Skip to main content

Kasian Tejapira(22/10/55)

ผมใคร่บอกกับคุณ “ฉลาด แซ่โง่” ผู้เขียนบทความ “ความรุนแรงที่ปฏิวัติ: โต้พวกเพ้อเจ้อ” http://prachatai.com/journal/2012/10/43263 ว่า

๑) มันเป็นเรื่องความเชื่อ ผู้เขียนอยู่ในโหมดปฏิวัติพคท.-เหมาอิสต์เมื่อหลายสิบปีก่อนไม่เปลี่ยน การย้ายความเชื่อ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ไม่ใช่เรื่องง่าย

๒) ผู้เขียนดูจะไม่ได้อ่านงานของอ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์เรื่อง non-violence เลย จึงมิสามารถพิจารณาหรือเล็งเห็นสันติวิธีในแง่ประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติทางการเมืองหรือในแง่จริยธรรมได้ ในโลกแห่งความเป็นจริงอันแคบชัดของผู้เขียนนั้น อะไรที่แปลกใหม่เบี่ยงเบนย่อมเพ้อเจ้อทั้งสิ้น

ในฐานะความเขื่อที่คอยผดุงให้ประวัติการต่อสู้เสียสละและชีวิตของบุคคลมีค่าน่าภูมิใจ อาจไม่ใช่ภารกิจที่จะต้องเข้าไปรื้อมัน แต่เท่าที่เป็นวิวาทะสาธารณะก็ควรพูดเท่าที่จำเป็น

Max Weber

นิยามเรื่องรัฐของ Weber มาจากความเรียงโด่งดังเรื่อง “Politics as a vocation” http://anthropos-lab.net/wp/wp-content/uploads/2011/12/Weber-Politics-as-a-Vocation.pdf ย่อหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นดังนี้ (นิยามรัฐสมัยใหม่ขีดเส้นใต้อยู่กลางย่อหน้า)

'Every state is founded on force,' said Trotsky at BrestLitovsk. That is indeed right. If no social institutions existed which knew the use of violence, then the concept of 'state' would be eliminated, and a condition would emerge that could be designated as 'anarchy,' in the specific sense of this word. Of course, force is certainly not the normal or the only means of the state--nobody says that--but force is a means specific to the state. Today the relation between the state and violence is an especially intimate one. In the past, the most varied institutions-- beginning with the sib--have known the use of physical force as quite normal. Today, however, we have to say that a state is a human community that (successfully) claims the monopoly of the legitimate use of physical force within a given territory. Note that 'territory' is one of the characteristics of the state. Specifically, at the present time, the right to use physical force is ascribed to other institutions or to individuals only to the extent to which the state permits it. The state is considered the sole source of the 'right' to use violence. Hence, 'politics' for us means striving to share power or striving to influence the distribution of power, either among states or among groups within a state.

กำเนิดของความเรียงเรื่อง Politics as a vocation นี้มีที่มาจากคำบรรยายที่ Weber แสดงแก่สหภาพนักศึกษาเสรีที่มหาวิทยาลัยมิวนิคเมื่อมกราคมปี ๑๙๑๙ ในระหว่างการปฏิวัติเยอรมัน (หลัง WWI) นั้นเองจะเห็นได้ว่า Weber ขยายนิยามรัฐจากข้อสังเกตของทรอตสกี้ว่า "รัฐทุกรัฐย่อมตั้งอยู่บนการใช้กำลัง" โดยบวกเชื้อมูลสำคัญเรื่อง ๑) ผูกขาดความรุนแรง/การใช้กำลัง ๒) โดยชอบธรรม ๓) เหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ เข้าไป

เงื่อนไขข้อ ๒) นี้เองเป็นปมที่สอดรับกับข้อสังเกตเรื่องอำนาจรัฐของอ.ชัยวัฒน์ที่ว่าในที่สุด การยอมทำตามรัฐ สำคัญกว่าการใช้กำลังบังคับควบคุมพลเมืองโดยรัฐ เพราะรัฐมีพลังศักยภาพจำกัดในการทำประการหลัง ถือปืนจ่อจี้พลเมืองนาน มือย่อมสั่น ในที่สุดฐานอำนาจรัฐที่แท้คือการยอมตามของพลเมือง ตรงนี้เองคือฐานคิดของชัยวัฒน์เรื่อง อารยะขัดขืน civil disobedience ว่าเป็นช่องทางการต่อสู้ที่ทรงพลังในการกร่อนจำกัดอำนาจรัฐได้ของพลเมือง จะเพื่อการปฏิวัติชนชั้นหรือปฏิรูปนโยบายหนึ่ง ๆ เป็นเรื่องเป้าหมายการเมือง ซึ่งไม่ใช่ประเด็นโต้แย้งถกเถียงของวิธีคิดแบบสันติวิธี เพียงต้องการชี้ว่าสันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง