Skip to main content
 

พืชผักผลไม้ในท้องตลาด เสี่ยงต่อการมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างจากการผลิตแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิต

ดังนั้นจึงมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งแสวงหาทางเลือกใหม่ หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการทำ เกษตรอินทรีย์'

พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ

เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) จัดกิจกรรมผู้บริโภคสัญจรไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ ที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์ สร้างความเข้าใจร่วมกันถึงกระบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว

หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์ที่ได้ไปเยี่ยมเยียนกันคือ สิงห์แก้ว แสนเทชัย หรือพะตี ชีแนะ' ชาวบ้านปกาเกอะญอ หมู่ 4 ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

พี่ชีแนะ เล่าให้ฟังว่า ทำสวนตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา เคยปลูกพืชผักเมืองหนาวมาหลายอย่าง ทั้งกาแฟ ถั่วแดง สตรอเบอรี่ โดยมีนายทุนจากเพชรบุรีเอาพันธุ์ เอาปุ๋ยเคมี เอายากำจัดศัตรูพืชมาให้ แต่ต้องขายพืชผลให้กับเขาเท่านั้น บางปีได้ผลผลิตมาก บางปีได้ผลผลิตน้อย บางปีเป็นโรค ขายได้ราคาดีบ้างไม่ดีบ้าง ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมีมากขึ้น และอันตรายขึ้น ทำมา 20 ปี เป็นหนี้สะสมกว่า 150,000 บาท

พี่ชีแนะบอกว่ากระบวนการเพาะปลูกพืชปัจจุบัน ทั้งผู้ปลูก ผู้บริโภคต่างมีโอกาสได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทั้งนั้น

"ถึงชาวบ้านไม่ปลูกสตรอเบอรี่เอง ก็ไปรับจ้างเก็บสตรอเบอรี่ ถางหญ้า ยังไงก็ต้องสัมผัสสารเคมี เพราะท้องร่องสวนเขาพ่นยาฆ่าหญ้าตลอด เวลาเข้าสวนต้องสวมรองเท้าบูท เดินเท้าเปล่าไม่ได้"

"พ่นวันนี้ พรุ่งนี้เก็บก็มี พ่นวันนี้ เย็นวันนี้เก็บก็มี อันตรายมาก"

วันหนึ่ง พี่ชีแนะเจ็บป่วย ต้องผ่าท้อง หมอบอกว่าถ้ายังใช้สารเคมี หมอรักษาให้ไม่ได้แล้ว

"ผมเลยอยากหาทางออกที่ยั่งยืน"

วันหนึ่งหลังจากมีโอกาสอบรมเรื่องทำเกษตรอินทรีย์ที่ ต.แม่ทา กิ่ง อ.แม่ทา จ.เชียงใหม่ พี่ชีแนะจึงเริ่ม ลด ละ เลิก ใช้เวลาปรับเปลี่ยนกว่า 5 ปี จากการทำเกษตรที่ใช้สารเคมี หันมาเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ด้วยวิธีโบราณแบบที่คนรุ่นพ่อทำ

โดยปี 2550 นี้ เป็นปีแรกของการเริ่มปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์เต็มรูปแบบของพี่ชีแนะ พร้อมกับเพื่อนบ้านอีก 1 หลัง ทำให้เป็นบ้าน 2 ครอบครัวแรก จากทั้งหมด 20 หลังคาเรือน ที่เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรใหม่ด้วยเกษตรอินทรีย์

"เริ่มแรกก็มีปัญหา ก่อนหน้านี้ลูกเมียไม่เชื่อ ผมเลยบอกว่าใช้ยาแล้วไม่ดี" พี่ชีแนะพูดถึงอุปสรรคแรกของการปลูกสตรอเบอรี่แบบเกษตรอินทรีย์จาก ทางบ้าน' แต่ก็ผ่านไปได้ เพราะหลังๆ มาครอบครัวเริ่มเข้าใจ

000

พี่ชีแนะกับไร่สตรอเบอร์รี่อินทรีย์

จากบ้านพี่ชีแนะ พวกเราเดินทางขึ้นเขาลงห้วย ทั้งทางรถทางคน ก็มาถึงไร่สตรอเบอรี่ของพี่ชินะ เป็นเนินอยู่ริมลำธารเล็กๆ กลางหุบเขา พื้นที่ประมาณ 2 งาน สภาพเหมือนแปลงสตรอเบอรี่ทั่วไป ผิดกันตรงที่แทนที่จะใช้ยาฆ่าหญ้ากำจัดวัชพืชที่คลุมแปลงสตรอเบอรี่ ไร่สตรอเบอรี่แห่งนี้เลือกใช้ใบตองตึงมาเรียงๆ กันแทนเพื่อคลุมคันดินกันวัชพืช ใช้ปุ๋ยหมักที่ผสมวัสดุเอง ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งดอก เร่งผล และไม่ใช้ยากำจัดศัตรูพืชใดๆ

พี่ชีแนะ เชิญชวนผู้บริโภคจากเมืองใหญ่ที่มาเยือนไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ของเขา ให้หยิบชะลอม แล้วไปเลือกเก็บสตรอเบอรี่ตามอัธยาศัย

หนาวนี้พี่ชีแนะ เริ่มปลูกสตรอเบอรี่ตั้งแต่เดือนตุลาคม เมื่อปลูกสตรอเบอรี่จนได้อายุ 60 วัน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ไปจนถึงปลายเดือนมีนาคมหรืออาจถึงต้นเดือนเมษายนจึงจะหมดรุ่น โดยผลสตรอเบอรี่จะค่อยๆ ออกผลมาเรื่อยๆ ไม่พร้อมกัน

พี่ชีแนะจะเก็บผลสตรอเบอรี่ 1 ครั้งต่อสามวันไปเรื่อยๆ เมื่อเก็บแล้วจะฝากรถสองแถวสายสะเมิง - เชียงใหม่ ลงมาขายที่ตลาดนัดและคลังเกษตรอินทรีย์ในเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นร้านกระจายสินค้าเจ้าประจำ และก็มีบางเที่ยวของการเดินทางที่สตรอเบอรี่จากสวนพี่ชีแนะเดินทางไปถึงร้านค้าเกษตรอินทรีย์ที่กรุงเทพฯ

สวนของพี่ชีแนะเก็บสตรอเบอรี่ได้ครั้งละ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าให้ผลผลิตต่อเนื้อที่น้อยลงเมื่อเทียบกับไร่สตรอเบอรี่ที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่สตรอเบอรี่อินทรีย์ก็ให้ราคาดีถึงกิโลกรัมละ 150 บาท ผลเล็กผลใหญ่ไม่แยกเกรด กิโลกรัมละ 150 บาทเท่ากันหมด ราคาดีกว่าสตรอเบอรี่ทั่วไปถึงเท่าตัว ยิ่งกว่านั้นราคาสตรอเบอรี่สวนอื่นยังขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลางกำหนด หรือกำหนดราคามาแล้วจากนายทุนที่มาจ้างปลูก ตั้งแต่ผลสตรอเบอรี่ยังไม่ออก

000

แขกจากเมืองใหญได้สตรอเบอรี่มาคนละชะลอม สองชะลอม ระหว่างนั้นก็ถ่ายรูปกับไร่สตรอเบอรี่ กับเจ้าของไร่สตรอเบอรี่ บ้างลองชิมสตรอเบอรี่สดที่เพิ่งเด็ดมา พี่ชีแนะให้ความเชื่อมั่นว่าสตรอเบอรี่สวนของเขาไม่มีสารเคมีแน่นอน

"ถ้าเป็นสตรอเบอรี่ที่ใช้ยา กินดูก็รู้จะขมลิ้นขมปากไปหมด" พี่ชีแนะเปรียบเทียบ

ที่จริงผลสตรอเบอรี่ของสวนพี่ชีแนะ ก็มีผลผลิตบางส่วนที่ยังไม่สวยนัก บางผลที่เด็ดมาที่ผิวมีจุดสีดำๆ ทำให้สีของผลสตรอเบอรี่คล้ำ นี่คือผลที่เป็นโรค ไรดำ'

"ให้น้ำน้อยจะทำให้สตรอเบอรี่เจอไรดำ แต่ถ้าให้น้ำมากไปผลสตรอเบอรี่จะเน่า นอกจากนี้หากในไร่สตรอเบอรี่ยังปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือปลูกแต่สตรอเบอรี่ โอกาสที่จะเจอศัตรูพืชก็มีมาก ต้องปลูกพืชให้หลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกแมลงทำลายพืชผล" แสงทิพย์ เข็มราช ผู้จัดการคลังเกษตรอินทรีย์ สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) สะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาโรคพืชในสวนของพี่ชีแนะ

"ไรด่าง ไรแดง ไรต่างๆ ยังแก้ไม่ได้ แต่จะใช้วิธีที่อุ๊ยสอนคือไปหาสมุนไพรในป่า" พี่ชีแนะคิดหาทางแก้ปัญหา

"ลองชิมดู อร่อยดี" อาจารย์กนกวรรณ อุโฆษกิจ เจ้าหน้าที่องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) แนะนำว่าให้ลองเอาผลที่เป็นไรดำมาชิม น่าแปลกที่สตรอเบอรี่ผลนี้กลับหวานกว่าสตรอเบอรี่ผลที่ไม่เป็นโรค

แสงทิพย์ เข็มราช สะท้อนอุปสรรคของการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ว่ามีสองประการ คือ ความมั่นใจของชาวบ้าน และแรงกดดันของเพื่อนบ้าน

"หนึ่ง ชาวบ้านเองยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าทำเกษตรอินทรีย์จะสามารถลดหนี้ได้ไหม ผลผลิตออกมาจะสวยไหม ถ้ามันไม่สวยจะไปขายที่ไหน จะขายได้ไหมในตลาด เพราะตอนใช้สารเคมีต้องสวยๆ พ่อค้าถึงจะรับ แต่กับเกษตรอินทรีย์ คลังเกษตรอินทรีย์มีนโยบายให้ชาวบ้านทำตลาดเอง ไม่พยายามสร้างความสัมพันธ์อีกชั้นหนึ่ง พยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคให้มากที่สุด

สองคือ ภาวะแรงกดดันของเพื่อนบ้าน เพราะในหมู่บ้านมีคนทำเกษตรอินทรีย์ไม่เยอะ ชาวบ้านที่หันมาทำ จะถูกหาว่าเป็นบ้าหรือเปล่า คิดอะไรไม่เหมือนคนอื่น ทำเกษตรอินทรีย์จะไหวหรือ จะรอดไหมหนอ เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จะเจอแรงกดดันของเพื่อนบ้าน พวกบริษัทขายสารเคมีก็กดดัน เพราะเขาเข้ามาในหมู่บ้านพยายามขายสารเคมีให้ได้ บอกชาวบ้านว่าเกษตรอินทรีย์มันไปไม่ได้

... ร้านขายสารเคมีอยู่ใกล้เขามาก ชาวบ้านจะไปหาได้เร็ว ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม่เกาะติดพื้นที่ เราต้องใช้เวลา ส่งเสริมสารพัดวิธีให้ชาวบ้านเชื่อมั่นว่าเกษตรอินทรีย์ไปได้มีทางรอด" แสงทิพย์ กล่าว

แต่พี่ชีแนะยังมั่นอกมั่นใจว่าจะฝากชีวิตไว้กับไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ที่กำลังให้ผลผลิตสม่ำเสมอ พี่ชีแนะคิดว่าพืชผลจากเกษตรอินทรีย์จะอยู่รอดก็ด้วย

"ถ้ามีชาวหมู่มาช่วยซื้อมากๆ ผมคงทำเรื่อยๆ คนซื้อ คนกิน คนขายถ้าไม่ช่วยกัน คนปลูกก็ได้รับผลกระทบ คนกินก็ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าใครก็ไม่รอด"

และ "ที่สำคัญต้องทำในระดับนโยบาย ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ต้องแนะนำชาวบ้านหาทางออกด้วยการปลูกเกษตรอินทรีย์ แต่ตอนนี้ยังไม่ตื่นตัว ยังใส่ยา ใส่ปุ๋ยกันอยู่"

000

แขกเหรื่อที่มาเยี่ยมสวนพี่ชีแนะ ได้สตรอเบอรี่ติดไม้ติดมือจำนวนมากแล้ว ตอนนี้ได้เวลาร่ำลากัน

"เอาไว้มาเยี่ยมกันใหม่" พี่ชีแนะบอกกับคณะที่กำลังจะกลับ

"ขอให้โชคดี ขอบคุณพี่มากสำหรับทางเลือกก้าวแรกๆ ที่จะทำให้สังคมได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย" ผมกล่าวในใจ

 

ข่าวประชาไทที่เกี่ยวข้อง

รายงาน วัฒนเสวนา : เกษตรอินทรีย์ และธนาคารเมล็ดพันธุ์ ของขวัญแห่งชีวิต', โดย ฐาปนา พึ่งละออ, ประชาไท, 3 พ.ค. 2550

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…