Skip to main content

อหิงสาและการดื้อแพ่งคือตัวตนของคานธีที่ดูจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแต่ทว่าตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาที่กระแสหลักพูดถึงไม่บ่อยนัก(หรือแทบไม่พูดถึงเลย)นั่นคือคัวตนของเขาในฐานะความเป็นศาสนา-อนุรักษ์นิยม

บทความนี้ถูกเขียนไว้ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว(2554) ซึ่งเเขียนโดยสมาชิกกลุ่มประกายไฟโดยใช้นามแฝงว่าเบนจามิน แฟรงคลิน หรือแว่น ประกายไฟ จึงขอนำมาเผยแพร่ในพื้นที่นี้อีกที

 

เบนจามิน แฟรงคลิน(แว่น ประกายไฟ)

หากเอ่ยชื่อของคานธีหลายคนคงนึกถึงภาพชายแก่ผมบางนั่งปั่นผ้าและความสำคัญของเขาในฐานะผู้รวบรวมชาวอินเดียให้ทำการต่อสู้เพื่อปลกแอกจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าวาทกรรม”อหิงสา”และ”อารยะขัดขืน”ของคานธียังคงมีบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวภาคสังคมทั้งในไทยและระดับสากลมาจนถึงทุกวันนี้ ช่วงทศวรรษที่1960 คนผิวดำในอเมริกาใช้การประท้วงแบบสันติตามรอยคานธีในการสู้กับคนขาวในหลายวิธีการเช่น นั่งในร้านอาหารที่ขายเฉพาะคนขาวจนกว่าเจ้าของร้านจะยอมขาย หรือประท้วงรถเมลล์ที่แบ่งที่นั่งคนดำและคนขาวโดยการเลิกขึ้นรถเมลล์แล้วเดินหรืออาศัยรถเพื่อนแทนเป็นต้น และเหนือไปกว่านั้นวีรบุรุษในดวงใจของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิงหนึ่งในผู้นำการต่อสู้เพิ่อสิทธิคนผิวดำก็คือ มหาตมะ คานธีดังนั้นคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองของคนผิวดำนั้นอิทธิพลของวาทกรรมและแนวคิดของคานธีมีบทบาทอยู่ไม่น้อย ในไทยเองวาทกรรมของคานธีก้อเข้ามามีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวอยู่ไม่น้อยเช่น เมื่อครั้งที่มีการประท้วงปิดสภาไม่ให้สนชเข้าไปพิจารณากฎหมายเมื่อช่วงเดือนธันวาปี50ก็มีการทำสัญลักษณ์ อหิงสา No Entry มาชูเพื่อให้สอดรับกับกิจกรรมการปิดล้อมสภาโดยสงบปราศจากอาวุธไม่ให้สนชเข้าไปประชุมพิจารณากฎหมายได้ การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเองก็ชูสโลแกนอหิงสาในการต่อต้านรัฐบาลตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา (ผมไม่แน่ใจว่าการยึดสนามบิน ยึดรถโดยสารประจำทางจะเข้านิยามอหิงสาหรือเปล่า) 

อหิงสาและการดื้อแพ่งคือตัวตนของคานธีที่ดูจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแต่ทว่าตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาที่กระแสหลักพูดถึงไม่บ่อยนัก(หรือแทบไม่พูดถึงเลย)นั่นคือคัวตนของเขาในฐานะความเป็นศาสนา-อนุรักษ์นิยม ประเด็นที่น่าสนใจคือความขัดแย้งในตัวเองของคานธี การต่อสู้เพิ่อปลดแอกจากอังกฤษแสดงให้เห็นว่าคานธีมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นเสรีชนอยู่ในตัวและต้องการเห็นประเทศของตนพ้นจากการปกครองของต่างชาติตรงนี้คือในมิติระหว่างประเทศ แต่ทว่าในระดับภายในประเทศเขากลับศรัทธาในระบบวรรณะ สนับสนุนให้แบ่งแยกคนโดยชาติกำเนิดของคนผู้นั้น คานธีให้ความเห็นถึงการล้มระบบวรรณะและการสถาปนาระบบการปกครองแบบตะวันตกว่า การล้มระบบวรรณะเท่ากับเป็นการทำลายหลักการของฮินดูที่สืบทอดกันมานาน นอกจากนี้การล้มระบบวรรณะยังจะนำไปสู่ความชุลมุนในสังคมด้วย คานธียอมรับไม่ได้ถ้าวันหนึ่งพราหมณ์จะกลายเป็นศูทรและศูทรจะกลายเป็นพราหมณ์ นั่นเท่ากับว่าคนต่างชาคิต่างภาษากดขี่เราเราต้องสู้แต่ถ้าคนชาติเดียวภาษาเดียวกับเรากดขี่เราเราต้องยอม ซึ่งผมมองว่าจุดนี้คานธีมีความขัดแย้งในตัวเองอย่างแรง

ประการต่อมาที่ผมมองว่าน่าสนใจและผมมองว่าเป็นความขัดแย้งในตัวคานธีก็คือประเด็นการศึกษา คานธีได้แสดงความเห็นไว้ว่าการเรียนรู้ข้ามวรรณะไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่การหาเลี้ยงชีพข้ามวรรณะคือสิ่งผิดและคุณต้องประกอบอาชีพเช่นบรรพบุรุษคุณ เช่นหากคุณเกิดในวรรณะศูทรคุณอาจเรียนรู้วิชาการต่อสู้ได้แต่ไม่อาจใช้วิชานั้นไปสมัครเป็นทหารได้เป็นต้น จากจุดนี้สามารถโยงไปถึงมุมมองต่อประเด็นปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียมในสังคมอินเดียได้อย่างดี นั่นคือคานธีได้สร้างวาทกรรม“ความสุขเงินซื้อไม่ได้”ขึ้นมาโดยกล่าวว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องมีความสุขเพราะเขารวยหรือทุกข์เพราะเขาจน หลายครั้งที่คนรวยนั่งอมทุกข์ขณะที่คนจนยิ้มอย่างมีความสุข และประเด็นสุดท้ายที่ผมเห็นว่าน่าสนใจคือความขัดแย้งในตัวเองของการหยิบยกวาทกรรมและการยืมคานธีมาเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมระหว่างคนขาวกับคนดำของดอกเตอร์คิง ความยึดมั่นในหลักการของฮินดูทำให้คานธิไม่คิดว่าการแต่งงานข้ามวรรณะหรือการร่วมโต๊ะอาหารข้ามวรรณะจะเป็นเหตุผลสำคัญที่นำไปสู่ความปรองดองของคนในชาติ ในขณะที่ดร.คิงและขบวนการคนผิวสีกลับเรียกร้องให้ยกเลิกแบ่งแยกการแต่งงาน การให้บริการสาธารณะระหว่างผิวสีโดยเห็นว่าประชาธิปไตยและสันติสุขในสังคมอเมริกันจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อคนผิวดำได้รับสิทธิพลเมืองเท่ากับคนผิวขาวเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ผมมองว่ามันเป็นความลักลั่นที่เราไม่ควรจะมองข้ามไป

พูดถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าผมจะเขียนถึงคานธีทำไมแล้วมันเกี่ยวกับสังคมไทยหรือเสนอทางออกให้สังคมไทยอย่างไร แน่นอนในทางตรงอาจไม่เกี่ยวเพราะคานธีมิได้มีบทบาททางตรงใดๆทั้งสิ้นกับสังคมไทย บริบทของสังคมไทยในปัจจุบันกับบริบทของโลกร่วมสมัยของคานธีก็แตกต่างกันและที่สำคัญที่สุดแนวคิดเรื่องฮินดูนิยมและระบบวรรณะก็ดูจะเข้ากันไม่ได้สำหรับสังคมไทยสังคมพุทธที่ปราศจากวรรณะ(จริงหรือ)แต่อย่างไรก็ดีบทเรียนที่คานธีได้ให้แก่สังคมไทยก็มีอยู่หลายประการด้วยกัน ประการแรกเลยคือเหรียญมีสองด้านเสมอแต่สื่อกระแสหลักโดยความร่วมมือของชนชั้นปกครองบางกลุ่มมักเลือกที่จะแสดงให้คนเดินดินอย่างเราเห็นว่าเหรียญมีเพียงด้านเดียว เช่นในเมืองไทยคนส่วนมากมักรู้จักคานธีในฐานะเป็นนักต่อสู้เพื่อเอกราชโดยสันติวิธีผู้มีจริยธรรมสูงส่งแต่ว่าด้านมืดอีกด้านหนึ่งของเขาที่ต้องการให้คงระบบวรรณะไปจนถึงการกีดกันการมีสิทธิเท่าเทียมของUntouchableในสังคมอินเดีย (เพื่อนชาวอินเดียเล่าให้ผมฟังว่าคานธีอดอาหารประท้วงการให้สิทธิเลือกตั้งแก่Untouchable) กลับถูกละเลยไปตรงนี้ก็เป็นหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ อาจเป็นได้ว่าสังคมไทยมีอิทธิพลของระบบพ่ออุปถัมภ์แบบเผด็จการอยู่ ซึ่งระบบนี้ผู้เผด็จการทรงคุณธรรมคือหัวใจของระบบดังนั้นการสร้างHeroทางการเมืองจึงเป็นสิ่งจำเป็น นักต่อสู้ที่หยิบยกประเด็นชาตินิยมศาสนาและประเด็นศีลธรรมเป็นหลักในการต่อสู้และครอบงำสังคมเป็นที่ชื่นชอบของเผด็จการ ในขณะที่Ambedkarซึ่งแม้จะมีบทบาทสำคัญในรัฐธรรมนูญของอินเดียแต่การที่เขาต้องการสังคมที่เท่าเทียม ปราศจากวรรณะและยืนเคียงข้างคนยากจน และUntouchable จุดนี้เผด็จการรับไม่ได้ชื่อของเขาจึงไม่เป็นที่รู้จักในสังคมไทย

ประเด็นต่อมาคือแนวคิดของคานธีที่ว่าจิตใจของมนุษย์ว่าเปรียบเสมือนนกที่ไม่ยอมหยุดบินมีความต้องการอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุดสอดคล้องกับการที่ชนชั้นนำบางกลุ่มในสังคมไทยพยายามบอกกับคนจนว่าพวกเขาควรที่จะยอมรับความจนของตนต่อไปเพราะนั่นคือกฎแห่งกรรมที่ต้องยอมรับ อีกทั้งแม้เราจะจนแต่เราก็อยู่อย่างพอมีพอกินตามอัตภาพได้ถ้าเรารู้จักจัดสรรความจนของเรา แน่นอนว่าแนวคิดนี้เมื่อประกอบเข้ากับชุดความคิดทางศาสนาพุทธ(ปนฮินดู)ที่สอนเรื่องกฎแห่งกรรมและการปล่อยวางทุกสิ่งทางโลกเพื่อเข้าสู่นิพพานอันเป็นความสุขที่แท้จริงแล้วปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันเป็นยาละลายความขัดแย้งอันเกิดจากการกดขี่ที่ชนชั้นปกครองและคนมีอำนาจมีเงินกดหัวและขูดรีดจากคนจนชนิดโงหัวไม่ขึ้นได้อย่างดีทีเดียว(ในขณะที่ชนชั้นปกครองและนายทุนต่างขูดรีดจากคนยากคนจนกันแบบไม่เคยเพียงพอ) ตัวผมเองขณะนี้อยู่ไกลบ้านแต่ก็ได้ข่าวแว่วๆมาว่ารัฐบาลชุดใหม่ของเราอาจมีนโยบายขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งถ้าขึ้นมาจริงตรงนี้น่าจะช่วยยืนยันความไม่พอเพียงของชนชั้นปกครองได้อย่างดีทีเดียวและแน่นอนการใช้หลักการทางศาสนามานำการต่อสู้ขอคานธีก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงแม้ว่าด้วยการนำการต่อสู้ของคานธีโดยใช้วิธีอหิงสาและการใช้หลักศาสนานำหน้าจะมีส่วนสำคัญ(แต่ไม่ใช่ทั้งหมด)ในการปลดแอกอินเดียจากการเป็นอาณานานิคมของอังกฤษแต่ทว่าคานธีกลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการปลดแอกอินเดียจากความยากจน(กระทั่งทุกวันนี้แม้อินเดียจะเป็น1ในมหาอำนาจนิวเคลียร์แต่คนนับล้านยังคงต้องอาศัยสถานีรถไฟและข้างถนนเป็นที่ซุกหัวนอน)ตรงนี้ถือเป็นคุณูปการของคานธีที่ได้ช่วยยืนยันเรากับเราว่าแนวคิดจิตนิยมและศาสนานิยมไม่สามารถนำคนจนไปสู่การปลดแอกที่แท้จริงได้และบ่อยครั้งที่ข้ออ้างทางศาสนาได้ถูกนำมาใช้เป็นยาสมานความขัดแย้งทางชนชั้นได้อย่างไร้ที่ติ

ทั้งหมดที่ผมพยายามได้นำเสนอไปคืออีกด้านหนึ่งของคานธีที่ตำรากระแสหลักมักมองข้าม(หรือจงใจมองข้าม)ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์และบทเรียนต่อสังคมไทยก็คือวัฒนธรรมความใจกว้างทางวิชาการของอินเดีย แม้ว่าในอินเดียคานธีจะเป็นบุคคลคนสำคัญถึงขนาดถูกพิมพ์ลงบนธนบัตรทุกราคา วันเกิดของเขาถูกกำหนดเป็นวันหยุดประจำชาติและรัฐกุจาราฐบ้านเกิดของเขาก็ถูกกำหนดให้เป็นDry state (ห้ามจำหน่ายสุรา) ทว่าสำหรับวงการวิชาการเขาก็เป็นเพียงคนธรรมดาที่ถูกวิจารณ์ได้ บางหลักสูตรในระดับมหาวิทยาลัยถึงขั้นมีการนำเอางานเขียนของคานธีมาทำการวิพากษ์กับงานของ B.R.Ambedkar ซึ่งวิพากษ์คานธีว่าเป็นศัตรูต่อประชาธิปไตยและแนวคิดของเขาที่สืบเนื่องมาจากศาสนาฮินดูมีแนวโน้มจะเอื้อประโยชน์ต่อคนรวยมากกว่าคนจน ดังนั้นจุดนี้สังคมไทยน่าจะถือมาเป็นบทเรียนที่ดีว่าการวิพากษ์วิจารณ์ที่ตั้งอยู่บนหลักการของเหตุและผลน่าจะเป็นสิ่งที่สมควรทำ การเซ็นเซอร์และการปิดกั้นการรับรู้ของประชาชนคือบาปมหันต์ ทว่าหันมองที่สังคมไทยทุกวันนี้ดูเหมือนว่าข้อนี้จะเป็นสิ่งที่อยู่ไกลเกินฝันที่สุด ผมได้แต่หวังว่าบทความจากแดนไกลชิ้นนี้น่าที่จะได้จุดประกายหรือนำไปสู่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์และเชื่อมโยงประเด็นเพื่อหาทางออกให้แก่สังคมการเมืองไทยที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายและถอยหลังเข้าครองอยู่ในปัจจุบันนี้

 

อ่านประกอบ

ดู แนวคิดของคานธีจาก M.K. Gandhi, Hind Swaraj or Indian Home Rule : translate from Hind Swaraj publish in the Gujarat Columns of Indian opinion 1909

ดู การวิพากษ์คานธีโดยAmbedkarจาก Valeian Rodrigues, The Essential Writings of B.R.Ambedkar

ดู เรื่องการเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมถ์จาก ทักษ์ เฉลิมเตรียณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
แถลงการณ์ กลุ่มประกายไฟ 
ประกายไฟ
...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา
ประกายไฟ
“..รู้สึกว่าธรายอาร์มไม่ใช่แค่กางเกงใน แต่มันแสดงถึงสัญญะบางอย่างของการต่อสู้ ซึ่งเห็นไหมคะ แค่สงสัยว่าทำไมต้องเป็นกางเกงในของธรายอาร์ม คนที่สงสัยเขาก็ต้องหาเรื่องราวของมันบ้างล่ะค่ะ อย่างน้อยเราก็ได้สื่อเรื่องความไม่เป็นธรรมนอกจากแคมเปญหลักของงานนี้..” - ลูกปัด 1 สวาผู้ร่วมรณรงค์ 
ประกายไฟ
 “...พวกนายทุนจึงต้องหาทางให้ปัญหาเหล่านี้ทุเลาเบาบางลง ไม่อย่างนั้นการผลิตในระบบทุนนิยมอาจต้องล่มสลาย จึงต้องสร้างกติกากลางขึ้นมาเพื่อให้การขูดรีดยังดำรงตนต่อไปได้...”
ประกายไฟ
...ผมไม่คิดว่าการมีวันพ่อวันแม่มันจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับคนที่ "มีพ่อมีแม่" (หรือแม้แต่ตัวคนเป็นพ่อเป็นแม่) แต่ขณะเดียวกันมันกลับเป็นวันที่ "ซ้ำเติม" คนที่ "ขาดพ่อขาดแม่" ซึ่งโดยปกติก็อาจจะมีชีวิตที่รันทดเจ็บปวดกับเรื่องนี้อยู่แล้ว..
ประกายไฟ
...แต่เชื่อไหม (เหมือนถาพในหนัง) ใบหน้าคนเหล่านั้นลอยออกมาปะทะสายตาเรา เรามองไม่เห็นความกลัวในใบหน้าของคนเหล่านั้น บางคนด่าไปอมยิ่มไป บางคนด่าไปก็แสดงอาการท้าทายไป มันต่างกันมาก ต่างกันจริงๆ เราเคยเห็นคนในม็อบเสื้อแดงช่วงที่มีการสลาย ทั้งวันที่ 10 เมษา และ 19 พฤษภา เราเห็นแววตาคนที่กลัวตาย เห็นแววตาคนที่มีห่วงเห็นแววตาคนที่พร้อมจะยอมตาย แต่คนเหล่านั้นไม่กร่างเท่านี้นะ
ประกายไฟ
...ที่มาที่ไปของ "เสื้อแดง" มันไม่เกี่ยวกับเรื่อง "รักเจ้า" หรือ "รักทักษิณ" ..