Skip to main content

จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์

เสาร์ที่ผ่านมา มีงานประชุมชื่อ Barcamp Bangkok จัดขึ้นที่ร้าน Indus สุขุมวิท 26 งานนี้ งานนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นงานที่มีผู้จัดมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะผู้ร่วมงานหลายคนมากันแต่เช้าเพื่อช่วยจัดโต๊ะเก้าอี้ แปะป้าย บางคนทำสมุดทำมือมาแจก หลายคนเตรียมหัวข้อพร้อมสไลด์มาพูดในงาน

-------------------------------------

http://www.flickr.com/photos/poakpong
http://www.flickr.com/photos/poakpong

http://www.flickr.com/photos/plynoi
http://www.flickr.com/photos/plynoi

ทันทีที่งานเริ่ม กระดาษแผ่นแล้วแผ่นแล้ว ถูกทยอยนำไปแปะบนกระจกของร้าน ว่ากันว่า หัวข้อที่พูดกันในงาน มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเว็บแอพพลิเคชันใหม่ๆ เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส ความสัมพันธ์ภายในชุมชนออนไลน์ และการเก็บข้อมูลแบบมาตรฐานเปิด[1] แต่แน่นอนว่า การที่ถูกนิยามว่า เป็นงานสัมมนานอกกรอบ[2] คงต้องมีอะไรมากกว่านั้น นั่นคือการที่งานนี้ไม่ได้จำกัดหัวข้อเรื่องที่พูดว่าต้องเป็นเรื่องอะไร ใครจะพูด หรือควรพูดอย่างไร

ดังนั้น เราจึงได้เห็นหัวข้อตั้งแต่ที่เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ เว็บแอพพลิเคชั่น จนไปถึงเรื่องเฉพาะทาง (จริงๆ ทุกเรื่องก็เฉพาะทางหมดน่ะแหละ) อย่างคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยเรื่องชีววิทยา การปีนเขา การขี่จักรยานเสือภูเขา หรือวัฒนธรรมของภาพยนต์

น่าเสียดาย ที่เวลามีจำกัด ประกอบกับหัวข้อที่มีเยอะเอามากๆ ทำให้ต้องมีการโหวตกัน หลังจากนั้นจึงมีการนำหัวข้อที่มีผู้โหวตจำนวนมาก มาจัดเรียงเข้าไปในตารางเวลา

หัวข้อที่เป็นที่กล่าวขวัญกันมากคือ เรื่อง AV Development Life Cycle ที่เจ้าตัวย่อ AV ที่ว่า คือ adult video ซึ่งมีผู้เข้าฟังและร่วมแลกเปลี่ยนกันอย่างล้นหลาม เนื้อหาเป็นอย่างไร ต้องยอมรับตามตรงว่า ผู้เขียนเข้าไปไม่ทันฟัง เพราะมัวแต่เดินเข้าห้องนั้นออกห้องนี้ จึงขอข้ามเรื่องนี้ไป ;P

ที่น่าสนใจอีกห้อง เรียกกันว่า ห้องคนอกหักซึ่งรวมคนที่หัวข้อที่เสนอได้รับคะแนนน้อย แต่ก็เตรียมตัวมาแล้ว และห้องก็ว่าง จึงช่วยกันจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อนำเสนอสิ่งที่แต่ละคนเตรียมมา[3]

หัวข้อในห้องนี้ อาทิ FON ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายที่ช่วยกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยคุณกานต์และคุณโดม ซึ่งมาจากแนวคิดเรื่องเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตที่ถูกปิดกั้น ทำให้ต้องมีการสร้างเครือข่ายขึ้น เพื่อช่วยกระจายสัญญาณไวเลส เพื่อให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต

หรืออีกหัวข้อหนึ่งที่ทำให้จากคนฟังไม่กี่คนในตอนแรก เพิ่มมากขึ้นในตอนท้าย นั่นคือ เรื่องที่ว่าด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมโดจินชิของญี่ปุ่น ซึ่งอาจารย์ประมุข ขันเงินแห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บรรยาย ได้เล่าถึง วัฒนธรรมเสรีอันเกิดจากโดจินชิ ซึ่งคือ การที่คนอ่านหรือดูการ์ตูน นำเอาตัวการ์ตูนที่ตัวเองชอบ มาทำใหม่ในแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะวาดใหม่ เล่าเรื่องใหม่ ใส่เสียงใหม่ ทำซับใหม่ หรือสร้างเป็นเกมใหม่ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่ญี่ปุ่นไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ กลับเป็นการพึ่งพิงกันระหว่างเจ้าของและคนทางบ้านมากกว่า

http://www.flickr.com/photos/pigtheday
http://www.flickr.com/photos/pigtheday


นอกจากนี้ ยังได้พูดถึงเว็บ nico nico dougu http://www.nicovideo.jp ซึ่งคล้ายกับ http://youtube.com ที่ช่วยเผยแพร่งาน แต่ความต่างอยู่ที่ความเห็นที่ผู้ดูคลิปโพสต์เข้าไป จะปรากฎอยู่บนคลิปที่ดูทันที ทำให้มีการแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างไวอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เนื้อหาน่าสนใจแบบนี้ คงเกิดขึ้นไม่ได้ ...

ถ้าไม่มีพื้นที่ว่าง

ถ้าปล่อยห้องว่างนั้นให้ว่างต่อไป

ถ้าไม่มีคนแปะกระดาษเพื่อวางคิวพูด

ถ้าคนที่อกหักถอดใจไปซะก่อน

ถ้าไม่มีคนพูด

ถ้าไม่มีคนฟัง

ถ้าไม่มีคนเติมหัวข้อลงไป

ถ้าไม่มีคนยกเก้าอี้มา

ถ้าไม่มีคนที่ปีนขึ้นไปบนเก้าอี้เพื่อเช็คเครื่องโปรเจ็คเตอร์

ถ้าไม่มีคนช่วยจับยึดเก้าอี้ไว้

ถ้าไม่มีคนเดินไปหารีโมท

 

 

ดูเพิ่มเติม

blog tag

สไลด์

รูป




[1] press release http://www.barcampbangkok.org/event/1/press

[2] http://www.barcampbangkok.org/what-is-barcamp

[3] ตอนหลังเพิ่งทราบว่า ดูเหมือนทางผู้จัดคาดการณ์ไว้ว่า ต้องได้ใช้ จึงเผื่อห้องเอาไว้ --ดูความเห็นที่ 1 http://www.pittaya.com/2008/01/27/barcamp-bangkok-2008/#comments

 


บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…