Skip to main content

ตติกานต์ เดชชพงศ

คงรู้กันหมดแล้วว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีถูกยึด และต่อจากนี้ ทีวีช่องนี้จะไม่มีรายการบันเทิง ไร้แก่นสาร' อีก จะมีก็แต่รายการที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์สังคม มีคุณค่า ประเทืองปัญญากว่ารายการทีวีแบบเดิมๆๆๆๆ ฯลฯ แล้วทีวีช่องนั้นก็ถูกเรียกเสียใหม่ว่า ทีวีสาธารณะ'

ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งเติบโตมากับสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ รสนิยมสาธารณ์' ไม่ว่าจะเป็น ละครน้ำเน่า (ผ่านยุคของ พจมาน สว่างวงศ์, ดาวพระศุกร์ หรือ โสรยา ใน จำเลยรัก' มามากกว่าหนึ่งยุค!) รวมถึงเกมโชว์ที่ ได้รับแรงบันดาลใจ' มาจากต่างประเทศ และการ์ตูนญี่ปุ่นที่เอะอะก็ต่อสู้กัน (แม้แต่การ์ตูนแมวหุ่นยนต์ โดราเอมอน' ที่ไม่มีฉากต่อสู้ ก็ยังอุตส่าห์มีฉากยั่วยุทางเพศอย่าง ฉากอาบน้ำ' จนต้องเซ็นเซอร์เบลอๆ ให้เป็นที่เลื่องลือ) ฯลฯ ต้องสารภาพว่า...สิ่งที่เห็นในทีวีบ้านเราตอนนี้ ไม่ได้แตกต่างหรือพัฒนาจากที่เคยเห็น (หรือเคยเป็น) เมื่อหลายปีก่อนสักกี่มากน้อย

เชื่อว่าน่าจะมีประชาชนไทยอีกหลายสิบล้านคนที่เติบโตมาในยุคไล่เลี่ยกัน และมีความรู้สึกทำนองเดียวกันนี้อยู่บ้าง...

การตั้งเป้าหมายของทีวีสาธารณะว่าจะผลิตรายการที่มี สาระ' ออกสู่สังคม เพื่อยกระดับทางความคิดความอ่านและให้ความรู้กับผู้เสพสื่ออันทรงอิทธิพลอย่างโทรทัศน์เป็นประจำ จึงเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนับสนุน

ความบันเทิงที่เราเคยเสพ ผ่านทางละครน้ำเน่า ละครเกาหลี-ญี่ปุ่นสุดรันทด การ์ตูนบ้าพลัง รวมถึงเกมโชว์ที่ระดมกำลังดารานักร้องมาเล่นเกมกระชากเรตติ้ง จึงถูกจัดหมวดหมู่ให้อยู่ นอกกลุ่ม' สาระ อย่างไม่มีทางเลี่ยง โทษฐานที่รายการเหล่านี้ ไม่สร้างสรรค์' ในสายตาของคนที่ (ถูกเรียกว่า) เป็นปัญญาชน

แต่คำถามหนึ่งซึ่งซ้อนทับขึ้นมาก็คือว่า รสนิยมสาธารณ์ซึ่งปรากฏอยู่ในทีวีมาเนิ่นนาน กลับกลายเป็น ความสามานย์' ที่ต้องกำจัดให้สิ้นซากไปเสียแล้วหรือ...

ถ้าอย่างนั้นหมายความว่า คนที่เติบโตมากับสื่อด้อยคุณภาพซึ่งยึดครองพื้นที่ฟรีทีวีมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีคือคนไม่มีคุณภาพ ไร้สาระ และถูกมอมเมา อย่างนั้นหรือ?

อีกคำถามที่น่าสนใจก็คือ บรรดาคนใหญ่คนโตผู้มีอำนาจตัดสินชี้ขาดให้ทีวีช่องหนึ่ง-ซึ่งเคยสร้างความบันเทิงให้กับคนจำนวนมาก-ต้องมากลายเป็น ทีวีในฝัน' ที่พวกเขาอยากจะเห็นนั้น เติบโตมากับทีวียุคไหน?

การหล่อหลอมแบบไหนที่ทำให้พวกเขากล้าตัดสินใจ ทั้งๆ ที่ไม่เคยได้ถกเถียงกันอย่างจริงจังเลยว่า ระหว่าง สาระ' และ สาธารณ์' อย่างไหนที่คนดูต้องการมากกว่ากัน?

เพราะอะไร พวกเขาถึง ลืมถาม' ความเห็นของพนักงานกว่า 800 คนที่มีชะตากรรมเกี่ยวพันกับสถานีโทรทัศน์ที่กำลังจะเป็นทีวีสาธารณะนั่นด้วย

000

สิ่งที่สร้างความบันเทิงให้กับคนส่วนใหญ่ได้ง่ายๆ ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือความรู้ขั้นสูงก็สามารถเข้าถึงได้ทุกคน ถูกมองว่าเป็นสิ่งไร้สาระ มักง่าย ฉาบฉวย ไม่ต่างอะไรกับการกล่าวหาว่า รสนิยมสาธารณ์มีส่วนในการมอมเมาให้คนในสังคมคุ้นชินกับความตื้นเขินและรสชาติสีสันอันฉาบฉวยของลูกกวาดที่หวานหอมแต่ขาดแคลนคุณค่าทางโภชนาการ?

แต่ถึงแม้ว่าลูกกวาดจะไม่มีประโยชน์เมื่อเทียบกับอาหารมื้อหลัก ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะทำให้ลูกกวาดหายสาบสูญไปจากการรับรู้ของ ผู้บริโภค' เพราะถึงที่สุดแล้ว ลูกกวาดก็ให้รสชาติที่อาหารจานหลักไม่มีทางให้ได้

ถ้ามีทีวีสาธารณะแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพูดถึง การพัฒนาระบบการศึกษา, การเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น หรือการปรับระบบโครงสร้างให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรหรือองค์ความรู้ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน อย่างนั้นหรือ?

คำตอบก็คือ ไม่ใช่' เพราะปัจจัยที่จะสร้างคุณภาพให้กับคนในประเทศ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ทีวีสาธารณะเท่านั้น

ส่วนความคลุมเครือประการอื่นๆ ที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชนกันอีกยาว ก็คงจะเป็นเรื่องของงบประมาณจำนวนมากมาย ปีละ 2 พันล้านบาท คิดกันหรือยังว่าจะจัดการกับมันอย่างไร? และจะมีกลไกการตรวจสอบขั้นตอนบริหารจัดการสถานีแบบไหน? โปร่งใสหรือเปล่า?

ประเด็นคำถามเหล่านี้ ถือเป็นแรงเสียดทานอย่างหนึ่ง ซึ่ง (อาจ) ทำให้ทีวีสาธารณะคืบหน้าไปได้ช้ากว่าที่คิด

ลำพังแค่การเอาชนะใจสาธารณชนในขั้นแรกก็ทำไม่ได้เสียแล้ว...

ต่อให้จุดหมายปลายทางทีวีสาธารณะสวยหรูอย่างไรก็ตาม จะมีคนยอมเดินไปด้วยจนตลอดรอดฝั่งล่ะหรือ?

000

คำว่า สาธารณ์' ปรากฏในงานเขียนเรื่อง The Unbearable Lightness of Being ของ มิลาน คุนเดอรา' ซึ่งถูกแปลออกมาเป็นภาษาสวยงามโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์

ส่วนรากศัพท์ในภาษาเยอรมันคือคำว่า Kitsch และได้รับการอธิบายว่าเป็น ความดาษดื่น' การเลียนแบบ' หรือการเสแสร้งว่ามีรสนิยมต่ำ' (ในกรณีที่พูดถึงงานศิลปะ) หรือแม้กระทั่งการถูกเรียกว่า ความตื้นเขินทางอารมณ์'

แต่ถึงที่สุดแล้ว คนที่มีจิตใจฝักใฝ่รสนิยมสาธารณ์ก็มีความสุขดีี่ ในการที่ได้ซึมซับและชื่นชมสิ่งต่างๆ ซึ่งถูกจัดประเภทว่าเป็น Kitsch เหล่านั้น...

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…