hitandrun's picture

<p>Hit & Run</p><p>Original photo of background take by <a href="http://www.flickr.com/photos/mcbarnicle/18241391">mcbarnicle in flickr.com</a>.</p>

บล็อกของ hitandrun

'ไตรภูมิ' สงครามเทวดากับยักษ์มาร

   

ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....

คิดต่อจาก "ซูโม่ตู้"

< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >

หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)

ความคิดของคนไกล... แต่ใกล้ข่าว

 

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย...

 

ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ  

 

แต่ที่แน่ๆ ข่าวสารที่ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมาบอกเราว่า ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในวันนี้คงไม่ใช่สิ่งที่จะแก้กันได้ง่ายดาย โดยคนบางคน หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูความคิดประชาธิปไตยกันอีกนานหลายสิบปี

 

...............................................

 

ย้อนถอยหลังไป 11 วันก่อนหน้านี้ ที่เชียงใหม่... วันแล้ววันเล่า กิจกรรมที่ไปทำรวมกับเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติในลุ่มน้ำโขงยังคงดำเนินไปได้อย่างปกติ ท่ามกลางความกระวนกระวายใจของใครหลายคนต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น ด้วยเป้าประสงค์คือการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนอาเซียนในงาน "มหกรรมประชาชนอาเซียน (AFP)" และการจัดทำข้อเสนอต่อ "การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ ASEAN Summit" โดยทั้งสองงานถือเป็นงานใหญ่ระดับชาติที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเองถือเป็นงานที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลไทย เพราะถือเป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาลที่ต้องแสดงศักยภาพของไทยต่อประเทศที่เป็นประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ

 

อาจเป็นด้วยตารางกิจกรรมที่อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และสถานที่พักพิงไม่ได้สะดวกเอาเสียเลยที่จะรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนทั้งกระแสหลักกระแสรองต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์ข่าวสารเองก็เรียกได้ว่าสับสนอลหม่านพอสมควร การพูดคุยกันถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐสภาหรือเรื่องราวความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบฯ จึงจำกัดอยู่ในวงเล็กๆ ของการพูคุยแสดงความเห็นและบอกเล่าความคืบหน้าที่ได้รับรู้มา

 

 

ในช่วงหนึ่งของการพูดคุย น้องสาววัยมัธยมจากภาคกลางคนหนึ่งบอกเล่าว่าแม่ของเธอได้เข้าไปร่วมในการชุมนุมของพันธมิตรมานานหลายเดือน แต่หลังจากที่เกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาที่ผ่านมา แม่ของเธอก็ได้เดินทางกลับบ้านแล้วเพราะกลัวเกิดความรุนแรง แม้เธอจะบอกเล่าด้วยท่าทีที่เรียบเฉย แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าข้างในจิตใจคงหวาดหวั่นไม่น้อยหากความสูญเสียเป็นสิ่งที่เกิดกับครอบครัวเธอเอง

 

ส่วนพี่ชายจากเมืองใต้บอกว่า จากที่ได้ติดเป็นระยะกับเพื่อนที่อยู่ในการชุมนุม ภายหลังการปะทะและมีคนบาดเจ็บพี่น้องภาคใต้ได้รวบรวมคนเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมเพราะทนไม่ได้ที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงกับประชาชนจนทำให้เกิดความสูญเสียนับหลายร้อยราย แต่ข้อมูลที่ได้รับก็ไม่ได้บ่งบอกถึงข้อสรุปหรือจุดจบของความวุ่นวายใดๆ ที่เกิดขึ้น

 

เมื่อได้พูดคุยกับเพื่อนชาวเวียดนามที่มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน เธอเล่าว่าทางครอบครัวของเธอที่เวียดนามได้โทรศัพท์มาเร่งเร้าให้รีบเดินทางกลับเนื่องจากกลัวเหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศจะบายปลาย แต่ที่เชียงใหม่การดำเนินชีวิตของชาวบ้านทั่วไปแทบไม่ได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายที่กำลังดำเนินอยู่ในเมืองหลวงเลย แม้จะรับรู้ข่าวความรุนแรงมีการใช้แก๊สน้ำตา มีการเสียชีวิต และคิดว่าอาจมีการใช้อาวุธ แต่การอยู่ที่เชียงใหม่กับกับระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ราว 750 กิโลเมตรก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยดีอยู่

 

..............................................

 

จากการพูดคุยและสังเกตผู้คนทั่วไปในเชียงใหม่ที่ได้รับรู้ข่าวสารจากทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างพากันสะเทือนใจและตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงความรู้สึกร่วมในการเป็นคนไทยด้วยกัน ถึงผลกระทบต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวพันไปถึงปากท้อง แต่สิ่งที่พวกเขาทำได้หรือได้ทำ คือการติดตามสถานการณ์ต่อๆ ไป ซึ่งคงเป็นความคิดความรู้สึกที่ไม่ได้แตกต่างกันกับผู้คนในภาคในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ

 

 

และสิ่งที่สัมผัสได้ คือ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในเมืองหลวง เราในฐานะประชาชนของประเทศก็ยังคงต้องดิ้นร้นเพื่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางการเมืองที่ถูกโหมกระหน่ำด้วยปัญหา เศรษฐกิจที่ทะยานลงตามกระแสโลก สภาพสังคมที่เขาว่ากันว่าอยู่ในภาวะวิกฤติของจริยธรรมและศีลธรรมอันดี และข่าวที่รอบด้านหลากหลายจนชักเริ่มสับสนกับการเลือกบริโภคกันต่อไป

 

อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกเศร้าโศกไปกับการสูญเสีย สะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องการให้พบทางออกของปัญหาในเร็ววัน ซึ่งจะยังขอเชื่ออีกด้วยว่าทุกคนควรสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นกับการกระทำของฝ่ายต่างๆ ได้ รวมทั้งรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามสิทธิเสรีภาพอันพึงของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย

 

......................................

 

ห้วงเวลาที่ผ่านมา... ด้วยความไม่รู้ และอยากจะรู้ว่าถึงเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นแข่งกับเวลาในฐานะของคนที่ไม่ได้อยู่ร่วมแต่อยากมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ทำให้เข้าใจได้ว่าชีวิตเราผูกพันกับการสื่อสาร และข่าวสาร ไม่ว่าจะในวงแคบหรือวงกว้างกันมากพอดู แต่เมื่อพูดเกี่ยวกับความสำคัญของ "ข่าว" หากใครได้ผ่านการเรียนจิตวิทยา ที่ให้ความหมายว่า "ข่าว" คือ "เรื่องราวในอดีต ที่เมื่อคุณอ่านข่าวคุณกำลังอ่านเรื่องราวในอดีต และเข้าใจในสิ่งที่คุณแก้ไขไม่ได้" จึงมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการบริโภคข่าวในการการดำเนินชีวิต

 

ซึ่งนั้นย่อมไม่ได้หมายความว่าข่าวหรือเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วนั้น ไม่มีความสำคัญต่อผู้คนที่จะต้องรับรู้มัน แต่ในแต่ละวันเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกนั้นมีอยู่มากมาย นอกจากนี้ความเป็นไปของสังคมโลกที่เราพยายามก้าวเดินตาม มันได้นำไปสู่การอธิบายปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และมันก็เป็นสิ่งที่เราต้องรู้เท่าทันซึ่งไม่ใช่เฉพาะข่าวสารเท่านั้น แต่มันยังหมายรวมถึงกระบวนวิธีการได้มาและการนำเสนอข่าวสารเหล่านั้นด้วย

 

มันจึงไม่แปลกเลยทำให้รู้สึกคล้อยตามว่า คนเราไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นไปเสียทุกอย่าง อีกทั้งยังจะต้องยุ่งยากในการชั่งตวงวัดเพื่อเสพข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน รอบด้าน หากมันทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ พักบ้างก็ได้ หยุดคิดปิดหูปิดตาบ้างก็ได้ ถ้าปัญหาวุ่นวายนั้นเราไม่ได้เป็นทั้งผู้ก่อและไม่สามารถเป็นผู้แก้ สักประเดี๋ยวสถานการณ์ก็จะคลี่คลายเหมือนที่มันเคยเป็นมา

 

แต่สิ่งสำคัญที่หลงลืมไม่ได้ คือ ทุกวันนี้ปัญหาในสังคมนี้ ประเทศนี้ โลกนี้มันไม่ได้มีอยู่เฉพาะที่รัฐสภาหรือที่ทำเนียบ ปัญหาคนยากคนจน การป่วยไข้ ผลกระทบการจากแย่งชิงทรัพยากร การเบียดขับให้กลายเป็นอื่น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาพื้นที่ฐานของสังคมที่พัวพันกันอีรุงตุงนัง และยังรอการแก้ไขอยู่อีกมากมาย ซึ่งการปิดหูปิดตา มันก็เป็นเพียงการหลีกหนีปัญหาที่วุ่นวาย และไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่เรากำลังตกอยู่ในบ่วงเหล่านี้ไปได้

 

...........................................

 

สำหรับฉันคนที่อยู่ไกลทั้งระยะทาง และถอยออกห่างทางความรู้สึกในการมีส่วนร่วมกับปัญหาทางการเมืองที่คาราคาซังยืดเยื้อจนน่าเวียนหัว คงต้องขอบคุณเครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ช่วยส่งผ่านข่าวมาไปให้รับรู้ถึงถิ่นห่างไกลและนี่คงเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีในโลกทุนนิยมที่แม้ใครจะว่ามันฟอนเฟะ แต่อย่างนี้น้อยมันก็ทำให้เราได้สามารถร่วมแลกเปลี่ยน พูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์ความเป็นไปของสังคมได้แม้อยู่ในถิ่นที่ห่างไกล จนแทบเหมือนได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ แม้จะไม่รู้เลยว่าความจริงที่ได้รับเป็นเพียงกี่เศษเสียวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

 

คิดแล้วก็ให้ย้อนไปถึงในห้องเรียนวิชาการสื่อสารมวลชนเท่าที่จำได้พอเลือนๆ ที่อาจารย์พูดไว้เรื่องเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวว่า ต้องทันเหตุการณ์ เร้าอารมณ์ ใกล้ชิดสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม รอบด้าน และสิ่งที่เราได้รับรู้ผ่านสื่อคือสารที่ได้รับการคัดสรรค์แล้วเพื่อการนำเสนอเพื่อให้คนรู้เท่าทันเหตุการณ์  แต่เมื่อเสพมันแล้วก็ผ่านเลยไป ในขณะที่สภาพความเป็นจริงของปัญหาที่ต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขคือความซับซ้อนที่ได้ถูกซ่อนเอาไว้

 

ทำให้เกิดคำพูดที่ว่าสื่อมอมเมาประชาชน แต่หากมองอีกด้านหนึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อในปัจจุบันมีทางเลือกที่มากขึ้น และการนำเสนอแง่มุมที่หลากหลาย ซึ่งในส่วนของการรับข่าวสารจากสื่อในปัจจุบันผู้รับข่าวสารเองแม้ไม่ใช้คนถูกกำหนดไว้ให้เป็นผู้แก้ปัญหา แต่เป็นผู้กระตุ้นเตือนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้ต้องเร่งแก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคม

 

ดังนั้นคงไม่แปลกหากจะวาดฝันว่าในฐานะผู้บริโภคข่าวสารที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราน่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสังคมจากการรับรู้ข่าวสารที่นอกจากการวิเคราะห์เลือกรับข้อมูลแล้ว ยังสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ตกเป็นเหยื่อการมอมเมาจากสื่อ และข่าวสารที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันอย่างที่ว่ากันเท่านั้น

 

'คน' ไม่ใช่ 'เบี้ย'

 

 
(ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)

หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่ม

ฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลย

ฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า หากให้เกียรติคนทุกคนอย่างเท่ากัน และปฏิบัติตามกติกาประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด จะทำให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้ ปัญหาใหญ่ๆ จะค่อยๆ คลี่คลาย

ความรุนแรงนี้ได้ผลักให้สองอุดมการณ์กลายเป็นศัตรูกัน และมีการปะทะกันทั้งทางความคิด หรือแม้แต่ลงไม้ลงมือสร้างความรุนแรงทางกายภาพในหลายแห่ง จนกระทั่งมีคนเจ็บ คนตาย

แม้เราจะไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่กระนั้นการให้เกียรติบุคคลที่อยู่ตรงข้ามกับเรา เป็นสิ่งที่พึงตระหนัก โดยกับเฉพาะมวลชนที่ไม่มีบทบาทในการเป็นแกนนำ และโดยเฉพาะในสถานการณ์เลวร้ายที่ทำให้เราเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามอย่างเหลือแสน ทั้งยังรู้สึกเศร้าสลด หมดหวังกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น

เมื่อเรากล่าวโทษการปลุกปั่น ยั่วยุ ไม่ว่าจากฝ่ายใด เป็นเรื่องแน่นอนที่เรามักพุ่งไปที่ตัวแกนนำที่นำการเคลื่อนไหว คอยปลุกเร้าความคิด อารมณ์ของผู้เข้าร่วม แต่อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดทีเดียว หากจะกล่าวเลยไปว่าคนตัวเล็กตัวน้อยที่ต้องตายเพราะความรุนแรงทางการเมืองนั้น เป็น เบี้ย' ที่ถูกชักจูงมาอย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นฝั่ง นปก. หรือ ฝั่งพันธมิตรฯ เพราะการพูดแบบนั้นอาจจะเป็นการดูถูกฐานความคิด ความเชื่อที่ผู้คนสมาทาน

มันจึงมีความแตกต่างกันอยู่ระหว่างการวิจารณ์ความคิด ความเชื่อนั้นโดยตรง หรือการวิจารณ์ ตัวเร้า' ที่ทำให้ความเชื่อสำแดงพลังในทางไม่ถูกต้อง กับ การวิจารณ์ว่าผู้คนขาดวิจารณญาณ และมองเหมารวมเป็นก้อนๆ  อย่างที่พูดๆ กันทั้ง นปก. ถูกจ้างมาสามร้อย ห้าร้อย หรือ คนชั้นกลางถูกสื่อทันสมัยล้างสมอง

คงได้แต่ทิ้งคำถามให้คนหลังฉาก คนบนเวที แกนนำของฝ่ายต่างๆ ว่า อุดมการณ์ที่ท่านยึดถือ สิ่งที่ท่านพร่ำพูด กำปั้นที่ท่านชูขึ้นฟ้า ท่านเชื่อสิ่งนั้นกี่มากน้อย ? ท่านเคารพต่อเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของท่านเพียงไหน ? น้ำตาของท่านไหลรินให้กับชีวิตที่สูญเสียอย่างแท้จริงหรือไม่ ? ไม่ว่าใครจะชื่นชมหรือก่นประณามท่าน แต่คำตอบที่แท้จริงจะอยู่กับท่านจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต

'ตลกพม่า' ประชัน 'ตลก.ไทย' ใครขำกว่า

Ko We Kyaw

เมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่า

การแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ในพม่า ซึ่งควบคุมเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนเป็นอย่างมาก สื่อโทรทัศน์ วิทยุส่วนใหญ่เป็นของรัฐบาล มีการผ่อนปรนให้เอกชนประกอบกิจการผลิตสิ่งพิมพ์บ้าง แต่ก็ต้องมีใบอนุญาตและถูกเซ็นเซอร์จากรัฐบาลก่อนจำหน่าย การแสดงละคร ดนตรี ทั้งการแสดงสด และบันทึกการแสดงลงเทป หรือซีดีเพื่อจำหน่ายก็ต้องได้รับอนุญาตเช่นกันถึงจะสามารถแสดงได้

การแสดงตลก แม้จะต้องได้รับอนุญาตก่อนแสดง แต่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นต่อสังคมและการเมืองพม่า เพราะมุกตลกที่ ซ่อน' สารกับผู้ชม ก็เป็นเรื่องยากกว่าที่รัฐบาลจะจับได้ไล่ทัน แม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลซึ่งถูกส่งไปสังเกตการแสดงตลกก็ยังหัวเราะชอบใจไปกับมุขเสียดสีรัฐบาลของคณะแสดงตลก!

ก๊อตซิล่า หัวหน้าคณะตลกตีเลตี เคยกล่าวว่า มุกตลกของพวกเขาเป็นเสียงจริงที่สะท้อนมาจากประชาชนบนท้องถนนในพม่า เราเพียงแต่รับฟังเสียงของประชาชน จากนั้นจึงสะท้อนชีวิตของพวกเขาโดยผ่านการแสดง

ซึ่งไม่ผิดไปจากนั้น

000

การแสดงรอบล่าสุดที่เชียงใหม่ของพวกเขา แม้นักแสดงจะมาไม่ครบทีม มีเพียงเส่งตี ปานตี ชอซุเมียว และก๊อดซิล่า แต่ก็สามารถสะท้อนชีวิตของชาวพม่าออกมาเป็นการแสดงแสบๆ คันๆ เสียดสีสภาพสังคมและรัฐบาลทหารพม่าเช่นเคย

ช่วงหนึ่งของการแสดงพวกเขากล่าวยกย่องพระสงฆ์และประชาชนพม่าที่ออกมาเดินขบวนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ก่อนที่จะเสียดสีรัฐบาลโดยบอกว่าเดี๋ยวนี้ศาสนาพุทธในพม่าไม่ครบพระรัตนตรัย คือมีพระพุทธ พระธรรม แต่ขาดพระสงฆ์ ที่ขาดเพราะพระสงฆ์ไปอยู่ที่อินเส่ง

ซึ่งในพม่าคุกอินเส่งเป็นสถานที่กักขังนักโทษการเมืองที่รัฐบาลทหารเห็นว่าเป็นปฏิปักษ์ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นนักโทษเจเนอเรชั่น'88 ที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลในเดือนสิงหาคมปี 1988 แต่ในปัจจุบันผู้ำนำสงฆ์ในการเดินขบวนเมื่อปีที่แล้ว ถ้าไม่ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ ก็ถูกควบคุมตัวอยู่ภายในเรือนจำแห่งนี้เป็นจำวนมากเช่นกัน

เขายังกล่าวถึงผู้ปกครองพม่าอย่างแสบคัน โดยเปรียบเทียบกับผู้นำของประเทศอื่นๆ โดยนักแสดงได้กล่าวเปรียบว่าประชาชนแต่ละประเทศจะแสดงความเคารพต่อผู้นำประเทศเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยประชาชนจะพร้อมใจกันสวมเสื้อสีเดียวกันในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ ในสหรัฐอเมริกาประธานาธิบดีจอร์จ บุช มาเยือนชายแดนไทย-พม่าที่ อ.แม่สอด ก็ส่งบอดี้การ์ดมาอารักขาหลายพันคน ขณะที่ตานฉ่วยผู้นำของประเทศเรา ครั้งหนึ่งไปตรวจราชการที่เขตอิระวดี ซึ่งเป็นเขตที่ประสบภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีส ก็มีประชาชนชี้ไปที่ตานฉ่วยและบอกว่านี่คือคนที่บ้าที่สุดในประเทศพม่า

ตอนท้ายของการแสดง ก๊อดซิล่า หัวหน้าคณะ ยอมถอดโลงจีออกเหลือแต่กางเกงบ็อกเซอร์ แล้วสวมกล่องเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อซันโย (Sanyo - ถ้าเสียงแบบเลียนอักษรพม่าจะพ้องกับ ตะโยะ ในภาษาพม่าแปลว่า จีน) แปลงร่างเป็นหุ่นยนต์พูดความจริง หุ่นยนต์ตัวนี้มีความสามารถพูดความจริงได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องทะลึ่งทะเล้นสารพัดหุ่นยนต์ก็ตอบได้หมด

แต่พอถึงคำถามท้ายสุดท้ายว่าการเลือกตั้งปี 2010 ใครจะชนะการเลือกตั้ง หุ่นยนต์ตัวนี้ก็ช็อตและล้มตึงจากเก้าอี้ไปดื้อๆ ทำเอาผู้ชมหัวเราะปรบมืออย่างชอบใจ เพราะเสียดสีการเมืองพม่าภายใต้รัฐบาลทหารที่ควบคุมกลไกการปกครองในพม่าเป็นอย่างดี และเมื่อถามว่าทำไมถึงตอบไม่ได้ หุ่นยนต์ก็ตอบว่าเพราะยี่ห้อซันโยทำมาจากจีนกับอินเดีย ถึงตรงนี้ทำเอาผู้ชมยิ่งขำกันใหญ่ เพราะจีน กับ อินเดีย สองมหาอำนาจที่ขนาบพม่าต่างหนุนรัฐบาลทหารพม่า และกำลังทวีบทบาทและอิทธิพลในพม่า

ปิดท้ายการแสดงด้วยนาฏศิลป์ของซอซุเมียว โดยก่อนจบการแสดงก๊อดซิล่าหัวหน้าคณะยืนยันว่าแม้ผู้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจอย่าง ซากะนา' จะถูกจับหลังจากระดมสิ่งของเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากพายุนาร์กิส แต่พวกเขายืนยันว่าจะแสดงตลกต่อไป

000

ขอเอาใจช่วยให้คณะตีเลตีได้ทำการแสดงกันต่อไป ไม่ถูกจับไปอบรมที่อินเส่งเสียก่อน

แต่ก็น่าอิจฉาพวกเขาตรงที่คณะตลกพม่ายังสามารถพูดถึงรัฐบาลพม่าได้ แม้จะกล่าวถึงอย่างเลี่ยงๆ แต่ก็สามารถพูดถึงได้อยู่ดี ไม่อย่างนั้นคนคงไม่ขำ แต่มี คณะ ตลก.' คณะหนึ่งของไทย ที่คนดูต้องวิจารณ์ คณะตลก.' ที่ว่าีนี้อย่างระมัดระวังอย่าง คณะตลก.รธน.'

ที่ในรอบ 2 ปีมานี้โชว์ลีลาอึ้ง ทึ่ง เสียว โดยเฉพาะรอบล่าสุดในการเชือดสมัคร คดีชิมไปบ่นไป คณะ ตลก. ลงทุนโยนกฎหมายแรงงานทิ้งหันมาเปิดพจนานุกรมเพื่อนิยามสมัครเป็นลูกจ้างให้ขาดคุณสมบัติการเป็นเสนาบดีให้ได้ แต่การตีึความที่ว่าทำเอาคนไทยขำแทบน้ำตาเล็ด เพราะนายจรัล' หัวหน้าคณะ ตลก.รธน. ก็ถูกคนดูสงสัยว่าจะเข้าข่ายเดียวกับสมัครตามการตีความด้วยพจนานุกรมจนต้องขาดคุณสมบัติตามนายสมัคร ที่ คณะตลก. เพิ่งเชือดไปหรือไม่!

ไม่รู้ว่าถ้า ตลกคณะตีเลตี' กับ คณะ ตลก.รธน.' มาประชัน ใครจะขำกว่ากัน

โดยเฉพาะถ้าให้หุ่นยนต์พูดความจริง' มาตอบคำถามเรื่องคุณสมบัติหัวหน้าคณะ ตลก.รธน. ไม่รู้ว่าหุ่นยนต์จะช็อตใบ้กินหรือเปล่า

เกี่ยวกับตีเลตี

นานาดี เขียนบทความลง นานาดี เขียนบทความลงนิตยสารสาละวิน ฉบับที่ 47 ประเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2551 อธิบายคณะ ตีเลตี' ว่าเป็นคณะนักแสดง อะเญะปอย' หรือ การแสดงตลก สลับกับการร้องและการรำแบบนาฏศิลป์พม่า  "ตีเลตี"  ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากความคิดของซากะนา (Zarganar) นักแสดงตลกอาวุโสชื่อดังในวงการบันเทิงพม่า เขาได้รวบรวมบรรดานักศึกษาไฟแรงจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ย่างกุ้งมาสร้างคณะตลก โดยการควบคุมของหัวหน้าคณะที่มีชื่อในการแสดงว่า ก๊อตซิล่า' (Gawzillar) อดีตเจ้าหน้าที่ในกระทรวงวัฒนธรรมที่ผันตัวเองออกมาเป็นนักแสดงอิสระ

สำหรับ ตีเลตี' มีความหมายว่า "สี่ผล" (ตี' แปลว่า ผล, ลูก เล' แปลว่า สี่) ในคณะมีนักแสดงชายตัวหลักที่ชื่อลงท้ายด้วยคำว่า ตี' 4 คน ได้แก่ ซีตี (พุทรา - Zee Thee) ปานตี (แอปเปิล - Pan Thee) เส่งตี (Sein Thee - เพชร) และเจตี (มะเฟือง - Kyae Thee) นอกจากนี้ยังมี ชอซุเมียว (Chaw Su Myo) และ เมียะซะแปโง่ง (Mya Sabae Ngone) นางรำสาวสวยที่ช่วยเพิ่มสีสันให้กับการแสดงแต่ละครั้งอีกด้วย

การแสดงมุขตลกการเมืองในพม่ามีความเสี่ยงสูง เช่น ปาปาเลย์ แห่งคณะแสดงสามพี่น้องตลกหนวด (The Moustache Brother) แห่งเมืองมัณฑะเลย์ที่มีชื่อเสียง ก็เคยถูกรัฐบาลจับมาแล้วหลายหน นักแสดงตลกอย่างซากะนา ก็ถูกรัฐบาลจับ

แต่การแสดงตลกก็เหมือนเป็นการพูดแทนในสิ่งประชาชนไม่สามารถพูดได้  ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การแสดงของตีเลตีเป็นที่ถูกอกถูกใจชาวบ้านร้านตลาดเป็นอย่างมาก พวกเขาได้รับความนิยมและสามารถครองใจ ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว แม้แต่เจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งให้ไปสังเกตการณ์หน้าเวทีแต่ละครั้งก็ยังแอบชอบใจ

และก่อนหน้านี้ วีซีดีการแสดงของตีเลตีที่จัดขึ้นที่ทะเลสาบกั่นดอจี เมืองย่างกุ้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ถูกทางการพม่าห้ามเผยแพร่ การันตีคุณภาพการแสดงของคณะนี้เป็นอย่างดี

รูปแบบการแสดงของคณะตีเลตีเหมือนการแสดง อะเญะปอย' ทั่วไป โดยจะโหมโรงด้วยการร้องเพลงเรียกน้ำย่อย ต่อด้วยนาฏศิลป์แบบพม่าของนักแสดงหญิงที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงไปตามท่วงทำนองเพลงที่คึกคัก ถึงตรงนี้นานาดีชื่นชมการแสดงของนางรำเป็นอย่างมาก โดยว่านางรำสามารถเลี้ยงชายผ้าถุงความยาวประมาณเมตรเศษ ๆ ให้พลิ้วไหวอยู่ในอากาศได้อย่างน่าทึ่ง แต่ถ้าไม่รับการฝึกฝนจน ชำนาญแล้วละก็ แค่เดินเฉย ๆ ก็อาจสะดุดชายผ้าล้มหัวฟาดพื้นได้ง่ายๆ

และเมื่ออุ่นเครื่องจนร้อนได้ที่แล้ว ซีตี ปานตี เส่งตี และเจตี และก๊อตซิล่า หัวหน้าคณะ จะขนมุขตลกมาเพียบ โดยการแสดงตลกจะมีทั้งการพูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในพม่า และการสมมติสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฉากการสนทนาระหว่างทหารพม่าและชาวบ้าน  ซึ่งทั้งบุคลิก น้ำเสียงและเครื่องแต่งกายของนักแสดงก็จะเปลี่ยนไปตามตัวละครนั้นๆ  เรียกได้ว่า ทำเอาคนดูแทบไม่มีเวลาหยุดหัวเราะตลอดเวลาการแสดง

อ้างอิง

บันเทิง: คณะตลกตีเลตี ผู้ซับน้ำตาเหยื่อนาร์กิสด้วยเสียงหัวเราะ,โดย นานาตี, นิตยสารสาละวิน ฉบับที่ 47 (16 พ.ค. - 30 มิ.ย. 51)

Thee Lay Thee Show a Smash in Chiang Mai, By Wai Moe, the Irrawaddy, Monday, January 28, 2008 http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=10054

'พาราลิมปิก' โลกกีฬาในสังคมที่พิการ

 

ขุนพลน้อย    

 

 "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"

น้ำเสียงของ ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อ

การต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น

 

เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซิน แล้วรึยัง!?

 นายหอกหัก (จูเนียร์)

 

  

 

เห็นเด็กๆ สมัยนี้ออกมารณรงค์เรื่องการเมือง แล้วมันช่างน่าอิจฉาซะกระไร!

เพราะมีสื่อทั้งผู้จัดการ ASTV เนชั่น TPBS และอื่นๆ อีกมากมายคอยประคบประหงมให้เขาเป็นดาราเพียงชั่วข้ามคืน

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเยาวชนขวาใหม่จัดคลั่งชาติคลั่งสถาบันอย่าง ยังแพด (Young pad) และอีกสารพัดของกลุ่มพลังนิสิต นักศึกษาชนชั้นกลาง ที่ละจากการโฉบเฉี่ยวสร้างความเท่ เก๋ไก๋ จากการฟังเพลงอินดี้ ดูหนังนอกกระแส แต่งตัวอย่างมีเทรนด์ มีสไตล์ มาช่วยกันขับเคลื่อนการเมืองใหม่ รัฐบาลประชาภิวัฒน์ ระบอบ 70: 30 ให้กับพวกพ้องพ่อแม่ญาติพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถมได้สิทธิพิเศษทุนการศึกษาติวฟรีออนไลน์อีกคนละสามพันบาท น่าอิจฉาน้องจริงๆ

วัยรุ่นนักกิจกรรมหลายคน ทำงานช่วยชาวนา ชาวเขา ช่วยแรงงาน มาเป็นสิบๆ ปี ไม่เคยออกทีวีสักครั้ง แต่น้องๆ เหล่านี้ช่างเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงแซงทางโค้งมาเฉย... กลายเป็นคนดังชั่วข้ามคืน ช่วงนี้ใครด่ารัฐบาลก็ดังน่ะน้องเอ๊ย! เก่งมากที่จับกระแสสื่อชนชั้นกลางได้ตรงเผง!

และนี่คือลู่ทางแห่งอนาคตสำหรับพวกน้อง เพราะมีที่ว่างสำหรับการเป็นดารานักร้อง, ปัญญาชนหน้าจอทีวี หรือเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนรอพวกเขาอยู่เบื้องหน้า

เพราะการเป็นบุคคลสาธารณะแต่วัยเยาว์ มันได้ลดค่าเสียโอกาสต่างๆ นานาไปได้โขหากจะสร้างตัวเองให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าดังในอุตสาหกรรมบันเทิงและอุตสาหกรรมเอ็นจีโอไทย ..แต่ปัญญาชนและอาจารย์นี่ อดีต สสร. เขาว่าไม่ใช่ธุรกิจนะขอบอก แต่เป็นบุคคลที่มาโปรดสัตว์ในสังคมนะ ถึงแม้จะไปสอนพิเศษรับเงินเป็นกระตั๊กก็ตาม ;-)

พี่หอกฯ เห็นน้องๆ ออกมาก็รู้สึกกระชุ่มกระชวยคึกคัก เพราะเมื่อก่อนเด็กกิจกรรมส่วนใหญ่มักจะมีรูปร่างหน้าตาไม่พึงประสงค์ต่อกล้องของผู้สื่อข่าว แต่น้องๆ รุ่นใหม่ที่ออกมามีทั้งสวยหล่อขาวเนียนกันทั้งนั้น

แต่กระนั้น พี่หอกฯ ก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจว่า รูปลักษณ์หน้าตาผิวพรรณ ชาติกำเนิดของน้องๆ มันจะการันตีคุณภาพทางความคิดความอ่านของน้องๆ ได้ดีแค่ไหน ตรงนี้ต้องระวังที่สุดอย่าให้ใครเขาว่าได้ว่าเป็น "วัยใส ไร้สมอง"

การออกมาขับเคลื่อนครั้งนี้ คีย์เวิร์ดที่อยากให้ไปศึกษาก็คงจะมีคำเดียวคือคำว่า "ประชาธิปไตย" น้องๆ จงตระหนักและหาหนังสือหนังหามานั่งลองอ่านเป็นจริงเป็นจัง มากกว่าไป Group Therapy กับพวก Yellow Turban หรือรับสะกดจิตหมู่ผ่าน ASTV

แล้วลองนั่งนิ่งๆ สูดลมหายใจลึกๆ ใช้ปัญญานำทางให้เซลล์สมองมันคิดว่า ที่น้องออกมานั้นมันเพื่อสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย หรือเรียกร้องให้ถอยหลังประเทศไปสู่เผด็จการ 70: 30 หรือเคลื่อนไหวเพราะอยากเป็นคนดัง อยากเป็นฮีโร่กันแน่!?


 

สุดท้ายนี้หอกฯ แปลงบทเพลงจากเพลง 'หนุ่มสาวเสรี' ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ซึ่งนำทำนองเพลงตับพระลอ (ตับลาวเจริญศรี) ที่เขียนเนื้อใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เพื่อสดุดีการต่อสู้ของเยาวชน โดยเพลงหนุ่มสาวเสรี เป็นเพลงย่อยในชุดนี้จากทำนองเพลงลาวเฉียง'

โดยหอกฯ ของใช้ชื่อเพลงว่า เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง' ซึ่งใช้ทำนองฮิปฮอบผสมหมอลำแบบร๊อคข้าวปุ้น โดยขอสดุดีกลุ่มหนุ่มสาวที่กำลังขับเคลื่อนทำลายประชาธิปไตยเพื่อสร้างสรรค์การเมืองใหม่ของอภิสิทธิ์ชน ดังนี้...

ครานั้นนิสิตนักศึกษา
บรรดานักเรียนทั้งเหนือทั้งใต้

สามัคคีอภิสิทธิ์ชนทั่วไป
ลุกฮือขับไล่พรรคพลังประชาชน

คึกคักหนักแน่นดังแผ่นผา
กลมเกลียวแกล้วกล้าสดใส
ศรีวิชัยรอฟาดจนบรรลัย
พลใบกระท่อมเงื้อไม้รอตี

เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
ดังเพื่อสร้าง เด้งเพื่อสร้าง 70: 30

มือติดไอโฟน ตีนสวมคอนเวิร์สก้าวหน้า
ยอมให้ทำข่าวเพราะอยากเป็นดารา
ถือหลักศักดิ์สิทธิ์เหนือเสรี
ประชาภิวัฒน์' ของดีเหนือ ประชาธิปไตย'

เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
 ดังเพื่อสร้าง เด้งเพื่อสร้าง 70: 30

ศักดินากดขี่ข่มเหงคะเนงร้าย
โทษว่าทักษิณก้าวก่ายเสียทุกด้าน
โทษว่าชาวนากู้เงินล้านดักดาน
โทษว่าชาวบ้านเป็นทาสประชานิยม

เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
ดังเพื่อสร้าง เด้งเพื่อสร้าง 70: 30

มือติดแก้วเหล้าโซดาน้ำเปล่าห้าวหาญ
แกว่งกระป๊กคลุกคลานกลางอาร์ซีเอ
นี่คือพลังของกระฎุมพีชั้นกลางขวาใหม่
ทุกคนสืบเลือดกบฏบวรเดชเอย

เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
ดังเพื่อสร้าง ดังเพื่อสร้างการเมืองใหม่

มาเถิดมาสร้างการเมืองใหม่
สร้างเมืองไทยให้เป็นสวรรค์อภิสิทธิ์ชน
คนจนอย่าคิดเผยอหน้าท้าทายกัน
เดี๋ยวชนชั้นกลางอย่างฉันรุมตื๊บเลย

เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
เจ้าหนุ่มเจ้าสาวเอย เจ้าเคยเป็นฮีโร่มัยซินแล้วรึยัง
ดังเพื่อสร้าง เด้งเพื่อสร้าง 70: 30

 

 


 

อะไรกันแน่ที่อันตราย

< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์>

แบนเกมมาริโอ้ เหตุเด็กประถมกระโดดเอาศีรษะกระแทกอิฐ ไล่เตะเต่าและตะพาบ ซ้ำยังเอาแต่กินเห็ด เพราะอยากตัวสูง เลียนแบบเกมมาริโอ้

แบนอิคคิวซัง เหตุเด็กอนุบาล หวังฉลาดแบบอิคคิว เอานิ้วแตะน้ำลายถูรอบศีรษะจนเป็นขี้กลาก

แบน นสพ.หัวสีรุ้ง หลังพบเด็กมัธยม อ่านข่าวข่มขืนแล้ว อยากทำตาม เพราะบรรยายอย่างละเอียด

(เหตุการณ์สมมติ)

 

ถ้าสังคมนี้ แก้ไขทุกอย่างด้วยการชี้นิ้วหาคนผิด และแบนสิ่งนั้นๆ เสีย ก็คงง่ายดีพิลึก ต่อไปสังคมก็คงใสสะอาด เต็มไปด้วยคุณธรรมสูงส่ง

จริงหรือ?

....มาเฟีย

 มุทิตา เชื้อชั่ง

 

 

รู้ว่าหลายคนเห็นความไม่ถูกต้อง รู้สึกได้ถึงหายนะ แต่ไม่มีใครจัดการอะไรกับพวกเขาซักคน.......

ถ้าไม่เพราะกลัวเครือข่ายอันกว้างขวางของพวกเขา ก็อาจเพราะไม่อยากเป็นเป้า ถูกโจมตีเสียเอง มันไม่ใช่เรื่องสนุกที่ต้องคัดง้างกับพวกนักบุญที่แสนอาฆาตมาดร้าย ป่าเถื่อน ราวกับหลุดมาจากยุคกลาง

แต่มันก็น่าสำรอกไม่หยอก ที่เขาทำตัวเป็นผู้จงรักภักดีกับอะไรต่อมิอะไรมากมาย มากกว่าคนอื่นๆ และเล่นงานศัตรูของเขาด้วยการตระเวรพูด พูด พูด พูด พูดทุกคืน ทุกวัน ทุกชั่วโมง ไม่หยุดหย่อนถึงความชั่วร้ายเลวทรามของศัตรู ง่ายๆ แบบสีขาว-สีดำ

ใครก็ตามที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้องตามนิยามที่พวกเขาตั้งขึ้น เขาจะหยิบยกมันผู้นั้นขึ้นมาวางบนแท่น อย่างปราณีต แล้วโจมตีตั้งแต่หัวจรดตีนอย่างบ้าคลั่ง โดยไม่สนว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร ความเกลียดชังจะแผ่ซ่านไปถึงไหน ใครจะตายกี่คน

เขาอาจอ้างได้ว่าเขามีสิทธิจะโจมตีใครก็ได้เพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุล นั่นอาจจะถูกส่วนหนึ่ง แต่หากมองเลยจากรายละเอียดยิบย่อยต่างๆ แล้วดูเป้าหมายของเขา มันชัดเจนอย่างยิ่งว่า ชาตินี้จะไม่มีทางให้ใครก็ตามที่เขาหมายหัวเป็น "ศัตรู" ได้ผุดได้เกิด แม้ว่าศัตรูของเขาจะได้รับเลือกมาอย่างถูกต้องตามกติกา อาจเพราะเขารู้ดีว่า "กติกา" ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่ยึดถืออย่างจริงจัง มากไปกว่าเอาไว้พูดโก้ๆ

แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่า เขาโหดเหี้ยมเกินไป เพื่อจะทำลายศัตรูตัวเบิ้มของเขา เขาสามารถใช้เครื่องมือสารพัดชนิด เพื่อนำไปสู่การปลุกปั่นความเกลียดชัง  

จู่ๆ วันก่อนก็ทำให้คนคนหนึ่งไร้ซึ่งความเป็นมนุษย์ได้ภายในไม่กี่คืน ด้วยการจี้ไปที่ปุ่มกลางสันหลังของผู้คนที่นี่ เพราะเขาถือความได้เปรียบว่าเข้าใจธรรมชาติ เนื้อนาดินของที่นี่อย่างดี และไม่อายที่จะหยิบมันมาใช้ทำลายคนที่ต้องการ

เขาสามารถทำให้คนที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนเขา และบังเอิญ (หรือไม่ก็ตาม) ไปสนับสนุนศัตรูของเขา กลายเป็นสัตว์ประหลาดตาเดียว ตัวสีเขียว มีน้ำเมือกเยิ้มเต็มตัว พ่นไฟได้ และกำลังจะเผาหมู่บ้านของเรา ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้คนฟังกลายเป็นฝูงชนกระหายเลือด อยากฆ่าสัตว์ประหลาด

คนที่น่านับถือหลายคนให้การสนับสนุนเขา เพราะถือว่านี่คือการเคลื่อนไหวของ "ประชาชน" และมืดบอดต่อสิ่งไม่ดีที่เขากระทำ พวกเขาจะพูดจาปลุกปั่นแค่ไหนก็ได้ เรียกร้องสิ่งไม่ถูกต้องก็ไม่เป็นไร เพียงเพราะพวกนี้ประกาศว่ามีเจตนาอันบริสุทธิ์ที่จะ "รักษาสีขาว" อันเป็นที่รัก และ "ทำลายสีดำ" อันสามานย์

จริงๆ ถึงอย่างนั้น ... ถึงแม้มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ สาบานได้ว่ามันไม่มีทางเป็นอย่างอื่น เขาก็ไม่ควรจะทำให้ใครซักคน "สูญเสียความเป็นมนุษย์" มากพอที่จะให้คนอื่นรุมกระทืบ รุมฆ่า จนต่างสูญเสียความเป็นมนุษย์ไปเหมือนกันในท้ายที่สุด

มันเป็นเรื่องน่าเศร้าของยุคสมัยอันยาวนานที่ไม่ผ่านพ้นไปเสียที และหากมันจะเหลือหนทางเล็กๆ เฉพาะหน้า .... เราอาจเรียกร้องเอากับคนอีกหลายคนที่ยังพอมีสติสัมปชัญญะ แต่พากันเงียบกริบ และเบือนหน้าหนีเวลาที่เห็นความไม่ถูกต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเชื่อใน "เจตนา" หรือกลัวอิทธิพลของคนพวกนี้ พวกที่ไม่แน่ว่า อีกหน่อยอาจทำให้เรามีสิ่งที่พูดถึงไม่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งรวมถึงกลุ่มของพวกเขาด้วย !!!

 

 

.... นี่แหละ "คณะกรรมการหมู่บ้าน" ของฉัน ... ไม่เชื่ออ่านอีกที !

 

 

 

 

 

"รัฐศาสนา" ไม่ขายเหล้า (เอาหน้า??)


ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

 

แล้ววันสำคัญทางพุทธศาสนาก็วนเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบสองพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดปีหลังพระพุทธเจ้าเสด็จสู่นิพพาน เป็นความน่ายินดีที่รัฐไทยซึ่งประกาศตัวเป็นพุทธมามกะประกาศให้เป็นวันหยุดเพื่อแสดงความเคารพอย่างสำคัญและจะได้เปิดโอกาสให้ไปทำบุญทำทานกันตามธรรมเนียมประเพณี แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเบื่อหน่ายพ่วงตามมากับบรรยากาศแบบนี้คือไม่สามารถไปหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มกินตามวิสัยได้ เนื่องจากเมื่อปีก่อนรัฐบาลคุณธรรมผลักดันจนมีกฎหมายมาบังคับ ทั้งที่เรื่องของศาสนาและแนวทางการปฏิบัติควรเป็นเรื่องของส่วนบุคคลเสียมากกว่า

คนดื่มเหล้าบางทีอาจไม่ได้เลวกว่าคนกินมังสวิรัติ และก็ไม่อาจบอกได้เช่นกันว่าดีกว่า...ใช่หรือไม่ ??

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ hitandrun