Skip to main content
 

พืชผักผลไม้ในท้องตลาด เสี่ยงต่อการมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างจากการผลิตแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิต

ดังนั้นจึงมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งแสวงหาทางเลือกใหม่ หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการทำ เกษตรอินทรีย์'

พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ

เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) จัดกิจกรรมผู้บริโภคสัญจรไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ ที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์ สร้างความเข้าใจร่วมกันถึงกระบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว

หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์ที่ได้ไปเยี่ยมเยียนกันคือ สิงห์แก้ว แสนเทชัย หรือพะตี ชีแนะ' ชาวบ้านปกาเกอะญอ หมู่ 4 ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

พี่ชีแนะ เล่าให้ฟังว่า ทำสวนตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา เคยปลูกพืชผักเมืองหนาวมาหลายอย่าง ทั้งกาแฟ ถั่วแดง สตรอเบอรี่ โดยมีนายทุนจากเพชรบุรีเอาพันธุ์ เอาปุ๋ยเคมี เอายากำจัดศัตรูพืชมาให้ แต่ต้องขายพืชผลให้กับเขาเท่านั้น บางปีได้ผลผลิตมาก บางปีได้ผลผลิตน้อย บางปีเป็นโรค ขายได้ราคาดีบ้างไม่ดีบ้าง ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมีมากขึ้น และอันตรายขึ้น ทำมา 20 ปี เป็นหนี้สะสมกว่า 150,000 บาท

พี่ชีแนะบอกว่ากระบวนการเพาะปลูกพืชปัจจุบัน ทั้งผู้ปลูก ผู้บริโภคต่างมีโอกาสได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทั้งนั้น

"ถึงชาวบ้านไม่ปลูกสตรอเบอรี่เอง ก็ไปรับจ้างเก็บสตรอเบอรี่ ถางหญ้า ยังไงก็ต้องสัมผัสสารเคมี เพราะท้องร่องสวนเขาพ่นยาฆ่าหญ้าตลอด เวลาเข้าสวนต้องสวมรองเท้าบูท เดินเท้าเปล่าไม่ได้"

"พ่นวันนี้ พรุ่งนี้เก็บก็มี พ่นวันนี้ เย็นวันนี้เก็บก็มี อันตรายมาก"

วันหนึ่ง พี่ชีแนะเจ็บป่วย ต้องผ่าท้อง หมอบอกว่าถ้ายังใช้สารเคมี หมอรักษาให้ไม่ได้แล้ว

"ผมเลยอยากหาทางออกที่ยั่งยืน"

วันหนึ่งหลังจากมีโอกาสอบรมเรื่องทำเกษตรอินทรีย์ที่ ต.แม่ทา กิ่ง อ.แม่ทา จ.เชียงใหม่ พี่ชีแนะจึงเริ่ม ลด ละ เลิก ใช้เวลาปรับเปลี่ยนกว่า 5 ปี จากการทำเกษตรที่ใช้สารเคมี หันมาเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ด้วยวิธีโบราณแบบที่คนรุ่นพ่อทำ

โดยปี 2550 นี้ เป็นปีแรกของการเริ่มปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์เต็มรูปแบบของพี่ชีแนะ พร้อมกับเพื่อนบ้านอีก 1 หลัง ทำให้เป็นบ้าน 2 ครอบครัวแรก จากทั้งหมด 20 หลังคาเรือน ที่เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรใหม่ด้วยเกษตรอินทรีย์

"เริ่มแรกก็มีปัญหา ก่อนหน้านี้ลูกเมียไม่เชื่อ ผมเลยบอกว่าใช้ยาแล้วไม่ดี" พี่ชีแนะพูดถึงอุปสรรคแรกของการปลูกสตรอเบอรี่แบบเกษตรอินทรีย์จาก ทางบ้าน' แต่ก็ผ่านไปได้ เพราะหลังๆ มาครอบครัวเริ่มเข้าใจ

000

พี่ชีแนะกับไร่สตรอเบอร์รี่อินทรีย์

จากบ้านพี่ชีแนะ พวกเราเดินทางขึ้นเขาลงห้วย ทั้งทางรถทางคน ก็มาถึงไร่สตรอเบอรี่ของพี่ชินะ เป็นเนินอยู่ริมลำธารเล็กๆ กลางหุบเขา พื้นที่ประมาณ 2 งาน สภาพเหมือนแปลงสตรอเบอรี่ทั่วไป ผิดกันตรงที่แทนที่จะใช้ยาฆ่าหญ้ากำจัดวัชพืชที่คลุมแปลงสตรอเบอรี่ ไร่สตรอเบอรี่แห่งนี้เลือกใช้ใบตองตึงมาเรียงๆ กันแทนเพื่อคลุมคันดินกันวัชพืช ใช้ปุ๋ยหมักที่ผสมวัสดุเอง ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งดอก เร่งผล และไม่ใช้ยากำจัดศัตรูพืชใดๆ

พี่ชีแนะ เชิญชวนผู้บริโภคจากเมืองใหญ่ที่มาเยือนไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ของเขา ให้หยิบชะลอม แล้วไปเลือกเก็บสตรอเบอรี่ตามอัธยาศัย

หนาวนี้พี่ชีแนะ เริ่มปลูกสตรอเบอรี่ตั้งแต่เดือนตุลาคม เมื่อปลูกสตรอเบอรี่จนได้อายุ 60 วัน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ไปจนถึงปลายเดือนมีนาคมหรืออาจถึงต้นเดือนเมษายนจึงจะหมดรุ่น โดยผลสตรอเบอรี่จะค่อยๆ ออกผลมาเรื่อยๆ ไม่พร้อมกัน

พี่ชีแนะจะเก็บผลสตรอเบอรี่ 1 ครั้งต่อสามวันไปเรื่อยๆ เมื่อเก็บแล้วจะฝากรถสองแถวสายสะเมิง - เชียงใหม่ ลงมาขายที่ตลาดนัดและคลังเกษตรอินทรีย์ในเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นร้านกระจายสินค้าเจ้าประจำ และก็มีบางเที่ยวของการเดินทางที่สตรอเบอรี่จากสวนพี่ชีแนะเดินทางไปถึงร้านค้าเกษตรอินทรีย์ที่กรุงเทพฯ

สวนของพี่ชีแนะเก็บสตรอเบอรี่ได้ครั้งละ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าให้ผลผลิตต่อเนื้อที่น้อยลงเมื่อเทียบกับไร่สตรอเบอรี่ที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่สตรอเบอรี่อินทรีย์ก็ให้ราคาดีถึงกิโลกรัมละ 150 บาท ผลเล็กผลใหญ่ไม่แยกเกรด กิโลกรัมละ 150 บาทเท่ากันหมด ราคาดีกว่าสตรอเบอรี่ทั่วไปถึงเท่าตัว ยิ่งกว่านั้นราคาสตรอเบอรี่สวนอื่นยังขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลางกำหนด หรือกำหนดราคามาแล้วจากนายทุนที่มาจ้างปลูก ตั้งแต่ผลสตรอเบอรี่ยังไม่ออก

000

แขกจากเมืองใหญได้สตรอเบอรี่มาคนละชะลอม สองชะลอม ระหว่างนั้นก็ถ่ายรูปกับไร่สตรอเบอรี่ กับเจ้าของไร่สตรอเบอรี่ บ้างลองชิมสตรอเบอรี่สดที่เพิ่งเด็ดมา พี่ชีแนะให้ความเชื่อมั่นว่าสตรอเบอรี่สวนของเขาไม่มีสารเคมีแน่นอน

"ถ้าเป็นสตรอเบอรี่ที่ใช้ยา กินดูก็รู้จะขมลิ้นขมปากไปหมด" พี่ชีแนะเปรียบเทียบ

ที่จริงผลสตรอเบอรี่ของสวนพี่ชีแนะ ก็มีผลผลิตบางส่วนที่ยังไม่สวยนัก บางผลที่เด็ดมาที่ผิวมีจุดสีดำๆ ทำให้สีของผลสตรอเบอรี่คล้ำ นี่คือผลที่เป็นโรค ไรดำ'

"ให้น้ำน้อยจะทำให้สตรอเบอรี่เจอไรดำ แต่ถ้าให้น้ำมากไปผลสตรอเบอรี่จะเน่า นอกจากนี้หากในไร่สตรอเบอรี่ยังปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือปลูกแต่สตรอเบอรี่ โอกาสที่จะเจอศัตรูพืชก็มีมาก ต้องปลูกพืชให้หลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกแมลงทำลายพืชผล" แสงทิพย์ เข็มราช ผู้จัดการคลังเกษตรอินทรีย์ สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) สะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาโรคพืชในสวนของพี่ชีแนะ

"ไรด่าง ไรแดง ไรต่างๆ ยังแก้ไม่ได้ แต่จะใช้วิธีที่อุ๊ยสอนคือไปหาสมุนไพรในป่า" พี่ชีแนะคิดหาทางแก้ปัญหา

"ลองชิมดู อร่อยดี" อาจารย์กนกวรรณ อุโฆษกิจ เจ้าหน้าที่องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) แนะนำว่าให้ลองเอาผลที่เป็นไรดำมาชิม น่าแปลกที่สตรอเบอรี่ผลนี้กลับหวานกว่าสตรอเบอรี่ผลที่ไม่เป็นโรค

แสงทิพย์ เข็มราช สะท้อนอุปสรรคของการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ว่ามีสองประการ คือ ความมั่นใจของชาวบ้าน และแรงกดดันของเพื่อนบ้าน

"หนึ่ง ชาวบ้านเองยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าทำเกษตรอินทรีย์จะสามารถลดหนี้ได้ไหม ผลผลิตออกมาจะสวยไหม ถ้ามันไม่สวยจะไปขายที่ไหน จะขายได้ไหมในตลาด เพราะตอนใช้สารเคมีต้องสวยๆ พ่อค้าถึงจะรับ แต่กับเกษตรอินทรีย์ คลังเกษตรอินทรีย์มีนโยบายให้ชาวบ้านทำตลาดเอง ไม่พยายามสร้างความสัมพันธ์อีกชั้นหนึ่ง พยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคให้มากที่สุด

สองคือ ภาวะแรงกดดันของเพื่อนบ้าน เพราะในหมู่บ้านมีคนทำเกษตรอินทรีย์ไม่เยอะ ชาวบ้านที่หันมาทำ จะถูกหาว่าเป็นบ้าหรือเปล่า คิดอะไรไม่เหมือนคนอื่น ทำเกษตรอินทรีย์จะไหวหรือ จะรอดไหมหนอ เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จะเจอแรงกดดันของเพื่อนบ้าน พวกบริษัทขายสารเคมีก็กดดัน เพราะเขาเข้ามาในหมู่บ้านพยายามขายสารเคมีให้ได้ บอกชาวบ้านว่าเกษตรอินทรีย์มันไปไม่ได้

... ร้านขายสารเคมีอยู่ใกล้เขามาก ชาวบ้านจะไปหาได้เร็ว ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม่เกาะติดพื้นที่ เราต้องใช้เวลา ส่งเสริมสารพัดวิธีให้ชาวบ้านเชื่อมั่นว่าเกษตรอินทรีย์ไปได้มีทางรอด" แสงทิพย์ กล่าว

แต่พี่ชีแนะยังมั่นอกมั่นใจว่าจะฝากชีวิตไว้กับไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ที่กำลังให้ผลผลิตสม่ำเสมอ พี่ชีแนะคิดว่าพืชผลจากเกษตรอินทรีย์จะอยู่รอดก็ด้วย

"ถ้ามีชาวหมู่มาช่วยซื้อมากๆ ผมคงทำเรื่อยๆ คนซื้อ คนกิน คนขายถ้าไม่ช่วยกัน คนปลูกก็ได้รับผลกระทบ คนกินก็ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าใครก็ไม่รอด"

และ "ที่สำคัญต้องทำในระดับนโยบาย ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ต้องแนะนำชาวบ้านหาทางออกด้วยการปลูกเกษตรอินทรีย์ แต่ตอนนี้ยังไม่ตื่นตัว ยังใส่ยา ใส่ปุ๋ยกันอยู่"

000

แขกเหรื่อที่มาเยี่ยมสวนพี่ชีแนะ ได้สตรอเบอรี่ติดไม้ติดมือจำนวนมากแล้ว ตอนนี้ได้เวลาร่ำลากัน

"เอาไว้มาเยี่ยมกันใหม่" พี่ชีแนะบอกกับคณะที่กำลังจะกลับ

"ขอให้โชคดี ขอบคุณพี่มากสำหรับทางเลือกก้าวแรกๆ ที่จะทำให้สังคมได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย" ผมกล่าวในใจ

 

ข่าวประชาไทที่เกี่ยวข้อง

รายงาน วัฒนเสวนา : เกษตรอินทรีย์ และธนาคารเมล็ดพันธุ์ ของขวัญแห่งชีวิต', โดย ฐาปนา พึ่งละออ, ประชาไท, 3 พ.ค. 2550

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 ภาพจาก reutersคิม ไชยสุขประเสริฐวันฝนตก ฉันนั่งอ่านบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงษ์ <1> ในหนังหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ที่เขียนเกี่ยวกับภาพของ นางการ์เม่ ชาคอน (Carme Chacon) วัย 37 ปี ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The International Herald Tribune ขณะที่นางชาคอน ผู้ซึ่งในรัฐบาลชุดก่อนเป็นรัฐมนตรีการเคหะ กำลังเดินตรวจพลสวนสนามครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ของสเปน ในกรุงมาดริด เมื่อวันที่ 14 เม.ย.... เธออยู่ในชุดกางเกงกับเสื้อคลุมท้อง และสวมรองเท้าส้นสูง...นางชาคอนได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสเปน เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บไซต์ artshole โดย Richard Sayerตติกานต์ เดชชพงศ เมื่อไม่กี่วันก่อน อาจารย์ 2 ท่านจากสถาบันอุดมศึกษาเก่าแก่ ออกแถลงการณ์เตือนให้ ‘คนทำสื่อ' และ ‘คนบริโภคสื่อ' ระมัดระวังภาวะ ‘สื่อเป็นพิษ' อันเนื่องมาจากการบริโภคข้อมูลปนเปื้อน ‘ความรุนแรง' ที่แฝงเร้นมากับข่าวและบทความอันท่วมท้นล้นหลามในยุคสารสนเทศครองเมืองไม่แน่ใจนักว่า ‘สื่อเป็นพิษ' จะก่อให้เกิดอาการอะไรที่เป็นผลร้ายแรงกับสุขภาพร่างกายหรือไม่ แต่ถ้าพูดถึงอาการ ‘อาหารเป็นพิษ' ซึ่งคนส่วนใหญ่ ‘บริโภค' เข้าไปเพราะไม่รู้เท่าทัน จะทำให้ผู้บริโภคอาเจียน ท้องเสีย หน้ามืดหมดแรง หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตเพราะพิษเข้าสู่กระแสเลือด...…
Hit & Run
  [^_^]/ระเบิด (bomb) [n.] คือวัตถุที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' จะบรรจุ ‘วัตถุระเบิด' หรือสารที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' ไว้ภายใน00025 เมษายน 2551 เวลา 6.30 น.วัดแสนฝาง ถนนท่าแพ จ.เชียงใหม่นายนที อนันทปัญญสุทธิ์ อายุ 45 ปี พ่อค้าขายเสื้อผ้า กำลังรถไปจอดภายในบริเวณวัดแสนฝาง เขาพบกล่องพัสดุสีขาวไม่ระบุชื่อผู้รับ วางอยู่หน้าทางขึ้นศาลาวัด  นายนทีหยิบกล่องนั้นขึ้นมารู้ว่ามีน้ำหนัก คิดว่าเป็นของมีค่าอยู่ภายในจึงได้แกะดูพร้อมกับเดินไปตามถนนเพื่อเข้ามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่ตลาดวโรรสหรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า ‘กาดหลวง'แต่พอใกล้ถึงร้านเขาเปิดฝากล่องออกมาดูพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องจริงๆ…
Hit & Run
  มุทิตา เชื้อชั่ง โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่ ....สุ้มเสียงเธอเป็นอย่างไร ไม่สู้จำได้ ตราตรึงไว้เพียงริมฝีปากทำนองเพลงฟังผ่านๆ ไป แต่ทำนองการเคลื่อนไหวเร้าใจกว่ามากบุคลิกแคล่วคล่องว่องไว หนุ่มๆ ขอใกล้ ป้าๆ ขอจากยาลม ยาดม ยาหม่อง เร่งเอามากอง อย่าให้หายาก  โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่....สีสันแห่งยุคสมัย ขายได้ ขายไว เลื่อนไหลเชี่ยวกรากจับเธอมาใส่ชุดไทย น่ารักสดใส เซ็กซี่ไม่เหลือซากปกติเสื้อหาย กางเกงหด คราวนี้งามงด โอ้... ไทยมั่กๆเด็กชอบ ผู้ใหญ่อมยิ้ม ดูหนังสือพิมพ์ คอนทราสต์หายอยากหยดเยิ้ม หยาดย้วย หยอดย้อย ผู้ใหญ่หวังคอยเด็กไทยรู้รากแต่ราฟฟี่ แนนซี่ กอล์ฟ ไมค์…
Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘ดรีมทีม ฮีโร่ฟันน้ำนม' (Dream Team) ปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์แสนน่ารักออกมายั่วยวนคนรักเด็กแล้ว ในสัปดาห์แรกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายซึ่งประจวบเหมาะเป็นช่วงปิดเทอม จึงเห็นมีเด็กตัวเล็กๆ มาดูกันคับโรงไปหมด เช่นเคย ทุกครั้งก่อนภาพยนตร์จะได้ฉาย คนดูหนังจะต้องลุกขึ้นยืนเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น และอาจจะด้วยความไร้เดียงสา เด็กคนหนึ่งพูดออกมาเสียงงอแงค่อนข้างดังว่า "มาดูหนัง ทำไมต้องยืนด้วย"อาจไม่แปลกที่เด็กน้อยไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมที่โลกของผู้ใหญ่ปฏิบัติกันมายาวนาน แต่นั่นยังไม่ซับซ้อนน่าสงสัย…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว)กระแสหนังสือ ‘ลับ ลวง พราง: ปฏิวัติปราสาททราย' ของ คุณวาสนา นาน่วม กำลังมาแรง และวันนี้เราลองมาคุยกันถึงเรื่องนี้หน่อย ผมได้ลองหยิบหนังสือเล่มนี้ของลูกพี่ไปอ่าน ทีแรกไม่ได้ตั้งใจอ่านม้วนเดียวจบ แต่คุณวาสนา เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง (?) น่าติดตาม และสนุกไปกับกลวิธีการเขียน --- ผมอ่านจากหน้าไปหลัง หลังไปหน้า ดูสารบัญแล้วเปิดอ่าน แต่สรุปแล้วก็อ่านจบทุกบท เพราะมันคล้ายๆ หนังสือกอสซิปดาราถามว่าอ่านแล้วได้อะไรบ้าง? สิ่งที่สำคัญที่ผมได้ก็คือ รู้สึกว่ากลยุทธ์ของทหารไทย ไม่ได้หนีไปจากยุคสามก๊กเท่าไร และมันทำให้ได้รู้ว่า ชายชาติทหารก็คือปุถุชนคนธรรมดา…
Hit & Run
   จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ ตลอดสัปดาห์นี้ ดูเหมือนเรื่องร้อนๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องจะ ‘แก้-ไม่แก้' รัฐธรรมนูญ บางคนบอกว่า ไม่ควรแก้กันตอนนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เรียบร้อย ผู้เขียนกลับเห็นว่า ควรจะแก้เสียตอนนี้เลย เพราะแม้ว่า รัฐธรรมนูญไทยจะถูกฉีกเป็นว่าเล่น ต้องร่างใหม่กันบ่อยๆ จนตอนนี้ปาเข้าไปฉบับที่ 18 คำนวณอายุโดยเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญก็ตกอยู่ราวๆ ฉบับละ 4 ปีนิดๆ พอๆ กับอายุบัตรนักศึกษามหาวิทยาลัย สั้นกว่ากฎหมายและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับเก่า ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2473 (ที่ตอนนี้…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองตั้งใจจะพักเรื่องการเมืองที่กำลังร้อนขึ้นหลังวันที่ 28 มี.ค.นี้ เลยหลบไปแถวแม่น้ำเพื่อให้ลมเย็นๆ กับสายน้ำที่ชุ่มฉ่ำๆ ไหลมาชโลมให้ชื่นจิตชื่นใจ แต่ไปจนถึงริมฟังแม่โขง กลับมาไม่วายร้อนรุ่มใจดังเดิม ไม่ใช่เพราะดื่มไปหลายกลมจนตัวร้อน แต่ได้ไปฟังข่าวแว่วๆ มาแล้วท่าทางไม่ค่อยจะดี....วันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมาเป็น ‘วันหยุดเขื่อนโลก' และตรงกับงานบุญ 100 วัน คุณมด ‘วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์' ที่ ตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หลังไปร่วมงาน เลยไปอีกหน่อยเป็นอำเภอโขงเจียม ติดแม่น้ำโขง ได้ดูแม่น้ำอันกว้างใหญ่สมใจ แต่ชาวบ้านที่งานบุญคุณมดเล่าให้ฟังว่า หลังท่านสมัคร สุนทรเวช…
Hit & Run
   พวกปาหินหนักแผ่นดิน น่าจะตายไปเสียให้หมด...ขอให้จับคนร้ายได้ไวๆ แล้วเอาตัวไปประหารชีวิต...พวกวัยรุ่นปาหินสมควรตาย... {ตติกานต์ เดชชพงศ}ประโยคที่ถูกส่งผ่านทาง SMS มายังหน้าจอโทรทัศน์ซึ่งกำลังเสนอรายการประเภท ‘เล่าข่าว' เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551 ส่วนใหญ่เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือ การแสดงความเกลียดชังต่อผู้ก่อเหตุ ‘ปาหิน' ไปโดนศีรษะเด็กชายอนุพงษ์ สายเพ็ชร หรือ ‘น้องมอส' อายุ 12 ปี ซึ่งนั่งรถมากับพ่อผู้เป็นคนขับรถบรรทุก และน้องมอสได้เสียชีิวิตในเวลาไม่นานหลังจากนั้นหลายคนสาปแช่งคนลงมือก่อเหตุให้ตายตกไปตามกัน ในขณะที่อีกบางส่วนก็แสดงความเห็นใจผ่านข้อความที่ส่งมา…
Hit & Run
คิม ไชยสุขประเสริฐ กับภาพเคลื่อนไหวในจอตู้สี่เหลี่ยม...คุณครูคนหนึ่งกับกิจวัตรประจำวันในการสอนหนังสือ... ดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่สะกิดใจฉันอย่างจังคือประโยคที่ว่า"จะรู้ว่าใครเก่งแค่ไหนต้องรอดูว่าใคร (สอบ) ได้ที่หนึ่ง... ได้ที่หนึ่งแล้วจะบอกว่าไม่เก่งก็คงไม่ได้"ครูซึ่งดูก็รู้ว่าเชี่ยวกรำกับวิชาชีพนี้มานานนับสิบปี พูดถึงการวัด ‘ความเก่ง’ ของเด็กนักเรียน โดยใช้ลำดับที่ของการสอบ ถูกนำไปผูกโยงกับ ‘ตัวสินค้า’ ในฐานะรถกระบะคันเก่งที่ขายได้เป็น ‘อันดับหนึ่ง' ซึ่งมีสโลแกนว่า ‘รถกระบะอันดันหนึ่งของคนไทย' ทั้งนี้ เมื่อว่าด้วยเรื่องของการตลาดแล้ว ในฐานะที่ไม่ได้ติดตามในเรื่องนี้ก็ไม่อาจทราบได้ว่า…
Hit & Run
 ถ้าจะสร้างวิวาทะอะไรที่มันๆ ให้ NGO's นักวิชาการ หรือแอคทิวิสต์แนวชุมชนโรแมนติก ที่เราเรียกพวกเขาว่า "ปัญญาชน" แลกเปลี่ยนกันมันๆ นั้น วันนี้เรามาพูดถึงความดีของ "ทักษิณ ชินวัตร" กันดีกว่า...วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว) *ผมเป็นคนจน คนแถวบ้านผมก็เป็นคนจน เราเป็นคนจนกึ่งเมืองกึ่งชนบทแบบว่าไม่มีต้นทุนเป็นผืนป่า แม่น้ำ หรือภูเขาเป็นของตัวเอง ไม่มีการสร้างโครงการขนาดใหญ่จากรัฐหรือนายทุน ปัญหาที่เราต้องเจอก็มีแค่การหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เลี้ยงครอบครัวไปวันๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็หาเลี้ยงชีพด้วยวิธีออกไปขายแรงในเมือง หรือตามเทือกสวนไร่นา แปลงเล็กๆ ที่ยังเหลืออยู่…
Hit & Run
  พืชผักผลไม้ในท้องตลาด เสี่ยงต่อการมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างจากการผลิตแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตดังนั้นจึงมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งแสวงหาทางเลือกใหม่ หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการทำ ‘เกษตรอินทรีย์'พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) จัดกิจกรรมผู้บริโภคสัญจรไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ ที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์…