Skip to main content

เพชรบุรีวางตัวอยู่อย่างน่าสนใจจากกรุงเทพฯ…

ที่ว่าน่าสนใจนั่นคือ ระยะทางที่ไม่ใกล้ แต่ก็ไม่ไกลจนเกินไป แค่ชั่วเวลานั่งรถเพลินๆ ไม่เกินสองชั่วโมงก็น่าจะเข้าเขตเมืองเพชร โดยมีภาพของทุ่งนายามข้าวออกรวงสีเขียวละมุนตาและต้นตาลยืนต้นเรียงรายอยู่ปลายนา หรืออาจจะเห็นปลายจั่วแหลมๆ ของบ้านหลังคาทรงไทยหลายหลังโผล่พ้นทุ่งนาหรือรั้วบ้าน เป็นฉากทั้งหลายที่บ่งบอกว่า บัดนี้เข้าสู่ดินแดนแห่งน้ำตาลเมืองเพชรแล้ว

หลายวันก่อนเป็นอีกครั้งของความตั้งใจที่จะไปเยือนเพชรบุรีโดยที่ไม่ต้องมีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน มีเพียงความตั้งใจบางอย่างเกี่ยวกับบางสิ่งที่อยากไปเห็นอยากไปสัมผัส

หนึ่งในปลายทางของสิ่งที่ตั้งใจในการเดินทางครั้งนี้ก็คือ การแวะเข้าไปดูหมู่บ้านไทยทรงดำหรือว่าลาวโซ่งที่อำเภอเขาย้อย อำเภอที่เป็นทางผ่านก่อนเข้าสู่ตัวเมืองเพชรที่ได้แต่เคยผ่านไปมาครั้งแล้วครั้งเล่าแต่กลับไม่เคยแวะจริงๆ จังๆ เลยสักที

อำเภอเขาย้อย ชื่อนี้เป็นชื่อเดียวกับภูเขาและถ้ำ ภาพของเขาสูงและถิ่นถ้ำจึงเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่บอกกับผู้สัญจรว่านี่คือเขตเมืองเพชร และหากใครที่ได้เคยผ่านไปมาคงเคยสังเกตว่าข้าวแกงเมืองเพชรที่ว่ามีชื่อไม่แพ้ขนมหวาน ก็มีให้ลิ้มลองเรียงรายอยู่สองข้างทางยามที่เรากำลังจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตัวจังหวัด

แต่การไปครั้งนี้ไม่ได้แวะร้านข้าวแกงหรือถ้ำเขาย้อยที่เนืองแน่นไปด้วยหมู่วานร (ลิงแสม) ที่ลงมาป้วนเปี้ยนรอรับนักท่องเที่ยวอยู่แถวปากถ้ำ แต่เราแวะเข้าไปลึกกว่านั้น ในเข้าไปในเขตหมู่บ้าน ผ่านทุ่งนาข้าวเขียวๆ เข้าไปตามทางสายเล็กๆ เพื่อเยี่ยมชมศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ตามคำบอกเล่าที่เคยได้ยินได้ฟังมาและตามข้อมูลที่พอจะหาได้ก่อนจะมาเพชรบุรี

ดินแดนไทยทรงดำของตำบลเขาย้อยในปัจจุบันแทบจะไม่มีสิ่งใดที่ผิดแผกออกไปจากบ้านเรือนและชุมชนของคนไทยเชื้อสายอื่นๆ ในปัจจุบัน นอกจากอาคารภายในศูนย์วัฒนธรรมที่มีรูปร่างคล้ายกระท่อม ที่มีเสายกพื้นสูง ขนาดและรูปทรงของหลังคาที่แตกต่างออกไปจากเรือนไทยในชนบท แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างอย่างเป็นเอกลักษณ์คือรูปร่างของจั่วที่คล้ายกับกาแลของเรือนทางภาคเหนือ แต่เป็นกาแลที่ไม้ไขว้กัน ส่วนปลายของแต่ละด้วยม้วนวนเข้าหากัน ซึ่งเพียงแค่รูปแบบของสถาปัตยกรรมนี้ที่ได้เห็นก็ทำให้เรามั่นใจในความมีเอกลักษณ์ของชาวลาวโซ่ง

pic2

ตามเอกสารที่มีไว้ให้หยิบอ่าน บ่งบอกประวัติของชาวไทยทรงดำ (ลาวโซ่ง) ไว้ว่า “ไทยทรงดำหรือลาวโซ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองแถน แต่เดิมเป็นเมืองใหญ่ของแคว้นสิบสองจุไท ปัจจุบันคือเมืองเดียนเบียนฟู อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในแผ่นดินไทยนานกว่า 200  ปี อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี รัชกาลที่ รัชกาลที่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วไปในเขตภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ที่อำเภอเขาย้อยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวไทยทรงดำ”

ประวัติที่หยิบยกมามิได้มุ่งเน้นสิ่งอื่นหรือความเป็นอื่นในเชื้อสายความเป็นไทยทรงดำที่มีจุดกำเนิดมาจากดินแดนหนึ่งในละแวกประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเวลานานปีที่ผู้คนกลุ่มนี้ฝังตัวอยู่ในสังคมไทยและกลายเป็นคนไทยอีกชุมชนหนึ่งในที่สุด สิ่งที่หลงเหลือตกค้างทางวัฒนธรรมและศิลปะของลาวโซ่งที่ได้พบเห็นในหมู่บ้าน ณ วันนี้ก็คือรูปแบบงานทางสถาปัตยกรรม (ของตัวเรือน) และผ้าทอลายอันมีเอกลักษณ์เฉพาะและโดดเด่นไม่แพ้กัน

pic1

เมื่อได้ทัศนาผ้าทอซึ่งเคยเป็นชุดแต่งกายประจำชนชาติลาวโซ่งทั้งแบบหญิงชาย (ชุดฮี สำหรับทั้งชายและหญิง ชุดฮ้างนมสำหรับผู้หญิง เสื้อสำหรับชายที่เรียกว่าเสื้อไท และเสื้อก้อมสำหรับผู้หญิง) อันเป็นลวดลายอันโดดเด่นด้วยสีแดง เหลือง เขียวหรือสีสดอื่นๆ บนผืนผ้าสีดำหรือสีน้ำเงินเข้มของตัวผ้าเป็นสีพื้น ไม่ว่าจะเป็นตัวเสื้อหรือกางเกง (คำว่าไทยทรงดำเองมีที่มามาจากคำว่าไทย “ซ่วง” ดำหรือกางเกงสีดำ) ผมสัมผัสได้ถึงพลังอันยิ่งใหญ่อันเปล่งประกายออกมาจากลวดลายและสีสันของผ้าทอ โดยเฉพาะชุดเสื้อผ้าโบราณอายุนับร้อยๆ ปีและเครื่องใช้จำพวกที่นอนหมอนมุ้งที่มีแสดงเอาไว้บนตัวเรือนในศูนย์วัฒนธรรมฯ แห่งนี้

pic3

pic4

ด้วยลวดลายแบบเรขาคณิตง่ายๆ ของรูปสามเหลี่ยมหรือการเดินด้ายหรือวางผ้าเป็นเส้นตรงหรือสร้างจุดตัดกันไปมา กระทั่งการสร้างสรรค์ลายภายใต้ชื่อลายง่ายๆ เช่น ลายตานกแก้ว หรือการปักลายแสนสวยลงบน ‘ผ้าเปียว’ ก็เป็นงานผ้าทอที่มีทั้งความเรียบง่ายแต่น่าทึ่งในพลังสร้างสรรค์ของคนไทยกลุ่มนี้

แม้จะได้เห็นในช่วงเวลาแสนสั้นแต่ก็ผมก็เชื่อแน่ว่าคงไม่มีชาวลาวโซ่งคนไหนที่มีชีวิตอยู่ที่อำเภอเขาย้อยหรือที่อื่นๆ ในประเทศไทย ได้นำชุดเสื้อผ้า ผ้าปักและผ้าทอแสนสวยแบบที่ได้เห็นในศูนย์วัฒนธรรมฯ เอามาใช้เป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวันของพวกเขา ทั้งๆ ที่แบบเสื้อผ้าก็ไม่ได้ต่างไปจากชุดสวยหรูที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์รุ่นใหม่หรือรูปแบบเสื้อผ้ายุคใหม่เท่าใดนัก

pic5

pic6

การสืบต่อสืบสานและนำเสนอเรื่องราวของชีวิตไทยทรงดำให้หลงเหลือ ปรากฏ และมีพลังพอที่จะถ่ายทอดถึงความสร้างสรรค์ที่โดดเด่นให้กับผู้ที่ผ่านไปเยี่ยมชมได้ประจักษ์ ประทับใจ จนอยากที่จะเรียนรู้ให้ลึกซึ้งและเข้าถึงเรื่องราวความเป็นมาที่ก่อให้เกิดลวดลายและสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ได้ ยังคงเป็นเสมือนภาระที่หนักอึ้งสำหรับลูกหลานไทยทรงดำที่ครอบครองมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ต่อไป และผมหวังว่า “ความธรรมดาและเรียบง่าย” ในเรื่องราวของผ้าทอลายชาวลาวโซ่งคงยั่งยืนอยู่ต่อไปและมีการมองเห็นคุณค่าหรือมีการศึกษากันอย่างลึกซึ้งขึ้นต่อไป

บล็อกของ อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง

อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
หากเลือกได้เราอยากจะให้ในพื้นที่ของชีวิตเติมเต็มด้วยสิ่งใด? เสื้อผ้าอาภรณ์สวยๆ งามๆ เงินทอง ความสมบูรณ์พูนสุขทางวัตถุหรือการอิ่มเต็มในจิตใจ... มีเพียงคำถามแต่ไม่มีปลายทางของคำตอบ เพราะว่าการแสวงหาความหมายในชีวิต ว่าในชีวิตหนึ่งหนึ่งคนเราเกิดมาเพื่อค้นหาหรือเสาะแสวงหาสิ่งใดมาเติมเต็มให้กับชีวิตตัวเอง ล้วนเป็นปรัชญาและเป้าหมายสูงสุดประการหนึ่งในการเกิดมามีชีวิตของคนเราทุกคน
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ผู้หญิง งูและลวดลายแห่งพรรณพฤกษา จะก่อเกิดเป็นเรื่องราวใดบ้างนอกเหนือจากความฝันรัญจวนถึงสิ่งที่ลี้ลับน่าหลงใหลดั่งคำบอกเล่าถึงนางไม้ที่อาจจะมีตัวตนจริงๆ หรือเป็นเพียงเงาร่ายลายลวงท่ามกลางพงตึกและป่าคอนกรีตอันร้อนระอุแห่งเมืองกรุง บ่ายวันหนึ่งเราจงใจเดินทางไปกลางซอยทองหล่อ ย่านที่มีร้านอาหารมีระดับ ร้านค้าหรูหรา และย่านการค้าในบรรยากาศที่ไม่คล้ายเดินอยู่ในเมืองไทยเท่าใดนัก เพื่อไปชมนิทรรศการภาพเขียนของนวลตอง ประสานทอง ในชื่องานสั้นๆ ว่า ‘NYMPH’
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
วันหนึ่งปลายฤดูหนาวของลอนดอน ณ Natural History Museum ย่าน South Kensington เมื่อหลายปีมาแล้ว ผมมีโอกาสได้ไปเดินชมนิทรรศการภาพถ่ายทางอากาศนิทรรศการหนึ่ง จำความรู้สึกของตัวเองขณะนั่งรถไฟใต้ดินไปที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ว่าตื่นเต้นอยู่ไม่น้อยที่กำลังจะได้ชมภาพถ่ายเหล่านี้ที่กำลังแสดงอยู่อย่างใกล้ชิด “Earth From Above” By Yann Arthus-Bertrand…สาเหตุก็คือเมื่อหลายปีก่อนหน้านั้นไปอีก ผมได้เห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้เป็นหนังสือปกแข็งขนาดเขื่องวางขายอยู่ในร้านหนังสือต่างประเทศในกรุงเทพฯ…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
นาฏกรรมชีวิตและเรื่องราวแห่งการกินของผู้คนที่ ‘นครปฐม’ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่น่าเชื่อว่าภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ติดๆ กัน ผมจะมีโอกาสแวะเที่ยวชมและเที่ยวชิมขนม ข้าวปลาอาหารและเมียงมองชีวิตของผู้คนในเมืองส้มโอหวาน ข้าวสารขาวถึงสองครั้งสองครา ซึ่งแต่ละครั้งคราเป็นต้องอดสงสัยไม่ได้ว่าในเมืองแห่งนี้ทำไมจึงมีการขายอาหารกันเป็นล่ำเป็นสัน ที่สำคัญยังมีรสชาติดีถูกปากถูกใจคนบ้านใกล้บ้านไกล ชนิดที่ว่าไม่ต้องรู้จักชื่อเสียงหรือมีป้ายโฆษณาชวนเชื่อ แค่ลองแวะชิมอาหารรถเข็นหรือตามสองข้างทางสักร้านในเมืองนครปฐมเป็นต้องอร่อยติดใจเกือบจะทุกรายไปหลายครั้งก่อนที่ได้แวะไปชิมข้าวหมูแดงกลางเมืองนครปฐม (…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
‘ทุ่งแสงตะวัน’ เป็นรายการโทรทัศน์เพื่อเด็กและเยาวชนที่รู้จักกันดีทั้งในแง่ฝีไม้ลายมือผู้ผลิตและความคิดสร้างสรรค์ ออกเดินโลดแล่นผ่านสายตาผู้ชมทีวีมาเมื่อสิบหกปีที่แล้วและยังคงเดินหน้าทำรายการทีวีที่น่ารักและมีแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมต่อไป แม้ไม่ได้อยู่หน้ากล้องในฐานะพิธีกรเดินเรื่อง แต่ สุริยนต์ จองลีพันธ์ หนึ่งในผู้บริหารบริษัท ป่าใหญ่ ครีเอชั่นฯ กลับมีความสำคัญในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังรายการเล็กๆ ที่งดงามนี้ด้วยการเป็นครีเอทีฟและผู้ดูแลการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
เด็กสาวทำงานแต่งกายในชุดส่าหรีสีสดเทินกิ่งไม้ไว้บนศีรษะกำลังเดินกลับบ้าน ลูกลิงแสนซนที่ปีนป่ายลูกกรง หญิงชราผู้ค่อยๆ ต่อยก้อนหินให้แตกออกจนเป็นกรวดด้วยมือเปล่า รถสามล้อเก่าผุพังในสีขาวดำ สวามีผู้เร้นกายขึ้นไปปลีกวิเวกอยู่ในถ้ำเล็กๆ เหนือบันไดเจ็ดร้อยขั้น หนุ่มช้ำรักผู้ทำท่าเบื่อโลกนั่งอยู่หน้าโรงหนัง...
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
...โอ๊ตเกิดที่ฉะเชิงเทรา จังหวัดหนึ่งในไทย ได้บวชเป็นพระสามอาทิตย์ในปี 2548 ที่วัดสามกอ นอกจากมีงานประจำแล้ว โอ๊ตยังทำงาน อาสาหน่วยแพทย์กู้ชีวิตวชิระพยาบาลในกรุงเทพฯ และย่านแหล่งท่องเที่ยว เป็นอาสาสายตรวจตำรวจจักรยานที่อยุธยาเพื่อดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวด้วย ที่ ‘สปินน์ คาเฟ่’ มีค็อกเทลให้เลือกมากมาย นอกจากเขาทำค็อกเทล พิงค์เลดี้ หรือพุซซีแค็ทแล้ว เขายังสามารถบอกแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับจักรยานได้อีกด้วย สามารถสอนคุณนานกว่าชั่วโมงก็ยังได้ และตอนนี้เขากำลังเรียนภาษาจีนอยู่ แต่เขาพูดตลก เก่งมาก…     ข้างความข้างต้นปรากฏอยู่ในหน้า About Us ของเว็บไซต์ www.spinn.cn…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
หน้าร้อนกับการไปทะเลเป็นของคู่กัน เปรียบแล้วก็เหมือนข้าวเหนียวมูลกับมะม่วงสุกรสอร่อยที่กำลังนิยมในช่วงยามนี้ แต่การนั่งอยู่กับบ้านวันดีคืนดีก็ยังอาจจะมีผู้หวังดีหิ้วเอาข้าวเหนียมมะม่วงมาฝากเราได้ ไม่เหมือนกับการออกไปค้นหาหรือเดินทางไปหา “ทะเลดีๆ” ที่จะช่วยคลายร้อนทั้งกายและใจ ซึ่งแน่นอนว่าเราจะต้องพาตัวเองฝ่าความร้อนของสภาพอากาศออกไปจนกว่าจะถึงจุดหมาย 
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
‘ตั้ม’ อาจจะเป็นชื่อเล่นของใครก็ได้ แต่คงมีคนเดียวเท่านั้นที่ชื่อจริงว่า ‘วิศุทธิ์ พรนิมิตร’ตั้มเป็นนักเขียน เจ้าของผลงานหนังสือหลายเล่ม เช่น hesheit, ควันใต้หมวก หรือประสบการณ์ส่วนตัวตอนที่ไปอยู่ญี่ปุ่นในชื่อ “ตั้มกับญี่ปุ่น” ฯลฯ แต่คุณอาจจะแปลกใจเมื่อรู้ว่าเขาเป็นนักเขียนเพราะพลิกดูผลงานของเขาแล้วล้วนแต่เป็นการ์ตูนตั้มเป็นนักเขียน...เขียนการ์ตูน ใครบางคนอาจจะสรุปอย่างนั้น..........................................
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
สำรวจลงไปในกระเป๋าหรือย่ามของความฝัน พบสิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ก้นย่ามคือการทำร้านกาแฟเล็กๆ ที่มีมุมหนังสือวางเอาไว้ให้คนจิบกาแฟละเมียดตัวอักษร
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ผมไม่แน่ใจว่าจะวางคำว่า ‘ของ’ เอาไว้ตรงไหนดี ระหว่างคำว่าช้างกับวิวช้าง‘ของ’วิว หรือว่า วิว‘ของ’ช้าง กันแน่...แม้ไม่แน่ใจแต่ผมรู้ดีว่าวิวชอบช้าง (ที่ไม่แน่ใจคือช้างจะชอบวิวด้วยหรือไม่) และเขียนรูปช้างมานานแล้วช้างที่เกิดจากปลายพู่กันและปลายนิ้วของวิวที่ถูกเกลี่ยกลบถมทับวาดเส้นและลากสีจนเกิดเป็นภาพและเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับช้างนั้น ถ้าหากว่ามีใครเคยนับช้างของวิวคงเป็นช้างแห่งสีสันโขลงใหญ่นับไม่ถ้วนเลยทีเดียววิวเขียนรูปช้างแค่ให้รู้หรือดูออกว่าเป็นช้าง แม้จะมีงวง มีหาง มีตา แต่รูปร่างก็อ้วนป้อม ซ้ำสีสันตัวช้างก็แตกต่างออกไปจากช้างที่เหมือนจริง ช้างของวิวจึงไม่เหมือนและไม่ใช่ช้างจริงๆ…
อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
ฉากแรก เธอเป็นหญิงสาวหน้าตาสะสวย มีแววตาเป็นประกาย ด้วยอิริยาบถที่สบายๆ และการพูดคุยที่ดูเป็นธรรมชาติ เราได้เห็นว่าเธอกำลังเตรียมเครื่องดื่มอะไรสักอย่างที่มีสีเขียวเข้ม โดยมีชายอีกคนหนึ่งคอยจดจ้องดูสิ่งที่เธอทำ พร้อมกับถามว่าเธอใส่อะไรลงไปในเครื่องปั่นเพื่อทำเครื่องดื่มชนิดนี้บ้าง... “ฉันก็เอาผักที่มีในตู้เย็นทุกอย่างใส่เข้าไป...คะน้า แตงกวา...ผักทุกอย่างที่มีสีเขียว แล้วก็ดื่มมัน” เธอว่า เสร็จแล้วเธอก็บรรจงเทเครื่องดื่มที่ทำอยู่ลงในแก้วที่มีก้านทรงสวย แล้วยื่นให้กับชายคนนั้น ตอนนี้เครื่องดื่มที่เธอทำแลดูเป็นเครื่องดื่มสำหรับวาระพิเศษ มิใช่น้ำผักปั่นที่เธอทำดื่มเองอยู่เป็นประจำ “…