเช่นกันที่คนด้อยโอกาสก็ยังด้อยโอกาสดักดานต่อไป

กับทีวีสาธารณะ แม้กฎหมายจะไม่ได้ออกมาขี้เหร่มากนัก แม้จะเกิดขึ้นจากเจตนาที่ดี แต่ก็อดห่วงไม่ได้ว่า ทุกครั้งที่พูดกันถึงอนาคตทีวีสาธารณะ มักไปลงเอยว่าคณะกรรมการนโยบายฯ อันมาจากคณะกรรมการสรรหาฯ พอจะน่าเชื่อน่าหวัง ที่จะวางแนวนโยบายในการสร้างสื่อสาธารณะอันทรงคุณค่า

กฎหมายไม่ได้ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ามีกลไกที่มีธรรมาภิบาลรองรับ แต่ให้ความเชื่อมั่นว่าจะมีคนมาเป็นตัวแทนที่คอยดูแลให้มันเดินไปในแนวทางที่ดี ดูแล้วประชาชนไม่ต่างจากเด็กที่ไม่ยอมโต ไปไม่พ้นจากอ้อมอกของพ่อแม่ที่ห่วงใย

ไม่ต่างกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่รัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติเร่งปั๊มออกมาก่อนหมดสมัยรัฐบาล เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถทำสำเร็จได้ในสถานการณ์ประชาธิปไตย ยังมีกฎหมายในนามของความปรารถนาดีอีกร้อยกว่าฉบับที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองช่วยกันผลักดัน สร้างฉากหลังให้ดูมีกระบวนการน่าเชื่อถือ เพราะผ่านกระบวนการสภา

แต่หารู้ไม่ว่า กฎหมายมากมายผ่านออกมาได้เพราะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยกมือผ่านแบบแลกหมูแลกหมา มีการพูดกันทีเล่นทีจริงว่า หากคำนวณเวลาบวกลบคูณหารเวลาที่ สนช.ใช้พิจารณากฎหมายแล้ว เฉลี่ยตกราวฉบับละ 2 นาทีเท่านั้น ยังไม่นับว่ามีอีกเท่าไรที่ผ่านสภาแบบไม่ครบองค์ประชุม

ขณะที่เรากังขากับประชาธิปไตยแบบตัวแทน เราก็ต้องพัวพันกับการเมืองที่พยายามจะทำทีให้เหมือนประชาธิปไตย มีระบอบสภา เป็นสภาที่มีความหวังดีแบบพ่อแม่รังแกฉัน

อาจเพราะว่า สภานิติบัญญัติคิดว่ากำลังทำ 'ประโยชน์สาธารณะ' เพื่อสร้างแนวทางให้ลูกแหง่ที่คงยังไม่พร้อมเดินในโลกกว้าง มีชีวิตที่ดีมากขึ้น

ในภาวะแบบนี้ เราจะอยู่กับการเมืองแบบที่มี 'พื้นที่สาธารณะ' หรือมีความหวังดีแบบ 'ประโยชน์สาธารณะ' ก็คงเป็นได้แค่เพียงความคาดหวังในใจ ทำอะไรไม่ได้มากกว่านั้น เพราะมีคนคิดให้หมดแล้ว

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
Hit & Run
  โจว ชิงหมาเกิด     ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)    
Hit & Run
เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน” หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์…
Hit & Run
ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ…
Hit & Run
สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน
Hit & Run
ก่อนที่คนเสื้อแดงจะได้รับการยอมรับนับถืออย่างทุกวันนี้ เราผ่านอะไรมามากมาย และมาวันนี้เราอาจจะลืมอะไรไปมากมายเช่นกัน ทุกวันนี้การสอดแทรกประเด็นประชาธิปไตยเพื่อผูกโยงกับมวลชนคนรักทักษิณเป็นเรื่องหลักๆ ที่เราพูดถึงกัน โดยจุดสำคัญที่ฝ่ายที่เรียกว่าตนเองเป็น“ฝ่ายที่เป็นปัญญาชน-ฝ่ายที่ต้านลัทธิเสรีนิยม” สามารถมายืนข้างคนรักทักษิณได้อย่างไม่เคอะเขิน ก็คือการที่คุณทักษิณได้รับการเลือกตั้งมาตามวิถีประชาธิปไตยแล้วถูกโค่นอำนาจโดยการรัฐประหาร
Hit & Run
“กม.มั่นคงคุมเขตดุสิต แดงเย้ยตื่นตูม พท.ชี้ยั่วยุคนมาชุมนุม นายกฯ อ้างมีข่าวมือที่สาม”
Hit & Run
ขอ 'อภัย' ล่วงหน้า หากว่าเรื่องนี้จะ(ไม่) เกี่ยวข้องกับการ 'อภัย' ใน 'โทษ' ของคนตนหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อน!
Hit & Run
ดูเหมือนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะจะให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์-รณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษโดยที่ผ่านมามีการเปิดตัวเว็บไซต์หลายโครงการอาทิโครงการต้นกล้าอาชีพhttp://www.tonkla-archeep.com/ เว็บไซต์ช่วยชาติที่แสดงข้อมูลและความคืบหน้าของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรััฐบาล http://www.chuaichart.com/ เว็บโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนhttp://www.chumchon.go.th/ โครงการคิดอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกอ.รมน. หรือ MOSO http://mosothai.com และล่าสุดhttp://ilovethailand.org เว็บที่ชวนคนมาแสดงความรักประเทศไทยผ่านบล็อกคลิปวิดีโอรูปถ่ายและข้อความสั้น
Hit & Run
คุณ ลิเดีย กูวารา อาจไม่ได้มีความงามตามแบบฉบับสาวทั่วไป แต่ จากองค์ประกอบการจัดวาง การตกแต่ง อุปกรณ์เสริมคือแครอทเป็นเหมือนแถบคาดกระสุน รวมถึงการโพสท์ท่าของเธอ ทำให้ดูมีเสน่ห์ด้วยพลังของความเป็นชาย (masculine) ...แม้แครอทจะดูเล็ก ๆ เหี่ยว ๆ ไปหน่อยก็ตาม
Hit & Run
ในปีนี้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐคว้ารางวัล “ภาพข่าวยอดเยี่ยม” ไปครอง หลังจากนั้นมาไม่กี่วันก็แทบจะต้องเพิ่มตำแหน่งมิสป๊อบปูล่าไปให้ด้วย เพราะมันไม่ใช่ได้รางวัลแล้วก็แล้วกันไปแบบทุกปี หากแต่ถูกพูดถึงอย่างมากมาย โดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ มีทั้งคำชื่นชมและผรุสวาทให้ระงม ฐานที่เกี่ยวพันกับการเมืองลูกกวาดหลากสีของเราเต็มๆ ในฐานะที่ไม่ใช่คณะกรรมการ (และไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ ด้วย) ขอประกาศสนับสนุนคณะกรรมการที่ให้รางวัลแก่ภาพนี้ โดยจะขอยกเหตุผลเพิ่มเติมจากท่านคณะกรรมการตัวจริงที่อาจพูดสั้นไป เพราะท่านคงไม่อยากต่อล้อต่อเถียงกับพวกไม่รู้จักจบจักสิ้น ไม่รู้จักแพ้ชนะ ทั้งยังไม่มีองค์ความรู้ด้านสื่อสารมวลชน…
Hit & Run
ภาพจาก: http://imaim.wordpress.com แรงกระเพื่อมของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ต่อเรื่อง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้ต้องมานั่งนับวันว่า เมื่อไหร่จะถึงวันที่กฎหมายฉบับนี้นี้จะเขาที่ประชุม ครม.เพื่อลุ้นเอาแค่กฎหมายฉบับนั้นจะผ่านครม.เข้าสู่สภาฯ ได้หรือไม่ แล้วค่อยไปว่ากันต่อด้วยเรื่องหน้าตาว่าจะออกมาสวย หล่อ เพียงใด ตามที่ รมว.คลัง ท่านบอกผ่านสื่อมวลชนไว้ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา มีกำหนด 2 สัปดาห์ นี่ก็คงอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหมายแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ล่าสุด รมว.คลังกล่าวผ่านสื่อว่า กระทรวงการคลังยังเดินหน้าแนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.…