Skip to main content
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
ภาพประกอบจาก Anuthee Dejthevaporn
 
ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกับอาจารย์ที่เคารพรักท่านหนึ่งเมื่อคืน คิดว่ามีประโยชน์จะมาเล่าสู่กันฟังบางประเด็นในรูปถาม-ตอบสมมุติ เพื่อง่ายแก่การประมวลประเด็น
 
๑) ประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร?
- หากผู้ชุมนุมเคลื่อนตัวจากสวนลุมฯเข้าเขตประกาศใช้พรบ.มั่นคง อาจมีการใช้กำลังตำรวจเข้ายับยั้งในลักษณะตั้งรับขัดขวางไม่ให้เข้าเขตเหล่านั้นอย่างเหนียวแน่นเด็ดขาด ระดับความรุนแรงคงใกล้เคียงกับที่ตำรวจใช้กับม็อบเสธ.อ้ายเมื่อปีก่อน คือแก๊สน้ำตา โล่ห์ กระบอง ประมาณนั้น แล้วก็แจ้งข้อหาต่าง ๆ กับแกนนำการชุมนุมเพื่อสร้างเงื่อนไขกดดันและอาจนำไปสู่การจับกุมตัว แต่จะไม่เลยเถิดไปถึงขั้นที่เกิดขึ้นภายใต้ศอฉ.และรัฐบาลอภิสิทธิ์สมัยสลายการชุมนุมของนปช.ปี ๒๕๕๓ แน่นอน เพราะเงื่อนไขแตกต่างและต่างฝ่ายต่างก็เห็นและสรุปบทเรียนนั้นมา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายผู้ชุมนุมก็คงเห็นตัวอย่าง คาดการณ์และเตรียมรับมือความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ระดับนั้นมาเช่นกัน นี่คือปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดเหตุเหนือคาดหมายได้
 
๒) อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้?
- ความเห็นพ้องยอมรับของกลุ่มทุนธุรกิจต่าง ๆ และประชาชนทั่วไปที่เหนื่อยหน่ายเสียหายจากความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองหลายปีที่ผ่านมาไม่เลิกราไม่จบสักที รวมทั้งกลัวพลาดโอกาสการลงทุนขยายกิจการขนานใหญ่ที่จะมาพร้อมกับโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ ๒ ล้านล้านบาทของรัฐบาล เมื่อประกอบกับท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมที่นับวันเรียกร้องอย่างสุดโต่งดื้อรั้น และใช้วิธีการอนาธิปไตยเดิม ๆ เพื่อนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางการเมือง การแทรกแซงของอำนาจนอกระบบ/กองทัพ การล้มรัฐบาล โครงการลงทุนสะดุด ฯลฯ โดยเฉพาะการฉวยใช้วาทกรรมและสัญลักษณ์กองทัพ สงครามและคอมมิวนิสต์เดิมอย่างมักง่ายและข่มขวัญคุกคาม เหล่านี้เป็นฐานการยอมรับของกลุ่มพลังที่สำคัญในสังคมให้รัฐบาลยุติปัญหาดังกล่าวแม้จะด้วยกำลังในระดับหนึ่ง (consensual coercion)
 
ข้อเสนอสภาปฏิรูปการเมืองประเทศของรัฐบาลจึงอาจไม่สำคัญในแง่ประสิทธิผลหรือความคาดหวังบั้นปลายว่าจะนำไปสู่ข้อตกลงหรือแผนการอะไรใหญ่โตมากนัก ไม่ต่างจากข้อเสนอทำนองเดียวกันของรัฐบาลชุดอื่นก่อนหน้านี้ที่ไม่ค่อยผลิตการรอมชอมประนีประนอมจริงจังอะไรได้ นอกจากรายงานข้อเสนอแนะชุดเดียวที่เอาไว้อ่านแต่ไม่ค่อยมีใครหยิบไปทำอะไร ยิ่งกลุ่มการเมืองสำคัญบางกลุ่มไม่แสดงท่าทีอยากร่วมสังฆกรรมด้วย เช่น พธม., ประชาธิปัตย์ ก็ยิ่งเป็น futile exercise และ gesture มากกว่าอื่น
 
แต่นัยทางการเมืองเฉพาะหน้าของมันสำคัญ มันแปลว่ารัฐบาลกำลังพยายามดึง elites กลุ่มอื่นให้มาสนทนาหาทางออกทางการเมืองกัน เพื่อสร้างฉันทมติ (เสริมฉันทมติที่กะปลกกะเปลี้ยไปเพราะการบริหารจัดการผิดพลาดหลายเรื่องของรัฐบาลที่ผ่านมา) ให้แข็งแรงพอจะรองรับการผลักเศรษฐกิจครั้งใหญ่ด้วยโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์และบริหารจัดการน้ำซึ่งสำคัญขั้นยุทธศาสตร์สำหรับรัฐบาลต่อไป และโดยวิธีการนั้นก็โดดเดี่ยวพวกหัวรั้นค้านไม่เลิกสุดโต่งบางกลุ่ม ให้ห่างออกมา เด่นชัดขึ้นมา เพื่อจัดการให้หยุดเสียที
 
บางทีแทนที่จะคาดหวังกับสภาปฏิรูปเพื่อวางแผนทางออกการเมืองใหญ่โตระดับประเทศ สิ่งที่กลุ่มพลังทางการเมืองต่าง ๆ ควรคุยกันเพื่อหาทางออกคือประเด็นรูปธรรมเฉพาะหน้าชัด ๆ เช่น หาทางเอาผู้ต้องหาการเมืองออกจากคุกดีไหมอย่างไร? จะให้กระบวนการหาความจริงและความยุติธรรมทางกฎหมายดำเนินไปอย่างไรโดยแฟร์กับทุกฝ่าย ไม่ยกเว้นวงเล็บความจริงและความยุติธรรมแก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง? เป็นต้น
 
๓) จะมีรัฐประหารไหม?
- ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีใครพร้อมทำ คนอยากให้มีหรือคิดจะสร้างเงื่อนไขให้มี ก็คงมีอยู่ เพราะกำลังอยู่ในสภาพ desperate ว่าหนทางเปลี่ยนการเมืองด้วยวิธีการนอกระบบงวดตัวปิดแคบลงทุกทีแล้ว และไม่เห็นมุขอื่น นอกจากชุมนุมแบบวางกรอบใหญ่โตแต่มวลชนและเงื่อนไขไม่พร้อม แล้วหวังผลักดันให้เกิดเงื่อนไขสุ่มเสี่ยงของการปะทะ เพื่อให้ “ทหารออกมา” ข้อที่น่าห่วงคือยิ่ง desperate มากขึ้น ก็จะยิ่งสุ่มเสี่ยงมากขึ้น คำนึงถึงชีวิตสวัสดิภาพของผู้ชุมนุมน้อยลงหรือเป็นรองเป้าหมายการเมืองใหญ่ เห็นพวกเขาเป็นไพร่พลที่คงต้องมีการเสียสละบ้าง (ในทางการรบ ทุกครั้งที่เข้าสมรภูมิคณะเสนาธิการจะแทงบัญชีว่าทหารอาจเสียไปได้สักเท่านั้น ๆ เปอร์เซนต์เสมอ เพื่อ “ชาติ” และ “ชัยชนะ”) จากนี้การตัดสินใจที่จะหลีกเลี่ยงเงื่อนไขสุ่มเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมก็อาจไม่เกิดขึ้น
 
ในกระบวนการนี้ทั้งหมด การออกมาปลุกระดมด้วยถ้อยคำดุเดือดเลือดพล่านของแกนนำพรรคฝ่ายค้านในสภาน่าผิดหวังและอนาถใจที่สุด การผลักดันเรียกร้องให้ผู้คนไปสู้นอกสภา จากพรรคการเมืองที่เพิ่งก้าวลงจากการเป็นรัฐบาลที่มีการถูกเข่นฆ่าบาดเจ็บล้มตายของผู้ชุมนุมในการสลายการชุมนุมด้วยกำลังทหารติดอาวุธสงครามจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยไม่ยอมแสดงความรับผิดชอบใด ๆ ทางการเมือง นับว่าอัปลักษณ์ในทางการเมืองและศีลธรรมที่สุดแล้ว ในบรรดาคนทั้งหลายที่จะออกมาพูดชักชวนแบบนี้อย่างนี้ พวกเขามีสิทธิ์พูดน้อยที่สุด เพราะเพิ่งสั่งปราบปรามผู้คนจนตายกันเป็นเบือบนท้องถนนในนามการปกครองระบอบรัฐสภา แล้วก็มากลืนน้ำลายตัวเอง พร้อมจะปลุกคนไปสู้บนท้องถนนนอกสภาทั้งที่เพิ่งสั่งปราบการต่อสู้บนท้องถนนด้วยมือและปากตัวเองมา อันนี้เป็นการตกต่ำที่สุดทางการเมืองและจริยธรรมของพรรคการเมืองไทยแล้ว
 
๔) จะแนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้?
- มีเหลือให้แนะนำน้อยมากเพราะตัวละครหน้าเก่าไม่สรุปบทเรียนที่ควรสรุป ดื้อรั้นทำซ้ำความผิดพลาดกันอีกเพื่อหวังชัยชนะของตนท่าเดียว โดยไม่แคร์ชีวิตผู้คน
 
แต่คงจะดีถ้า ๑) ต่อสู้กันในกรอบแนวทางรัฐสภาเป็นหลัก มากกว่าวิธีการอื่น และ ๒) เลิกใช้ชีวิตคนอื่นเป็นเครื่องมือในทางการเมืองเสียที ไม่ว่าเพื่อแย่งชิงอำนาจด้วยวิธีการนอกระบบ หรือรักษาอำนาจไว้ก็ตาม คนไทยตายกันมามากเกินพอแล้วหลายปีหลังนี้ แล้วแกนนำการชุมนุมทุกคนทุกครั้งรอดตัวทุกที ไม่แปลกใจหรือ?

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง